นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์ ขอบคุณที่ไทยให้ความช่วยเหลือในการค้นหาผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ประกาศหนุนไทยเป็นแกนนำตั้งระบบเตือนภัยภูมิภาคเอเซีย พร้อมช่วยเหลือไทยทั้งด้านเทคโนโลยี การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และค้นหาผู้สูญหายต่อไป "ทักษิณ"ยันปัญหาความขัดแย้งเรื่องการพิสูจน์ศพของสองหน่วยงานได้ข้อยุติ เชื่อ"หมอพรทิพย์"ไม่ลาออก ด้านสปน.ของบฯ ช่วยเหลือเหยื่อ“สึนามิ”เพิ่มกว่า 1,400 ล้าน พร้อมเสนอเพิ่มค่าตอบแทนรายเดือน 1,000-2,500 บาท และ เลื่อน 2 ขั้นให้ขรก.ที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เตรียมนำเข้าครม.อังคารนี้
เมื่อเวลา 15.30 น.วานนี้ (16 ม.ค.)ที่ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 บรรดานายกรัฐมนตรี จากกลุ่มประเทศนอร์ดิก ประกอบด้วย นายเยอราน เพร์สซอน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรสวีเดน นายเชลล์ มังเนอ บอนเดอวิก นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรนอร์เวย์ และนายมัตติ วันฮาเนน นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐฟินแลนด์ ได้เดินทางมาหารือกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการค้นหาศพผู้เสียชีวิต และผู้สูญหายของประเทศตัวเองจากเหตุการณ์ “สึนามิ”ภายในห้องรับรองของท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง
จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้นำนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศ ไปเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่จะเดินทางกลับมาแถลงผลการหารือร่วมกันอย่างเป็นเป็นทางการที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล และพ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่นายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศด้วย
**หนุนไทยเป็นแกนนำตั้งระบบเตือนภัย
ต่อมา เวลา 20.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีจากกลุ่มประเทศนอร์ดิก ได้แถลงผลการหารือข้อราชการร่วมกัน โดย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า จากการหารือร่วมกัน รัฐบาลไทยได้สรุปให้ฟังถึงหลังเหตุการณ์ที่เกิดคลื่นยักษ์ถล่มประเทศไทยแล้วภาครัฐบาลได้เข้าช่วยเหลือทั้งการค้นหาผู้เสียชีวิต และค้นหาผู้สูญหายอย่างไรบ้าง ทั้งนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัย
สำหรับการรับความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศนอร์ดิกนั้น ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆที่เราไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ และเรื่องของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปจากการประสบภัยในครั้งนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเป็นแกนนำหลักในเรื่องของการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในเรื่องของคลื่นยักษ์ โดยเฉพาะจากผลการประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย และเราจะเร่งดำเนินการให้เห็นผลเร็ววัน เพื่อให้นำมาปฏิบัติได้จริง เนื่องจาก 3 ประเทศเป็นลูกค้ารายใหญ่ของประเทศไทย ในด้านการท่องเที่ยวที่นำรายได้มาสู่ประเทศไทยในแต่ละปีอย่างมหาศาล จึงต้องการเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวหลังจากการฟื้นฟู
นอกจากนี้ทั้งนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ จะทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันในเรื่องการค้นหาผู้สูญหาย ซึ่งเวลานี้ประเทศสวีเดนมีตัวเลขมากสุด
ด้านนายกรัฐมนตรีประเทศสวีเดน กล่าวว่า ขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งในความมีน้ำใจของคนไทยทั้งภาครัฐ อาสาสมัครที่มีส่วนช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม รวมทั้งคนไทยที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุที่ได้ร่วมมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อชาวสวีเดน ซึ่งจากการที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า หายนะภัยครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในคาบมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งได้แบ่งเบาภารกิจความทุกข์ยากนี้ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ตนยังเป็นห่วงชะตากรรมชาวสวีเดนนับพันคนที่ยังสูญหายอยู่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระบวนการในการค้นหาจะดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ญาติพี่น้องของชาวสวีเดนจะได้มีโอกาสพบหน้าบุคคลที่เขารักได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ด้านนายกรัฐมนตรีประเทศนอร์เวย์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจต่อประชาชนชาวไทย ชาวนอร์เวย์ยังมีผู้สูญหายอีกประมาณ 77 คน ความร่วมมือไม้ร่วมมือในการค้นหาได้ทำงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับประเทศไทย โดยนอร์เวย์กับสวีเดนจะจัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 17 ม.ค.นี้ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดตามค้นหาผู้สูญหาย โดยตนและนายกฯสวีเดน จะไปทำพิธีเปิด ทั้งนี้เราสนับสนุนที่จะให้ไทยเป็นแกนในการจัดตั้งระบบเตือนภัยของภูมิภาคนี้
ขณะที่นายกรัฐมนตรีประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า ขอพูดในนานชาวฟินแลนด์ว่า ประทับใจในความช่วยเหลือของประชาชนคนไทยต่อนักท่องเที่ยวชาวฟินแลนด์ คนที่รอดชีวิตกลับไปหลายคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้หญิง ได้เล่าให้ฟังถึงความช่วยเหลือ ความมีน้ำใจของคนไทย ซึ่งได้มาประจักษ์ชัดเจนก็ตอนมีหายนะภัยและยินดีสนับสนุนให้ไทยจัดตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าเพื่อมิให้มาคร่าชีวิตผู้คนได้อีก อยากจะบอกให้ชาวฟินแลนด์มาเที่ยวที่ประเทศไทยอีก เพราะภัยพิบัติครั้งนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครล่วงรู้มาก่อนล่วงหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะยุติการค้นหาศพผู้เสียชีวิตแล้วใช่หรือไม่ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า หยุดจริง แต่เฉพาะในภาคพื้นดิน ส่วนทางทะเลและในพื้นที่ป่าโกงกางยังไม่หยุด ในส่วนการพิสูจน์ได้จัดตั้งศูนย์การพิสูจน์ศพที่จังหวัดภูเก็ต โดยมี นาย โภคิน พลกุล รมว.มหาดไทยเป็นผู้ดูแล ชาวต่างชาติอยากให้ตรวจสอบส่วนไหนสามารถติดต่อได้เลย ส่วนตัวเลขผู้สูญหายยังไม่แน่นอนแต่การค้นหายังคงดำเนินต่อไป อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ระบบการเตือนภัยล่วงหน้าถึงวันนี้ประเทศไทยยังไม่มี แต่จะนำคนและระบบที่มีอยู่มาปรับปรุงใหม่ ได้มอบหมายให้ นายสมิธ ธรรมโรช อดีต อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา มาทำหน้าที่ตรงนี้ อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วหากนำมาปรับปรุงก็จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนประเทศไทยใน 1 ปีคงจะเห็นผลไทยจะทำในส่วนนี้ชั่วคราวไปก่อน ส่วนที่จะเป็นแกนนำในระดับคาบสมุทรอินเดียคงต้องมีการหารือกันต่อไป
ด้านนายจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ทั้ง 3 ประเทศเสนอให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาการ ทั้งนี้ประเทศนอร์เวย์ได้เสนอเงินช่วยเหลืองวดแรก 175 ล้านเหรียญสหรัฐ นายกรับมนตรีไทยได้เสนอตัวที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของระบบเตือนโดยเสนอวงเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐและยินดีให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการต่างๆและในวันที่ 28-29 ม.ค.นี้จะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อหารือในเรื่องการจัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าโดยมีนายสมิธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นแม่งานหลักในการเข้าร่วมประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้(17 ม.ค.)พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปจังหวัดพังงา ในเวลา 9.00 น.โดยเครื่องบิน ซึ่งจะไปลงที่ จ.ภูเก็ต เพื่อต้อนรัฐนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศที่จะลงไปดูพื้นที่ประสบภัย ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่การเดินทางได้
**ม็อบพังงาค้านย้ายศพไปภูเก็ต
เช้าวานนี้ (16 ม.ค.)ชาวบ้านจาก จ.พังงา ได้รวมตัวกันเพื่อประท้วงมติการประชุมที่ให้ย้ายทุกศพไปจ.ภูเก็ตเพื่อความสะดวกในการดำเนินการในภายหลัง โดยชาวบ้านหวั่นเกรงว่าการค้นหาญาติจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งการประท้วงได้ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 15ม.ค.
