ข่าวคราวตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา การศึกษาทางด้าน "วัฒนธรรม" มักไม่ค่อยได้รับความสนใจมากมายนักหรือถ้ามี "การสำรวจ-การศึกษา" ก็แทบจะน้อยมาก ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว สังคมไทยให้ความสนใจในเรื่อง "วัฒนธรรม" น้อยมาก โดยที่ไม่ต้องเอ่ยถึง "ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม" ที่นับวันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ "ทางลบ" แต่ที่เป็นปัญหามากกว่านั้นคือ สื่อสารมวลชนทุกแขนงมักไม่ค่อยจะนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือมี "คอลัมน์ประจำ" ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม
แต่ถ้าเมื่อใดมีประเด็นข่าวทางลบเกี่ยวกับ "สังคมไทยยุคใหม่กับวัฒนธรรม" หรือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ก็มักจะเป็นข่าวใหญ่โต กอปรกับมีการวิพากษ์วิจารณ์กันต่ออีกประมาณไม่เกิน 4-5 วัน
สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ หรือแม้กระทั่งสื่อโทรทัศน์ก็มีการนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้าง แต่มักจะเป็น "เชิงข่าว-เชิงสารคดี" ส่วน "เชิงบันเทิง" นั้น แทบไม่ต้องเอ่ยถึง โดยเฉพาะสื่อฯ โทรทัศน์ที่มักนำเสนอ "วัฒนธรรมเชิงบันเทิง" ที่ "ผิด-ผิด" จนออกไปทาง "น้ำเน่า" ไม่ว่าจะเป็นละคร เกมโชว์ หรือ "โปกฮา-โจ๊ก-ตลกโชว์!" หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็หมายความว่าผู้จัดรายการโทรทัศน์มักไม่เคยสอดแทรกหรือนำเสนอสาระประโยชน์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอันดีงาม โดยเฉพาะของไทยเราไม่ว่าเพื่อเป็น "ความรู้" หรือ "ประเทืองปัญญา"
"แสงแดด" ขอเน้นที่ สื่อฯ โทรทัศน์มากหน่อย เนื่องด้วยประชาชนจำนวนมากที่มักไม่ค่อยฟังวิทยุหรืออ่านหนังสือมากมายนัก แต่โปรดปราน "บริโภค" ทางสื่อฯ โทรทัศน์มากที่สุดเพราะ "สะดวก-ง่าย" แก่การติดตาม "เปิดปุ๊บ-ได้ยินได้ฟังได้เห็น!" พร้อมทั้งอาจไม่ต้องคิดมาก "กระบวนการซึมซับ" จึงเกิดขึ้นเร็วและง่าย ทั้งนี้จึงเป็นกรณีที่ "น่าเสียใจ-น่าเสียดาย!" ว่ารายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่ทุกสถานี มุ่งเน้นแต่ "ธุรกิจ-ผลกำไร" มากกว่า "คุณภาพ!" ที่จะป้อนแก่ "ผู้บริโภค-ผู้ชม!"
การนำเสนอข่าวคราวทางสื่อฯ ต่างๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยโดยเฉพาะ "การสำรวจประชามติหรือโพล (POLL)" จากหลากหลายสำนัก เกี่ยวกับเรื่องเด็กและเยาวชนแล้ว "แสงแดด" มั่นใจว่า เราทุกคน "หดหู่" หัวใจเป็นอย่างมากว่า "วัฒนธรรมไทยดีงาม!" เหือดหายไปไหนจากสังคมไทย ที่ทำไมพฤติการณ์และพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น "สวนทาง-ขัดแย้ง" กับ "วัฒนธรรมไทย" อย่างสิ้นเชิง
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า "ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม" ของไทยเรา นับวันจะค่อยจางหายไปจากสังคมไทยทุกวัน ถามว่าถ้าจะให้คนไทยรุ่นอายุตั้งแต่สิบกว่าขวบจนถึงอายุประมาณ 40 ต้นๆ อาจจะให้เรียบเรียง และ/หรือ กล่าวถึง "วัฒนธรรมไทย" ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ตอบได้เลยว่า ร้อยละ 50-70 อาจจะ "ใบ้รับประทาน" หรือ "ปราศจากความรู้!" ที่จะพรรณนาได้เลย!
