พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่การการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุเสาโฮปเวลล์ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์โครงการทางรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต-มหาชัย) และต้องงบทุบทิ้งทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านบาท ว่าคงจะต้องทุบทิ้งบางส่วน เพราะมีเสาบางต้นใช้ได้ บางต้นใช้ไม่ได้ ซึ่งต้องมีการทุบจำนวนมากพอสมควร แต่จำตัวเลขไม่ได้ ส่วนงบประมาณที่จะใช้ 1,000 ล้านบาทนั้น มีทั้งสร้างใหม่และทุบทิ้งเป็นเงินก้อนเดียวที่จะต้องทำ ถือว่าเป็นเรื่องของการลงทุนทั้งหมดของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการจราจรทั้งระบบ ส่วนที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบบริษัทก่อสร้างหรือไม่นั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องของคู่สัญญาเดิม รัฐบาลไม่ได้เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม หลังเลือกตั้งค่อยคุยกันอีกครั้ง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า เรื่องการทุบเสาโครงสร้างเดิมของโครงการทางรถไฟและถนนและทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร (โฮปเวลล์) นั้นจะต้องแยกเป็น 2 ส่วน คือในส่วนของแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าเชื่อสนามบินสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตเรลลิงค์) จากพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ นั้นจะต้องมีการทุบบางส่วนอยู่แล้ว แต่ในส่วนของรถไฟฟ้าสีแดง สายเหนือจากบางซื่อ-รังสิตนั้น จะต้องรอผลสรุปการวิเคราะห์ศึกษาจากทางสถาบันเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ที่จะต้องสรุปผลการตรวจสอบภายใน 2-3 สัปดาห์จากนี้ หลังจากนั้นจึงจะบอกได้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรกับโครงสร้างดังกล่าว
ขณะนี้ได้ให้ทางสำนักนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.)ซึ่งรับผิดชอบการออกแบบโครงการนี้ว่า ได้กำชับให้ไปศึกษาอย่างละเอียดว่าเสาตอม่อแต่ละต้นยังใช้การได้หรือไม่ จะต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนและถูกต้องกับหลักการศึกษา จะต้องสุ่มตัวอย่างที่จะต้องใช้ในงานก่อสร้างจริงเป็นหลักด้วย เพื่อให้ผลที่ได้ออกมามีความชัดเจน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่าการทุบรื้อโครงสร้างของโฮปเวลล์เดิมจะเกิดปัญหาถูกฟ้องร้องจากทางบริษัทโฮปเวลล์หรือไม่นั้น นายสุริยะ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็น โดยบอกเพียงว่าเรื่องนี้จะต้องรอผลสรุปการศึกษาที่ชัดเจนออกมาก่อน จึงจะบอกได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ตอนนี้ก็ขอให้รอไปก่อน
สนข.แจงตรวจ50 ต้นพบเสื่อม2-3 ต้น
แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างโครงการทางรถไฟฟ้ายกระดับสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-รังสิต-มหาชัย โดยจะเสร็จภายในเดือน พฤษภาคม 2548 นี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของการออกแบบ คือ การตรวจสอบสภาพเสาของโครงการทางรถไฟยกระดับและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหรือ โฮปเวลล์เดิม ด้วยว่าจะสามารถใช้งานได้หรือไม่ เพราะในหลักการเบื้องต้นของการออกแบบรถไฟฟ้าสายสีแดงจะพยายามให้ใช้โครงสร้างเดิมของโฮปเวลล์ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาออกแบบประกอบด้วยบริษัท เออีซี จีอีซีและบริษัท พีซีไอ ได้มีการสำรวจโครงการเสาของโฮปเวลล์ไปประมาณ 50 ต้นจากทั้งหมดกว่า 500 ต้น พบว่ามีประมาณ 2-3 ตันที่สภาพเนื้อความแข็งแกร่งของคอนกรีตมีปัญหาเสื่อมสภาพ และอาจจะนำมาใช้ต่อไม่ได้ โดยที่ปรึกษาจะสำรวจเสาโฮปเวลล์ทุกต้นและสรุปออกมา ภายใน 1 เดือนว่าแต่ละต้นมีสภาพอย่างไร ซึ่งหากภาพรวมเสื่อมสภาพก็อาจจะต้องเสนอให้ทุบทิ้งทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบอย่างละเอียด
