นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาหาวิธีวัดระดับความริเริ่มสร้างสรรค์ของบรรดาสัตว์ปีก จนจัดอันดับออกมาได้ว่าอีกาตัวดำ นกใหญ่ที่ใครๆ ไม่ค่อยรัก มีความสามารถในการริเริ่มวิธีหาอาหารเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาสัตว์ปีกทั้งหมด
คณะวิจัยของดร.หลุยส์ เลอเฟเวรอะ จากแมคกิลยูนิเวอร์ซิตี ประเทศแคนาดายอมรับว่า ออกจะประหลาดใจไม่น้อยที่พบว่านกแก้วซึ่งมีสมองค่อนข้างใหญ่ ได้คะแนนในการจัดอันดับไม่มากเท่าที่ควร
ดร.เลอเฟเวรอะ จัดทำดัชนี "ไอคิว" สัตว์ปีก จากพฤติกรรมการหากินของนกประเภทต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลราว 2,000 ชิ้น ที่มีการเผยแพร่ในวารสารวิหควิทยาในช่วง 75 ปีที่ผ่านมา พวกเขารวบรวมตัวอย่างพฤติกรรมการหากินที่แปลกๆ ของนกแต่ละชนิดแล้วนำมาให้คะแนน
"พวกอีกาหรือนกในสกุลนี้ได้คะแนนสูงสุด อันดับที่ 2 คือเหยี่ยว ส่วนนกกระสาและนกหัวขวานก็ได้คะแนนมากเหมือนกัน" ดร.เลอเฟเวรอะกล่าว
เขาระบุว่าในการศึกษาที่นำเสนอในการประชุมสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (AAAS) ว่า พฤติกรรมการหากินของนกหลายๆ อย่างเป็นการปรับตัวทั่วไป แต่บ่อยครั้งที่พวกนกคิดค้นหาวิธีหาอาหารใหม่จนทำให้ผู้ศึกษาประหลาดใจไม่น้อย
ในช่วงสงครามปลดปล่อยประเทศโรดีเซีย ซึ่งภายหลังเป็นประเทศซิมบับเว ทหารและนักดูนกสังเกตเห็นบรรดานกแร้งบินมาเกาะอยู่ตามรั้วลวดหนามใกล้ทุ่งกับระเบิด พวกมันรอให้เนื้อทรายและสัตว์อื่นหลงเข้ามาถูกระเบิดตายกระจายเป็นชิ้นๆ ก่อนจะเข้าจัดการกับเหยื่ออย่างใจเย็น วิธีนี้เป็นการทุ่นแรงในการหาอาหาร แม้บางครั้งพวกมันจะพลาดและถูกระเบิดเองก็ตามที
นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของนกสกิวอาที่อาศัยอยู่แถบขั้วโลกใต้ ซึ่งไปขอแบ่งนมจากเต้ากินพร้อมๆ กับลูกแมวน้ำ
ดร.เลอเฟเวรอะตั้งข้อสังเกตว่า นกที่ได้คะแนนมากเป็นนกที่คนไม่ค่อยนิยมกันเท่าไร "คนไม่ค่อยชอบอีกา เพราะมันดูร้ายกาจและมันก็ดำ แถมยังกินซากศพ ขณะที่นกกระจิบและนกที่คนชอบไม่ค่อยจะมีความคิดริเริ่มเท่าไหร่หรอก"
คณะทำงานย้ำว่า การศึกษาชิ้นนี้ไม่ได้วัดความฉลาดแต่วัดระดับความคิดริเริ่มของนก เพราะเราไม่สามารถระบุได้ว่านกฉลาดหรือไม่ หากไม่รู้ว่าพฤติกรรมของมันเป็นผลจากการสังเกตและจดจำ หรือเป็นสิ่งที่มันคิดขึ้นได้เอง
คณะวิจัยของดร.หลุยส์ เลอเฟเวรอะ จากแมคกิลยูนิเวอร์ซิตี ประเทศแคนาดายอมรับว่า ออกจะประหลาดใจไม่น้อยที่พบว่านกแก้วซึ่งมีสมองค่อนข้างใหญ่ ได้คะแนนในการจัดอันดับไม่มากเท่าที่ควร
ดร.เลอเฟเวรอะ จัดทำดัชนี "ไอคิว" สัตว์ปีก จากพฤติกรรมการหากินของนกประเภทต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลราว 2,000 ชิ้น ที่มีการเผยแพร่ในวารสารวิหควิทยาในช่วง 75 ปีที่ผ่านมา พวกเขารวบรวมตัวอย่างพฤติกรรมการหากินที่แปลกๆ ของนกแต่ละชนิดแล้วนำมาให้คะแนน
"พวกอีกาหรือนกในสกุลนี้ได้คะแนนสูงสุด อันดับที่ 2 คือเหยี่ยว ส่วนนกกระสาและนกหัวขวานก็ได้คะแนนมากเหมือนกัน" ดร.เลอเฟเวรอะกล่าว
เขาระบุว่าในการศึกษาที่นำเสนอในการประชุมสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (AAAS) ว่า พฤติกรรมการหากินของนกหลายๆ อย่างเป็นการปรับตัวทั่วไป แต่บ่อยครั้งที่พวกนกคิดค้นหาวิธีหาอาหารใหม่จนทำให้ผู้ศึกษาประหลาดใจไม่น้อย
ในช่วงสงครามปลดปล่อยประเทศโรดีเซีย ซึ่งภายหลังเป็นประเทศซิมบับเว ทหารและนักดูนกสังเกตเห็นบรรดานกแร้งบินมาเกาะอยู่ตามรั้วลวดหนามใกล้ทุ่งกับระเบิด พวกมันรอให้เนื้อทรายและสัตว์อื่นหลงเข้ามาถูกระเบิดตายกระจายเป็นชิ้นๆ ก่อนจะเข้าจัดการกับเหยื่ออย่างใจเย็น วิธีนี้เป็นการทุ่นแรงในการหาอาหาร แม้บางครั้งพวกมันจะพลาดและถูกระเบิดเองก็ตามที
นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของนกสกิวอาที่อาศัยอยู่แถบขั้วโลกใต้ ซึ่งไปขอแบ่งนมจากเต้ากินพร้อมๆ กับลูกแมวน้ำ
ดร.เลอเฟเวรอะตั้งข้อสังเกตว่า นกที่ได้คะแนนมากเป็นนกที่คนไม่ค่อยนิยมกันเท่าไร "คนไม่ค่อยชอบอีกา เพราะมันดูร้ายกาจและมันก็ดำ แถมยังกินซากศพ ขณะที่นกกระจิบและนกที่คนชอบไม่ค่อยจะมีความคิดริเริ่มเท่าไหร่หรอก"
คณะทำงานย้ำว่า การศึกษาชิ้นนี้ไม่ได้วัดความฉลาดแต่วัดระดับความคิดริเริ่มของนก เพราะเราไม่สามารถระบุได้ว่านกฉลาดหรือไม่ หากไม่รู้ว่าพฤติกรรมของมันเป็นผลจากการสังเกตและจดจำ หรือเป็นสิ่งที่มันคิดขึ้นได้เอง