สหประชาชาติกำลังจัดการประชุมนานาชาติเพื่อลดความเสียหายจากอุบัติภัยของโลกและมวลมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น การประชุมนี้มีขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2548 โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสหประชาชาติจะนำผลการศึกษาในเรื่องดังกล่าวมานำเสนอต่อที่ประชุมนี้ด้วย
ผลการศึกษาดังกล่าวนั้นให้ข้อสรุปเป็นคำเตือนภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากภายใต้พื้นพิภพเพื่อให้มวลมนุษยชาติทั่วทั้งโลกได้รับรู้ ได้เตรียมตัวระมัดระวังป้องกัน รวมทั้งจะได้สังวรในสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำต่อพิภพ เพื่อให้อุบัติภัยหากว่าจะเกิดขึ้นมาถึงช้าลงสักหน่อยหนึ่ง และมีความเสียหายน้อยลงสักหน่อยหนึ่ง
คอลัมน์นี้ได้พูดถึงเรื่องนี้มาบ้างแล้ว แต่ก็เป็นการพูดถึงในลักษณะที่ต่อเนื่องเพราะได้ตระหนักถึงมหันตภัยที่จะบังเกิดแก่มวลมนุษย์ ด้วยความหวังว่าการนำเสนอนั้นจะทำให้มวลมนุษย์ตระหนักและมีความสังวรในการกระทำที่มีผลต่อพิภพนี้
ในช่วงปีใหม่ก็ได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ในวาระปีใหม่ที่จะมาถึงควรที่มวลมนุษย์จะได้ปฏิบัติต่อโลกคือพิภพนี้ด้วยความเมตตา ไม่กระทำการย่ำยีหรือทำลายพิภพซึ่งจะมีผลบั้นปลายคือภัยพิบัติที่จะบังเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์เอง
ทั้งได้นำความในอรรถกถาอันมีมาในพระพุทธศาสนาว่าด้วยพิภพว่า พิภพของเรานี้พื้นผิวประกอบด้วยผืนดินและแผ่นน้ำ ใต้พื้นผิวดินรองรับด้วยแผ่นน้ำ ใต้แผ่นน้ำรองรับด้วยลม ใต้ลมรองรับด้วยไฟ ซึ่งเป็นโครงสร้างพิภพที่พระบรมศาสดาได้ทรงค้นพบด้วยพระญาณอันประเสริฐที่รู้แจ้งถึงกำเนิดของพิภพ การดำรงอยู่ การดำเนินไปและการสิ้นสลายของพิภพ อันเป็นกฎธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ได้เตือนอย่างหนักแน่นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโดยเฉพาะในยุคทุนนิยมนี้มนุษย์ได้ปฏิบัติต่อโลกด้วยการขาดเมตตา ทำให้บรรยากาศเหนือพิภพเสียหาย เป็นเหตุให้เกราะชั้นบรรยากาศทะลุและทำให้แสงอัลตร้าไวโอเลตเจาะทะลุทะลวงมาถึงพื้นพิภพได้มากขึ้น ทำให้เกิดการผันแปรในการอากาศ
ในอากาศนั้นเล่า มนุษย์ก็ได้ทำให้มันเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นพิษ และเพิ่มพิษนั้นมากขึ้นทุกทีโดยที่มนุษย์ย่อมต้องได้รับผลแห่งพิษนั้นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
มนุษย์ได้สูบเอาน้ำ ทั้งน้ำบาดาลและน้ำมันซึ่งรองรับผืนแผ่นดินอันเป็นผิวโลกขึ้นมาใช้อย่างไม่บันยะบันยัง เป็นเหตุให้รากฐานซึ่งรองรับผืนแผ่นดินนี้ถูกทำลายอย่างไม่หยุดยั้ง และนี่คือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของผิวเปลือกโลกและนำไปสู่เหตุการณ์แผ่นดินไหว
สูบเอาน้ำที่รองผืนแผ่นดินจนทำให้ฐานรากที่รองรับพื้นผิวโลกชำรุดเสียหายแล้วยังไม่พอเพียงและยังไม่หนำแก่ใจ มนุษย์ยังขุดและสูบเอาก๊าซธรรมชาติทั้งจากบนบกและในทะเลขึ้นมาใช้อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ลมซึ่งรองรับผืนน้ำอยู่อีกชั้นหนึ่งเสียสมดุล ทำให้น้ำซึ่งรองรับผืนแผ่นดินยิ่งเสียสมดุลหนักขึ้น
