“ทักษิณ” เรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง สั่งรื้อระบบข้อมูลความมั่นคง รับมือวิกฤติในอนาคต ขณะที่ สมช.เสนอตั้งศูนย์บัญชาการแห่งชาติให้นายกฯคุมเมื่อเกิดปัญหา “สมัคร” สวมบทองครักษ์ อัด “ธีรยุทธ” แค่อยากดัง ระบุไม่รู้เรื่องในพื้นที่แล้วมาวิจารณ์ ด้าน กก.สิทธิ์ฯ ส่งหนังสือเสนอ นายกฯทบทวนแบ่งโซน 3 สี วันนี้ ชี้เข้าข่ายละเมิด รธน.ชัด เผยประชาชนในพื้นที่เริ่มอึดอัด อาจยุส่งให้ใช้ช่องทางกม.ส่งศาล รธน. ศาลปกครองชี้ขาด “ไกรศักดิ์” เตือนสัมพันธ์มาเลย์ อินโดฯ และโลกมุสลิมจะล่ม แถมอัลเคด้าจะเข้ามา “ฮิวแมนไรท์ส วอทซ์ ชำแหละนโยบายแบ่งโซน เป็นสูตรสำเร็จดึงดูดกลุ่มนักรบอิสลามเข้าประเทศ แนวโน้มสิทธิมนุษยชนไทยติดลบ
วานนี้ (24 ก.พ.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงเรื่อง “มิติใหม่ของความมั่นคงแห่งชาติ” โดยมี พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) พล.ต.ท.จุมพล มั่นหมาย ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ปลัดกระทรวงอาทิ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย เข้าร่วมประชุม
สมช.เสนอตั้งศูนย์บัญชาการแห่งชาติ
พล.อ. วินัย ให้สัมภาษณ์ว่า สมช.ได้เสนอตั้งศูนย์บัญชาการแห่งชาติ (Nationnal Operration Center) โดยนายกฯได้ให้ไปเชิญส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องมาหารือกันอีกครั้ง โดยศูนย์ดังกล่าวจะมีหน้าที่คอยติดตาม เตรียมการ และประสานงานกับหน่วยที่มีภาระกิจในการแจ้งเตือน การเตรียมความพร้อม ในกรณีที่มีวิกฤติเกิดขึ้น โดยมีส่วนราชการต่างๆเป็นตัวแทน ซึ่งศูนย์นี้จะสามารถเป็นที่สำหรับให้นายกฯสามารถบัญชาการแก้ไขปัญหาได้ โดยศูนย์นี้จะมีข้อมูล การเตรียมการ และการซักซ้อมอย่างพร้อมสรรพ ให้นายกฯสามารถทำงานได้ ซึ่งไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องงานข่าวเท่านั้น และไม่เฉพาะเรื่องความมั่นคง แต่จะรวมถึงเรื่องอื่นในกรณีที่มีวิกฤติด้วย
ส่วนเรื่องการจัดโซน 3 สีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พล.อ.วินัย กล่าวว่า ที่ประชุมไม่ได้หารือกันส่วนการจัดโซนจะทำให้การหาข่าวและความร่วมมือ ของคนในพื้นที่มีปัญหาหรือไม่นั้น คงไม่มีปัญหาอะไร ผอ.สำนักข่าวกรองฯ ก็ไม่ได้พูดอะไร เพราะหน้าที่ของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้(กอ.สสส.จชต.)สามารถบูรณาการเรื่องความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อยู่แล้ว ซึ่งนายกฯก็ให้อำนาจกับพล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ ผอ.กอ.สสส.จชต. เต็มที่อยู่แล้ว
ทักษิณสั่งรื้อระบบข้อมูลความมั่นคง
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมดังกล่าว ได้มีการพูดถึงเรื่องที่พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งการให้รื้อระบบการบริหารศูนย์ข้อมูลด้านความมั่นคงของประเทศ โดยมอบหมาย ให้ สมช. ประสานกับทุกหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง วางโครงสร้างการระดมข้อมูลจากทุกหน่วยงานให้รวบรวมมาไว้ที่เดียว เพราะที่ผ่านมาเมื่อประเทศเผชิญกับวิกฤตทางด้านความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือภัยจากคลื่นสึนามิ ประเทศไม่มีข้อมูลเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้นายกฯ จึงต้องการให้มีการแลกแปลี่ยนและอัฟเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเพื่อจะได้รู้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นมา ใครจะต้องทำอะไร ซึ่งรูปแบบการทำข้อมูลแบบนี้ จะถูกจัดตั้งอย่างถาวร ต่อไปนี้งานด้านความมั่นคงจะไม่กระจุกตัวอยู่ที่หน่วยงานเดียว
