สถาบันการเงินโดดต้านแนวคิดกระทรวงคลังตั้งองค์กรอิสระคุมแบงก์-ประกันเบ็ดเสร็จ หวั่นถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง พร้อมเสนอแยกกำกับดูแลแบงก์พาณิชย์กับประกันต่างหาก เพราะดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน แนะแยกกรมประกันภัยออกมาเป็นองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจประกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ด้านแบงก์ชาติ ยันขอกำกับดูแลสถาบันการเงินเอง เหมาะสมแล้ว ระบุมีหน้าที่พัฒนาสถาบันการเงินจึงต้องทำงานควบคู่กับการกำกับดูแลสถาบันการเงินด้วย
นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีมติจำหน่ายลำไยโครงการรับจำนำปี 2546/47 ให้กับประเทศจีนจำนวน 6.6 หมื่นตัน ในลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบาร์เดอร์เทรด ระหว่างลำไยกับหัวรถจักร แบ่งเป็นลำไยที่รับจำนำในปี 46 จำนวน 2.2 หมื่นตัน ในปี 47 จำนวน 4.4 หมื่นตัน โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้เจรจาขายในราคาตลาด
ส่วนลำไยที่รับจำนำในปี 45 จำนวน 2.3 หมื่นตัน มูลค่าประมาณ 300 ล้านบาทนั้น ที่ประชุมไม่มติไม่ให้จำหน่าย เพราะขณะนี้ลำไยดังกล่าวเริ่มที่จะเน่าเสีย และหากขายไปจะเป็นปัญหาว่า ไทยนำสินค้าเน่าเสียไปขาย ผู้ซื้อก็จะเกิดความไม่มั่นใจ และหากยืนยันที่จะระบายจริงๆ ก็จะมีปัญหาถึงลำไยปี 46 และ 47 ที่จะต้องถูกชะลอการขายออกไป และสุดท้ายก็จะเกิดปัญหาเน่าเสียเกิดขึ้นอีก
“จะทำอย่างเด็ดขาด โดยจะผลักดันให้ขายลำไยปี 46 และ 47 ให้หมด ส่วนลำไยปี 45 จะจัดการให้เรียบร้อย ต่อไปนี้จะตั้งต้นกันใหม่”นายพินิจ กล่าว
สำหรับปัญหาการทุจริตในโครงการรับจำนำลำไย ที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) รับจำนำจากเกษตรกร และนำมาอบแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งจำนวน 9.5 หมื่นตัน และที่ผ่านมาบริษัท ปอเฮง (ประเทศจีน) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งออก สามารถส่งลำไยได้เพียง 4.4 หมื่นตัน โดยมีลำไยที่หายไปจำนวน 5.1 หมื่นตัน ที่ประชุมสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดดำเนินการสรุปผลการตรวจสอบรายงานต่อที่ประชุมภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้
“ผมบอกว่าไม่ใช่อยู่ระหว่างการค้นหาติดตาม แต่มันมีบัญชีอยู่แล้ว ก็ต้องไปไล่ในจุดต่างๆว่าได้หรือไม่ได้ ที่ไหน อย่างไร แต่เขาก็ไปไล่ในหลายจุดที่ บริษัท ปอเฮง ส่งลำไยสดไปอบ ปรากฎว่าเขาบอกว่ามีรถของบริษัท ปอเฮง มารับไปแล้ว ผมจึงสั่งให้ไปสรุปให้จบ โดยให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้รับผิดชอบ เพราะขณะนี้เรื่องลำไยขึ้นอยู่กับกระทรวงเกษตร”นายพินิจ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า นายพินิจ จะนำเสนอเรื่องการโครงการบาร์เดอร์เทรดลำไยกับหัวรถจักรกับประเทศจีนเพื่อผลักดันลำไยจำนวน 6.6 หมื่นตัน เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 18 ม.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา นายพินิจ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบสต็อกข้าวทั้งหมด โดยเฉพาะโครงการรับจำนำในปี 2547/48 โดยมีนายแสง สงวนเรือง เป็นประธาน มีตัวแทนประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตัวแทนจากเกษตรกร สมาคมโรงสี สมาคมผู้ส่งออกข้าว นายปราโมทย์ วานิชานนท์ ที่ปรึกษา กนข. อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการไบโอเทค ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบดีเอ็นเอข้าว
