หลังจากที่ได้อ่านบทวิเคราะห์ภาพยนตร์ “สุดเสน่หา” ที่ผมได้เขียนไว้ใน “ผู้จัดการรายวัน” (วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2547) มิตรสหายคนหนึ่งที่ไม่ได้พบกันมานาน ก็โทรศัพท์มาหาทักทายเพื่อที่จะบอกว่า “ผมไม่เคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้ดอกนะ แต่ที่รีบอ่านก็เพราะอยากรู้ว่า ‘ภาพยนตร์ใต้ดิน’ คืออะไร” พร้อมกับเปรยๆ แปลกๆ แสบๆ มันๆ ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อกับภูมิปัญญาของเขาด้วยว่า “บทความเครียดๆ อย่างนี้หาอ่านยากขึ้นทุกที โดยเฉพาะเกี่ยวกับภาพยนตร์ ซึ่งใครๆ ก็คิดว่าเป็นเรื่องสนุกๆ มีอะไรให้ดูก็ดูๆ กันเพื่อฆ่าเวลาไปวันๆ หนึ่ง”
ในระดับหนึ่ง ผมก็ได้สาธยายอย่างอ้อมๆ ไปแล้วว่าภาพยนตร์ “ใต้ดิน” คือสิ่งที่ท้าท้ายประวัติศาสตร์กระแสหลักและประเพณีต่างๆ ของภาพยนตร์ในของสังคมนั้นๆ ในขีดขั้นที่สามารถสร้างอุดมการณ์และประเพณีใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รู้จักกันมาก่อนในสังคมอันเป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ได้ เมื่อพิจารณาย้อนหลังในเชิงเปรียบเทียบแล้ว ผมเชื่อว่าเราอาจจะกล่าวแบบสรุปได้อย่างไม่คลาดเคลื่อนเลยว่า ผู้รังสรรค์ “สุดเสน่หา” เป็นอะไรไม่น้อยกว่า “บิดาแห่งภาพยนตร์ใต้ดิน” ของเมืองไทยเลยทีเดียว
ในส่วนของประโยคหลัง ถึงจะเป็นประโยคสั้นๆ แต่ผมขอยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะอธิบายความลี้ลับต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อสังเกตสั้นๆ นั้น แม้นในวันนี้ผมจะไม่เขียนถึงนัยสารพัดที่แฝงอยู่ในถ้อยคำเหล่านี้ให้ครบถ้วน ทว่าต้องการจะเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านพิจารณาว่าทั้งๆ ที่เป็นอะไรที่มักจะถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อจำหน่ายความสนุกสนานเพื่อเป้าหมายที่จะกำไรมากๆ นี่แหละ ลึกลงไปกว่านั้น ภาพยนตร์คือผลิตภัณฑ์ทางอุดมการณ์ (ideological product) ชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะมันไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผุดขึ้นมาลอยๆ จากความว่างเปล่า ทว่าถูกผลิตขึ้นมาโดยมนุษย์ ผู้เป็น “สัตว์สังคม” ที่เกิดแก่เจ็บตายอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมชุดหนึ่ง
ก็เช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ ภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะได้รับการต้อนรับมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่เป็น “สถาปนิก” สามารถ “เล่น” กับอุดมการณ์ในระดับที่ปรากฏเป็น “ความรู้สึกนึกคิด” ของกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายด้านการตลาดอย่างได้ผลมากน้อยเพียงใด นั่นเอง
ตาม “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒” “อุดมการณ์” เป็นคำนามที่หมายถึง “หลักการที่วางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้” ส่วนคำนามที่มีความหมายทับซ้อนกันอยู่ในบางระดับคือ “อุดมคติ” นั้นหมายถึง “จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน”
ความหมายในที่นี้ก็คือ ตลอดเวลาที่เรากำลังดูภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งในนามของความสนุกสนานนี่แหละ ภาพยนตร์นั้นๆ กำลังทำหน้าที่ด้านอุดมการณ์บางชนิด อันสอดคล้องกับมาตรฐานแห่งความดี ความงาม และความจริงชุดหนึ่ง ภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะได้รับการต้อนรับมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้เป็นสถาปนิกสามารถ “เล่น” กับ “หลักการ” “แนวปฏิบัติ” และ “เป้าหมาย” ทางอุดมการณ์ และ “มาตรฐานแห่งความดี ความงาม และความจริง” อันเป็นอุดมคติที่สอดคล้องกับอุดมการณ์นั้นๆ ได้ดีสักเพียงไร