ปัญหาของ "วัฒนธรรมไทย" ทุกวันนี้สามารถเรียบเรียงได้ว่า หนึ่ง เกิดจากสถาบันครอบครัว ที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ก็อยู่ในวัย 30 ปลายๆ 40 ต้นๆ สอง รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ไม่ล้มหายตายจากไปก็ "แยกกันอยู่" เนื่องด้วยสังคมไทยยุคใหม่เป็น "สังคมนิวเคลียส์" (NUCLEUS FAMILY) กล่าวคือ เป็นครอบครัวเล็กที่แยกมาอยู่กันตามลำพังไม่เหมือนครอบครัวครอบครัวสมัยก่อนที่รวมกันอยู่ในบ้านเดียวกัน สาม สภาวะเศรษฐกิจที่ "ต่างคนต่างอยู่-ปากกัดตีนถีบ!" ทุกคนต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ จึงไม่ค่อยมีเวลาได้อยู่ด้วยกันเพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแม้กระทั่ง "อบรมสั่งสอน" สี่ ระบบการศึกษาเราถึงแม้ว่าจะมีหลักสูตรถูกบรรจุไว้ แต่ความสนใจที่จะมุ่งเน้นพร่ำสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยมัก "ไม่เข้มข้น!" กอปรกับ ครูอาจารย์อาจจะไม่ให้น้ำหนัก และ/หรือ "สนใจ-เข้าใจ" ความสำคัญของวัฒนธรรมมากน้อยเท่าใดนัก ห้า สภาพแวดล้อม หรือ บริบทของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเป็น "สังคมบริโภคนิยม" และที่สำคัญคือเป็น "สังคมเศรษฐกิจ-ธุรกิจ" ที่มุ่งแต่ "เอารัดเอาเปรียบ" ที่จะ "ชนะ-กำไร" เท่านั้น ไม่มีการนึกถึง "จริยธรรม-คุณธรรม-ชอบธรรม" ซึ่งว่าไปแล้ว "ความเอื้ออาทร-เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่!" เป็นรากฐานสำคัญของ "ธรรมทั้งสาม" นั้น และแน่นอนนั่นคือ "วัฒนธรรมอันดีงาม" อันหนึ่งของสังคมไทย
ปัญหาทั้งห้าคือ ปัญหาหลักๆ ของ "วัฒนธรรมไทย" ที่นับวันนอกเหนือจากขาดความรู้ ความเข้าใจ โดยไม่ต้องคำนึงถึง "อย่างดี-อย่างลึกซึ้ง!" แล้วสังคมไทยยัง "ไม่สนใจ-ใส่ใจ" กับวัฒนธรรมด้วยซ้ำ หรือแม้กระทั่ง "สำนึก" ก็ยังแทบไม่ค่อยปรากฏในจิตใจอีกต่างหาก!
ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่า ตั้งแต่เกิด "กระทรวงวัฒนธรรม" ขึ้นซึ่งเป็นผลพวงจากการปฏิรูประบบราชการครั้งล่าสุดสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก "กระทรวงวัฒนธรรม" เพียรพยายามที่จะผลักดันโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับ "สำนึกไทย-ความเป็นไทย" ตามนโยบายทางด้านสังคมวัฒนธรรมของรัฐบาล ทั้งนี้ในส่วนของนโยบาย โครงการ และ/หรือ มาตรการต่างๆ ทางวัฒนธรรมไทยนั้น ก็ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะในอดีตหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ กระจัดกระจายอยู่ทั้งในกระทรวงศึกษาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งยังคงไม่มี "เอกภาพ" ในการผลักดันให้มีผลเชิงรูปธรรม จนปัจจุบันเกิด "กระทรวงวัฒนธรรม" ขึ้น "ความเอกภาพ" ในการแปลและประยุกต์นโยบายให้ออกมาในเชิงปฏิบัติการนั้น ค่อยๆ ถูกรวบรวมและพยายามผลักดันให้เกิดมรรคผล
สังคมอาจจะเกิดความรู้สึกว่า "กระทรวงวัฒนธรรม" ไม่มีผลอะไรมากมายนัก แต่ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า กระทรวงวัฒนธรรมเพิ่งเกิดมาได้เพียงสองปี ในรูปของหน่วยราชการ และ/หรือ กระทรวงหลัก สถานที่ทำงานก็ยังระหกระเหเร่ร่อน กระจัดกระจาย รัฐมนตรีว่าการก็เปลี่ยนมาแล้วถึงสองคน รวมถึงปลัดกระทรวงฯ เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นว่าไปแล้วก็ "น่าเห็นใจ!" ที่กระทรวงวัฒนธรรมยังมิได้นำเสนออะไรต่อสังคมไทยมากมายนัก จนมีการวิพาษ์วิจารณ์กันว่า "น่าจะยุบกระทรวงฯ!"