“กรรมการชุดนี้ จะเน้นเรื่องการตรวบสอบสต็อกข้าวเปลือกในโครงการรับจำนำปี 2547/48 รวมทั้งข้าวที่แปรสภาพแล้ว โดยเฉพาะโกดังที่อยู่ในโครงการรับจำนำในภาคอีสาน ซึ่งได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัดว่ามีการนำข้าวหอมปทุมปลอมปนอยู่มาก หากใครทำบริสุทธิ์ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าใครตุกติก จะเริ่มมีการโวยวาย เราจะเห็นพวกนี้แสดงตัวออกมา และสุดท้ายถ้าพบก็จะจัดการขั้นเด็ดขาด”นายพินิจ กล่าว
นอกจากนี้ นายพินิจ ได้เร่งรัดให้มีการการตรวจสอบโกดังเอกเกษตร ในพื้นที่ จ.พิจิตร ที่ถูกโจรกรรมข้าวไป 10,058 กระสอบ ซึ่งก่อนหน้านี้โครงการรับจำนำข้าว นำไปเก็บไว้ที่โกดังดังกล่าว ต่อมาภายหลังมีผู้มาประมูลได้และตรวจสอบข้าวในโกดัง พบว่า เป็นข้าวคนละชนิดกับที่ระบุไว้ในการรับจำนำ ทำให้ทราบว่ามีการขโมย หรือขนย้ายข้าวที่มีการปลอมปนในโกดัง เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ และพบว่าเกิดเหตุการณ์ลักษณะในอีกหลายจุดทั้งในกทม.และต่างจังหวัด
อีกทั้ง ยังได้สั่งการให้ อตก. , อคส., ไปปรับปรุงประสิทธิภาพเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยข้าวในโครงการรับจำนำตามโกดังต่างๆ โดยจ้างหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือทหารผ่านศึกดูแลอย่างเข้มงวด ไม่ใช่จ้างใครที่ไหนมา แต่ทำงานไม่มีคุณภาพ
รายงานข่าวจากวงการค้าข้าว แจ้งว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการส่งออกข้าวที่ นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ได้แต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.47 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง ในประเด็นการส่งออกข้าวลมของบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด ในเดือนต.ค.ที่มีความคลาดเคลื่อน 2 แสนกว่าตัน แต่ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แม้จะมีเส้นตายภายใน 30 วัน ที่จะต้องสรุปให้ได้ ทั้งนี้ คาดว่าผลสรุปจะออกมา 2 แนวทาง คือ มีการส่งออกลมจริง และไม่มีความผิดปกติในการส่งออก เพราะตัวเลขที่แจ้งกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับตัวเลขส่งออกจริงอาจแตกต่างกันได้ ซึ่งเป็นอำนาจของนายพินิจในฐานะประธานกนข.ที่จะต้องพิจารณาต่อไป เมื่อมีการสรุปเข้าที่ประชุมกนข.
นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีมติจำหน่ายลำไยโครงการรับจำนำปี 2546/47 ให้กับประเทศจีนจำนวน 6.6 หมื่นตัน ในลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบาร์เดอร์เทรด ระหว่างลำไยกับหัวรถจักร แบ่งเป็นลำไยที่รับจำนำในปี 46 จำนวน 2.2 หมื่นตัน ในปี 47 จำนวน 4.4 หมื่นตัน โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้เจรจาขายในราคาตลาด
ส่วนลำไยที่รับจำนำในปี 45 จำนวน 2.3 หมื่นตัน มูลค่าประมาณ 300 ล้านบาทนั้น ที่ประชุมไม่มติไม่ให้จำหน่าย เพราะขณะนี้ลำไยดังกล่าวเริ่มที่จะเน่าเสีย และหากขายไปจะเป็นปัญหาว่า ไทยนำสินค้าเน่าเสียไปขาย ผู้ซื้อก็จะเกิดความไม่มั่นใจ และหากยืนยันที่จะระบายจริงๆ ก็จะมีปัญหาถึงลำไยปี 46 และ 47 ที่จะต้องถูกชะลอการขายออกไป และสุดท้ายก็จะเกิดปัญหาเน่าเสียเกิดขึ้นอีก
“จะทำอย่างเด็ดขาด โดยจะผลักดันให้ขายลำไยปี 46 และ 47 ให้หมด ส่วนลำไยปี 45 จะจัดการให้เรียบร้อย ต่อไปนี้จะตั้งต้นกันใหม่”นายพินิจ กล่าว
สำหรับปัญหาการทุจริตในโครงการรับจำนำลำไย ที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) รับจำนำจากเกษตรกร และนำมาอบแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งจำนวน 9.5 หมื่นตัน และที่ผ่านมาบริษัท ปอเฮง (ประเทศจีน) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งออก สามารถส่งลำไยได้เพียง 4.4 หมื่นตัน โดยมีลำไยที่หายไปจำนวน 5.1 หมื่นตัน ที่ประชุมสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดดำเนินการสรุปผลการตรวจสอบรายงานต่อที่ประชุมภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้