หากภาพยนตร์นั้นๆ สามารถผสมผสานองค์ประกอบของรูปแบบและเนื้อหาได้ลงตัวมาก ก็ย่อมจะได้รับความสำเร็จในแง่การเงินและเสียงปรบมือมาก เพราะมีคนไปดูมาก หากทำได้ดีน้อย ก็จะได้ผลตรงกันข้ามลดหลั่นกันลงไป
หรือหากเป็นอะไรที่มีรูปแบบที่สดและเนื้อหาที่ใหม่มากขนาด “สุดเสน่หา” ซึ่งแทบจะไม่ได้เงินในเมืองไทยอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลย ทั้งนี้ ก็เพราะว่าเป็นอะไรในระดับที่ “หลุดโลก” ไปเลย จนต้องถือว่าเป็น “ภาพยนตร์ใต้ดิน” ในมาตรฐานของเมืองไทย (ซึ่งถูกครอบงำโดยอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมอย่างยิ่งทั้งในประวัติศาสตร์สังคมทั่วไปและในประเพณีของภาพยนตร์) จนนึกไม่ออกว่าจะมีใครเป็นคนดู “สุดเสน่หา” อย่างชื่นชมจริงๆ นอกจากการไปดูเพราะได้ทราบมาว่า “แปลกดี” เนื่องจากได้รางวัลเกียรติยศจากเมืองคานส์ ซึ่งว่ากันว่าเป็นจุดสุดยอดแห่งหนึ่งในโลกภาพยนตร์ ทั้งในแง่ของศิลปะและพาณิชยการ
ด้วยประการ ฉะนี้ “สุดเสน่หา” จึงอยู่ในฐานะที่ค่อนข้างพิเศษในโลกของภาพยนตร์ไทย นั่นก็คือ เป็นของแปลกปลอมที่ถูกส่งให้มาทำหน้าที่เป็นทูตวัฒนธรรมจากโลกภายนอกเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ภายใน ทั้งนี้ ด้วยแรงผลักดันและเป้าหมายทางอุดมการณ์บางชนิดที่จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ต่อไปในบริบทของการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของพม่า
ปริศนาที่น่าจะได้รับการคลี่คลายให้ชัดเจนต่อไปก็คือ “สุดเสน่หา” ถือกำเนิดจากบทบาทการสร้างสรรค์ของใครบ้างอย่างชักเจน ถือว่าเป็นภาพยนตร์ไทยได้ในแง่ไหนบ้าง และคำตอบต่อคำถามอย่างนี้มีนัยยะอย่างไรบ้างต่อเมืองไทยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของเราในวันนี้จำกัดอยู่เพียงที่การพยายามทำความเข้าใจกับภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางอุดมการณ์ชนิดหนึ่งว่า เราอาจจะจัดจำแนกเป็นกลุ่มๆ ตามระดับของความตื้นลึกหนาบางในเชิงอุดมการณ์ได้อย่างไรบ้าง ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้มีเครื่องมือทางความคิดสักชุดหนึ่งในอันที่จะวิเคราะห์ภาพยนตร์แต่ละเรื่องว่ามี “ที่ตั้ง” อยู่ ณ จุดใดของระบบอุดมการณ์อันเป็น “ที่มา” ของพลังทางสังคมที่อยู่เบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์นั้นๆ
เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ เราอาจจะวางกรอบความคิดแบบสมมุติขึ้นมาว่า ภาพยนตร์แต่ละเรื่องย่อมตกอยู่ใน “ที่ตั้ง” ทางอุดมการณ์จุดใดจุดหนึ่งในทั้งหมด 5 ระดับ ไล่เรียงกันไปจากกลุ่มที่ทำหน้าที่ทางอุดมการณ์แบบอนุรักษนิยมมากที่สุด ไปจนกระทั่งถึงกลุ่มที่หลุดไปจากโลกทางอุดมการณ์กระแสหลักจนกู่ไม่กลับเลย เป็นลำดับๆ