"แสงแดด" มีโอกาสได้สัมผัสกับผู้บริหารทั้งระดับสูงสุด ระดับสูง และระดับบริหารของกระทรวงวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม คุณอนุรักษ์ จุรีมาศ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเฉพาะความมุ่งมั่นที่จะให้สังคมไทยได้มีการพัฒนาทางด้าน "จิตสำนึก" พร้อมทั้งมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมไทย" ในขณะเดียวกันก็มีความห่วงใยว่าคนไทยในปัจจุบันด้อยความรู้ทางด้านวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ตลอดจน "ความเสื่อม" ของวัฒนธรรมไทย ในกรณีของพฤติการณ์และพฤติกรรมของคนไทยสมัยใหม่ที่ "บริโภคนิยม-วัตถุนิยม" โดยมักได้รับอิทธิพลจาก "วัฒนธรรมตะวันตก"
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่จะ "ห้ามหยุดยั้ง" คงไม่ได้สำหรับการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตก เนื่องด้วย "โลกาภิวัตน์" แต่ประเด็นสำคัญคือ ความพยายามของคนไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการอย่างไรที่ให้คนไทยสามารถแยกแยะพร้อมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้ให้อยู่ได้ชั่วลูกชั่วหลาน
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นอีกท่านหนึ่งที่ "แสงแดด" คุ้นเคยกับท่านปลัดฯ มายาวนานนับเกือบยี่สิบปี สังเกตได้เลยว่า ท่านปลัดฯ นั้น "สำนึกไทย" อย่างมากที่สุด ไม่ว่า กิริยามารยาท การครองตน จนกระทั่งการแต่งกายที่ "ไทย" อย่างมาก
"สำนึกไทย" ในกรณีที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมต้องการที่จะรณรงค์นั้นคือการให้คนไทยนั้นมี "จิตสำนึก" ในการเป็นคนไทย ที่ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเชิงประวัติศาสตร์และ "วิถีชีวิต" เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดอบรมสั่งสอนถึงลูกหลานได้ นอกจากนั้น "การอนุรักษ์" วัฒนธรรมไทยให้เป็น "เอกลักษณ์ประจำชาติ" ยังเป็นหัวใจสำคัญของแนวคิดนี้
การนิยมใช้ของไทย บริโภคสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหรือกระทั่งอาหารไทยที่อุดมไปด้วยสมุนไพรนานาชนิด ซึ่งว่าไปแล้วเป็น "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ของวัฒนธรรมไทยจริงๆ ที่สังคมไทยในปัจจุบันค่อนข้างปล่อยปละละเลยหรือไม่ให้ความสนใจ ทั้งนี้การระดมให้คนไทย "สำนึกไทย" นั้นเท่ากับเป็นการส่งเสริมอาชีพทางด้านเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เจริญเติบโตได้อีกด้วยนอกเหนือจาก "อนุรักษ์" วัฒนธรรมไทยให้อยู่คู่บ้านคู่เมือง
กระทรวงวัฒนธรรมจะต้องเป็นหน่วยงานหลักในการเริ่มรณรงค์ทั้งในเชิงนามธรรมและรูปธรรมเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมไทย" ในเชิงบูรณาการเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคม "ไทย" อย่างแท้จริง ที่ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และท้ายที่สุดคือ คนไทยทั้งมวลต้อง "สำนึกไทย!"
