รอยเตอร์ - นักวิจัยสหรัฐฯเตือน ความเครียดรุนแรงสามารถก่อให้เกิดโรค "หัวใจสลาย" ซึ่งมีอาการคล้ายหัวใจวายจากเส้นเลือดอุดตัน พร้อมแนะแพทย์ให้ตะหนักถึงความแตกต่างของโรคทั้งสอง เพื่อสามารถหาวิธีรับมือได้ทันท่วงที
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ แห่งเมืองบัลติมอร์ ของสหรัฐฯ เผยผลการศึกษาล่าสุดในนิวอิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน เมื่อวันพุธ (9) ว่า โรคหัวใจสลาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตึงเครียด เกิดจากร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลีนมากผิดปกติ อาทิเช่น หลังการประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือแม้กระทั่งในยามทราบข่าวการเสียชีวิตของคนรัก
โรคชนิดนี้แตกต่างจากอาการหัวใจวายทั่วไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากเส้นโลหิตอุดตัน ขณะเดียวกันการรักษาโรคดังกล่าวก็อาจใช้ระยะเวลาเพียงสั้นๆ เนื่องจากหัวใจสามารถกลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้เอง
อิลัน วิตต์สไตน์ หัวหน้านักวิจัย เผยว่า บางคนอาจตอบสนองต่อความเครียดแบบเฉียบพลันด้วยการหลั่งสารอะดรีนาลีน และสารเคมีอื่นๆจำนวนมากเข้าสู่กระแสเลือด
สารเหล่านี้สามารถเป็นอันตรายต่อหัวใจชั่วขณะ ทำให้กล้ามเนื้อหยุดชะงัก และเกิดอาการคล้ายหัวใจวายตามมา กล่าวคือ แน่นหน้าอก น้ำท่วมปอด หายใจติดขัด และหัวใจล้มเหลว
ทว่า ความเหมือนของโรคทั้งสองสิ้นสุดลงแค่นั้น การวินิจฉัยมากยิ่งขึ้นด้วยวิธีตรวจเลือดและสแกนภาพจากคลื่นแม่เหล็ก ไม่สามารถพบสัญญาณของโรคหัวใจ อาทิ กล้ามเนื้อเสียหายโดยไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ และการเพิ่มขึ้นของระดับเอ็นไซม์
วิตต์สไตน์ บอกว่า การทราบถึงอาการของโรคหัวใจสลาย จะช่วยให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการรักษาที่เสี่ยงอันตรายโดยเปล่าประโยชน์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งเกือบถูกนำตัวเข้าห้องผ่าตัดหลังเกิดอาการช็อก แต่แพทย์รับรู้อาการที่แท้จริงเสียก่อน ทำให้คนไข้รายนี้นอกจากจะรอดการผ่าตัดแล้ว ยังสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายในเวลาเพียง 3 วัน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ แห่งเมืองบัลติมอร์ ของสหรัฐฯ เผยผลการศึกษาล่าสุดในนิวอิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน เมื่อวันพุธ (9) ว่า โรคหัวใจสลาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตึงเครียด เกิดจากร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลีนมากผิดปกติ อาทิเช่น หลังการประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือแม้กระทั่งในยามทราบข่าวการเสียชีวิตของคนรัก
โรคชนิดนี้แตกต่างจากอาการหัวใจวายทั่วไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากเส้นโลหิตอุดตัน ขณะเดียวกันการรักษาโรคดังกล่าวก็อาจใช้ระยะเวลาเพียงสั้นๆ เนื่องจากหัวใจสามารถกลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้เอง
อิลัน วิตต์สไตน์ หัวหน้านักวิจัย เผยว่า บางคนอาจตอบสนองต่อความเครียดแบบเฉียบพลันด้วยการหลั่งสารอะดรีนาลีน และสารเคมีอื่นๆจำนวนมากเข้าสู่กระแสเลือด
สารเหล่านี้สามารถเป็นอันตรายต่อหัวใจชั่วขณะ ทำให้กล้ามเนื้อหยุดชะงัก และเกิดอาการคล้ายหัวใจวายตามมา กล่าวคือ แน่นหน้าอก น้ำท่วมปอด หายใจติดขัด และหัวใจล้มเหลว
ทว่า ความเหมือนของโรคทั้งสองสิ้นสุดลงแค่นั้น การวินิจฉัยมากยิ่งขึ้นด้วยวิธีตรวจเลือดและสแกนภาพจากคลื่นแม่เหล็ก ไม่สามารถพบสัญญาณของโรคหัวใจ อาทิ กล้ามเนื้อเสียหายโดยไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ และการเพิ่มขึ้นของระดับเอ็นไซม์
วิตต์สไตน์ บอกว่า การทราบถึงอาการของโรคหัวใจสลาย จะช่วยให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการรักษาที่เสี่ยงอันตรายโดยเปล่าประโยชน์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งเกือบถูกนำตัวเข้าห้องผ่าตัดหลังเกิดอาการช็อก แต่แพทย์รับรู้อาการที่แท้จริงเสียก่อน ทำให้คนไข้รายนี้นอกจากจะรอดการผ่าตัดแล้ว ยังสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายในเวลาเพียง 3 วัน