(1) ภาพยนตร์ที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์กระแสหลักอย่างไม่มีเงื่อนไขและอย่างไม่รู้สึกตัว ภาพยนตร์ส่วนมากในแต่ละประเทศจะตกอยู่ในกลุ่มนี้ โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนมักจะกล่าวอ้างว่าผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของตนมีลักษณะเด่นอย่างนั้นอย่างนี้ การทำภาพยนตร์ที่สอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ในความเป็นจริง ข้อกล่าวอ้างในทำนองนี้มีรากเหง้าอยู่ที่อุดมการณ์แกระแสหลักนั่นเอง แนวทางทั่วๆ ไปที่เราจะได้เห็นในภาพยนตร์กลุ่มนี้ก็คือ ตัวละครที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของอุดมการณ์กระแสหลักอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาอย่างไรในระหว่างทางก็ตาม ลงท้ายแล้ว ตัวละครนั้นๆ ก็จะได้รับ “รางวัล” และในทางตรงกันข้าม หากตัวละครใดๆ ทำตัวอยู่นอกกฎเกณฑ์ ก็จะถูกลงโทษ แน่นอน ระดับทางความคิดของภาพยนตร์กลุ่มนี้ค่อนข้างล้าหลัง เพราะเป็นการยืนยันความชอบธรรมของความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่แล้วด้วยความจริงใจ ถ้าอยากจะตั้งชื่ออะไรให้สักอย่างเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ก็อาจเรียกว่าเป็นกลุ่ม “ขวาเก่า” ก็ได้ ในสังคมที่ล้าหลังทางการเมือง ภาพยนตร์อย่างนี้จะมีมาก ในโลกปัจจุบัน ภาพยนตร์กลุ่มนี้หาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความคับแคบทางความคิดอย่างนี้ขัดแย้งกับลัทธิเสรีนิยมที่แพร่หลายมากขึ้นทุกที
(2) ภาพยนตร์ที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์กระแสหลักอย่างไม่มีเงื่อนไขแต่อย่างรู้สึกตัว ภาพยนตร์กลุ่มนี้มักจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองบางอย่าง โดยนำเสนอเรื่องราวนั้นๆ ว่ามีปัญหา ทว่าก็ไม่นำเสนอทางออกใหม่ๆ มิหนำซ้ำ ยังมักจะนำเสนอในทำนองว่าทางออกดีๆ มีอยู่แล้วในอุดมการณ์ดั้งเดิม ในเชิงเปรียบเทียบกับ (๑) นี่คือกลุ่ม “ขวาใหม่” ที่ตั้งหน้าตั้งตาหาวิธีการต่ออายุให้กับอุดมการณ์ดั้งเดิม ฉะนั้น จึงเป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่ก้าวหน้าขึ้นมาบ้างในระดับใดระดับหนึ่ง ภาพยนตร์กลุ่มนี้คงจะมีมากที่สุดในทุกๆ สังคมเพราะมีฐานด้านการตลาดแข็งแกร่ง นั่นก็คือ กลุ่มที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้กำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งถูกต้องในสังคม (moral majority) นี่คือแกนกลางของพาณิชยศิลป์อย่างภาพยนตร์
(3) ภาพยนตร์ที่เมื่อพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วอาจจะเข้าใจว่าเป็นการผลิตซ้ำอุดมการณ์กระแสหลัก ทว่าการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งกลับจะมองเห็นความคลุมเครือ (ambiguity) มากขึ้นทุกที ภาพยนตร์กลุ่มนี้อาจจะเริ่มต้นจากการนำเสนอภาพเรื่องราวต่างๆ จากมุมมองของอุดมการณ์กระแสหลักแบบซื่อๆ แต่ต่อจากนั้นก็นำเอาปัญหาบางอย่างของเรื่องราวนั้นๆ มาวิพากษ์ด้วยกลเม็ดเด็ดพรายทางศิลปะบางชนิด นับตั้งแต่ในลักษณะที่ซ่อนรูป นิ่มนวล จนท้ายที่สุดแล้วเข้าข่ายเป็นการเซาะอุดมการณ์กระแสหลักให้ผุกร่อนจากภายใน ทว่าเอาจริงเข้าก็ไม่ให้คำตอบเผงๆ ว่าใครควรจะทำอะไรและอย่างไรกันต่อไป กลุ่มบุคคลที่จะผลิตภาพยนตร์กลุ่มนี้มักจะเป็นพวกปัญญาชนที่มีความรู้เท่าทันจุดอ่อนหรือความไม่สมบูรณ์ต่างๆ ของอุดมการณ์กระแสหลัก สนใจที่จะขุดคุ้ยหาความเปลี่ยนแปลง ถึงแม้จะมีความละอายใจต่อความได้เปรียบของตนในโครงสร้างอำนาจที่ดำรงอยู่ แต่ก็ไม่ต้องการเสียสละสถานภาพนั้น นี่คงจะเป็นกลุ่มที่อาจเรียกได้ว่าเป็นพวกเสรีนิยม
