เทศนากัณฑ์เคล้าน้ำตาหัวข้อของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2548 สืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐใน 2 ประการด้วยกัน ประการหนึ่งว่าด้วยการจัดระเบียบพระสงฆ์ที่อยู่ในเขตป่าสงวนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งว่าด้วยร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ในประการแรกนั้นคงจะจบไม่ยาก หากประกาศ 2 ฉบับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯไม่ได้ห้ามพระธุดงค์เข้าไปในเขตป่าสงวนจริงตามที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงออกมาแก้ข่าวในทันที
แต่ในเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น – จบไม่ง่ายแน่นอน !
เรื่องนี้ผมเขียนไปครั้งหนึ่งแล้ว ณ ที่นี้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2548 ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ และได้ชี้ให้เห็นโดยสังเขปว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจไว้กว้างขวางมากในกรณีการให้ได้มาซึ่งที่ดินที่จะอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
เพื่อการได้มาซึ่งที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ นั้นจะมีผลเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายฉบับเดิมหลายฉบับ
รวมทั้งกฎหมายคณะสงฆ์ !
เรื่องนี้ไม่ได้คิดไม่ได้ฝันเอาเองครับ เพราะมีปรากฏอยู่ชัดเจนในมาตรา 31 ที่ระบุไว้ว่า...
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหรือเปลี่ยน แปลงเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละเขตตามพ.ร.บ.นี้แล้ว ให้มีผลต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่ธรณีสงฆ์ ที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย !
ที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษได้รับความยินยอมจากวัดและจ่ายค่าผาติกรรมให้แก่วัดตามที่มหาเถรสมาคมกำหนดแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวตกเป็นของเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยไม่ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.โอนที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ หรือในกรณีที่วัดประสงค์จะให้เช่าแทนการโอน ก็ให้ดำเนินการเช่าระยะยาว
นี่แหละครับที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนท่านไม่เห็นด้วย
และเชื่อว่าพระสงฆ์ทั่วประเทศ ทั้งที่เคยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนในกรณีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ จะต้องมีความเห็นพ้องต้องกันกับท่านแน่นอน
แต่ผมเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับใหม่ไม่ได้มีอะไรพิเศษพิสดารไปจากหลักการเดิม
ที่ธรณีสงฆ์แต่เดิมไม่ใช่แตะต้องเปลี่ยนแปลงไม่ได้
และไม่ใช่ว่าจะต้องทำโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาทุกครั้งเท่านั้น
มีข้อยกเว้นบางประการที่อนุญาตให้ตราเป็นเพียงพระราชกฤษฎีกาได้
ร่างกฎหมายฉบับใหม่เพียงแต่เขียนลอกมาจากมาตรา 34 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่มาทำให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น ถ้าจะเพิ่มอำนาจมากขึ้นก็คือให้ใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกันกับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น ไม่ต้องแยกเป็นพระราชกฤษฎีกาเฉพาะ
มาดูเรื่องการบริหารจัดการที่ดินที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนากันเป็นพื้นฐานเสียหน่อยนะครับ ว่ามีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน
-ที่วัด
-ที่ธรณีสงฆ์
-ที่กัลปนา
-ที่ศาสนสมบัติกลาง
ที่วัดก็หมายถึงที่ตั้งวัด แนวเขตของวัด ที่ธรณีสงฆ์หมายถึงที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด ส่วนที่กัลปนานั้นหมายถึงที่ซึ่งมีผู้อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด และที่ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง และศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง
รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 ประเภทได้อยู่แล้ว – ไม่ใช่ไม่ได้อย่างที่อาจจะเข้าใจกัน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันระบุให้กระทำโดยพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกา !
มาตรา 34 การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง
การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้องและได้รับค่าผาติกรรมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือกรมการศาสนา แล้วแต่กรณีในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง
มาตรา 35 ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
เห็นไหมครับว่ามาตรา 31 ฉบับใหม่ก็เขียนล้อมาจากมาตรา 34 วรรคสองของกฎหมายคณะสงฆ์
เพียงแต่ทำให้ง่ายขึ้น
ถ้าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือพระสงฆ์อื่น จะต่อสู้เรียกร้องให้ล้มเลิกหลักการที่บรรจุในร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็ต้องเรียกร้องให้มีเขียนระบุไปในร่างกฎหมายใหม่ให้ชัดเจนไปเลยว่า...
“ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่ศาสนสมบัติกลาง ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้”
เติมไว้เป็นวรรคหนึ่งของมาตรา 31 ก็ได้
ซึ่งก็หมายความว่าทำได้ แต่จะต้องเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยกระบวนการนิติบัญญัติ หรือถ้าเป็นกรณียกเว้นตามกฎหมายคณะสงฆ์ดังที่ผมกล่าวอ้างไว้ ก็ต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกาอีกฉบับหนึ่ง
ไม่ใช่รวบรัดตัดตอนโดยอำนาจฝ่ายบริหาร
อันที่จริงเสียงคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้จากผู้คนจำนวนหนึ่ง ก็ไม่ใช่เพราะเขาคัดค้านความเจริญก้าว หน้าคัดค้านรูปแบบการบริหารแบบใหม่ทั้งหมด เพียงแต่เขาต้องการให้การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละเขตจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะเป็นกรณี ๆ ไป ไม่ใช่ตราพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยรวมขึ้นมาฉบับเดียว แล้วให้อำนาจคณะกรรมการที่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหารประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใดขึ้นมาก็ได้โดยไม่ต้องกลับเข้ามาหารัฐสภาอีก
เขาไม่อยาก “เซ็นเช็คเปล่า” ให้ฝ่ายบริหาร !
เรื่องราวของร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษคงไม่จบง่าย ๆ เพราะพ้นจากที่วัดที่ธรณีสงฆ์แล้ว ก็ต้องตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบกันอีกว่าจะเอาอย่างไรกับที่ดินสาธารณะประเภทอื่น ๆ เช่น ที่ป่าสงวน ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และ ฯลฯ
จะยอมให้รวบรัดตัดตอนกันง่าย ๆ หรือเปล่า ?
พระท่านว่าของท่านไปแล้ว ฆราวาสล่ะจะว่าอย่างไร ?
ในประการแรกนั้นคงจะจบไม่ยาก หากประกาศ 2 ฉบับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯไม่ได้ห้ามพระธุดงค์เข้าไปในเขตป่าสงวนจริงตามที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงออกมาแก้ข่าวในทันที
แต่ในเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น – จบไม่ง่ายแน่นอน !
เรื่องนี้ผมเขียนไปครั้งหนึ่งแล้ว ณ ที่นี้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2548 ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ และได้ชี้ให้เห็นโดยสังเขปว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจไว้กว้างขวางมากในกรณีการให้ได้มาซึ่งที่ดินที่จะอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
เพื่อการได้มาซึ่งที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ นั้นจะมีผลเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายฉบับเดิมหลายฉบับ
รวมทั้งกฎหมายคณะสงฆ์ !
เรื่องนี้ไม่ได้คิดไม่ได้ฝันเอาเองครับ เพราะมีปรากฏอยู่ชัดเจนในมาตรา 31 ที่ระบุไว้ว่า...
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหรือเปลี่ยน แปลงเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละเขตตามพ.ร.บ.นี้แล้ว ให้มีผลต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่ธรณีสงฆ์ ที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย !
ที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษได้รับความยินยอมจากวัดและจ่ายค่าผาติกรรมให้แก่วัดตามที่มหาเถรสมาคมกำหนดแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวตกเป็นของเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยไม่ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.โอนที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ หรือในกรณีที่วัดประสงค์จะให้เช่าแทนการโอน ก็ให้ดำเนินการเช่าระยะยาว
นี่แหละครับที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนท่านไม่เห็นด้วย
และเชื่อว่าพระสงฆ์ทั่วประเทศ ทั้งที่เคยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนในกรณีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ จะต้องมีความเห็นพ้องต้องกันกับท่านแน่นอน
แต่ผมเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับใหม่ไม่ได้มีอะไรพิเศษพิสดารไปจากหลักการเดิม
ที่ธรณีสงฆ์แต่เดิมไม่ใช่แตะต้องเปลี่ยนแปลงไม่ได้
และไม่ใช่ว่าจะต้องทำโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาทุกครั้งเท่านั้น
มีข้อยกเว้นบางประการที่อนุญาตให้ตราเป็นเพียงพระราชกฤษฎีกาได้
ร่างกฎหมายฉบับใหม่เพียงแต่เขียนลอกมาจากมาตรา 34 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่มาทำให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น ถ้าจะเพิ่มอำนาจมากขึ้นก็คือให้ใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกันกับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น ไม่ต้องแยกเป็นพระราชกฤษฎีกาเฉพาะ
มาดูเรื่องการบริหารจัดการที่ดินที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนากันเป็นพื้นฐานเสียหน่อยนะครับ ว่ามีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน
-ที่วัด
-ที่ธรณีสงฆ์
-ที่กัลปนา
-ที่ศาสนสมบัติกลาง
ที่วัดก็หมายถึงที่ตั้งวัด แนวเขตของวัด ที่ธรณีสงฆ์หมายถึงที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด ส่วนที่กัลปนานั้นหมายถึงที่ซึ่งมีผู้อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด และที่ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง และศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง
รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 ประเภทได้อยู่แล้ว – ไม่ใช่ไม่ได้อย่างที่อาจจะเข้าใจกัน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันระบุให้กระทำโดยพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกา !
มาตรา 34 การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง
การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้องและได้รับค่าผาติกรรมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือกรมการศาสนา แล้วแต่กรณีในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง
มาตรา 35 ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
เห็นไหมครับว่ามาตรา 31 ฉบับใหม่ก็เขียนล้อมาจากมาตรา 34 วรรคสองของกฎหมายคณะสงฆ์
เพียงแต่ทำให้ง่ายขึ้น
ถ้าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือพระสงฆ์อื่น จะต่อสู้เรียกร้องให้ล้มเลิกหลักการที่บรรจุในร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็ต้องเรียกร้องให้มีเขียนระบุไปในร่างกฎหมายใหม่ให้ชัดเจนไปเลยว่า...
“ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่ศาสนสมบัติกลาง ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้”
เติมไว้เป็นวรรคหนึ่งของมาตรา 31 ก็ได้
ซึ่งก็หมายความว่าทำได้ แต่จะต้องเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยกระบวนการนิติบัญญัติ หรือถ้าเป็นกรณียกเว้นตามกฎหมายคณะสงฆ์ดังที่ผมกล่าวอ้างไว้ ก็ต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกาอีกฉบับหนึ่ง
ไม่ใช่รวบรัดตัดตอนโดยอำนาจฝ่ายบริหาร
อันที่จริงเสียงคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้จากผู้คนจำนวนหนึ่ง ก็ไม่ใช่เพราะเขาคัดค้านความเจริญก้าว หน้าคัดค้านรูปแบบการบริหารแบบใหม่ทั้งหมด เพียงแต่เขาต้องการให้การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละเขตจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะเป็นกรณี ๆ ไป ไม่ใช่ตราพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยรวมขึ้นมาฉบับเดียว แล้วให้อำนาจคณะกรรมการที่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหารประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใดขึ้นมาก็ได้โดยไม่ต้องกลับเข้ามาหารัฐสภาอีก
เขาไม่อยาก “เซ็นเช็คเปล่า” ให้ฝ่ายบริหาร !
เรื่องราวของร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษคงไม่จบง่าย ๆ เพราะพ้นจากที่วัดที่ธรณีสงฆ์แล้ว ก็ต้องตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบกันอีกว่าจะเอาอย่างไรกับที่ดินสาธารณะประเภทอื่น ๆ เช่น ที่ป่าสงวน ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และ ฯลฯ
จะยอมให้รวบรัดตัดตอนกันง่าย ๆ หรือเปล่า ?
พระท่านว่าของท่านไปแล้ว ฆราวาสล่ะจะว่าอย่างไร ?