อย่างไรก็ตาม หลังจาก พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้เดินทางมาเจรจากับผู้ชุมนุมและได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบว่า จะไม่ย้ายศพไปไหนจนกว่าจะสามารถหาศพให้กับญาติพี่น้องได้ครบ ทำให้ชาวบ้านพอใจและพากันเดินทางกลับ
**หมอพรทิพย์ชี้ชัดไม่ควรย้าย
จากนั้น พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่จะย้ายศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มจากวัดย่านยาว ไปเก็บที่สุสานบ้านไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต คาดว่า ผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอจะออกมา ทำให้ส่งมอบศพให้ญาติได้อีกประมาณ 50% จากศพที่วัดย่านยาวทั้งหมดประมาณ 2,900 ศพ ส่วนที่วัดบางม่วงที่จะเริ่มเคลื่อนย้ายศพในวันนี้ (17ม.ค.) มีศพคนไทยนิรนามอยู่ประมาณ 1,100 ศพ ส่วนใหญ่ เก็บมาจากบ้านน้ำเค็ม
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมีความเห็นว่า การย้ายศพไปไว้ที่จ.ภูเก็ต จะสร้างความลำบากในการติดตามให้แก่ญาติผู้ประสบภัย และห่วงว่าศพจะเสียหายขณะขนย้าย และยืนยันว่า ผลการพิสูจน์ศพที่วัดย่านยาวไม่ได้ล่าช้า อย่างที่มีผู้กล่าวอ้าง ซึ่งขณะนี้ตำรวจในพื้นที่รับข้อมูลไปแล้ว แต่ยังติดขัดที่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น อีกทั้งเห็นว่า งานพิสูจน์ศพ ควรแยกออกจากงานจับกุมเหมือนกับในประเทศอื่น ๆ
ด้าน น.พ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ขอให้ชาวบ้านทุกคนสบายใจเพราะจะไม่มีใครทำปู้ยี่ปู้ยำกับศพอย่างแน่นอน ขณะนี้ทุกฝ่ายมีความปรารถนาดีที่จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นและเป็นระบบ คุณหญิงพรทิพย์ ก็ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว
อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจผิดครั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการนำเสนอข่าว ที่ไม่มีการชี้แจงในรายละเอียดว่าจะมีการย้ายศพหลังจากที่ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะลำเลียงโดยรถคอนเทนเนอร์ โดยสถานที่เก็บศพจะมีเวรยามดูแลอย่างดี ไม่ต้องกลัวจะมีการขโมยศพกันอีก
ส่วนกรณีญาติผู้เสียชีวิต หวั่นเกรงว่าเมื่อย้ายศพไป จ.ภูเก็ตแล้ว หากตรวจพิสูจน์ยืนยันศพในภายหลังจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายศพกลับจะสูงนั้น รัฐบาลพร้อมที่จะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญเวลานี้คือข้อมูลก่อนเสียชีวิตของศพที่ยังคั่งค้างอยู่ว่าเคยไปทำฟันหรือมีข้อมูลที่บ่งชัดมากกว่านี้หรือไม่ เพื่อการสะดวกในการพิสูจน์
**เชื่อ"หมอพรทิพย์"ไม่ลาออก
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตรวจพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิต ที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างพ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กับ พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะมีการพูดคุยกันแล้วพ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ น่ารักมากทุ่มเทช่วยทำงานเต็มที่ ดังนั้นอะไรที่ทำให้ลงตัวกันได้เราก็จะทำ หมอพรทิพย์เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจที่ได้มาตรฐาน ซึ่งหมอพรทิพย์ เป็นห่วงเรื่องการตรวจดีเอ็นเอที่ได้มาตรฐาน เพราะหากคืนศพและหาญาติได้ถูกต้องหมอก็พอใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขั้นตอนที่ตำรวจจะลงไปทำคือเรื่องอะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็แล้วแต่ อาจเป็นการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของศพที่เน่าแล้ว ถ้ายังไม่เรียบร้อยตำรวจก็ตรวจใหม่ ถือเป็นเรื่องธรรมดาหรือหมอพรทิพย์อาจจะตรวจเองก็ได้ แต่ตรงนี้มันมีระบบอยู่ จุดประสงค์คือขอให้ได้มาซึ่งความชัดเจนว่าศพนั้นคือใคร ซึ่งคงใช้เวลาไม่นาน ตอนนี้ขั้นตอนการตรวจก็ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่าง ดร.ประสม สถาปิตานนท์ ก็สามารถตรวจดีเอ็นเอได้ชัดเจนแล้ว
เมื่อถามว่า ทางตำรวจต้องการให้ย้ายศพไปที่จ.ภูเก็ต ขณะที่ประชาชนไม่อยากให้ย้าย และจะประท้วงโดยการปิดถนน พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ถึงอย่างไรศพก็คงต้องส่งขึ้นเครื่องบินไป อยู่ตรงไหนก็ต้องขึ้นเครื่องบินที่ท่าฉัตรชัยเพราะอยู่ใกล้สนามบิน คือหลังจากตรวจชัดเจนแล้วว่าเป็นใคร ก็จะนำไปเก็บไว้เพื่อรอญาติมารับกลับไปไม่มีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่า หมอพรทิพย์บอกว่า เสร็จงานนี้แล้วจะลาออกจากราชการ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้นหรอก หมอพรทิพย์เป็นคนทุ่มเท และตั้งใจทำงานสูง อย่าคิดมาก