ผบ.ทบ.เชื่อใต้จะไม่ลุกลามรุนแรง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผบ.ทบ.กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลจะเปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหาภาคใตั ซึ่งในส่วนของกองทัพพูดหลายครั้งแล้วว่า เรื่องการแบ่งโซนทำมานานแล้ว เพื่อให้สะดวกในการทำงาน จะได้รู้ว่า พื้นที่ไหนควรระวัง พื้นที่ไหนควรสนใจ เพื่อจะได้จัดสรรกำลังลงไปได้ถูกเชื่อว่าหลังการชี้เแจง บรรดานักวิชาการ และสังคมคงเข้าใจว่าการแบ่งพื้นที่ก็เพื่อผลของ การทำงาน ไม่ได้เป็นการแบ่งพรรค แบ่งพวก
“เชื่อมั่นว่าสถานการณ์ความรุนแรงคงไม่ลุกลามมากไปกว่านี้ เพราะขณะนี้เรามั่นใจว่าคุมพื้นที่ได้หมด แต่ไม่ใช่ว่าคุมได้ทุกตารางนิ้ว มันก็อาจจะมีบ้างในบางพื้นที่ๆยังดูแลยากอยู่ แต่การจะดำเนินการก่อเหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตคงไม่มี คิดว่าคนร้ายคงทำแบบนั้นไม่ได้”
สมัครอัดธีรยุทธแค่อยากดัง
นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม. กล่าวตอบโต้นายธีรยุทธ บุญมี ผ่านรายการ “มองรอบด้าน” ทาง ททบ.5 ว่า ที่นายธีรยุทธ เสนอให้ใช้สันติวิธี ในการแก้ปัญหาภาคใต้นั้น แค่ต้องการเป็นคนดังเท่านั้น หน้าที่รับผิดชอบก็ไม่มี และไม่เคยรู้เลยว่าคนที่ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เขาทำกันอย่างไร มีแต่แนะนำให้สันติโน่น สันตินี่ รู้หรือไม่ว่าตลอดเดือนม.ค.คนบริสุทธิ์ ตายไป 37 บาดเจ็บ 139 คน ไม่รวมเดือนอื่น ถามว่าเราเคยยิงคนร้ายตายในที่เกิดเหตุบ้างหรือยัง จับมันได้สักคนหรือยัง พอคนบริสุทธิ์ตายนักวิชาการก็หุบปากหมด
ส่วนที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่าการแบ่งโซนเพื่อจัดงบประมาณในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำนั้น นายสมัคร กล่าวว่า ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เวลามีการปิดถนนประท้วงเรื่องราคายางนายชวนก็เอาเงินไปให้ปิดปากวันละ 500 ล้านบาท ถามว่าพืชพันธุ์อื่นไม่เคยได้จะเป็นการเหลื่อมล้ำหรือไม่
“คุณชวนเคยมีหน้าที่รับผิดชอบบริหารบ้านเมือง 3 ปี ทำไมไม่แก้ปัญหาเผาโรงเรียนกันทีละ 36 โรงปล่อยให้มันจางหายไปอย่างนั้น”
กก.สิทธิ์ฯส่งหนังสือให้ทบทวนแบ่งโซน
นายเสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิฯได้มีการประชุมเกี่ยวกับนโยบายแบ่งโซน 3 สีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่ประชุมเห็นว่าควรออกแถลงการณ์ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี ในวันนี้(25 ก.พ.)เนื่องจากเห็นว่าหลังรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับเป็นเวลากว่า 7 ปีแล้ว แต่กฎหมายต่างๆ ที่จำเป็นต้องออกมาบังคับใช้ในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งสนธิสัญญาต่างๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามนั้น ทุกรัฐบาลได้เพิกเฉยในการออกกฎหมายมาบังคับใช้
ยิ่งไปกว่านั้นกลับมีกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนออกมาบังคับใช้แทน รวมทั้งยังมีการละเลยในการออกกฎหมายดังกล่าวด้วยจึงเป็นเหตุให้การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอีกทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนตลอดมา
นายเสน่ห์ กล่าวว่ขณะนี้แนวทางแก้ไขปัญหาภาคใต้กลับชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่ารัฐบาลกำลังจะกระทำลักษณะเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญในประเด็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดต่อปฏิญญาสากลฯ และสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามถึง 5 ฉบับ ได้แก่กติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ ดังนั้น จึงต้องออกหนังสือเพื่อส่งให้นายกฯได้ทบทวน แนวคิด เกี่ยวกับการแบ่งโซนหมู่บ้านดังกล่าว
ชี้คนในพื้นที่อึดอัดอาจยุฟ้องศาลรธน.