และในยุโรปก็ได้เริ่มต้นการสูบเอาพลังงานความร้อนซึ่งก็คือการสูบเอาไฟขึ้นมาใช้เป็นพลังงาน นั่นก็คือการสูบเอาไฟซึ่งรองรับลม ทำให้ไฟก็เสียสมดุล เร่งการเสียความสมดุลของลม เพิ่มการเสียความสมดุลของน้ำ และยิ่งทำให้แผ่นดินอันเป็นผิวเปลือกโลกต้องชำรุด ต้องชำแรก ต้องแตกแยกเคลื่อนตัว
มันทำให้เหตุของแผ่นดินไหวรุนแรงมากขึ้นทั้งบนบกและในทะเล
เหตุการณ์ร้ายที่ไม่เคยเกิดก็เกิดขึ้น ที่เคยเกิดขึ้นบ้างก็มีระดับของความรุนแรงมากขึ้น และมีความถี่มากขึ้น
ภัยมฤตยูสึนามิผ่านพ้นไปไม่ทันนานก็ยังมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั้งในทะเลและบนบกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายสิบครั้ง เกิดเหตุการณ์แผ่นดินยุบตัว เกิดเหตุการณ์อาคารทรุดตัวพังทลาย เกิดเหตุการณ์น้ำแห้ง น้ำท่วม และกระทบไปถึงชั้นบรรยากาศ ถึงขนาดที่ประเทศที่ร้อนก็หนาวจนหิมะตก ประเทศที่หนาวก็เกิดร้อน ประเทศที่แล้งก็เกิดน้ำท่วม
เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งเตือนภัยจากธรรมชาติอันเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำที่ขาดเมตตาของมวลมนุษย์ที่กระทำต่อโลก
สิริอัญญามีปัญญาอันน้อย บอกกล่าวเล่าเตือนได้ก็แต่เพียงเท่านี้ มิหนำซ้ำยังมีผู้ค่อนขอดกล่าวหาว่าเป็นการนำความยกเมฆมากล่าวบ้าง เป็นการเดาสุ่มเอาเองบ้าง เป็นการเพ้อฝันเอาตามอำเภอใจบ้าง แต่ช่างเถิดเพราะนั่นเป็นธรรมดาของคนเราที่ย่อมมีความคิดความเห็นไม่ตรงไม่ลงรอยกันได้ ข้อสำคัญอยู่ตรงที่สถานการณ์ความเป็นไปของพิภพนี้เป็นอย่างไร จะเป็นผลต่อมวลมนุษย์อย่างไร และจะทำให้มวลมนุษย์อยู่รอดปลอดภัยได้อย่างไร นี่คือภารกิจที่ยังคงจะต้องทำกันต่อไป
คำเตือนเหล่านั้นหากจะถือว่าไร้ค่าก็ไม่เป็นไร แต่มาบัดนี้คำเตือนนั้นมีรากฐานรองรับขึ้นมาแล้ว นั่นคือการที่สหประชาชาติได้ออกคำเตือนอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้แล้ว
ดังนั้นเรื่องภัยพิบัติใต้พิภพอันเป็นผลมาจากการที่มนุษย์ได้กระทำต่อพิภพโดยขาดเมตตาและทำให้พิภพนี้เสียสมดุล ถึงขนาดที่จะเกิดภัยพิบัติใหญ่จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามหรือดูแคลนได้อีกต่อไป
ผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติระบุว่า ความเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ทำให้เกิดการขยับขยายใช้พื้นที่ว่างใต้ดินเพื่อทำระบบคมนาคม อย่างเช่นรถไฟฟ้า ที่จอดรถยนต์ หรือห้างสรรพสินค้าใต้ดิน และอื่น ๆ ตามแต่ที่มนุษย์จะคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้
การกระทำเหล่านั้นทำให้เกิดการขุดเจาะใต้พื้นผิวดินแต่กลับไม่มีการศึกษาอย่างพอเพียงถึงความเสี่ยงภัยธรรมชาติและอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น ที่ศึกษากันบ้างก็เป็นเพียงการศึกษาในสภาพการณ์ปัจจุบัน ขาดการคำนึงถึงพัฒนาการที่จะเป็นไปในอนาคต