**ย้ายแน่3พันศพจากพังงามาสุสานไม้ขาว
นายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ กล่าวถึงปัญหาศพที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นใคร ว่า มีประมาณ 3,000 กว่าศพ ซึ่งอยู่ที่วัดบางม่วง 1,400 กว่าศพ และที่วัดย่านยาว 2,100 กว่าศพ นั้น ที่วัดบางม่วงมีการเก็บข้อมูลตรวจดีเอ็นเอเสร็จแล้ว โดยตกลงกันว่า การเก็บตัวอย่างตรวจดีเอ็นเอ ที่เป็นฟันและกระดูก จะส่งไปให้จีนเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ ส่วนที่ไทยสามารถดำเนินการเองได้ เช่น การตรวจลายนิ้วมือ เส้นผม ไทยจะตรวจพิสูจน์เอง และจะมีการเคลื่อนย้ายศพไปเก็บไว้ที่สุสานไม้ขาว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนจากประเทศอังกฤษ เป็นผู้ดำเนินการซึ่งเตรียมการไว้หมดแล้ว โดยมีตู้คอนเทนเนอร์อยู่แล้ว 26 ตู้ หลังจากย้ายศพออกมาแล้ว ศูนย์ที่วัดบางม่วงก็จะปิดทันที
ส่วนศพที่วัดย่านยาว ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบทางด้านเทคนิค ตกลงกันอีกครั้งหนึ่ง ว่าในส่วนของศพที่ดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจดีเอ็นเอเสร็จแล้ว จะย้ายมาเก็บไว้ที่สุสานไม้ขาว แต่ศพที่ยังไม่ดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจดีเอ็นเอยังไม่เสร็จ ให้หารือกันในคณะทำงาน ว่าจะย้ายมาเก็บตัวอย่างต่อที่ภูเก็ต หรือเก็บตัวอย่างจนเสร็จวัดย่านยาว และศพที่ฝังไว้ที่สุสานบางมะร่วน ขณะนี้ขุดขึ้นมาทำการเก็บตัวอย่างหมดแล้ว
"ศพที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นใคร คนไทยหรือต่างชาติ จะย้ายมาไว้ที่สุสานไม้ขาวทั้งหมด เพื่อการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ในการออกเอกสารต่างๆ และใบมรณะบัตรให้ แต่อย่างไรก็ตามศพที่ จ.กระบี่ จะไม่ขนมาที่ภูเก็ตจะเก็บไว้ที่กระบี่ตามเดิม ทำให้มีศูนย์ในการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเพียง 2 ศูนย์ คือที่สุสานไม้ขาวและกระบี่
ส่วนนี้ รัฐรับผิดชอบค่าใช้จ่ายคนไทยทั้งหมด ในส่วนของศพคนไทย ที่ยังไม่ทราบดีเอ็นเอของศพ และญาติ ซึ่งเมื่อทราบดีเอ็นเอของศพแล้ว และญาติแล้วก็นำข้อมูลมาตรวจสอบกัน ในจุดนี้รัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาแมทชิ่งข้อมูลของญาติที่เป็นคนไทยทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนไทย และสุสานไม้ขาวก็อยู่ใกล้กับจ.พังงา ส่วนศพของต่างประเทศ รัฐบาลออสเตรเลีย จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนำศพกลับประเทศให้"
**ย้ำต้องไม่มีสิ่งของวางบนชายหาด
นายโภคิน ยังกล่าวถึงความคืบหน้า การจัดระเบียบชายหาดว่า ได้ย้ำไปยังจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะไม่ยอมให้ใครเข้ามาบุกรุกบริเวณชายหาดอีก โดยกำหนดให้จุดสูงสุดที่น้ำทะเลขึ้น 20 เมตร จะไม่อนุญาตให้วางอะไรทั้งสิ้น
นอกจากนี้ คงจำได้ว่า ที่ป่าตองวางเก้าอี้และร่มจนถึงจุดที่น้ำลงต่ำสุด และขยายลงไปเรื่อยๆ ที่ที่จะเดินก็แถบจะไม่ได้ และผู้ว่าฯรายงานว่า ใครหย่อนก้นลงไปต้องจ่ายเลย 100 บาท ซึ่งไร้ระเบียบแบบแผน ทำลายสภาพแวดล้อม และสร้างความรำคาญให้กับนักท่องเที่ยว แต่ขบวนการให้การทำงานคงต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
"ผู้ว่าฯภูเก็ตรายงานว่าที่ป่าตองมีผู้ประกอบการร่ม เตียงผ้าใบ 55 ราย แต่ละคนมีลูกทีมของตัวเองอีกจำนวนมาก บางรายมีคนทำงานเป็นร้อยคน เบ็ดเสร็จแล้วมีคนทำงานบนหาดป่าตอง 7,000-8,000 คน ซึ่งหลังการจัดระเบียบ คงจะไม่ให้เข้าไปทำร่มและเตียงที่ชายหาดทั้ง 55 ราย เพระหากปล่อยให้เข้าไปทั้งหมด ก็จะเหมือนเดิมที่มีสลัม หน้าชายหาด ต่อไปนี้จะมีการกำหนดเป็นโซนให้ตั้งคีย์ออส ร่ม เตียง ที่มีการออกแบบพิเศษแบบลอยน้ำได้ และเป็นการลงทุนโดยท้องถิ่นประทับตราท้องถิ่น และให้ท้องถิ่นมีรายได้จากจุดนี้ด้วย ซึ่งน่าจะชายหาดมีระเบียบมากขึ้น"นายโภคิน กล่าว
นายโภคิน ยังได้สั่งการให้นายวีรวัฒน์ จันทร์เพ็ญ นายอำเภอเมืองภูเก็ต ตรวจสอบศาลาริมหาด ซึ่งเป็นของ นักการเมืองท้องถิ่นรายหนึ่ง เนื่องจากตรวจพบว่า เป็นการก่อสร้างรุกล้ำที่ดินสาธารณะ โดยให้ประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นเข้ารื้อถอนอย่างเร่งด่วน
