ข่าวบริษัทลิเบอร์ตี้ประกันภัยออกกรมธรรม์คุ้มครองคนซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงแล้วเจอสภาพใช้งานไม่ได้ปกติ จะได้รถคันใหม่มาแลก น่าจะเป็นเรื่องแปลกใหม่
นี่แสดงว่าการจะซื้อรถยนต์ใหม่สักคัน มันมีความเสี่ยงถึงขนาดเป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขการประกันภัยรถยนต์เชียวหรือนี่
จะว่าแค่เป็นการชูประเด็นแก้ปัญหาทุบรถประท้วงเพื่อประชาสัมพันธ์บริการใหม่ก็คงไม่เชิง
เพราะเรื่องร้องเรียนของคนซื้อรถแล้วมีปัญหา ก็มีเป็นข่าวผ่านสื่อหนังสือพิมพ์อยู่บ้าง และมีหลายยี่ห้อที่โดน แม้กระทั่งระดับเบนซ์
ทั้งๆที่วงการธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมชั้นนำยุคปัจจุบันต่างก็พากันอวดเครื่องหมายรับรองคุณภาพอย่างเช่น ISO หรือเคยได้รับรางวัลรับรองคุณภาพนานาสถาบัน
แต่หลายธุรกิจที่โดนทุบ โดนประท้วง ก็ล้วนมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพกันทั้งนั้นแหละ
ก็เพราะอย่างนี้แหละ จึงมีบริษัทประกันภัยใช้เป็นโอกาสทางการสื่อสารการตลาดสร้างความนิยม
นับเป็นตัวอย่างของการเสนอขายสินค้าหรือบริการเพื่อสนองความหวังในการแก้ปัญหา
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาและสุขภาพ ก็มีธุรกิจที่ผลิตสินค้ามากมายออกมาขายกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ อย่างเช่น
เริ่มโต ก็เป็นสิว
เริ่มแก่ ก็ผมบาง-เซ็กซ์เสื่อม หรือกระดูกมีปัญหา
บ้างก็มีอวัยวะที่ไม่น่าพอใจ มากไป น้อยไป ก็อยากไปพึ่งวิธีทำให้ดูดีขึ้น โดยไม่ต้องรอไปเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการกินยา การนวด หรือการผ่าตัดก็ยอม
นี่ถ้าสินค้าตัวไหน สามารถพิสูจน์ได้ว่าแก้ปัญหาได้จริง และไม่เกิดโทษต่อร่างกาย รับรองว่ารวยไม่เลิก
ก็ขนาดยังยืนยันไม่ได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีหลายรายที่โฆษณาแอบแฝงเพื่อชวนเชื่อให้คนซื้อ
จะหวังให้ใช้กฎหมายจัดการ กว่าจะจับได้ไล่ทัน ก็มีคนถูกหลอกไปเยอะแล้ว
ดังนั้น หากมีทางใดทำให้ผู้บริโภครู้จักเลือกซื้อของดีจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย
นั่นคือผู้ซื้อได้ของดีตามที่ต้องการ ขณะที่ผู้ขายต้องตื่นตัวทำแต่สิ่งดี ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ไม่ใช่เกิดได้ง่ายๆ
การเปิดตัวตราสัญลักษณ์ Q-MARK เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงน่าสนใจ
เพราะเป็นการริเริ่มร่วมมือกันทำให้เกิด โดยคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันหลักภาคเอกชน หรือ กกร. ซึ่งประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย
ได้คุณสมภพ อมาตยกุล ซึ่งเป็นผู้สนใจเรื่องการเสริมสร้างคุณภาพองค์กรและผลิตภัณฑ์ มาเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร โครงการตราสัญลักษณ์ Q-MARK
ที่ผมว่าน่าสนใจก็เพราะ Q-MARK จะเป็นเครื่องหมายรับรองว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่น่าคบน่าค้าด้วย
คือมิใช่เน้นเฉพาะมาตรฐานคุณภาพในการผลิตอย่างเครื่องหมายรับรองของฝรั่ง แต่นี่ยังให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
หมายความว่า กิจการนั้นขายสิ่งที่มีคุณภาพแล้ว ผู้บริหารและพนักงานยังยึดหลัก "ธรรมาภิบาล" คือมีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
นับเป็นหลักการที่ธุรกิจยุคจากนี้ไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กจะถูกคาดหวังจากสังคมว่า ต้องทำธุรกิจอย่างมีหลักธรรมาภิบาล
ไม่ใช่ "เก่ง" อย่างเดียว เพราะเก่งอาจมีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ
แต่ต้องมี "จริยธรรม" คือมีคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อลูกค้า ต่อสังคม