(4) ภาพยนตร์ที่วิพากษ์อุดมการณ์กระแสหลัก แล้วก็ชี้นำว่าจำเป็นจะต้องหาทางออกใหม่ๆ ในทางการเมือง ภาพยนตร์อย่างนี้ออกจะหายาก มีอยู่ไม่มากนัก หลักการพื้นฐานก็คือการนำเอาความเชื่อหรือค่านิยมบางอย่างที่ได้รับการยกย่องเชิดชูโดยอุดมการณ์กระแสหลักของสังคมนั้นๆ เองมาเปิดโปงถึงความหน้าไหว้หลังหลอกต่างๆ นานา ในลีลาที่ตรงไปตรงมา กระแทกกระทั้น เสียดสี ทว่าก็มักจะเป็นเพียงการแสดงออกแบบโกรธๆ ในบางระดับ แต่ก็ไม่ถึงกับนำเสนอทางออกอะไร คล้ายๆ กับจะเชิญชวนให้คนดูภาพยนตร์เป็นผู้ แสวงหาทางออกกันเอง หากจะต้องตั้งชื่อให้ ปัญญาชนที่ผลิตภาพยนตร์ชนิดนี้คงจะอยู่ในประเภทเสรีนิยมก้าวหน้า
(5) ภาพยนตร์ที่ปฏิเสธอุดมการณ์กระแสหลัก ภาพยนตร์แบบนี้จะปรากฏขึ้นในประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงจนกระทั่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถครองความเป็นเจ้าได้อย่างเด็ดขาด มักจะมีอยู่ในประเทศที่มีการใช้อาวุธแก่งแย่งอำนาจรัฐเท่านั้น เช่น ในยุคหนึ่ง ในประเทศแถบละตินอเมริกาจะเต็มไปด้วยการแอบผลิตและเผยแพร่ภาพยนตร์เหล่านี้อย่างลับๆ เพราะถือว่าภาพยนตร์เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดปล่อยให้ประชาชนของประเทศนั้นๆ หลุดพ้นจากการครอบงำของภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อสนับสนุนอุดมการณ์กระแสหลักในระดับต่างๆ บุคคลที่ผลิตภาพยนตร์กลุ่มนี้เชื่อว่าภาพยนตร์คือเครื่องมือแห่งการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ต้องการใช้ภาพยนตร์ของตนสร้างโลกใหม่ ในบางสังคม นี่คือคนหัวก้าวหน้า ผู้ที่เชื่อในอุดมการณ์บางชนิดที่ท้าทายอุดมการณ์กระแสหลักโดยตรง
ข้างต้นนั้นคือการสร้างกรอบการคิดง่ายๆ ที่อาจจะทดลองนำไปใช้วัดสถานภาพทางอุดมการณ์ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้ ทว่าไม่ใช่การนำไปใช้จะเป็นไปได้ง่ายๆ แบบอัตโนมัติ เพราะจุดที่สำคัญก็คือ เราจะต้องมี “ตัวแบบ” ที่แม่นยำว่าอุดมการณ์กระแสหลักที่ดำรงอยู่ในแต่ละสังคมมีลักษณะพิเศษอย่างไรบ้างเสียก่อน นอกจากนี้ ความจริงสำคัญอีกประการหนึ่งก็คืออุดมการณ์กระแสหลักไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว ทว่าปรับเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยด้วย
ด้วยความรู้ที่แม่นยำแบบนี้เท่านั้น การนำกรอบการคิดข้างต้นนี้ไปใช้อย่างมีความหมายจึงจะเกิดขึ้นได้ เพราะความเข้าใจตรงนี้เองคือ “ดัชนี” อันเป็นบริบทในการวิเคราะห์ระดับทางอุดมการณ์ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องในแต่ละยุคแต่ละสังคม อนึ่ง เมื่อนำไปใช้แล้ว ข้อโต้แย้งอาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะ (1) ความเข้าใจเรื่องอุดมการณ์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ในแต่ละสังคมอาจจะมีตัวแบบที่น่าสนใจพอๆ กันหลายๆ ตัวแบบ และ (2) ภาพยนตร์เป็นงานศิลปะ ดังนั้น ในหลายๆ กรณี การตีความจึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันได้บ่อยๆ ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวแบบตายตัวเสมอไป
ไม่ว่าใครจะชอบดูภาพยนตร์ด้วยกรอบแห่งการอ้างอิงอย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ภาพยนตร์ตามแนวทางของอุดมการณ์มีศักยภาพที่จะให้ความรื่นรมย์ในการเข้าถึงภาพยนตร์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสจะให้ความสนุกสนานที่ไม่เหมือนใครได้อย่างมากทีเดียว
อนึ่ง ในยุคที่การเลือกตั้งกำลังขึ้นสมองนี้ กรอบแห่งการคิดในทำนองเดียวกันนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์หาระดับทางอุดมการณ์ของนักการเมืองแต่ละคน แต่ละกลุ่ม หรือพรรคการเมือง ก็ได้เหมือนกัน ไม่มีข้อห้ามอะไร.