"โดยในการออกแบบก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น ได้เน้นที่จะให้แบบมีโครงสร้างใกล้เคียงกับโครงการโฮปเวลล์เดิมมากที่สุดเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากตอม่อของโฮปเวลล์เดิม ซึ่งขณะนี้ถือว่าการตรวจอสบโครงสร้างทำได้ 2-3 % จากทั้งหมดเท่านั้น ส่วนโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมินั้น มีความจำเป็นต้องทุบตอม่อโฮปเวลล์ทิ้งทั้งหมด เพราะโครงสร้างของสองโครงการไม่เหมือนกัน จึงใช้ร่วมกันไม่ได้"
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า เรื่องการทุบเสาโครงสร้างเดิมของโครงการทางรถไฟและถนนและทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร (โฮปเวลล์) นั้นจะต้องแยกเป็น 2 ส่วน คือในส่วนของแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าเชื่อสนามบินสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตเรลลิงค์) จากพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ นั้นจะต้องมีการทุบบางส่วนอยู่แล้ว แต่ในส่วนของรถไฟฟ้าสีแดง สายเหนือจากบางซื่อ-รังสิตนั้น จะต้องรอผลสรุปการวิเคราะห์ศึกษาจากทางสถาบันเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ที่จะต้องสรุปผลการตรวจสอบภายใน 2-3 สัปดาห์จากนี้ หลังจากนั้นจึงจะบอกได้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรกับโครงสร้างดังกล่าว
ขณะนี้ได้ให้ทางสำนักนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.)ซึ่งรับผิดชอบการออกแบบโครงการนี้ว่า ได้กำชับให้ไปศึกษาอย่างละเอียดว่าเสาตอม่อแต่ละต้นยังใช้การได้หรือไม่ จะต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนและถูกต้องกับหลักการศึกษา จะต้องสุ่มตัวอย่างที่จะต้องใช้ในงานก่อสร้างจริงเป็นหลักด้วย เพื่อให้ผลที่ได้ออกมามีความชัดเจน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่าการทุบรื้อโครงสร้างของโฮปเวลล์เดิมจะเกิดปัญหาถูกฟ้องร้องจากทางบริษัทโฮปเวลล์หรือไม่นั้น นายสุริยะ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็น โดยบอกเพียงว่าเรื่องนี้จะต้องรอผลสรุปการศึกษาที่ชัดเจนออกมาก่อน จึงจะบอกได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ตอนนี้ก็ขอให้รอไปก่อน
สนข.แจงตรวจ50 ต้นพบเสื่อม2-3 ต้น
แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างโครงการทางรถไฟฟ้ายกระดับสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-รังสิต-มหาชัย โดยจะเสร็จภายในเดือน พฤษภาคม 2548 นี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของการออกแบบ คือ การตรวจสอบสภาพเสาของโครงการทางรถไฟยกระดับและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหรือ โฮปเวลล์เดิม ด้วยว่าจะสามารถใช้งานได้หรือไม่ เพราะในหลักการเบื้องต้นของการออกแบบรถไฟฟ้าสายสีแดงจะพยายามให้ใช้โครงสร้างเดิมของโฮปเวลล์ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาออกแบบประกอบด้วยบริษัท เออีซี จีอีซีและบริษัท พีซีไอ ได้มีการสำรวจโครงการเสาของโฮปเวลล์ไปประมาณ 50 ต้นจากทั้งหมดกว่า 500 ต้น พบว่ามีประมาณ 2-3 ตันที่สภาพเนื้อความแข็งแกร่งของคอนกรีตมีปัญหาเสื่อมสภาพ และอาจจะนำมาใช้ต่อไม่ได้ โดยที่ปรึกษาจะสำรวจเสาโฮปเวลล์ทุกต้นและสรุปออกมา ภายใน 1 เดือนว่าแต่ละต้นมีสภาพอย่างไร ซึ่งหากภาพรวมเสื่อมสภาพก็อาจจะต้องเสนอให้ทุบทิ้งทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบอย่างละเอียด
"โดยในการออกแบบก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น ได้เน้นที่จะให้แบบมีโครงสร้างใกล้เคียงกับโครงการโฮปเวลล์เดิมมากที่สุดเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากตอม่อของโฮปเวลล์เดิม ซึ่งขณะนี้ถือว่าการตรวจอสบโครงสร้างทำได้ 2-3 % จากทั้งหมดเท่านั้น ส่วนโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมินั้น มีความจำเป็นต้องทุบตอม่อโฮปเวลล์ทิ้งทั้งหมด เพราะโครงสร้างของสองโครงการไม่เหมือนกัน จึงใช้ร่วมกันไม่ได้"