**สปน.ของบเพิ่ม 1,400 ล้าน
เมื่อวานนี้ (16ม.ค.) นายรองพล เจริญพันธุ์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า เป็นการประชุมเตรียมข้อมูลเพื่อขอรับงบประมาณเพิ่มเติมอีก 603 ล้านบาท หลังจากพบว่างบประมาณที่ครม.ได้อนุมัติไว้5,000 กว่าล้านบาท เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานั้นไม่เพียงพอ เพราะหลายๆ หน่วยงานของบฯไม่ทัน เช่น กระทรวงไอซีทีได้ของบเพิ่ม 1 ล้านบาท เพื่อซื้อเซิฟเวอร์คอมพิวเตอร์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของบเพิ่ม 100 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นงบฯในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ยังพบว่าอาจมีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้นสูงถึง 650 คน จากเดิมที่คาดว่าจะมีประมาณ 400 คน อีกทั้งยังพบว่ามีเด็กที่ได้รับผลกระทบสูงถึง 10,000 คน จากเดิมที่คาดว่าจะมีเพียง 6,500 คน
ทั้งนี้ งบประมาณที่ขอเพิ่ม 603 ล้านบาทดังกล่าว ตนจะนำเข้าคณะกรรมการอำนายการ ที่มีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในเช้าวันนี้ ก่อนนำเข้าครม.ในวันที่ 18 ม.ค.
นอกจากนี้ ที่ประชุมุมยังหารือถึงสิทธิประโยชน์ที่จะให้กับข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง ที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น ให้วันลา พักผ่อน 10 วัน นอกจากนี้ จะมีค่าตอบแทนรายเดือนเพิ่มให้คนที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.47ถึง 31 มี.ค.48 อีกเดือนละ 1,000-2,500 บาท และจะได้ 2 ขั้นตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ รวมทั้งจะให้หนังสือประกาศเกียรติคุณ การบันทึกลงในประวัติ ก.พ.7 รวมทั้งอาจได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ เหรียญที่ระลึกเป็นต้น
"สำหรับผู้ที่จะได้เงินเพิ่มหากใครไปทำงานในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.-31 ธ.ค.รวม 6 วันต่อเนื่อง จะให้ไปเลย 1,000 บาท จากนั้นจะมีดูแต่ละเดือน ถ้าใครลงไปทำงานถึง 7-15วันก็จะได้รับ 1,000 บาท แต่หากเดือนไหนใครทำเกิน 15 วัน จะได้ 2,500 บาท โดยคาดว่าจะเริ่มจ่ายได้ในสิ้นเดือนนี้"นายรองพล กล่าว
นอกจากนี้ ในการประชุมครม.วันอังคารนี้ ยังจะมีการของบกลางปี 48 สำหรับโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการที่เสียหาย เช่น ถนน ท่าเทียบเรือ อีกจำนวน 840 ล้านบาท และจะมีขอให้ครม.ยกเว้นขั้นตอนการประมูลโดยเปลี่ยนมาใช้วิธีพิเศษแทน เพื่อให้ทันต่อการแก้ปัญหาด้วย
**คลื่นยักษ์กลืนแรงงานพม่าในไทย2,500 คน
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า มีชาวพม่าผู้อาศัยอยู่ใน จ.พังงา ของไทยอย่างน้อย 2,500 คน เสียชีวิตด้วยคลื่นยักษ์สึนามิ ทั้งนี้เป็นคำแถลงของกลุ่มเอ็นจีโอในไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
นายโม ส่วย (Moe Swe) เลขาธิการสมาคมแรงงานหย่องชีโอ (Yaung Chi Oo) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ใน อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวสรุปจากการเก็บข้อมูล และการสัมภาษณ์แรงงานพม่า ลูกจ้างชาวไทย และชาวบ้านในพื้นที่เป็นเวลา 1 สัปดาห์
นายส่วยกล่าวว่า มีแรงงานผู้อพยพชาวพม่าในไทยสูญหายไปจำนวน 4,000 คน โดยสันนิษฐานว่า หลายคนในจำนวนนั้นได้เสียชีวิตแล้ว และเชื่อว่าบางส่วนได้หลบหนีไปอยู่จังหวัดอื่นๆ ของไทย และส่วนที่เหลือย้ายกลับไปยังพม่า
นายตู่ชิต (Htoo Chit) ผู้ประสานงานสมาคมเพื่อการศึกษา การพัฒนา และสิทธิมนุษยชนรากหญ้า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่า อัตราผู้เสียชีวิตชาวพม่าในไทยนี้อาจสูงถึง 3,000 คน โดยจากการสำรวจขององค์กรดังกล่าวในบ้านน้ำเค็ม คุระบุรี และ เขาหลัก ในจ.พังงา มีผู้อพยพชาวพม่าราว 2,500-3,000 คน เสียชีวิตจากอุบัติภัยดังกล่าว และมีอีก 5,000-7,000 คน สูญหาย
**แคนาดาพร้อมช่วยไทยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
วานนี้(16 ม.ค.)นายพอล มาร์แตง นายกรัฐมนตรีประเทศแคนาดา พร้อมภริยา และ นายเคอนี โคโม เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทยได้เดินทางไปที่ ศาลากลาง จ.ภูเก็ต เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่สถานทูต ที่มาทำงานอยู่ที่จ.ภูเก็ต และเดินทางเข้าพบกับนายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทย และนายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผวจ.ภูเก็ต
หลังจากนั้นได้เดินทางต่อไปยังชายหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เพื่อเยี่ยมชมชายหาดกมลา ที่ถูกคลื่นยักษ์ถล่มเสียหาย และได้เดินทางไปยังสำนักสงฆ์กมลา เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้ที่ประสบความเดือดร้อน