ในระดับหนึ่ง ผมก็ได้สาธยายอย่างอ้อมๆ ไปแล้วว่าภาพยนตร์ “ใต้ดิน” คือสิ่งที่ท้าท้ายประวัติศาสตร์กระแสหลักและประเพณีต่างๆ ของภาพยนตร์ในของสังคมนั้นๆ ในขีดขั้นที่สามารถสร้างอุดมการณ์และประเพณีใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รู้จักกันมาก่อนในสังคมอันเป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ได้ เมื่อพิจารณาย้อนหลังในเชิงเปรียบเทียบแล้ว ผมเชื่อว่าเราอาจจะกล่าวแบบสรุปได้อย่างไม่คลาดเคลื่อนเลยว่า ผู้รังสรรค์ “สุดเสน่หา” เป็นอะไรไม่น้อยกว่า “บิดาแห่งภาพยนตร์ใต้ดิน” ของเมืองไทยเลยทีเดียว
ในส่วนของประโยคหลัง ถึงจะเป็นประโยคสั้นๆ แต่ผมขอยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะอธิบายความลี้ลับต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อสังเกตสั้นๆ นั้น แม้นในวันนี้ผมจะไม่เขียนถึงนัยสารพัดที่แฝงอยู่ในถ้อยคำเหล่านี้ให้ครบถ้วน ทว่าต้องการจะเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านพิจารณาว่าทั้งๆ ที่เป็นอะไรที่มักจะถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อจำหน่ายความสนุกสนานเพื่อเป้าหมายที่จะกำไรมากๆ นี่แหละ ลึกลงไปกว่านั้น ภาพยนตร์คือผลิตภัณฑ์ทางอุดมการณ์ (ideological product) ชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะมันไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผุดขึ้นมาลอยๆ จากความว่างเปล่า ทว่าถูกผลิตขึ้นมาโดยมนุษย์ ผู้เป็น “สัตว์สังคม” ที่เกิดแก่เจ็บตายอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมชุดหนึ่ง
ก็เช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ ภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะได้รับการต้อนรับมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่เป็น “สถาปนิก” สามารถ “เล่น” กับอุดมการณ์ในระดับที่ปรากฏเป็น “ความรู้สึกนึกคิด” ของกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายด้านการตลาดอย่างได้ผลมากน้อยเพียงใด นั่นเอง
ตาม “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒” “อุดมการณ์” เป็นคำนามที่หมายถึง “หลักการที่วางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้” ส่วนคำนามที่มีความหมายทับซ้อนกันอยู่ในบางระดับคือ “อุดมคติ” นั้นหมายถึง “จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน”
ความหมายในที่นี้ก็คือ ตลอดเวลาที่เรากำลังดูภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งในนามของความสนุกสนานนี่แหละ ภาพยนตร์นั้นๆ กำลังทำหน้าที่ด้านอุดมการณ์บางชนิด อันสอดคล้องกับมาตรฐานแห่งความดี ความงาม และความจริงชุดหนึ่ง ภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะได้รับการต้อนรับมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้เป็นสถาปนิกสามารถ “เล่น” กับ “หลักการ” “แนวปฏิบัติ” และ “เป้าหมาย” ทางอุดมการณ์ และ “มาตรฐานแห่งความดี ความงาม และความจริง” อันเป็นอุดมคติที่สอดคล้องกับอุดมการณ์นั้นๆ ได้ดีสักเพียงไร
หากภาพยนตร์นั้นๆ สามารถผสมผสานองค์ประกอบของรูปแบบและเนื้อหาได้ลงตัวมาก ก็ย่อมจะได้รับความสำเร็จในแง่การเงินและเสียงปรบมือมาก เพราะมีคนไปดูมาก หากทำได้ดีน้อย ก็จะได้ผลตรงกันข้ามลดหลั่นกันลงไป