การศึกษานั้นจึงไม่บริบูรณ์และไม่พอเพียงอย่างยิ่ง เพราะความเป็นไปของพิภพนั้นไม่คงที่ ไม่หยุดนิ่ง หากมีความเคลื่อนตัวไป มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผลการศึกษาที่ว่าไม่เสี่ยงแล้วในวันนี้ แท้จริงยังมีความเสี่ยงมากมายอยู่ในอนาคต
ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติได้ระบุว่า “ชุมชนและทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลกำลังลงไปอยู่ตามพื้นที่ว่างใต้ดิน ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและเป็นพิเศษ อย่างพวกสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ต่าง ๆ ก็มีไม่พอเพียงที่จะรองรับเมื่อเกิดอุบัติภัยรุนแรงประเภทต่าง ๆ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะมีโอกาสเกิดได้น้อยก็ตาม”
รายงานระบุอีกว่า “การสร้างแบบจำลองการเกิดภัยพิบัติในรูปแบบที่หลากหลายมีความจำเป็นมากหากจะออกแบบเพื่อสร้างอาคารใต้ผืนดิน รวมถึงบันไดหรือทางออกสำหรับกรณีฉุกเฉิน อย่างเช่น จะมีเส้นทางคมนาคมใต้ดินอย่างไรหากเกิดน้ำท่วมขึ้นมา”
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเดินทางของน้ำใต้ดินนั้นสามารถเดินได้ไกล คือน้ำใต้ดินอาจจะเดินทางได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าสถานที่เกิดเหตุจริง ๆ จะอยู่ไกลแสนไกลก็ตาม ยิ่งกว่านั้นมนุษย์ยังไม่เคยทำแผนที่ใต้ดินที่เชื่อมโยงถึงกัน ที่นิยมทำกันก็มีแต่แผนที่บนผืนดินเท่านั้น
ในขณะเดียวกันผู้อำนวยการสถาบันสวัสดิการมนุษย์และสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ของสหประชาชาติ มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงบอร์น ประเทศเยอรมนี ก็ได้เตือนด้วยว่าการใช้พื้นที่ใต้ดินจะต้องออกแบบให้ทนทาน สามารถรองรับอุบัติภัยได้หลากหลายชนิด เช่น อุบัติภัยจากไฟไหม้
ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า “ที่สำคัญภัยจากใต้ดินก็ยังเป็นอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ตามตึกบนดินอีกด้วย การแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่สร้างไปแล้วนั้นจะช่วยลดขนาดของอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้นและจะทำให้เกิดความเสียหายในระดับที่น้อยลง”
พร้อมทั้งได้เสนอผลการศึกษาที่พาดพิงเกี่ยวกับมฤตยูสึนามิว่าการมี “ตัวกั้นน้ำซึ่งเป็นรั้วที่กระจายอยู่ตามชายฝั่งได้ลดขนาดของอันตรายจากคลื่นยักษ์สึนามิลง”
มีการนำเสนอสถิติการเกิดภัยพิบัติของญี่ปุ่น 17 กรณี สรุปว่า “แม้ว่าจะมีระบบการเตือนภัยที่ไฮเทคและราคาสูงขนาดไหน ก็ยังมีรายงานการเสียชีวิต ซึ่งน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดเพราะฝนตกหนักและพายุ อย่างไรก็ดีเมืองใหญ่ที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลต่างเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันหากเกิดฝนตกหนัก ร่วมกับน้ำทะเลหนุนอันเนื่องจากลมหรือแผ่นดินไหวก็ตาม”