ต่อมาในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้เดินทางโดยเครื่องบินส่วนตัวไปยัง กรุงจาร์การ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิเช่นกัน
นายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่านายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้แสดงความขอบคุณรัฐบาลไทย ที่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับผู้ประสบภัยสึนามิ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเดินทางมาครั้งนี้ นายกฯแคนาดาให้ความสนใจ ที่จะให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูทะเลของไทย
นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีแคนาดา ยังรับปากว่า จะส่งรัฐมนตรีมาร่วมประชุม "รัฐมนตรีว่าด้วยการเตือนภัยล่วงหน้า"ที่จ.ภูเก็ต วันที่ 28-29 ม.ค.นี้ ร่วมกับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ 12 ประเทศ และ ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอีก 30 ประเทศ
เมื่อเวลา 15.30 น.วานนี้ (16 ม.ค.)ที่ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 บรรดานายกรัฐมนตรี จากกลุ่มประเทศนอร์ดิก ประกอบด้วย นายเยอราน เพร์สซอน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรสวีเดน นายเชลล์ มังเนอ บอนเดอวิก นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรนอร์เวย์ และนายมัตติ วันฮาเนน นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐฟินแลนด์ ได้เดินทางมาหารือกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการค้นหาศพผู้เสียชีวิต และผู้สูญหายของประเทศตัวเองจากเหตุการณ์ “สึนามิ”ภายในห้องรับรองของท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง
จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้นำนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศ ไปเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่จะเดินทางกลับมาแถลงผลการหารือร่วมกันอย่างเป็นเป็นทางการที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล และพ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่นายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศด้วย
**หนุนไทยเป็นแกนนำตั้งระบบเตือนภัย
ต่อมา เวลา 20.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีจากกลุ่มประเทศนอร์ดิก ได้แถลงผลการหารือข้อราชการร่วมกัน โดย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า จากการหารือร่วมกัน รัฐบาลไทยได้สรุปให้ฟังถึงหลังเหตุการณ์ที่เกิดคลื่นยักษ์ถล่มประเทศไทยแล้วภาครัฐบาลได้เข้าช่วยเหลือทั้งการค้นหาผู้เสียชีวิต และค้นหาผู้สูญหายอย่างไรบ้าง ทั้งนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัย
สำหรับการรับความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศนอร์ดิกนั้น ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆที่เราไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ และเรื่องของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปจากการประสบภัยในครั้งนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเป็นแกนนำหลักในเรื่องของการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในเรื่องของคลื่นยักษ์ โดยเฉพาะจากผลการประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย และเราจะเร่งดำเนินการให้เห็นผลเร็ววัน เพื่อให้นำมาปฏิบัติได้จริง เนื่องจาก 3 ประเทศเป็นลูกค้ารายใหญ่ของประเทศไทย ในด้านการท่องเที่ยวที่นำรายได้มาสู่ประเทศไทยในแต่ละปีอย่างมหาศาล จึงต้องการเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวหลังจากการฟื้นฟู
นอกจากนี้ทั้งนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ จะทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันในเรื่องการค้นหาผู้สูญหาย ซึ่งเวลานี้ประเทศสวีเดนมีตัวเลขมากสุด