ยิ่งเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง ยิ่งมีความจำเป็นเพราะกิจการขนาดใหญ่ด้วยพลังทางการตลาดและชื่อเสียงก็ทำให้สังคมเชื่อถือระดับหนึ่ง
เว้นแต่ทำอะไรที่ไม่โปร่งใส จนคนไม่ไว้ใจชนิดธรรมาภิบาลถดถอย อย่างที่มีตัวอย่างในตลาดหลักทรัพย์
นักลงทุนก็ขายหุ้นทิ้งเพราะไม่เชื่อใจราคาหุ้นก็ตกต่ำอย่างที่เห็นๆ กันอยู่
กลับมาที่ประเด็นการมีตราสัญลักษณ์ Q-MARK
ผมได้เห็นความตั้งใจของกรรมการบริหารตรารับรองใหม่ของไทยจากสถาบัน กกร.ซึ่งจะแก้จุดอ่อนของตรา ISO ของฝรั่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บอกว่าจะเป็นการส่งเสริมกิจการขนาดย่อมก็น่าสนับสนุน
เพราะทุกวันนี้หลักคิดของบริษัทใหญ่ที่ไม่ทำเองทุกอย่าง แต่จะแยกงานบางอย่างที่ไม่ใช่ภารกิจหลักไปจ้างธุรกิจภายนอกทำ (Outsourcing) ซึ่งอาจเป็นงานด้านการทำความสะอาด ยาม การขนส่ง อาหาร การบรรจุหีบห่อ หรือการป้อนวัตถุดิบ เป็นต้น
กิจการขนาดเล็กหรือร้านที่เพิ่งตั้งใหม่ ก็ไม่ค่อยมีใครเชื่อถือ การได้ตรารับรองแบบนี้ก็แสดงว่าผ่านการตรวจสอบมาแล้ว โดยโครงการนี้มีการจ้างสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) เป็นทีมงานตรวจประเมิน
วันที่ 10 เดือนนี้ ก็จะมีการประกาศบริษัทรุ่นแรก 6 ราย ที่ผ่านการประเมินว่ามีคุณภาพและจริยธรรม ให้รับเครื่องหมาย Q-MARK ไปประชาสัมพันธ์ส่งเสริมธุรกิจได้เป็นเวลา 2 ปี
ปัญหาจึงอยู่ที่การสร้างการรับรู้ และยอมรับให้กับตราสัญลักษณ์ Q-MARK ที่ว่านี้
ประจวบเหมาะกับสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมด้วยสมาคมธนาคารไทย ก็จะมีงานมอบ "รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น ประจำปี 2547" ในวันที่ 9 มีนาคม นี้
แสดงให้เห็นกระแสการผลักดันส่งเสริมธุรกิจให้มีจริยธรรมที่น่าสนับสนุุนให้เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าเป็นธุรกิจที่ทั้งเก่งและดีที่น่าคบค้าอย่างแท้จริง
นี่แสดงว่าการจะซื้อรถยนต์ใหม่สักคัน มันมีความเสี่ยงถึงขนาดเป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขการประกันภัยรถยนต์เชียวหรือนี่
จะว่าแค่เป็นการชูประเด็นแก้ปัญหาทุบรถประท้วงเพื่อประชาสัมพันธ์บริการใหม่ก็คงไม่เชิง
เพราะเรื่องร้องเรียนของคนซื้อรถแล้วมีปัญหา ก็มีเป็นข่าวผ่านสื่อหนังสือพิมพ์อยู่บ้าง และมีหลายยี่ห้อที่โดน แม้กระทั่งระดับเบนซ์
ทั้งๆที่วงการธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมชั้นนำยุคปัจจุบันต่างก็พากันอวดเครื่องหมายรับรองคุณภาพอย่างเช่น ISO หรือเคยได้รับรางวัลรับรองคุณภาพนานาสถาบัน
แต่หลายธุรกิจที่โดนทุบ โดนประท้วง ก็ล้วนมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพกันทั้งนั้นแหละ
ก็เพราะอย่างนี้แหละ จึงมีบริษัทประกันภัยใช้เป็นโอกาสทางการสื่อสารการตลาดสร้างความนิยม
นับเป็นตัวอย่างของการเสนอขายสินค้าหรือบริการเพื่อสนองความหวังในการแก้ปัญหา
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาและสุขภาพ ก็มีธุรกิจที่ผลิตสินค้ามากมายออกมาขายกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ อย่างเช่น
เริ่มโต ก็เป็นสิว
เริ่มแก่ ก็ผมบาง-เซ็กซ์เสื่อม หรือกระดูกมีปัญหา
บ้างก็มีอวัยวะที่ไม่น่าพอใจ มากไป น้อยไป ก็อยากไปพึ่งวิธีทำให้ดูดีขึ้น โดยไม่ต้องรอไปเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการกินยา การนวด หรือการผ่าตัดก็ยอม
นี่ถ้าสินค้าตัวไหน สามารถพิสูจน์ได้ว่าแก้ปัญหาได้จริง และไม่เกิดโทษต่อร่างกาย รับรองว่ารวยไม่เลิก
ก็ขนาดยังยืนยันไม่ได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีหลายรายที่โฆษณาแอบแฝงเพื่อชวนเชื่อให้คนซื้อ