ยังมีที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวัฒนธรรมเริ่มห่วงใย ตระหนักและให้ความสำคัญกับ "วัฒนธรรมไทย"
แต่ถ้าเมื่อใดมีประเด็นข่าวทางลบเกี่ยวกับ "สังคมไทยยุคใหม่กับวัฒนธรรม" หรือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ก็มักจะเป็นข่าวใหญ่โต กอปรกับมีการวิพากษ์วิจารณ์กันต่ออีกประมาณไม่เกิน 4-5 วัน
สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ หรือแม้กระทั่งสื่อโทรทัศน์ก็มีการนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้าง แต่มักจะเป็น "เชิงข่าว-เชิงสารคดี" ส่วน "เชิงบันเทิง" นั้น แทบไม่ต้องเอ่ยถึง โดยเฉพาะสื่อฯ โทรทัศน์ที่มักนำเสนอ "วัฒนธรรมเชิงบันเทิง" ที่ "ผิด-ผิด" จนออกไปทาง "น้ำเน่า" ไม่ว่าจะเป็นละคร เกมโชว์ หรือ "โปกฮา-โจ๊ก-ตลกโชว์!" หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็หมายความว่าผู้จัดรายการโทรทัศน์มักไม่เคยสอดแทรกหรือนำเสนอสาระประโยชน์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอันดีงาม โดยเฉพาะของไทยเราไม่ว่าเพื่อเป็น "ความรู้" หรือ "ประเทืองปัญญา"
"แสงแดด" ขอเน้นที่ สื่อฯ โทรทัศน์มากหน่อย เนื่องด้วยประชาชนจำนวนมากที่มักไม่ค่อยฟังวิทยุหรืออ่านหนังสือมากมายนัก แต่โปรดปราน "บริโภค" ทางสื่อฯ โทรทัศน์มากที่สุดเพราะ "สะดวก-ง่าย" แก่การติดตาม "เปิดปุ๊บ-ได้ยินได้ฟังได้เห็น!" พร้อมทั้งอาจไม่ต้องคิดมาก "กระบวนการซึมซับ" จึงเกิดขึ้นเร็วและง่าย ทั้งนี้จึงเป็นกรณีที่ "น่าเสียใจ-น่าเสียดาย!" ว่ารายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่ทุกสถานี มุ่งเน้นแต่ "ธุรกิจ-ผลกำไร" มากกว่า "คุณภาพ!" ที่จะป้อนแก่ "ผู้บริโภค-ผู้ชม!"
การนำเสนอข่าวคราวทางสื่อฯ ต่างๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยโดยเฉพาะ "การสำรวจประชามติหรือโพล (POLL)" จากหลากหลายสำนัก เกี่ยวกับเรื่องเด็กและเยาวชนแล้ว "แสงแดด" มั่นใจว่า เราทุกคน "หดหู่" หัวใจเป็นอย่างมากว่า "วัฒนธรรมไทยดีงาม!" เหือดหายไปไหนจากสังคมไทย ที่ทำไมพฤติการณ์และพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น "สวนทาง-ขัดแย้ง" กับ "วัฒนธรรมไทย" อย่างสิ้นเชิง
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า "ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม" ของไทยเรา นับวันจะค่อยจางหายไปจากสังคมไทยทุกวัน ถามว่าถ้าจะให้คนไทยรุ่นอายุตั้งแต่สิบกว่าขวบจนถึงอายุประมาณ 40 ต้นๆ อาจจะให้เรียบเรียง และ/หรือ กล่าวถึง "วัฒนธรรมไทย" ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ตอบได้เลยว่า ร้อยละ 50-70 อาจจะ "ใบ้รับประทาน" หรือ "ปราศจากความรู้!" ที่จะพรรณนาได้เลย!
