บอร์ดคุรุสภาหักหน้า “อดิศัย” มีมติเด็ดขาดเก็บค่าธรรมเนียมใบประกอบวิชาชีพครู ดีเดย์ 7 เม.ย.48 ให้ครูยื่นคำขอใบฯ พร้อมแนบค่าธรรมเนียม เผยขณะนี้ครูกว่า 2 แสนได้ยื่นเข้ามาแล้ว
ศ.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งมีบอร์ดคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุมครบทั้ง 39 คน โดยที่ประชุมได้พิจารณาอย่างกว้างขวาง เพื่อหาทางออกที่ถูกต้องและสมบูรณ์ และใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 2 ชั่วโมง
จากนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้ดำเนินการตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 2547 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.47และประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.47 กล่าวคือ ข้าราชการครูทั้ง 4 ประเภทต้องยื่นคำขอใบประกอบวิชาชีพฯ และเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 500 บาทตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ฯ
ทั้งนี้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะต้องยื่นคำขอใบประกอบวิชาชีพฯ เข้ามายังคุรุสภาภายใน 120 วันนับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 7 เม.ย.2548
“ที่ประชุมได้มีการพิจารณาอย่างกว้างขวางในเรื่องของนโยบายของนายอดิศัย
โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม แต่หากพิจารณากฎหมายให้ดีในมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาในวรรคท้ายเขียนไว้ว่าหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ให้ดำเนินการตามข้อบังคับคุรุสภาฯ ขณะเดียวกันเท่าที่ผมทราบประกาศของคุรุสภานั้นก็ชัดเจนอยู่แล้ว แต่มีคำอธิบายจากที่อื่นเพิ่มเติมทำให้ครูเขาลังเล และเท่าที่ทราบตอนนี้มีครูเขาพร้อมแล้ว แต่ก็มีเอกสารบางฉบับออกมาให้ครูชะลอการยื่นคำขอใบประกอบฯ เพราะบอกว่าอาจจะไม่ต้องเสียตังค์ ทำให้เกิดความสับสน เรื่องนี้พวกเราก็เหนื่อย ปวดหัว กรรมการก็ปวดหัว”
ศ.เสริมศักดิ์กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีครูที่ยื่นคำขอและเสียค่าธรรมเนียมเข้ามาแล้ว จำนวน 229,771 รายจากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 600,000 กว่าคน เป็นเงินที่จ่ายค่าธรรมเนียมมาแล้วประมาณ 100 กว่าล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณากลุ่มข้าราชการครูที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบประกอบฯ แต่ยังไม่ได้เป็นมติของที่ประชุมที่ชัดเจน มีเพียงบางกลุ่มที่ชัดเจนแล้วว่าไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพฯ เช่น ผู้บริหาร อาจารย์โรงเรียนเตรียมทหาร อาจารย์ชาวต่างประเทศตามโครงการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานของราชการ และตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันหากกลุ่มนี้มีคุณวุฒิตามข้อบังคับฯ ก็มีสิทธิ์ขอใบประกอบฯ ได้เช่นกัน
ศ.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งมีบอร์ดคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุมครบทั้ง 39 คน โดยที่ประชุมได้พิจารณาอย่างกว้างขวาง เพื่อหาทางออกที่ถูกต้องและสมบูรณ์ และใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 2 ชั่วโมง
จากนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้ดำเนินการตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 2547 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.47และประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.47 กล่าวคือ ข้าราชการครูทั้ง 4 ประเภทต้องยื่นคำขอใบประกอบวิชาชีพฯ และเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 500 บาทตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ฯ
ทั้งนี้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะต้องยื่นคำขอใบประกอบวิชาชีพฯ เข้ามายังคุรุสภาภายใน 120 วันนับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 7 เม.ย.2548
“ที่ประชุมได้มีการพิจารณาอย่างกว้างขวางในเรื่องของนโยบายของนายอดิศัย
โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม แต่หากพิจารณากฎหมายให้ดีในมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาในวรรคท้ายเขียนไว้ว่าหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ให้ดำเนินการตามข้อบังคับคุรุสภาฯ ขณะเดียวกันเท่าที่ผมทราบประกาศของคุรุสภานั้นก็ชัดเจนอยู่แล้ว แต่มีคำอธิบายจากที่อื่นเพิ่มเติมทำให้ครูเขาลังเล และเท่าที่ทราบตอนนี้มีครูเขาพร้อมแล้ว แต่ก็มีเอกสารบางฉบับออกมาให้ครูชะลอการยื่นคำขอใบประกอบฯ เพราะบอกว่าอาจจะไม่ต้องเสียตังค์ ทำให้เกิดความสับสน เรื่องนี้พวกเราก็เหนื่อย ปวดหัว กรรมการก็ปวดหัว”
ศ.เสริมศักดิ์กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีครูที่ยื่นคำขอและเสียค่าธรรมเนียมเข้ามาแล้ว จำนวน 229,771 รายจากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 600,000 กว่าคน เป็นเงินที่จ่ายค่าธรรมเนียมมาแล้วประมาณ 100 กว่าล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณากลุ่มข้าราชการครูที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบประกอบฯ แต่ยังไม่ได้เป็นมติของที่ประชุมที่ชัดเจน มีเพียงบางกลุ่มที่ชัดเจนแล้วว่าไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพฯ เช่น ผู้บริหาร อาจารย์โรงเรียนเตรียมทหาร อาจารย์ชาวต่างประเทศตามโครงการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานของราชการ และตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันหากกลุ่มนี้มีคุณวุฒิตามข้อบังคับฯ ก็มีสิทธิ์ขอใบประกอบฯ ได้เช่นกัน