การนำเสนอทางวิชาการดังที่ได้กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่มนุษย์แส่หาเรื่อง คือฝืนธรรมชาติจากความเป็นปกติของมนุษย์ที่อยู่บนพื้นดินและใช้พื้นดินเป็นเส้นทางสัญจรไปมา ไปเพิ่มการใช้พื้นที่ใต้ผืนดินทั้งในการอยู่อาศัย การพาณิชย์ และการสัญจรไปมา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออันตรายให้แก่มวลมนุษย์มากขึ้น
นั่นเป็นผลิตผลของระบอบทุนนิยมที่ทำให้บ้านเมืองขยายตัว ทำให้ที่ดินมีราคาแพง จนเกิดความจำเป็นต้องหาพื้นที่และใช้พื้นที่ให้คุ้มยิ่ง ด้วยการใช้พื้นที่ใต้พิภพ โดยนำความเสี่ยงภัยอันใหญ่หลวงมาสู่มวลมนุษย์
มันเป็นความเห็นแก่ตัวของระบอบทุนนิยม ที่นำมนุษย์ไปสู่ความเสี่ยงต่อ มหันตภัยเพียงเพื่อผลกำไรและการลดต้นทุนภายใต้ข้ออ้างที่ว่า “ความคุ้มค่า” เท่านั้น มันเป็นความคุ้มค่าเฉพาะระบบทุน แต่มันทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์และชีวิตจนหมดสิ้น
เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ผลการศึกษาและรายงานตลอดจนคำเตือนของบรรดาผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะการกระทำของมนุษย์เพื่อการใช้พื้นที่ใต้ผืนพิภพ ยังไม่เจาะทะลุไปตรงที่เป้าใหญ่คือการกระทำต่อโลกด้วยความขาดเมตตา ทำให้ดูเหมือนว่าความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ความเป็นนักวิชาการและความเป็นองค์กรกลางอย่างสหประชาชาติก็ยังเกรงใจนายทุนพลังงานของโลกเพียงหยิบมือเดียวอยู่เป็นอันมาก
เหตุนี้กระมังจึงไม่มีการกล่าวถึงความเสี่ยงต่อมหันตภัยใต้พิภพที่เกิดจากการรื้อฐานรากผืนแผ่นดินโดยการสูบน้ำ สูบน้ำมัน สูบก๊าซและสูบความร้อนจากใต้พิภพขึ้นมาใช้เพื่อสนองตอบต่อความเจริญเติบโตของระบบทุน โดยนำโลกไปสู่ความเสี่ยงต่อการแตกสลายเร็วขึ้น
นี่แหละทุนนิยมหละ!
ผลการศึกษาดังกล่าวนั้นให้ข้อสรุปเป็นคำเตือนภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากภายใต้พื้นพิภพเพื่อให้มวลมนุษยชาติทั่วทั้งโลกได้รับรู้ ได้เตรียมตัวระมัดระวังป้องกัน รวมทั้งจะได้สังวรในสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำต่อพิภพ เพื่อให้อุบัติภัยหากว่าจะเกิดขึ้นมาถึงช้าลงสักหน่อยหนึ่ง และมีความเสียหายน้อยลงสักหน่อยหนึ่ง
คอลัมน์นี้ได้พูดถึงเรื่องนี้มาบ้างแล้ว แต่ก็เป็นการพูดถึงในลักษณะที่ต่อเนื่องเพราะได้ตระหนักถึงมหันตภัยที่จะบังเกิดแก่มวลมนุษย์ ด้วยความหวังว่าการนำเสนอนั้นจะทำให้มวลมนุษย์ตระหนักและมีความสังวรในการกระทำที่มีผลต่อพิภพนี้
ในช่วงปีใหม่ก็ได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ในวาระปีใหม่ที่จะมาถึงควรที่มวลมนุษย์จะได้ปฏิบัติต่อโลกคือพิภพนี้ด้วยความเมตตา ไม่กระทำการย่ำยีหรือทำลายพิภพซึ่งจะมีผลบั้นปลายคือภัยพิบัติที่จะบังเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์เอง