ด้านนายกรัฐมนตรีประเทศสวีเดน กล่าวว่า ขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งในความมีน้ำใจของคนไทยทั้งภาครัฐ อาสาสมัครที่มีส่วนช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม รวมทั้งคนไทยที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุที่ได้ร่วมมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อชาวสวีเดน ซึ่งจากการที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า หายนะภัยครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในคาบมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งได้แบ่งเบาภารกิจความทุกข์ยากนี้ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ตนยังเป็นห่วงชะตากรรมชาวสวีเดนนับพันคนที่ยังสูญหายอยู่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระบวนการในการค้นหาจะดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ญาติพี่น้องของชาวสวีเดนจะได้มีโอกาสพบหน้าบุคคลที่เขารักได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ด้านนายกรัฐมนตรีประเทศนอร์เวย์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจต่อประชาชนชาวไทย ชาวนอร์เวย์ยังมีผู้สูญหายอีกประมาณ 77 คน ความร่วมมือไม้ร่วมมือในการค้นหาได้ทำงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับประเทศไทย โดยนอร์เวย์กับสวีเดนจะจัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 17 ม.ค.นี้ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดตามค้นหาผู้สูญหาย โดยตนและนายกฯสวีเดน จะไปทำพิธีเปิด ทั้งนี้เราสนับสนุนที่จะให้ไทยเป็นแกนในการจัดตั้งระบบเตือนภัยของภูมิภาคนี้
ขณะที่นายกรัฐมนตรีประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า ขอพูดในนานชาวฟินแลนด์ว่า ประทับใจในความช่วยเหลือของประชาชนคนไทยต่อนักท่องเที่ยวชาวฟินแลนด์ คนที่รอดชีวิตกลับไปหลายคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้หญิง ได้เล่าให้ฟังถึงความช่วยเหลือ ความมีน้ำใจของคนไทย ซึ่งได้มาประจักษ์ชัดเจนก็ตอนมีหายนะภัยและยินดีสนับสนุนให้ไทยจัดตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าเพื่อมิให้มาคร่าชีวิตผู้คนได้อีก อยากจะบอกให้ชาวฟินแลนด์มาเที่ยวที่ประเทศไทยอีก เพราะภัยพิบัติครั้งนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครล่วงรู้มาก่อนล่วงหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะยุติการค้นหาศพผู้เสียชีวิตแล้วใช่หรือไม่ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า หยุดจริง แต่เฉพาะในภาคพื้นดิน ส่วนทางทะเลและในพื้นที่ป่าโกงกางยังไม่หยุด ในส่วนการพิสูจน์ได้จัดตั้งศูนย์การพิสูจน์ศพที่จังหวัดภูเก็ต โดยมี นาย โภคิน พลกุล รมว.มหาดไทยเป็นผู้ดูแล ชาวต่างชาติอยากให้ตรวจสอบส่วนไหนสามารถติดต่อได้เลย ส่วนตัวเลขผู้สูญหายยังไม่แน่นอนแต่การค้นหายังคงดำเนินต่อไป อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ระบบการเตือนภัยล่วงหน้าถึงวันนี้ประเทศไทยยังไม่มี แต่จะนำคนและระบบที่มีอยู่มาปรับปรุงใหม่ ได้มอบหมายให้ นายสมิธ ธรรมโรช อดีต อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา มาทำหน้าที่ตรงนี้ อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วหากนำมาปรับปรุงก็จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนประเทศไทยใน 1 ปีคงจะเห็นผลไทยจะทำในส่วนนี้ชั่วคราวไปก่อน ส่วนที่จะเป็นแกนนำในระดับคาบสมุทรอินเดียคงต้องมีการหารือกันต่อไป
ด้านนายจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ทั้ง 3 ประเทศเสนอให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาการ ทั้งนี้ประเทศนอร์เวย์ได้เสนอเงินช่วยเหลืองวดแรก 175 ล้านเหรียญสหรัฐ นายกรับมนตรีไทยได้เสนอตัวที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของระบบเตือนโดยเสนอวงเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐและยินดีให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการต่างๆและในวันที่ 28-29 ม.ค.นี้จะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อหารือในเรื่องการจัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าโดยมีนายสมิธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นแม่งานหลักในการเข้าร่วมประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้(17 ม.ค.)พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปจังหวัดพังงา ในเวลา 9.00 น.โดยเครื่องบิน ซึ่งจะไปลงที่ จ.ภูเก็ต เพื่อต้อนรัฐนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศที่จะลงไปดูพื้นที่ประสบภัย ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่การเดินทางได้
**ม็อบพังงาค้านย้ายศพไปภูเก็ต
เช้าวานนี้ (16 ม.ค.)ชาวบ้านจาก จ.พังงา ได้รวมตัวกันเพื่อประท้วงมติการประชุมที่ให้ย้ายทุกศพไปจ.ภูเก็ตเพื่อความสะดวกในการดำเนินการในภายหลัง โดยชาวบ้านหวั่นเกรงว่าการค้นหาญาติจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งการประท้วงได้ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 15ม.ค.