นายเสน่ห์ ยืนยันว่าการออกมาเคลื่อนไหวของคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่ได้มีเจตนาต่อต้าน จึงไม่กลัวที่จะถูกรัฐบาลโต้กลับและรัฐบาลจะรับฟังหรือไม่ก็ตาม
กรรมการสิทธิถือว่าการเสนอเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้
“เรื่องแบ่งโซนผมก็ได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับทั้งเครือข่าย ผู้นำชุมชน นักวิชาการที่นั่น เขาก็บอกว่าเริ่มอึดอัดและพูดกันว่ามันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ อาจจะใช้กระบวนการทางกฎหมายเข้ามาต่อสู้ถ้ารัฐบาลดำเนินนโยบายดังกล่าวจริง ซึ่งถ้าประชาชนจะฟ้องศาลปกครอง ผู้ตรวจแผ่นดินของรัฐสภา ผมก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เรื่องการใช้และปกป้องสิทธิฯที่ดีด้วยซ้ำไป เพราะกรรมสิทธิฯเองก็ไม่สามารถที่จะยื่นเรื่องโดยตรงไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้”
นายเสน่ห์ ยังกล่าวถึงการที่รัฐบาลให้มีการเปิดประชุม2 สภาเพื่อหาแนวทาง แก้ไขปัญหาว่า ถือเป็นสัญญาณที่ดีแต่อะไรก็ตามเราไม่อยากปล่อยให้เป็นการ ดำเนินการโดยรัฐเพียงฝ่ายเดียว สังคมน่าจะคอยคัดท้าย เสนอแนะเพื่อให้มันเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเพราะขณะนี้เรากำลังอยู่ในช่วงที่จะมีรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่
นายเสน่ห์ กล่าวว่า นอกจากนโยบายการแบ่งโซนพื้นที่ภาคใต้ที่เข้าข่ายการละเมิดรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีแนวนโยบายทางด้านเศรษฐกิจอีก 2 เรื่องอยู่ในข่ายคือ เรื่องข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ และร่างพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯที่มีนายวสันต์ พานิชเป็นประธานจะทำการศึกษาและจะมีการนำเสนอเมื่อแล้วเสร็จ
ไกรศักดิ์หวั่นลูกหาบทรท.ทำถกใต้ป่วน
นายไกรศักดิ์ ชุนหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา ในฐานะประธานกรรมาธิการ การต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวว่าถือเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลจะเปิดประชุม 2 สภาเพื่อหารือ ในการแก้ปัญหาภาคใต้ แต่ตนเกรงว่าการประชุมครั้งนี้ จะทำให้คนของพรรคไทยรักไทย ที่เป็นเสียงส่วนมากจะสนับสนุนให้มีการฆ่าหมู่และให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ต่อไป อีกทั้งเกรงว่าการอภิปรายจะถูกรบกวนจากพวกมารยาททรามที่คอยขัดขวางการอภิปรายจนเกิดการทะเลาะวิวาทกันในสภาอีก
นายไกรศักดิ์ กล่าวอีกว่า นโยบายการแบ่งโซนสี เป็นนโยบาย ที่ไม่มีความแตกต่างจากอดีตที่เคยกระทำของรัฐบาลสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ใช้ปราบปรามประชาชนในช่วง 14 ตุลาฯ และการปราบปรามคอมมิวนิสต์ จนทำให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องตัวเอง ถือว่ารัฐบาลมองข้ามบทเรียน ที่เคยมีในอดีต ซ้ำร้ายกลับนำมาปฏิบัติตามต่อประชาชนอีกจนทำให้เกิดความ เสียหาย จนทำให้ปัญหาลุกลาม ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นเป็นตรรกะง่าย ๆ แต่รัฐบาลกลับมองข้ามไม่นำมาปฏิบัติ
“หากนายกฯ ยังมีถ้อยคำสบถอย่างที่ปรากฎผ่านสื่อมวลชลด้วยอารมณ์ เกรี้ยวกราดหรือใช้ถ้อยคำรุนแรง เช่น ถึงแม้จะอาบด้วยเลือด ก็ไม่แบ่งให้พวกมันแม้แม้แต่ตารางเมตรเดียว หรือถ้อยคำรุนแรงอื่น ๆ ผมฟังแล้วมันไม่ใช่คำพูดของ นายกฯไทยแต่เป็นเหมือนคำพูดของหัวหน้าเผ่าที่เป็นชนเผ่าดึกดำบรรพ์”