หรือหากเป็นอะไรที่มีรูปแบบที่สดและเนื้อหาที่ใหม่มากขนาด “สุดเสน่หา” ซึ่งแทบจะไม่ได้เงินในเมืองไทยอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลย ทั้งนี้ ก็เพราะว่าเป็นอะไรในระดับที่ “หลุดโลก” ไปเลย จนต้องถือว่าเป็น “ภาพยนตร์ใต้ดิน” ในมาตรฐานของเมืองไทย (ซึ่งถูกครอบงำโดยอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมอย่างยิ่งทั้งในประวัติศาสตร์สังคมทั่วไปและในประเพณีของภาพยนตร์) จนนึกไม่ออกว่าจะมีใครเป็นคนดู “สุดเสน่หา” อย่างชื่นชมจริงๆ นอกจากการไปดูเพราะได้ทราบมาว่า “แปลกดี” เนื่องจากได้รางวัลเกียรติยศจากเมืองคานส์ ซึ่งว่ากันว่าเป็นจุดสุดยอดแห่งหนึ่งในโลกภาพยนตร์ ทั้งในแง่ของศิลปะและพาณิชยการ
ด้วยประการ ฉะนี้ “สุดเสน่หา” จึงอยู่ในฐานะที่ค่อนข้างพิเศษในโลกของภาพยนตร์ไทย นั่นก็คือ เป็นของแปลกปลอมที่ถูกส่งให้มาทำหน้าที่เป็นทูตวัฒนธรรมจากโลกภายนอกเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ภายใน ทั้งนี้ ด้วยแรงผลักดันและเป้าหมายทางอุดมการณ์บางชนิดที่จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ต่อไปในบริบทของการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของพม่า
ปริศนาที่น่าจะได้รับการคลี่คลายให้ชัดเจนต่อไปก็คือ “สุดเสน่หา” ถือกำเนิดจากบทบาทการสร้างสรรค์ของใครบ้างอย่างชักเจน ถือว่าเป็นภาพยนตร์ไทยได้ในแง่ไหนบ้าง และคำตอบต่อคำถามอย่างนี้มีนัยยะอย่างไรบ้างต่อเมืองไทยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของเราในวันนี้จำกัดอยู่เพียงที่การพยายามทำความเข้าใจกับภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางอุดมการณ์ชนิดหนึ่งว่า เราอาจจะจัดจำแนกเป็นกลุ่มๆ ตามระดับของความตื้นลึกหนาบางในเชิงอุดมการณ์ได้อย่างไรบ้าง ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้มีเครื่องมือทางความคิดสักชุดหนึ่งในอันที่จะวิเคราะห์ภาพยนตร์แต่ละเรื่องว่ามี “ที่ตั้ง” อยู่ ณ จุดใดของระบบอุดมการณ์อันเป็น “ที่มา” ของพลังทางสังคมที่อยู่เบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์นั้นๆ
เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ เราอาจจะวางกรอบความคิดแบบสมมุติขึ้นมาว่า ภาพยนตร์แต่ละเรื่องย่อมตกอยู่ใน “ที่ตั้ง” ทางอุดมการณ์จุดใดจุดหนึ่งในทั้งหมด 5 ระดับ ไล่เรียงกันไปจากกลุ่มที่ทำหน้าที่ทางอุดมการณ์แบบอนุรักษนิยมมากที่สุด ไปจนกระทั่งถึงกลุ่มที่หลุดไปจากโลกทางอุดมการณ์กระแสหลักจนกู่ไม่กลับเลย เป็นลำดับๆ
(1) ภาพยนตร์ที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์กระแสหลักอย่างไม่มีเงื่อนไขและอย่างไม่รู้สึกตัว ภาพยนตร์ส่วนมากในแต่ละประเทศจะตกอยู่ในกลุ่มนี้ โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนมักจะกล่าวอ้างว่าผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของตนมีลักษณะเด่นอย่างนั้นอย่างนี้ การทำภาพยนตร์ที่สอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ในความเป็นจริง ข้อกล่าวอ้างในทำนองนี้มีรากเหง้าอยู่ที่อุดมการณ์แกระแสหลักนั่นเอง แนวทางทั่วๆ ไปที่เราจะได้เห็นในภาพยนตร์กลุ่มนี้ก็คือ ตัวละครที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของอุดมการณ์กระแสหลักอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาอย่างไรในระหว่างทางก็ตาม