จะหวังให้ใช้กฎหมายจัดการ กว่าจะจับได้ไล่ทัน ก็มีคนถูกหลอกไปเยอะแล้ว
ดังนั้น หากมีทางใดทำให้ผู้บริโภครู้จักเลือกซื้อของดีจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย
นั่นคือผู้ซื้อได้ของดีตามที่ต้องการ ขณะที่ผู้ขายต้องตื่นตัวทำแต่สิ่งดี ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ไม่ใช่เกิดได้ง่ายๆ
การเปิดตัวตราสัญลักษณ์ Q-MARK เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงน่าสนใจ
เพราะเป็นการริเริ่มร่วมมือกันทำให้เกิด โดยคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันหลักภาคเอกชน หรือ กกร. ซึ่งประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย
ได้คุณสมภพ อมาตยกุล ซึ่งเป็นผู้สนใจเรื่องการเสริมสร้างคุณภาพองค์กรและผลิตภัณฑ์ มาเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร โครงการตราสัญลักษณ์ Q-MARK
ที่ผมว่าน่าสนใจก็เพราะ Q-MARK จะเป็นเครื่องหมายรับรองว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่น่าคบน่าค้าด้วย
คือมิใช่เน้นเฉพาะมาตรฐานคุณภาพในการผลิตอย่างเครื่องหมายรับรองของฝรั่ง แต่นี่ยังให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
หมายความว่า กิจการนั้นขายสิ่งที่มีคุณภาพแล้ว ผู้บริหารและพนักงานยังยึดหลัก "ธรรมาภิบาล" คือมีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
นับเป็นหลักการที่ธุรกิจยุคจากนี้ไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กจะถูกคาดหวังจากสังคมว่า ต้องทำธุรกิจอย่างมีหลักธรรมาภิบาล
ไม่ใช่ "เก่ง" อย่างเดียว เพราะเก่งอาจมีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ
แต่ต้องมี "จริยธรรม" คือมีคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อลูกค้า ต่อสังคม
ยิ่งเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง ยิ่งมีความจำเป็นเพราะกิจการขนาดใหญ่ด้วยพลังทางการตลาดและชื่อเสียงก็ทำให้สังคมเชื่อถือระดับหนึ่ง
เว้นแต่ทำอะไรที่ไม่โปร่งใส จนคนไม่ไว้ใจชนิดธรรมาภิบาลถดถอย อย่างที่มีตัวอย่างในตลาดหลักทรัพย์
นักลงทุนก็ขายหุ้นทิ้งเพราะไม่เชื่อใจราคาหุ้นก็ตกต่ำอย่างที่เห็นๆ กันอยู่
กลับมาที่ประเด็นการมีตราสัญลักษณ์ Q-MARK
ผมได้เห็นความตั้งใจของกรรมการบริหารตรารับรองใหม่ของไทยจากสถาบัน กกร.ซึ่งจะแก้จุดอ่อนของตรา ISO ของฝรั่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บอกว่าจะเป็นการส่งเสริมกิจการขนาดย่อมก็น่าสนับสนุน
เพราะทุกวันนี้หลักคิดของบริษัทใหญ่ที่ไม่ทำเองทุกอย่าง แต่จะแยกงานบางอย่างที่ไม่ใช่ภารกิจหลักไปจ้างธุรกิจภายนอกทำ (Outsourcing) ซึ่งอาจเป็นงานด้านการทำความสะอาด ยาม การขนส่ง อาหาร การบรรจุหีบห่อ หรือการป้อนวัตถุดิบ เป็นต้น
กิจการขนาดเล็กหรือร้านที่เพิ่งตั้งใหม่ ก็ไม่ค่อยมีใครเชื่อถือ การได้ตรารับรองแบบนี้ก็แสดงว่าผ่านการตรวจสอบมาแล้ว โดยโครงการนี้มีการจ้างสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) เป็นทีมงานตรวจประเมิน
วันที่ 10 เดือนนี้ ก็จะมีการประกาศบริษัทรุ่นแรก 6 ราย ที่ผ่านการประเมินว่ามีคุณภาพและจริยธรรม ให้รับเครื่องหมาย Q-MARK ไปประชาสัมพันธ์ส่งเสริมธุรกิจได้เป็นเวลา 2 ปี
ปัญหาจึงอยู่ที่การสร้างการรับรู้ และยอมรับให้กับตราสัญลักษณ์ Q-MARK ที่ว่านี้
ประจวบเหมาะกับสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมด้วยสมาคมธนาคารไทย ก็จะมีงานมอบ "รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น ประจำปี 2547" ในวันที่ 9 มีนาคม นี้
แสดงให้เห็นกระแสการผลักดันส่งเสริมธุรกิจให้มีจริยธรรมที่น่าสนับสนุุนให้เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าเป็นธุรกิจที่ทั้งเก่งและดีที่น่าคบค้าอย่างแท้จริง