ระวังสัมพันธ์สัมพันธ์กับโฐกมุสลิมแย่ลง
นายไกรศักดิ์ กล่าวอีกว่า หากสถานการณ์ที่เลวลงจนไม่มีการยุติการฆ่าฟันกัน อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศมุสลิมเลวร้ายลงไปด้วย เพราะขณะนี้ทราบว่ากลุ่มประเทศมุสลิม ได้เสนอให้ สภาความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) เข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ ในประเทศไทยแล้ว อีกทั้งทราบว่าฝ่ายงานความมั่นคงของมาเลเซียและอินโดนีเซียปฏิเสธการร่วมเจรจากับฝ่ายไทย ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้สร้างความสั่นคลอนภายในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ และความน่ากลัวอย่างหนึ่งที่รัฐบาล ไม่ควรมองข้ามคือ ผู้ก่อการร้ายจะขอความช่วยเหลือจากเครือข่าย ก่อการร้ายโลกหรืออัลเคด้าได้
ฮิวแมนไรทส์ติแบ่งโซนเป็นความคิดที่แย่
แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการบริหารองค์การสิทธิมนุษยชน ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ภาคพื้นเอเชีย กล่าวถึงแผนการของรัฐบาลที่ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง เรื่องการ แบ่งโซน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาความรุนแรงออกเป็น 3 สี เพื่อจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา โดยจะมีการตัดงบสำหรับหมู่บ้านชาวมุสลิมที่เชื่อว่า ให้การสนับสนุนผู้ก่อเหตุว่า แผนการดังกล่าวเป็นไอเดียแย่มาก เนื่องจากจะเป็นการจุดชนวน ความตึงเครียดมากกว่าแก้ปัญหา
อดัมส์เสริมว่า นโยบายของรัฐบาลไทยเกือบดูเหมือนมีจุดประสงค์เพื่อชักนำให้เกิดญิหาด หรือสงครามศาสนา พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงความไม่สบายใจ ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย ต่อแนวทางการใช้ความรุนแรงดับไฟใต้ของพ.ต.ท.ทักษิณ
แนวโน้มสิทธิมนุษยชนไทยติดลบ
แม้ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่า มีขบวนการก่อการร้ายระดับชาติ อาทิ ญะมาอะห์ อิสลามิยะห์ ซึ่งอยู่ในเครือข่ายอัลกออิดะห์ของอุซามะห์ บิน ลาดิน เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่อดัมส์ชี้ว่า ขณะนี้ มาตรการของทางการไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มไปปรากฏในเว็บไซต์ของกลุ่มนักรบในตะวันออกกลาง “นี่คือสูตรสำเร็จ ในการดึงดูดการสนับสนุนจากภายนอก”
แบรน อดัมส์ กล่าวอีกว่า มาตรการของผู้นำไทยในการแก้ปัญหาความรุนแรง ภาคใต้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 600 รายนับจากเดือนมกราคมปีที่แล้ว เป็นเพียงหนึ่งในประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย ตั้งแต่ที่พ.ต.ท.ทักษิณเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว “แนวโน้มสิทธิมนุษยชนไทยติดลบอย่างชัดเจน”
อดัมส์ ระบุว่า มีประชาชนถึง 3,000 รายถูกฆ่าตัดตอนจากสงครามกวาดล้าง ยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณเมื่อปี 2546 และเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีผู้ถูกดำเนินคดี จากการกระทำดังกล่าว
นอกจากนั้น ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ยังแสดงความกังวลต่อปัญหาการกดดันสื่อและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในไทย
วานนี้ (24 ก.พ.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงเรื่อง “มิติใหม่ของความมั่นคงแห่งชาติ” โดยมี พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) พล.ต.ท.จุมพล มั่นหมาย ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ปลัดกระทรวงอาทิ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย เข้าร่วมประชุม
สมช.เสนอตั้งศูนย์บัญชาการแห่งชาติ
พล.อ. วินัย ให้สัมภาษณ์ว่า สมช.ได้เสนอตั้งศูนย์บัญชาการแห่งชาติ (Nationnal Operration Center) โดยนายกฯได้ให้ไปเชิญส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องมาหารือกันอีกครั้ง โดยศูนย์ดังกล่าวจะมีหน้าที่คอยติดตาม เตรียมการ และประสานงานกับหน่วยที่มีภาระกิจในการแจ้งเตือน การเตรียมความพร้อม ในกรณีที่มีวิกฤติเกิดขึ้น โดยมีส่วนราชการต่างๆเป็นตัวแทน ซึ่งศูนย์นี้จะสามารถเป็นที่สำหรับให้นายกฯสามารถบัญชาการแก้ไขปัญหาได้ โดยศูนย์นี้จะมีข้อมูล การเตรียมการ และการซักซ้อมอย่างพร้อมสรรพ ให้นายกฯสามารถทำงานได้ ซึ่งไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องงานข่าวเท่านั้น และไม่เฉพาะเรื่องความมั่นคง แต่จะรวมถึงเรื่องอื่นในกรณีที่มีวิกฤติด้วย
ส่วนเรื่องการจัดโซน 3 สีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พล.อ.วินัย กล่าวว่า ที่ประชุมไม่ได้หารือกันส่วนการจัดโซนจะทำให้การหาข่าวและความร่วมมือ ของคนในพื้นที่มีปัญหาหรือไม่นั้น คงไม่มีปัญหาอะไร ผอ.สำนักข่าวกรองฯ ก็ไม่ได้พูดอะไร เพราะหน้าที่ของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้(กอ.สสส.จชต.)สามารถบูรณาการเรื่องความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อยู่แล้ว ซึ่งนายกฯก็ให้อำนาจกับพล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ ผอ.กอ.สสส.จชต. เต็มที่อยู่แล้ว
ทักษิณสั่งรื้อระบบข้อมูลความมั่นคง
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมดังกล่าว ได้มีการพูดถึงเรื่องที่พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งการให้รื้อระบบการบริหารศูนย์ข้อมูลด้านความมั่นคงของประเทศ โดยมอบหมาย ให้ สมช. ประสานกับทุกหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง วางโครงสร้างการระดมข้อมูลจากทุกหน่วยงานให้รวบรวมมาไว้ที่เดียว เพราะที่ผ่านมาเมื่อประเทศเผชิญกับวิกฤตทางด้านความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือภัยจากคลื่นสึนามิ ประเทศไม่มีข้อมูลเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้นายกฯ จึงต้องการให้มีการแลกแปลี่ยนและอัฟเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเพื่อจะได้รู้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นมา ใครจะต้องทำอะไร ซึ่งรูปแบบการทำข้อมูลแบบนี้ จะถูกจัดตั้งอย่างถาวร ต่อไปนี้งานด้านความมั่นคงจะไม่กระจุกตัวอยู่ที่หน่วยงานเดียว
ผบ.ทบ.เชื่อใต้จะไม่ลุกลามรุนแรง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผบ.ทบ.กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลจะเปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหาภาคใตั ซึ่งในส่วนของกองทัพพูดหลายครั้งแล้วว่า เรื่องการแบ่งโซนทำมานานแล้ว เพื่อให้สะดวกในการทำงาน จะได้รู้ว่า พื้นที่ไหนควรระวัง พื้นที่ไหนควรสนใจ เพื่อจะได้จัดสรรกำลังลงไปได้ถูกเชื่อว่าหลังการชี้เแจง บรรดานักวิชาการ และสังคมคงเข้าใจว่าการแบ่งพื้นที่ก็เพื่อผลของ การทำงาน ไม่ได้เป็นการแบ่งพรรค แบ่งพวก