ลงท้ายแล้ว ตัวละครนั้นๆ ก็จะได้รับ “รางวัล” และในทางตรงกันข้าม หากตัวละครใดๆ ทำตัวอยู่นอกกฎเกณฑ์ ก็จะถูกลงโทษ แน่นอน ระดับทางความคิดของภาพยนตร์กลุ่มนี้ค่อนข้างล้าหลัง เพราะเป็นการยืนยันความชอบธรรมของความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่แล้วด้วยความจริงใจ ถ้าอยากจะตั้งชื่ออะไรให้สักอย่างเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ก็อาจเรียกว่าเป็นกลุ่ม “ขวาเก่า” ก็ได้ ในสังคมที่ล้าหลังทางการเมือง ภาพยนตร์อย่างนี้จะมีมาก ในโลกปัจจุบัน ภาพยนตร์กลุ่มนี้หาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความคับแคบทางความคิดอย่างนี้ขัดแย้งกับลัทธิเสรีนิยมที่แพร่หลายมากขึ้นทุกที
(2) ภาพยนตร์ที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์กระแสหลักอย่างไม่มีเงื่อนไขแต่อย่างรู้สึกตัว ภาพยนตร์กลุ่มนี้มักจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองบางอย่าง โดยนำเสนอเรื่องราวนั้นๆ ว่ามีปัญหา ทว่าก็ไม่นำเสนอทางออกใหม่ๆ มิหนำซ้ำ ยังมักจะนำเสนอในทำนองว่าทางออกดีๆ มีอยู่แล้วในอุดมการณ์ดั้งเดิม ในเชิงเปรียบเทียบกับ (๑) นี่คือกลุ่ม “ขวาใหม่” ที่ตั้งหน้าตั้งตาหาวิธีการต่ออายุให้กับอุดมการณ์ดั้งเดิม ฉะนั้น จึงเป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่ก้าวหน้าขึ้นมาบ้างในระดับใดระดับหนึ่ง ภาพยนตร์กลุ่มนี้คงจะมีมากที่สุดในทุกๆ สังคมเพราะมีฐานด้านการตลาดแข็งแกร่ง นั่นก็คือ กลุ่มที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้กำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งถูกต้องในสังคม (moral majority) นี่คือแกนกลางของพาณิชยศิลป์อย่างภาพยนตร์
(3) ภาพยนตร์ที่เมื่อพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วอาจจะเข้าใจว่าเป็นการผลิตซ้ำอุดมการณ์กระแสหลัก ทว่าการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งกลับจะมองเห็นความคลุมเครือ (ambiguity) มากขึ้นทุกที ภาพยนตร์กลุ่มนี้อาจจะเริ่มต้นจากการนำเสนอภาพเรื่องราวต่างๆ จากมุมมองของอุดมการณ์กระแสหลักแบบซื่อๆ แต่ต่อจากนั้นก็นำเอาปัญหาบางอย่างของเรื่องราวนั้นๆ มาวิพากษ์ด้วยกลเม็ดเด็ดพรายทางศิลปะบางชนิด นับตั้งแต่ในลักษณะที่ซ่อนรูป นิ่มนวล จนท้ายที่สุดแล้วเข้าข่ายเป็นการเซาะอุดมการณ์กระแสหลักให้ผุกร่อนจากภายใน ทว่าเอาจริงเข้าก็ไม่ให้คำตอบเผงๆ ว่าใครควรจะทำอะไรและอย่างไรกันต่อไป กลุ่มบุคคลที่จะผลิตภาพยนตร์กลุ่มนี้มักจะเป็นพวกปัญญาชนที่มีความรู้เท่าทันจุดอ่อนหรือความไม่สมบูรณ์ต่างๆ ของอุดมการณ์กระแสหลัก สนใจที่จะขุดคุ้ยหาความเปลี่ยนแปลง ถึงแม้จะมีความละอายใจต่อความได้เปรียบของตนในโครงสร้างอำนาจที่ดำรงอยู่ แต่ก็ไม่ต้องการเสียสละสถานภาพนั้น นี่คงจะเป็นกลุ่มที่อาจเรียกได้ว่าเป็นพวกเสรีนิยม
(4) ภาพยนตร์ที่วิพากษ์อุดมการณ์กระแสหลัก แล้วก็ชี้นำว่าจำเป็นจะต้องหาทางออกใหม่ๆ ในทางการเมือง ภาพยนตร์อย่างนี้ออกจะหายาก มีอยู่ไม่มากนัก หลักการพื้นฐานก็คือการนำเอาความเชื่อหรือค่านิยมบางอย่างที่ได้รับการยกย่องเชิดชูโดยอุดมการณ์กระแสหลักของสังคมนั้นๆ เองมาเปิดโปงถึงความหน้าไหว้หลังหลอกต่างๆ นานา ในลีลาที่ตรงไปตรงมา กระแทกกระทั้น เสียดสี ทว่าก็มักจะเป็นเพียงการแสดงออกแบบโกรธๆ ในบางระดับ แต่ก็ไม่ถึงกับนำเสนอทางออกอะไร คล้ายๆ กับจะเชิญชวนให้คนดูภาพยนตร์เป็นผู้ แสวงหาทางออกกันเอง หากจะต้องตั้งชื่อให้ ปัญญาชนที่ผลิตภาพยนตร์ชนิดนี้คงจะอยู่ในประเภทเสรีนิยมก้าวหน้า