ทั้งได้นำความในอรรถกถาอันมีมาในพระพุทธศาสนาว่าด้วยพิภพว่า พิภพของเรานี้พื้นผิวประกอบด้วยผืนดินและแผ่นน้ำ ใต้พื้นผิวดินรองรับด้วยแผ่นน้ำ ใต้แผ่นน้ำรองรับด้วยลม ใต้ลมรองรับด้วยไฟ ซึ่งเป็นโครงสร้างพิภพที่พระบรมศาสดาได้ทรงค้นพบด้วยพระญาณอันประเสริฐที่รู้แจ้งถึงกำเนิดของพิภพ การดำรงอยู่ การดำเนินไปและการสิ้นสลายของพิภพ อันเป็นกฎธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ได้เตือนอย่างหนักแน่นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโดยเฉพาะในยุคทุนนิยมนี้มนุษย์ได้ปฏิบัติต่อโลกด้วยการขาดเมตตา ทำให้บรรยากาศเหนือพิภพเสียหาย เป็นเหตุให้เกราะชั้นบรรยากาศทะลุและทำให้แสงอัลตร้าไวโอเลตเจาะทะลุทะลวงมาถึงพื้นพิภพได้มากขึ้น ทำให้เกิดการผันแปรในการอากาศ
ในอากาศนั้นเล่า มนุษย์ก็ได้ทำให้มันเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นพิษ และเพิ่มพิษนั้นมากขึ้นทุกทีโดยที่มนุษย์ย่อมต้องได้รับผลแห่งพิษนั้นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
มนุษย์ได้สูบเอาน้ำ ทั้งน้ำบาดาลและน้ำมันซึ่งรองรับผืนแผ่นดินอันเป็นผิวโลกขึ้นมาใช้อย่างไม่บันยะบันยัง เป็นเหตุให้รากฐานซึ่งรองรับผืนแผ่นดินนี้ถูกทำลายอย่างไม่หยุดยั้ง และนี่คือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของผิวเปลือกโลกและนำไปสู่เหตุการณ์แผ่นดินไหว
สูบเอาน้ำที่รองผืนแผ่นดินจนทำให้ฐานรากที่รองรับพื้นผิวโลกชำรุดเสียหายแล้วยังไม่พอเพียงและยังไม่หนำแก่ใจ มนุษย์ยังขุดและสูบเอาก๊าซธรรมชาติทั้งจากบนบกและในทะเลขึ้นมาใช้อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ลมซึ่งรองรับผืนน้ำอยู่อีกชั้นหนึ่งเสียสมดุล ทำให้น้ำซึ่งรองรับผืนแผ่นดินยิ่งเสียสมดุลหนักขึ้น
และในยุโรปก็ได้เริ่มต้นการสูบเอาพลังงานความร้อนซึ่งก็คือการสูบเอาไฟขึ้นมาใช้เป็นพลังงาน นั่นก็คือการสูบเอาไฟซึ่งรองรับลม ทำให้ไฟก็เสียสมดุล เร่งการเสียความสมดุลของลม เพิ่มการเสียความสมดุลของน้ำ และยิ่งทำให้แผ่นดินอันเป็นผิวเปลือกโลกต้องชำรุด ต้องชำแรก ต้องแตกแยกเคลื่อนตัว
มันทำให้เหตุของแผ่นดินไหวรุนแรงมากขึ้นทั้งบนบกและในทะเล
เหตุการณ์ร้ายที่ไม่เคยเกิดก็เกิดขึ้น ที่เคยเกิดขึ้นบ้างก็มีระดับของความรุนแรงมากขึ้น และมีความถี่มากขึ้น
ภัยมฤตยูสึนามิผ่านพ้นไปไม่ทันนานก็ยังมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั้งในทะเลและบนบกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายสิบครั้ง เกิดเหตุการณ์แผ่นดินยุบตัว เกิดเหตุการณ์อาคารทรุดตัวพังทลาย เกิดเหตุการณ์น้ำแห้ง น้ำท่วม และกระทบไปถึงชั้นบรรยากาศ ถึงขนาดที่ประเทศที่ร้อนก็หนาวจนหิมะตก ประเทศที่หนาวก็เกิดร้อน ประเทศที่แล้งก็เกิดน้ำท่วม
เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งเตือนภัยจากธรรมชาติอันเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำที่ขาดเมตตาของมวลมนุษย์ที่กระทำต่อโลก
สิริอัญญามีปัญญาอันน้อย บอกกล่าวเล่าเตือนได้ก็แต่เพียงเท่านี้ มิหนำซ้ำยังมีผู้ค่อนขอดกล่าวหาว่าเป็นการนำความยกเมฆมากล่าวบ้าง เป็นการเดาสุ่มเอาเองบ้าง เป็นการเพ้อฝันเอาตามอำเภอใจบ้าง แต่ช่างเถิดเพราะนั่นเป็นธรรมดาของคนเราที่ย่อมมีความคิดความเห็นไม่ตรงไม่ลงรอยกันได้ ข้อสำคัญอยู่ตรงที่สถานการณ์ความเป็นไปของพิภพนี้เป็นอย่างไร จะเป็นผลต่อมวลมนุษย์อย่างไร และจะทำให้มวลมนุษย์อยู่รอดปลอดภัยได้อย่างไร นี่คือภารกิจที่ยังคงจะต้องทำกันต่อไป