“เชื่อมั่นว่าสถานการณ์ความรุนแรงคงไม่ลุกลามมากไปกว่านี้ เพราะขณะนี้เรามั่นใจว่าคุมพื้นที่ได้หมด แต่ไม่ใช่ว่าคุมได้ทุกตารางนิ้ว มันก็อาจจะมีบ้างในบางพื้นที่ๆยังดูแลยากอยู่ แต่การจะดำเนินการก่อเหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตคงไม่มี คิดว่าคนร้ายคงทำแบบนั้นไม่ได้”
สมัครอัดธีรยุทธแค่อยากดัง
นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม. กล่าวตอบโต้นายธีรยุทธ บุญมี ผ่านรายการ “มองรอบด้าน” ทาง ททบ.5 ว่า ที่นายธีรยุทธ เสนอให้ใช้สันติวิธี ในการแก้ปัญหาภาคใต้นั้น แค่ต้องการเป็นคนดังเท่านั้น หน้าที่รับผิดชอบก็ไม่มี และไม่เคยรู้เลยว่าคนที่ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เขาทำกันอย่างไร มีแต่แนะนำให้สันติโน่น สันตินี่ รู้หรือไม่ว่าตลอดเดือนม.ค.คนบริสุทธิ์ ตายไป 37 บาดเจ็บ 139 คน ไม่รวมเดือนอื่น ถามว่าเราเคยยิงคนร้ายตายในที่เกิดเหตุบ้างหรือยัง จับมันได้สักคนหรือยัง พอคนบริสุทธิ์ตายนักวิชาการก็หุบปากหมด
ส่วนที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่าการแบ่งโซนเพื่อจัดงบประมาณในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำนั้น นายสมัคร กล่าวว่า ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เวลามีการปิดถนนประท้วงเรื่องราคายางนายชวนก็เอาเงินไปให้ปิดปากวันละ 500 ล้านบาท ถามว่าพืชพันธุ์อื่นไม่เคยได้จะเป็นการเหลื่อมล้ำหรือไม่
“คุณชวนเคยมีหน้าที่รับผิดชอบบริหารบ้านเมือง 3 ปี ทำไมไม่แก้ปัญหาเผาโรงเรียนกันทีละ 36 โรงปล่อยให้มันจางหายไปอย่างนั้น”
กก.สิทธิ์ฯส่งหนังสือให้ทบทวนแบ่งโซน
นายเสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิฯได้มีการประชุมเกี่ยวกับนโยบายแบ่งโซน 3 สีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่ประชุมเห็นว่าควรออกแถลงการณ์ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี ในวันนี้(25 ก.พ.)เนื่องจากเห็นว่าหลังรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับเป็นเวลากว่า 7 ปีแล้ว แต่กฎหมายต่างๆ ที่จำเป็นต้องออกมาบังคับใช้ในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งสนธิสัญญาต่างๆ ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามนั้น ทุกรัฐบาลได้เพิกเฉยในการออกกฎหมายมาบังคับใช้
ยิ่งไปกว่านั้นกลับมีกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนออกมาบังคับใช้แทน รวมทั้งยังมีการละเลยในการออกกฎหมายดังกล่าวด้วยจึงเป็นเหตุให้การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอีกทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนตลอดมา
นายเสน่ห์ กล่าวว่ขณะนี้แนวทางแก้ไขปัญหาภาคใต้กลับชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่ารัฐบาลกำลังจะกระทำลักษณะเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญในประเด็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดต่อปฏิญญาสากลฯ และสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามถึง 5 ฉบับ ได้แก่กติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ ดังนั้น จึงต้องออกหนังสือเพื่อส่งให้นายกฯได้ทบทวน แนวคิด เกี่ยวกับการแบ่งโซนหมู่บ้านดังกล่าว
ชี้คนในพื้นที่อึดอัดอาจยุฟ้องศาลรธน.