ปัญหาของ "วัฒนธรรมไทย" ทุกวันนี้สามารถเรียบเรียงได้ว่า หนึ่ง เกิดจากสถาบันครอบครัว ที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ก็อยู่ในวัย 30 ปลายๆ 40 ต้นๆ สอง รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ไม่ล้มหายตายจากไปก็ "แยกกันอยู่" เนื่องด้วยสังคมไทยยุคใหม่เป็น "สังคมนิวเคลียส์" (NUCLEUS FAMILY) กล่าวคือ เป็นครอบครัวเล็กที่แยกมาอยู่กันตามลำพังไม่เหมือนครอบครัวครอบครัวสมัยก่อนที่รวมกันอยู่ในบ้านเดียวกัน สาม สภาวะเศรษฐกิจที่ "ต่างคนต่างอยู่-ปากกัดตีนถีบ!" ทุกคนต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ จึงไม่ค่อยมีเวลาได้อยู่ด้วยกันเพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแม้กระทั่ง "อบรมสั่งสอน" สี่ ระบบการศึกษาเราถึงแม้ว่าจะมีหลักสูตรถูกบรรจุไว้ แต่ความสนใจที่จะมุ่งเน้นพร่ำสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยมัก "ไม่เข้มข้น!" กอปรกับ ครูอาจารย์อาจจะไม่ให้น้ำหนัก และ/หรือ "สนใจ-เข้าใจ" ความสำคัญของวัฒนธรรมมากน้อยเท่าใดนัก ห้า สภาพแวดล้อม หรือ บริบทของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเป็น "สังคมบริโภคนิยม" และที่สำคัญคือเป็น "สังคมเศรษฐกิจ-ธุรกิจ" ที่มุ่งแต่ "เอารัดเอาเปรียบ" ที่จะ "ชนะ-กำไร" เท่านั้น ไม่มีการนึกถึง "จริยธรรม-คุณธรรม-ชอบธรรม" ซึ่งว่าไปแล้ว "ความเอื้ออาทร-เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่!" เป็นรากฐานสำคัญของ "ธรรมทั้งสาม" นั้น และแน่นอนนั่นคือ "วัฒนธรรมอันดีงาม" อันหนึ่งของสังคมไทย
ปัญหาทั้งห้าคือ ปัญหาหลักๆ ของ "วัฒนธรรมไทย" ที่นับวันนอกเหนือจากขาดความรู้ ความเข้าใจ โดยไม่ต้องคำนึงถึง "อย่างดี-อย่างลึกซึ้ง!" แล้วสังคมไทยยัง "ไม่สนใจ-ใส่ใจ" กับวัฒนธรรมด้วยซ้ำ หรือแม้กระทั่ง "สำนึก" ก็ยังแทบไม่ค่อยปรากฏในจิตใจอีกต่างหาก!
ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่า ตั้งแต่เกิด "กระทรวงวัฒนธรรม" ขึ้นซึ่งเป็นผลพวงจากการปฏิรูประบบราชการครั้งล่าสุดสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก "กระทรวงวัฒนธรรม" เพียรพยายามที่จะผลักดันโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับ "สำนึกไทย-ความเป็นไทย" ตามนโยบายทางด้านสังคมวัฒนธรรมของรัฐบาล ทั้งนี้ในส่วนของนโยบาย โครงการ และ/หรือ มาตรการต่างๆ ทางวัฒนธรรมไทยนั้น ก็ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะในอดีตหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ กระจัดกระจายอยู่ทั้งในกระทรวงศึกษาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งยังคงไม่มี "เอกภาพ" ในการผลักดันให้มีผลเชิงรูปธรรม จนปัจจุบันเกิด "กระทรวงวัฒนธรรม" ขึ้น "ความเอกภาพ" ในการแปลและประยุกต์นโยบายให้ออกมาในเชิงปฏิบัติการนั้น ค่อยๆ ถูกรวบรวมและพยายามผลักดันให้เกิดมรรคผล
สังคมอาจจะเกิดความรู้สึกว่า "กระทรวงวัฒนธรรม" ไม่มีผลอะไรมากมายนัก แต่ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า กระทรวงวัฒนธรรมเพิ่งเกิดมาได้เพียงสองปี ในรูปของหน่วยราชการ และ/หรือ กระทรวงหลัก สถานที่ทำงานก็ยังระหกระเหเร่ร่อน กระจัดกระจาย รัฐมนตรีว่าการก็เปลี่ยนมาแล้วถึงสองคน รวมถึงปลัดกระทรวงฯ เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นว่าไปแล้วก็ "น่าเห็นใจ!" ที่กระทรวงวัฒนธรรมยังมิได้นำเสนออะไรต่อสังคมไทยมากมายนัก จนมีการวิพาษ์วิจารณ์กันว่า "น่าจะยุบกระทรวงฯ!"