คำเตือนเหล่านั้นหากจะถือว่าไร้ค่าก็ไม่เป็นไร แต่มาบัดนี้คำเตือนนั้นมีรากฐานรองรับขึ้นมาแล้ว นั่นคือการที่สหประชาชาติได้ออกคำเตือนอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้แล้ว
ดังนั้นเรื่องภัยพิบัติใต้พิภพอันเป็นผลมาจากการที่มนุษย์ได้กระทำต่อพิภพโดยขาดเมตตาและทำให้พิภพนี้เสียสมดุล ถึงขนาดที่จะเกิดภัยพิบัติใหญ่จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามหรือดูแคลนได้อีกต่อไป
ผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติระบุว่า ความเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ทำให้เกิดการขยับขยายใช้พื้นที่ว่างใต้ดินเพื่อทำระบบคมนาคม อย่างเช่นรถไฟฟ้า ที่จอดรถยนต์ หรือห้างสรรพสินค้าใต้ดิน และอื่น ๆ ตามแต่ที่มนุษย์จะคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้
การกระทำเหล่านั้นทำให้เกิดการขุดเจาะใต้พื้นผิวดินแต่กลับไม่มีการศึกษาอย่างพอเพียงถึงความเสี่ยงภัยธรรมชาติและอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น ที่ศึกษากันบ้างก็เป็นเพียงการศึกษาในสภาพการณ์ปัจจุบัน ขาดการคำนึงถึงพัฒนาการที่จะเป็นไปในอนาคต
การศึกษานั้นจึงไม่บริบูรณ์และไม่พอเพียงอย่างยิ่ง เพราะความเป็นไปของพิภพนั้นไม่คงที่ ไม่หยุดนิ่ง หากมีความเคลื่อนตัวไป มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผลการศึกษาที่ว่าไม่เสี่ยงแล้วในวันนี้ แท้จริงยังมีความเสี่ยงมากมายอยู่ในอนาคต
ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติได้ระบุว่า “ชุมชนและทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลกำลังลงไปอยู่ตามพื้นที่ว่างใต้ดิน ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและเป็นพิเศษ อย่างพวกสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ต่าง ๆ ก็มีไม่พอเพียงที่จะรองรับเมื่อเกิดอุบัติภัยรุนแรงประเภทต่าง ๆ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะมีโอกาสเกิดได้น้อยก็ตาม”
รายงานระบุอีกว่า “การสร้างแบบจำลองการเกิดภัยพิบัติในรูปแบบที่หลากหลายมีความจำเป็นมากหากจะออกแบบเพื่อสร้างอาคารใต้ผืนดิน รวมถึงบันไดหรือทางออกสำหรับกรณีฉุกเฉิน อย่างเช่น จะมีเส้นทางคมนาคมใต้ดินอย่างไรหากเกิดน้ำท่วมขึ้นมา”
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเดินทางของน้ำใต้ดินนั้นสามารถเดินได้ไกล คือน้ำใต้ดินอาจจะเดินทางได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าสถานที่เกิดเหตุจริง ๆ จะอยู่ไกลแสนไกลก็ตาม ยิ่งกว่านั้นมนุษย์ยังไม่เคยทำแผนที่ใต้ดินที่เชื่อมโยงถึงกัน ที่นิยมทำกันก็มีแต่แผนที่บนผืนดินเท่านั้น
ในขณะเดียวกันผู้อำนวยการสถาบันสวัสดิการมนุษย์และสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ของสหประชาชาติ มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงบอร์น ประเทศเยอรมนี ก็ได้เตือนด้วยว่าการใช้พื้นที่ใต้ดินจะต้องออกแบบให้ทนทาน สามารถรองรับอุบัติภัยได้หลากหลายชนิด เช่น อุบัติภัยจากไฟไหม้
ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า “ที่สำคัญภัยจากใต้ดินก็ยังเป็นอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ตามตึกบนดินอีกด้วย การแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่สร้างไปแล้วนั้นจะช่วยลดขนาดของอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้นและจะทำให้เกิดความเสียหายในระดับที่น้อยลง”
พร้อมทั้งได้เสนอผลการศึกษาที่พาดพิงเกี่ยวกับมฤตยูสึนามิว่าการมี “ตัวกั้นน้ำซึ่งเป็นรั้วที่กระจายอยู่ตามชายฝั่งได้ลดขนาดของอันตรายจากคลื่นยักษ์สึนามิลง”
มีการนำเสนอสถิติการเกิดภัยพิบัติของญี่ปุ่น 17 กรณี สรุปว่า “แม้ว่าจะมีระบบการเตือนภัยที่ไฮเทคและราคาสูงขนาดไหน ก็ยังมีรายงานการเสียชีวิต ซึ่งน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดเพราะฝนตกหนักและพายุ อย่างไรก็ดีเมืองใหญ่ที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลต่างเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลันหากเกิดฝนตกหนัก ร่วมกับน้ำทะเลหนุนอันเนื่องจากลมหรือแผ่นดินไหวก็ตาม”
การนำเสนอทางวิชาการดังที่ได้กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่มนุษย์แส่หาเรื่อง คือฝืนธรรมชาติจากความเป็นปกติของมนุษย์ที่อยู่บนพื้นดินและใช้พื้นดินเป็นเส้นทางสัญจรไปมา ไปเพิ่มการใช้พื้นที่ใต้ผืนดินทั้งในการอยู่อาศัย การพาณิชย์ และการสัญจรไปมา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออันตรายให้แก่มวลมนุษย์มากขึ้น
นั่นเป็นผลิตผลของระบอบทุนนิยมที่ทำให้บ้านเมืองขยายตัว ทำให้ที่ดินมีราคาแพง จนเกิดความจำเป็นต้องหาพื้นที่และใช้พื้นที่ให้คุ้มยิ่ง ด้วยการใช้พื้นที่ใต้พิภพ โดยนำความเสี่ยงภัยอันใหญ่หลวงมาสู่มวลมนุษย์
มันเป็นความเห็นแก่ตัวของระบอบทุนนิยม ที่นำมนุษย์ไปสู่ความเสี่ยงต่อ มหันตภัยเพียงเพื่อผลกำไรและการลดต้นทุนภายใต้ข้ออ้างที่ว่า “ความคุ้มค่า” เท่านั้น มันเป็นความคุ้มค่าเฉพาะระบบทุน แต่มันทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์และชีวิตจนหมดสิ้น
เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ผลการศึกษาและรายงานตลอดจนคำเตือนของบรรดาผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะการกระทำของมนุษย์เพื่อการใช้พื้นที่ใต้ผืนพิภพ ยังไม่เจาะทะลุไปตรงที่เป้าใหญ่คือการกระทำต่อโลกด้วยความขาดเมตตา ทำให้ดูเหมือนว่าความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ความเป็นนักวิชาการและความเป็นองค์กรกลางอย่างสหประชาชาติก็ยังเกรงใจนายทุนพลังงานของโลกเพียงหยิบมือเดียวอยู่เป็นอันมาก
เหตุนี้กระมังจึงไม่มีการกล่าวถึงความเสี่ยงต่อมหันตภัยใต้พิภพที่เกิดจากการรื้อฐานรากผืนแผ่นดินโดยการสูบน้ำ สูบน้ำมัน สูบก๊าซและสูบความร้อนจากใต้พิภพขึ้นมาใช้เพื่อสนองตอบต่อความเจริญเติบโตของระบบทุน โดยนำโลกไปสู่ความเสี่ยงต่อการแตกสลายเร็วขึ้น
นี่แหละทุนนิยมหละ!