นายเสน่ห์ ยืนยันว่าการออกมาเคลื่อนไหวของคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่ได้มีเจตนาต่อต้าน จึงไม่กลัวที่จะถูกรัฐบาลโต้กลับและรัฐบาลจะรับฟังหรือไม่ก็ตาม
กรรมการสิทธิถือว่าการเสนอเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้
“เรื่องแบ่งโซนผมก็ได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับทั้งเครือข่าย ผู้นำชุมชน นักวิชาการที่นั่น เขาก็บอกว่าเริ่มอึดอัดและพูดกันว่ามันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ อาจจะใช้กระบวนการทางกฎหมายเข้ามาต่อสู้ถ้ารัฐบาลดำเนินนโยบายดังกล่าวจริง ซึ่งถ้าประชาชนจะฟ้องศาลปกครอง ผู้ตรวจแผ่นดินของรัฐสภา ผมก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เรื่องการใช้และปกป้องสิทธิฯที่ดีด้วยซ้ำไป เพราะกรรมสิทธิฯเองก็ไม่สามารถที่จะยื่นเรื่องโดยตรงไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้”
นายเสน่ห์ ยังกล่าวถึงการที่รัฐบาลให้มีการเปิดประชุม2 สภาเพื่อหาแนวทาง แก้ไขปัญหาว่า ถือเป็นสัญญาณที่ดีแต่อะไรก็ตามเราไม่อยากปล่อยให้เป็นการ ดำเนินการโดยรัฐเพียงฝ่ายเดียว สังคมน่าจะคอยคัดท้าย เสนอแนะเพื่อให้มันเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเพราะขณะนี้เรากำลังอยู่ในช่วงที่จะมีรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่
นายเสน่ห์ กล่าวว่า นอกจากนโยบายการแบ่งโซนพื้นที่ภาคใต้ที่เข้าข่ายการละเมิดรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีแนวนโยบายทางด้านเศรษฐกิจอีก 2 เรื่องอยู่ในข่ายคือ เรื่องข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ และร่างพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯที่มีนายวสันต์ พานิชเป็นประธานจะทำการศึกษาและจะมีการนำเสนอเมื่อแล้วเสร็จ
ไกรศักดิ์หวั่นลูกหาบทรท.ทำถกใต้ป่วน
นายไกรศักดิ์ ชุนหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา ในฐานะประธานกรรมาธิการ การต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวว่าถือเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลจะเปิดประชุม 2 สภาเพื่อหารือ ในการแก้ปัญหาภาคใต้ แต่ตนเกรงว่าการประชุมครั้งนี้ จะทำให้คนของพรรคไทยรักไทย ที่เป็นเสียงส่วนมากจะสนับสนุนให้มีการฆ่าหมู่และให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ต่อไป อีกทั้งเกรงว่าการอภิปรายจะถูกรบกวนจากพวกมารยาททรามที่คอยขัดขวางการอภิปรายจนเกิดการทะเลาะวิวาทกันในสภาอีก
นายไกรศักดิ์ กล่าวอีกว่า นโยบายการแบ่งโซนสี เป็นนโยบาย ที่ไม่มีความแตกต่างจากอดีตที่เคยกระทำของรัฐบาลสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ใช้ปราบปรามประชาชนในช่วง 14 ตุลาฯ และการปราบปรามคอมมิวนิสต์ จนทำให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องตัวเอง ถือว่ารัฐบาลมองข้ามบทเรียน ที่เคยมีในอดีต ซ้ำร้ายกลับนำมาปฏิบัติตามต่อประชาชนอีกจนทำให้เกิดความ เสียหาย จนทำให้ปัญหาลุกลาม ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นเป็นตรรกะง่าย ๆ แต่รัฐบาลกลับมองข้ามไม่นำมาปฏิบัติ
“หากนายกฯ ยังมีถ้อยคำสบถอย่างที่ปรากฎผ่านสื่อมวลชลด้วยอารมณ์ เกรี้ยวกราดหรือใช้ถ้อยคำรุนแรง เช่น ถึงแม้จะอาบด้วยเลือด ก็ไม่แบ่งให้พวกมันแม้แม้แต่ตารางเมตรเดียว หรือถ้อยคำรุนแรงอื่น ๆ ผมฟังแล้วมันไม่ใช่คำพูดของ นายกฯไทยแต่เป็นเหมือนคำพูดของหัวหน้าเผ่าที่เป็นชนเผ่าดึกดำบรรพ์”