(5) ภาพยนตร์ที่ปฏิเสธอุดมการณ์กระแสหลัก ภาพยนตร์แบบนี้จะปรากฏขึ้นในประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงจนกระทั่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถครองความเป็นเจ้าได้อย่างเด็ดขาด มักจะมีอยู่ในประเทศที่มีการใช้อาวุธแก่งแย่งอำนาจรัฐเท่านั้น เช่น ในยุคหนึ่ง ในประเทศแถบละตินอเมริกาจะเต็มไปด้วยการแอบผลิตและเผยแพร่ภาพยนตร์เหล่านี้อย่างลับๆ เพราะถือว่าภาพยนตร์เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดปล่อยให้ประชาชนของประเทศนั้นๆ หลุดพ้นจากการครอบงำของภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อสนับสนุนอุดมการณ์กระแสหลักในระดับต่างๆ บุคคลที่ผลิตภาพยนตร์กลุ่มนี้เชื่อว่าภาพยนตร์คือเครื่องมือแห่งการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ต้องการใช้ภาพยนตร์ของตนสร้างโลกใหม่ ในบางสังคม นี่คือคนหัวก้าวหน้า ผู้ที่เชื่อในอุดมการณ์บางชนิดที่ท้าทายอุดมการณ์กระแสหลักโดยตรง
ข้างต้นนั้นคือการสร้างกรอบการคิดง่ายๆ ที่อาจจะทดลองนำไปใช้วัดสถานภาพทางอุดมการณ์ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้ ทว่าไม่ใช่การนำไปใช้จะเป็นไปได้ง่ายๆ แบบอัตโนมัติ เพราะจุดที่สำคัญก็คือ เราจะต้องมี “ตัวแบบ” ที่แม่นยำว่าอุดมการณ์กระแสหลักที่ดำรงอยู่ในแต่ละสังคมมีลักษณะพิเศษอย่างไรบ้างเสียก่อน นอกจากนี้ ความจริงสำคัญอีกประการหนึ่งก็คืออุดมการณ์กระแสหลักไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว ทว่าปรับเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยด้วย
ด้วยความรู้ที่แม่นยำแบบนี้เท่านั้น การนำกรอบการคิดข้างต้นนี้ไปใช้อย่างมีความหมายจึงจะเกิดขึ้นได้ เพราะความเข้าใจตรงนี้เองคือ “ดัชนี” อันเป็นบริบทในการวิเคราะห์ระดับทางอุดมการณ์ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องในแต่ละยุคแต่ละสังคม อนึ่ง เมื่อนำไปใช้แล้ว ข้อโต้แย้งอาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะ (1) ความเข้าใจเรื่องอุดมการณ์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ในแต่ละสังคมอาจจะมีตัวแบบที่น่าสนใจพอๆ กันหลายๆ ตัวแบบ และ (2) ภาพยนตร์เป็นงานศิลปะ ดังนั้น ในหลายๆ กรณี การตีความจึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันได้บ่อยๆ ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวแบบตายตัวเสมอไป
ไม่ว่าใครจะชอบดูภาพยนตร์ด้วยกรอบแห่งการอ้างอิงอย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ภาพยนตร์ตามแนวทางของอุดมการณ์มีศักยภาพที่จะให้ความรื่นรมย์ในการเข้าถึงภาพยนตร์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสจะให้ความสนุกสนานที่ไม่เหมือนใครได้อย่างมากทีเดียว
อนึ่ง ในยุคที่การเลือกตั้งกำลังขึ้นสมองนี้ กรอบแห่งการคิดในทำนองเดียวกันนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์หาระดับทางอุดมการณ์ของนักการเมืองแต่ละคน แต่ละกลุ่ม หรือพรรคการเมือง ก็ได้เหมือนกัน ไม่มีข้อห้ามอะไร.