“ผมบอกว่าไม่ใช่อยู่ระหว่างการค้นหาติดตาม แต่มันมีบัญชีอยู่แล้ว ก็ต้องไปไล่ในจุดต่างๆว่าได้หรือไม่ได้ ที่ไหน อย่างไร แต่เขาก็ไปไล่ในหลายจุดที่ บริษัท ปอเฮง ส่งลำไยสดไปอบ ปรากฎว่าเขาบอกว่ามีรถของบริษัท ปอเฮง มารับไปแล้ว ผมจึงสั่งให้ไปสรุปให้จบ โดยให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้รับผิดชอบ เพราะขณะนี้เรื่องลำไยขึ้นอยู่กับกระทรวงเกษตร”นายพินิจ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า นายพินิจ จะนำเสนอเรื่องการโครงการบาร์เดอร์เทรดลำไยกับหัวรถจักรกับประเทศจีนเพื่อผลักดันลำไยจำนวน 6.6 หมื่นตัน เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 18 ม.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา นายพินิจ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบสต็อกข้าวทั้งหมด โดยเฉพาะโครงการรับจำนำในปี 2547/48 โดยมีนายแสง สงวนเรือง เป็นประธาน มีตัวแทนประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตัวแทนจากเกษตรกร สมาคมโรงสี สมาคมผู้ส่งออกข้าว นายปราโมทย์ วานิชานนท์ ที่ปรึกษา กนข. อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการไบโอเทค ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบดีเอ็นเอข้าว
“กรรมการชุดนี้ จะเน้นเรื่องการตรวบสอบสต็อกข้าวเปลือกในโครงการรับจำนำปี 2547/48 รวมทั้งข้าวที่แปรสภาพแล้ว โดยเฉพาะโกดังที่อยู่ในโครงการรับจำนำในภาคอีสาน ซึ่งได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัดว่ามีการนำข้าวหอมปทุมปลอมปนอยู่มาก หากใครทำบริสุทธิ์ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าใครตุกติก จะเริ่มมีการโวยวาย เราจะเห็นพวกนี้แสดงตัวออกมา และสุดท้ายถ้าพบก็จะจัดการขั้นเด็ดขาด”นายพินิจ กล่าว
นอกจากนี้ นายพินิจ ได้เร่งรัดให้มีการการตรวจสอบโกดังเอกเกษตร ในพื้นที่ จ.พิจิตร ที่ถูกโจรกรรมข้าวไป 10,058 กระสอบ ซึ่งก่อนหน้านี้โครงการรับจำนำข้าว นำไปเก็บไว้ที่โกดังดังกล่าว ต่อมาภายหลังมีผู้มาประมูลได้และตรวจสอบข้าวในโกดัง พบว่า เป็นข้าวคนละชนิดกับที่ระบุไว้ในการรับจำนำ ทำให้ทราบว่ามีการขโมย หรือขนย้ายข้าวที่มีการปลอมปนในโกดัง เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ และพบว่าเกิดเหตุการณ์ลักษณะในอีกหลายจุดทั้งในกทม.และต่างจังหวัด
อีกทั้ง ยังได้สั่งการให้ อตก. , อคส., ไปปรับปรุงประสิทธิภาพเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยข้าวในโครงการรับจำนำตามโกดังต่างๆ โดยจ้างหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือทหารผ่านศึกดูแลอย่างเข้มงวด ไม่ใช่จ้างใครที่ไหนมา แต่ทำงานไม่มีคุณภาพ
รายงานข่าวจากวงการค้าข้าว แจ้งว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการส่งออกข้าวที่ นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ได้แต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.47 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง ในประเด็นการส่งออกข้าวลมของบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด ในเดือนต.ค.ที่มีความคลาดเคลื่อน 2 แสนกว่าตัน แต่ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แม้จะมีเส้นตายภายใน 30 วัน ที่จะต้องสรุปให้ได้ ทั้งนี้ คาดว่าผลสรุปจะออกมา 2 แนวทาง คือ มีการส่งออกลมจริง และไม่มีความผิดปกติในการส่งออก เพราะตัวเลขที่แจ้งกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับตัวเลขส่งออกจริงอาจแตกต่างกันได้ ซึ่งเป็นอำนาจของนายพินิจในฐานะประธานกนข.ที่จะต้องพิจารณาต่อไป เมื่อมีการสรุปเข้าที่ประชุมกนข.