"แสงแดด" มีโอกาสได้สัมผัสกับผู้บริหารทั้งระดับสูงสุด ระดับสูง และระดับบริหารของกระทรวงวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม คุณอนุรักษ์ จุรีมาศ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเฉพาะความมุ่งมั่นที่จะให้สังคมไทยได้มีการพัฒนาทางด้าน "จิตสำนึก" พร้อมทั้งมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมไทย" ในขณะเดียวกันก็มีความห่วงใยว่าคนไทยในปัจจุบันด้อยความรู้ทางด้านวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ตลอดจน "ความเสื่อม" ของวัฒนธรรมไทย ในกรณีของพฤติการณ์และพฤติกรรมของคนไทยสมัยใหม่ที่ "บริโภคนิยม-วัตถุนิยม" โดยมักได้รับอิทธิพลจาก "วัฒนธรรมตะวันตก"
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่จะ "ห้ามหยุดยั้ง" คงไม่ได้สำหรับการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตก เนื่องด้วย "โลกาภิวัตน์" แต่ประเด็นสำคัญคือ ความพยายามของคนไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการอย่างไรที่ให้คนไทยสามารถแยกแยะพร้อมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้ให้อยู่ได้ชั่วลูกชั่วหลาน
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นอีกท่านหนึ่งที่ "แสงแดด" คุ้นเคยกับท่านปลัดฯ มายาวนานนับเกือบยี่สิบปี สังเกตได้เลยว่า ท่านปลัดฯ นั้น "สำนึกไทย" อย่างมากที่สุด ไม่ว่า กิริยามารยาท การครองตน จนกระทั่งการแต่งกายที่ "ไทย" อย่างมาก
"สำนึกไทย" ในกรณีที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมต้องการที่จะรณรงค์นั้นคือการให้คนไทยนั้นมี "จิตสำนึก" ในการเป็นคนไทย ที่ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเชิงประวัติศาสตร์และ "วิถีชีวิต" เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดอบรมสั่งสอนถึงลูกหลานได้ นอกจากนั้น "การอนุรักษ์" วัฒนธรรมไทยให้เป็น "เอกลักษณ์ประจำชาติ" ยังเป็นหัวใจสำคัญของแนวคิดนี้
การนิยมใช้ของไทย บริโภคสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหรือกระทั่งอาหารไทยที่อุดมไปด้วยสมุนไพรนานาชนิด ซึ่งว่าไปแล้วเป็น "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ของวัฒนธรรมไทยจริงๆ ที่สังคมไทยในปัจจุบันค่อนข้างปล่อยปละละเลยหรือไม่ให้ความสนใจ ทั้งนี้การระดมให้คนไทย "สำนึกไทย" นั้นเท่ากับเป็นการส่งเสริมอาชีพทางด้านเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เจริญเติบโตได้อีกด้วยนอกเหนือจาก "อนุรักษ์" วัฒนธรรมไทยให้อยู่คู่บ้านคู่เมือง
กระทรวงวัฒนธรรมจะต้องเป็นหน่วยงานหลักในการเริ่มรณรงค์ทั้งในเชิงนามธรรมและรูปธรรมเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมไทย" ในเชิงบูรณาการเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคม "ไทย" อย่างแท้จริง ที่ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และท้ายที่สุดคือ คนไทยทั้งมวลต้อง "สำนึกไทย!"
ยังมีที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวัฒนธรรมเริ่มห่วงใย ตระหนักและให้ความสำคัญกับ "วัฒนธรรมไทย"