ระวังสัมพันธ์สัมพันธ์กับโฐกมุสลิมแย่ลง
นายไกรศักดิ์ กล่าวอีกว่า หากสถานการณ์ที่เลวลงจนไม่มีการยุติการฆ่าฟันกัน อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศมุสลิมเลวร้ายลงไปด้วย เพราะขณะนี้ทราบว่ากลุ่มประเทศมุสลิม ได้เสนอให้ สภาความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) เข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ ในประเทศไทยแล้ว อีกทั้งทราบว่าฝ่ายงานความมั่นคงของมาเลเซียและอินโดนีเซียปฏิเสธการร่วมเจรจากับฝ่ายไทย ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้สร้างความสั่นคลอนภายในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ และความน่ากลัวอย่างหนึ่งที่รัฐบาล ไม่ควรมองข้ามคือ ผู้ก่อการร้ายจะขอความช่วยเหลือจากเครือข่าย ก่อการร้ายโลกหรืออัลเคด้าได้
ฮิวแมนไรทส์ติแบ่งโซนเป็นความคิดที่แย่
แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการบริหารองค์การสิทธิมนุษยชน ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ภาคพื้นเอเชีย กล่าวถึงแผนการของรัฐบาลที่ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง เรื่องการ แบ่งโซน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาความรุนแรงออกเป็น 3 สี เพื่อจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา โดยจะมีการตัดงบสำหรับหมู่บ้านชาวมุสลิมที่เชื่อว่า ให้การสนับสนุนผู้ก่อเหตุว่า แผนการดังกล่าวเป็นไอเดียแย่มาก เนื่องจากจะเป็นการจุดชนวน ความตึงเครียดมากกว่าแก้ปัญหา
อดัมส์เสริมว่า นโยบายของรัฐบาลไทยเกือบดูเหมือนมีจุดประสงค์เพื่อชักนำให้เกิดญิหาด หรือสงครามศาสนา พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงความไม่สบายใจ ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย ต่อแนวทางการใช้ความรุนแรงดับไฟใต้ของพ.ต.ท.ทักษิณ
แนวโน้มสิทธิมนุษยชนไทยติดลบ
แม้ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่า มีขบวนการก่อการร้ายระดับชาติ อาทิ ญะมาอะห์ อิสลามิยะห์ ซึ่งอยู่ในเครือข่ายอัลกออิดะห์ของอุซามะห์ บิน ลาดิน เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่อดัมส์ชี้ว่า ขณะนี้ มาตรการของทางการไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มไปปรากฏในเว็บไซต์ของกลุ่มนักรบในตะวันออกกลาง “นี่คือสูตรสำเร็จ ในการดึงดูดการสนับสนุนจากภายนอก”
แบรน อดัมส์ กล่าวอีกว่า มาตรการของผู้นำไทยในการแก้ปัญหาความรุนแรง ภาคใต้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 600 รายนับจากเดือนมกราคมปีที่แล้ว เป็นเพียงหนึ่งในประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย ตั้งแต่ที่พ.ต.ท.ทักษิณเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว “แนวโน้มสิทธิมนุษยชนไทยติดลบอย่างชัดเจน”
อดัมส์ ระบุว่า มีประชาชนถึง 3,000 รายถูกฆ่าตัดตอนจากสงครามกวาดล้าง ยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณเมื่อปี 2546 และเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีผู้ถูกดำเนินคดี จากการกระทำดังกล่าว
นอกจากนั้น ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ยังแสดงความกังวลต่อปัญหาการกดดันสื่อและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในไทย