นักวิชาการตะวันตกได้กล่าวถึงการเมืองในทำนองว่า “การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ” หรือ “การเมืองคือศิลปะที่ต้องทำให้เกิดความเป็นไปได้” ซึ่งหมายความว่า เพื่อจะให้บรรลุถึงเป้าหมายจะใช้วิธีการอันใดก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้การเมืองจึงเป็นเกมแห่งอำนาจ ซึ่งผู้ซึ่งอยู่ในเกมจะมีพฤติกรรมแตกต่างจากคนอื่น การวางตัวก็ดี การพูดจาก็ดี อาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และบ่อยครั้งการแสดงออกคือการเสแสร้งเพื่อการสร้างภาพ จุดประสงค์หลักก็คือการได้มาซึ่งความนิยมชมชอบและคะแนนเสียงในที่สุด
การพูดจาของนักการเมืองจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะตามมา การพูดอันใดก็ตามที่มีผลในทางลบจะต้องหลีกเลี่ยง ขณะเดียวกันการกระทำหรือการแสดงออกที่จะนำไปสู่ความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลผู้นั้น ต่อกลุ่มของตน ต่อองค์กรของตนที่ตนสังกัด ก็จะต้องรีบฉกฉวยโอกาส ในทางตรงกันข้าม อะไรก็ตามที่จะนำไปสู่ผลในทางลบต่อฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมือง ก็อาจจะมีการพูดหรือแสดงออกทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง หรือแม้จะเป็นความจริงก็จะมีการขยายความบิดเบือน เพื่อให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งใดก็ตามที่มีผลในทางลบ แม้ตนเองเคยเป็นผู้เคยกระทำมาก่อน ก็จะแกล้งลืมสิ่งนั้นและขยายผลในทางลบเพื่อทำลายฝ่ายตรงกันข้ามโดยไม่มีความละอายใจว่าเป็นสิ่งที่ตนก็เคยปฏิบัติมาแล้ว ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เป็นกระบวนเกมการเมืองที่ต้องอาศัยเสียงจากประชาชน และยิ่งในยุคที่มีความจำเป็นในการสร้างภาพต่อสาธารณชนด้วยสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ พฤติกรรมหรือการแสดงออกของนักการเมืองจำนวนไม่น้อยจึงออกมาในลักษณะที่สวนทางกับความจริงใจหรือสิ่งที่เป็นจริง
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีคนจำนวนไม่น้อยไม่ยินดีเข้าสู่กระบวนการทางการเมือง เพราะบุคคลเหล่านี้ยังมีความเคารพตนเองอยู่ และไม่ยอมกระทำในสิ่งที่ผิดหลักการหรือไม่ยุติธรรม แต่หลายคนที่เข้าสู่กระบวนการทางการเมืองต้องเผชิญกับความกระอักกระอ่วนใจ เนื่องจากกระบวนการทางการเมืองตามที่ได้กล่าวมาแล้วเบื้องต้นสร้างความจำเป็นที่จะต้องมีพฤติกรรมที่ตนเองอาจไม่เคยชิน หลายคนซึ่งเข้าสู่กระบวนการทางการเมืองจึงไม่สามารถจะปรับตัวได้ ผลสุดท้ายก็ต้องนิ่งเงียบหรือไม่แสดงออกเพราะไม่อยากกระทำต่อสิ่งที่ฝืนความรู้สึก และนี่คือปัญหาของคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าสู่กระบวนการทางการเมือง แต่ไม่สามารถจะเล่นไปตามกฎเกณฑ์เนื่องจากมีทัศนคติ ค่านิยม ที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในฐานะนักการเมือง
เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวเบื้องต้น จึงมีการพูดถึงจริยธรรมและมารยาททางการเมืองขึ้น โดยข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ถึงแม้ว่าเกมการเมืองจะดำเนินไปตามครรลองที่กล่าวมาเบื้องต้น แต่นักการเมืองก็ต้องมีจริยธรรมหรือมีมารยาททางการเมือง ไม่ปล่อยให้ความต้องการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจหรือการชนะคู่ต่อสู้เกิดขึ้นโดยไม่คำนึงถึงความถูกความผิด หลักตรรกมีอยู่ง่ายๆ ว่า ใครก็ตามที่ปราศจากศีลธรรมและจริยธรรมจะเป็นคนดีไม่ได้ และยังจะเป็นอันตรายต่อสังคม ยิ่งนักการเมืองซึ่งเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งอำนาจ ที่สามารถทำให้เกิดผลลบผลบวกต่อสังคมได้ ถ้าขาดเสียซึ่งจิตสำนึกเรื่องความถูกความผิด จริยธรรมและมารยาททางการเมืองก็ยิ่งจะนำไปสู่ผลเสียต่อสังคม
ขงจื๊อจึงได้กล่าวตั้งแต่โบราณกาลความว่า คนมีอำนาจ คนที่อยู่ในตำแหน่ง จะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม หรือกล่าวอีกนัยคนที่มีคุณธรรมเท่านั้นจึงควรจะได้มีอำนาจทางการเมืองและการบริหาร โดยหลักตรรกคนที่มีอำนาจทางการเมืองแต่ขาดจริยธรรมก็ย่อมจะมีแนวโน้มใช้อำนาจในทางผิดๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ของครอบครัว และของพรรคพวก ข่มเหงบีฑากรรมราษฎร์ และเมื่ออยู่ในตำแหน่งอำนาจก็จะกลายเป็นขุนนางกังฉิน หรือเป็นทรราช ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีการอบรมสั่งสอนมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงธรรมะของผู้ปกครองแผ่นดิน เช่นในกรณีของเอเชียนั้นก็มีหลักธรรมะการปกครองของลัทธิขงจื๊อ โดยผู้ปกครองต้องทำเพื่อประชาราษฎร์ มีความเมตตา เสียสละเพื่อส่วนรวม มีความยุติธรรม ฯลฯ ในกรณีของอินเดียก็มีทศพิธรราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชนีติ ฯลฯ ของชาวตะวันตกก็มีเรื่องภรกิจอันศักดิ์สิทธิ์ การเคารพต่ออำนาจอธิปไตยของปวงชน และในปัจจุบันก็พูดถึงเรื่องธรรมรัฏฐาภิบาล
ประเด็นอยู่ที่ว่า ในเมื่อระบบการเมืองทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถมีความจริงใจได้ นอกจากคนที่มีอุดมการณ์หรือจริยธรรม การจะคาดหวังให้ผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจมีจิตสำนึกเองนั้นอาจจะเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการสร้างกลไกตรวจสอบในระบบที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า checks and balances นั่นคือการไม่ให้อำนาจตกอยู่ในมือคนใดคนหนึ่งโดยเด็ดขาด แต่ให้มีการถ่วงดุลกันเพื่อป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่นภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะต้องมีการถ่วงดุลตรวจสอบระหว่างสามอำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ นอกจากนั้นยังต้องมีการถ่วงดุลอำนาจโดยประชาชนและสื่อมวลชน เป็นต้น นอกจากนั้น ยังอาจมีการสร้างองค์กรต่างๆ ขึ้นมาเพื่อการดังกล่าว เช่นในกรณีของประเทศไทยนั้นก็มี ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
การตรวจสอบการใช้อำนาจทางการเมืองจึงต้องมาจากสองแหล่ง เบื้องต้นคือ จิตสำนึกและความมีจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจเอง ส่วนที่สองคือจะต้องมีกลไกและระบบการถ่วงดุลอำนาจ
ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือ ถึงแม้จะมีระบบที่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลก็ตาม โอกาสของคนซึ่งไม่มีจริยธรรมเข้าไปสู่ตำแหน่งอำนาจ และก่อความเสียหาย ก็ยังมีอยู่ ดังนั้น ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไรจึงจะมีระบบและกระบวนการจากประชาชนที่คอยสอดส่องป้องกันไม่ให้คนไม่ดีเข้ามาสู่ตำแหน่งอำนาจ สร้างความเสียหายให้แก่สังคมส่วนใหญ่ ดังพระบรมราโชวาทขององค์พระประมุขซึ่งทรงให้ไว้มากว่าสามทศวรรษแล้ว ความว่า “ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่เป็นการทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
การเมือง กระบวนการทางการเมือง นักการเมือง ความจริงใจ การมีจริยธรรม จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาทางสร้างระบบและสร้างกระบวนการการตรวจสอบ รวมทั้งการพัฒนาจิตสำนึกในทางจริยธรรมขึ้นทั้งในหมู่นักการเมืองและนักบริหารในระบบราชการ ทั้งนี้เพื่อจะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวม
มีคำพูดๆ หนึ่งว่า รัฐบุรุษคือบุคคลที่คิดถึงอนาคตของคนรุ่นหลัง คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของคนส่วนใหญ่ แต่นักการเมืองคิดถึงแต่การเลือกตั้งแต่ละครั้ง ในความเป็นจริง รัฐบุรุษคือนักการเมืองที่มีจริยธรรม มีจิตสำนึกและมีวิสัยทัศน์ มีความเสียสละ ส่วนนักการเมืองที่คิดถึงแต่การเลือกตั้งก็คือนักเลือกตั้งที่มุ่งเน้นแต่การได้อำนาจแต่เพียงอย่างเดียว ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดรัฐบุรุษขึ้นในสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การพูดจาของนักการเมืองจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะตามมา การพูดอันใดก็ตามที่มีผลในทางลบจะต้องหลีกเลี่ยง ขณะเดียวกันการกระทำหรือการแสดงออกที่จะนำไปสู่ความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลผู้นั้น ต่อกลุ่มของตน ต่อองค์กรของตนที่ตนสังกัด ก็จะต้องรีบฉกฉวยโอกาส ในทางตรงกันข้าม อะไรก็ตามที่จะนำไปสู่ผลในทางลบต่อฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมือง ก็อาจจะมีการพูดหรือแสดงออกทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง หรือแม้จะเป็นความจริงก็จะมีการขยายความบิดเบือน เพื่อให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งใดก็ตามที่มีผลในทางลบ แม้ตนเองเคยเป็นผู้เคยกระทำมาก่อน ก็จะแกล้งลืมสิ่งนั้นและขยายผลในทางลบเพื่อทำลายฝ่ายตรงกันข้ามโดยไม่มีความละอายใจว่าเป็นสิ่งที่ตนก็เคยปฏิบัติมาแล้ว ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เป็นกระบวนเกมการเมืองที่ต้องอาศัยเสียงจากประชาชน และยิ่งในยุคที่มีความจำเป็นในการสร้างภาพต่อสาธารณชนด้วยสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ พฤติกรรมหรือการแสดงออกของนักการเมืองจำนวนไม่น้อยจึงออกมาในลักษณะที่สวนทางกับความจริงใจหรือสิ่งที่เป็นจริง
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีคนจำนวนไม่น้อยไม่ยินดีเข้าสู่กระบวนการทางการเมือง เพราะบุคคลเหล่านี้ยังมีความเคารพตนเองอยู่ และไม่ยอมกระทำในสิ่งที่ผิดหลักการหรือไม่ยุติธรรม แต่หลายคนที่เข้าสู่กระบวนการทางการเมืองต้องเผชิญกับความกระอักกระอ่วนใจ เนื่องจากกระบวนการทางการเมืองตามที่ได้กล่าวมาแล้วเบื้องต้นสร้างความจำเป็นที่จะต้องมีพฤติกรรมที่ตนเองอาจไม่เคยชิน หลายคนซึ่งเข้าสู่กระบวนการทางการเมืองจึงไม่สามารถจะปรับตัวได้ ผลสุดท้ายก็ต้องนิ่งเงียบหรือไม่แสดงออกเพราะไม่อยากกระทำต่อสิ่งที่ฝืนความรู้สึก และนี่คือปัญหาของคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าสู่กระบวนการทางการเมือง แต่ไม่สามารถจะเล่นไปตามกฎเกณฑ์เนื่องจากมีทัศนคติ ค่านิยม ที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในฐานะนักการเมือง
เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวเบื้องต้น จึงมีการพูดถึงจริยธรรมและมารยาททางการเมืองขึ้น โดยข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ถึงแม้ว่าเกมการเมืองจะดำเนินไปตามครรลองที่กล่าวมาเบื้องต้น แต่นักการเมืองก็ต้องมีจริยธรรมหรือมีมารยาททางการเมือง ไม่ปล่อยให้ความต้องการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจหรือการชนะคู่ต่อสู้เกิดขึ้นโดยไม่คำนึงถึงความถูกความผิด หลักตรรกมีอยู่ง่ายๆ ว่า ใครก็ตามที่ปราศจากศีลธรรมและจริยธรรมจะเป็นคนดีไม่ได้ และยังจะเป็นอันตรายต่อสังคม ยิ่งนักการเมืองซึ่งเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งอำนาจ ที่สามารถทำให้เกิดผลลบผลบวกต่อสังคมได้ ถ้าขาดเสียซึ่งจิตสำนึกเรื่องความถูกความผิด จริยธรรมและมารยาททางการเมืองก็ยิ่งจะนำไปสู่ผลเสียต่อสังคม
ขงจื๊อจึงได้กล่าวตั้งแต่โบราณกาลความว่า คนมีอำนาจ คนที่อยู่ในตำแหน่ง จะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม หรือกล่าวอีกนัยคนที่มีคุณธรรมเท่านั้นจึงควรจะได้มีอำนาจทางการเมืองและการบริหาร โดยหลักตรรกคนที่มีอำนาจทางการเมืองแต่ขาดจริยธรรมก็ย่อมจะมีแนวโน้มใช้อำนาจในทางผิดๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ของครอบครัว และของพรรคพวก ข่มเหงบีฑากรรมราษฎร์ และเมื่ออยู่ในตำแหน่งอำนาจก็จะกลายเป็นขุนนางกังฉิน หรือเป็นทรราช ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีการอบรมสั่งสอนมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงธรรมะของผู้ปกครองแผ่นดิน เช่นในกรณีของเอเชียนั้นก็มีหลักธรรมะการปกครองของลัทธิขงจื๊อ โดยผู้ปกครองต้องทำเพื่อประชาราษฎร์ มีความเมตตา เสียสละเพื่อส่วนรวม มีความยุติธรรม ฯลฯ ในกรณีของอินเดียก็มีทศพิธรราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชนีติ ฯลฯ ของชาวตะวันตกก็มีเรื่องภรกิจอันศักดิ์สิทธิ์ การเคารพต่ออำนาจอธิปไตยของปวงชน และในปัจจุบันก็พูดถึงเรื่องธรรมรัฏฐาภิบาล
ประเด็นอยู่ที่ว่า ในเมื่อระบบการเมืองทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถมีความจริงใจได้ นอกจากคนที่มีอุดมการณ์หรือจริยธรรม การจะคาดหวังให้ผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจมีจิตสำนึกเองนั้นอาจจะเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการสร้างกลไกตรวจสอบในระบบที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า checks and balances นั่นคือการไม่ให้อำนาจตกอยู่ในมือคนใดคนหนึ่งโดยเด็ดขาด แต่ให้มีการถ่วงดุลกันเพื่อป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่นภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะต้องมีการถ่วงดุลตรวจสอบระหว่างสามอำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ นอกจากนั้นยังต้องมีการถ่วงดุลอำนาจโดยประชาชนและสื่อมวลชน เป็นต้น นอกจากนั้น ยังอาจมีการสร้างองค์กรต่างๆ ขึ้นมาเพื่อการดังกล่าว เช่นในกรณีของประเทศไทยนั้นก็มี ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
การตรวจสอบการใช้อำนาจทางการเมืองจึงต้องมาจากสองแหล่ง เบื้องต้นคือ จิตสำนึกและความมีจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจเอง ส่วนที่สองคือจะต้องมีกลไกและระบบการถ่วงดุลอำนาจ
ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือ ถึงแม้จะมีระบบที่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลก็ตาม โอกาสของคนซึ่งไม่มีจริยธรรมเข้าไปสู่ตำแหน่งอำนาจ และก่อความเสียหาย ก็ยังมีอยู่ ดังนั้น ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไรจึงจะมีระบบและกระบวนการจากประชาชนที่คอยสอดส่องป้องกันไม่ให้คนไม่ดีเข้ามาสู่ตำแหน่งอำนาจ สร้างความเสียหายให้แก่สังคมส่วนใหญ่ ดังพระบรมราโชวาทขององค์พระประมุขซึ่งทรงให้ไว้มากว่าสามทศวรรษแล้ว ความว่า “ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่เป็นการทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
การเมือง กระบวนการทางการเมือง นักการเมือง ความจริงใจ การมีจริยธรรม จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาทางสร้างระบบและสร้างกระบวนการการตรวจสอบ รวมทั้งการพัฒนาจิตสำนึกในทางจริยธรรมขึ้นทั้งในหมู่นักการเมืองและนักบริหารในระบบราชการ ทั้งนี้เพื่อจะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวม
มีคำพูดๆ หนึ่งว่า รัฐบุรุษคือบุคคลที่คิดถึงอนาคตของคนรุ่นหลัง คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของคนส่วนใหญ่ แต่นักการเมืองคิดถึงแต่การเลือกตั้งแต่ละครั้ง ในความเป็นจริง รัฐบุรุษคือนักการเมืองที่มีจริยธรรม มีจิตสำนึกและมีวิสัยทัศน์ มีความเสียสละ ส่วนนักการเมืองที่คิดถึงแต่การเลือกตั้งก็คือนักเลือกตั้งที่มุ่งเน้นแต่การได้อำนาจแต่เพียงอย่างเดียว ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดรัฐบุรุษขึ้นในสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้