อย่างไรก็ตาม หลังจาก พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้เดินทางมาเจรจากับผู้ชุมนุมและได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบว่า จะไม่ย้ายศพไปไหนจนกว่าจะสามารถหาศพให้กับญาติพี่น้องได้ครบ ทำให้ชาวบ้านพอใจและพากันเดินทางกลับ
**หมอพรทิพย์ชี้ชัดไม่ควรย้าย
จากนั้น พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่จะย้ายศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มจากวัดย่านยาว ไปเก็บที่สุสานบ้านไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต คาดว่า ผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอจะออกมา ทำให้ส่งมอบศพให้ญาติได้อีกประมาณ 50% จากศพที่วัดย่านยาวทั้งหมดประมาณ 2,900 ศพ ส่วนที่วัดบางม่วงที่จะเริ่มเคลื่อนย้ายศพในวันนี้ (17ม.ค.) มีศพคนไทยนิรนามอยู่ประมาณ 1,100 ศพ ส่วนใหญ่ เก็บมาจากบ้านน้ำเค็ม
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมีความเห็นว่า การย้ายศพไปไว้ที่จ.ภูเก็ต จะสร้างความลำบากในการติดตามให้แก่ญาติผู้ประสบภัย และห่วงว่าศพจะเสียหายขณะขนย้าย และยืนยันว่า ผลการพิสูจน์ศพที่วัดย่านยาวไม่ได้ล่าช้า อย่างที่มีผู้กล่าวอ้าง ซึ่งขณะนี้ตำรวจในพื้นที่รับข้อมูลไปแล้ว แต่ยังติดขัดที่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น อีกทั้งเห็นว่า งานพิสูจน์ศพ ควรแยกออกจากงานจับกุมเหมือนกับในประเทศอื่น ๆ
ด้าน น.พ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ขอให้ชาวบ้านทุกคนสบายใจเพราะจะไม่มีใครทำปู้ยี่ปู้ยำกับศพอย่างแน่นอน ขณะนี้ทุกฝ่ายมีความปรารถนาดีที่จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นและเป็นระบบ คุณหญิงพรทิพย์ ก็ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว
อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจผิดครั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการนำเสนอข่าว ที่ไม่มีการชี้แจงในรายละเอียดว่าจะมีการย้ายศพหลังจากที่ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะลำเลียงโดยรถคอนเทนเนอร์ โดยสถานที่เก็บศพจะมีเวรยามดูแลอย่างดี ไม่ต้องกลัวจะมีการขโมยศพกันอีก
ส่วนกรณีญาติผู้เสียชีวิต หวั่นเกรงว่าเมื่อย้ายศพไป จ.ภูเก็ตแล้ว หากตรวจพิสูจน์ยืนยันศพในภายหลังจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายศพกลับจะสูงนั้น รัฐบาลพร้อมที่จะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญเวลานี้คือข้อมูลก่อนเสียชีวิตของศพที่ยังคั่งค้างอยู่ว่าเคยไปทำฟันหรือมีข้อมูลที่บ่งชัดมากกว่านี้หรือไม่ เพื่อการสะดวกในการพิสูจน์
**เชื่อ"หมอพรทิพย์"ไม่ลาออก
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตรวจพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิต ที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างพ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กับ พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะมีการพูดคุยกันแล้วพ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ น่ารักมากทุ่มเทช่วยทำงานเต็มที่ ดังนั้นอะไรที่ทำให้ลงตัวกันได้เราก็จะทำ หมอพรทิพย์เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจที่ได้มาตรฐาน ซึ่งหมอพรทิพย์ เป็นห่วงเรื่องการตรวจดีเอ็นเอที่ได้มาตรฐาน เพราะหากคืนศพและหาญาติได้ถูกต้องหมอก็พอใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขั้นตอนที่ตำรวจจะลงไปทำคือเรื่องอะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็แล้วแต่ อาจเป็นการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของศพที่เน่าแล้ว ถ้ายังไม่เรียบร้อยตำรวจก็ตรวจใหม่ ถือเป็นเรื่องธรรมดาหรือหมอพรทิพย์อาจจะตรวจเองก็ได้ แต่ตรงนี้มันมีระบบอยู่ จุดประสงค์คือขอให้ได้มาซึ่งความชัดเจนว่าศพนั้นคือใคร ซึ่งคงใช้เวลาไม่นาน ตอนนี้ขั้นตอนการตรวจก็ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่าง ดร.ประสม สถาปิตานนท์ ก็สามารถตรวจดีเอ็นเอได้ชัดเจนแล้ว
เมื่อถามว่า ทางตำรวจต้องการให้ย้ายศพไปที่จ.ภูเก็ต ขณะที่ประชาชนไม่อยากให้ย้าย และจะประท้วงโดยการปิดถนน พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ถึงอย่างไรศพก็คงต้องส่งขึ้นเครื่องบินไป อยู่ตรงไหนก็ต้องขึ้นเครื่องบินที่ท่าฉัตรชัยเพราะอยู่ใกล้สนามบิน คือหลังจากตรวจชัดเจนแล้วว่าเป็นใคร ก็จะนำไปเก็บไว้เพื่อรอญาติมารับกลับไปไม่มีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่า หมอพรทิพย์บอกว่า เสร็จงานนี้แล้วจะลาออกจากราชการ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้นหรอก หมอพรทิพย์เป็นคนทุ่มเท และตั้งใจทำงานสูง อย่าคิดมาก
**ย้ายแน่3พันศพจากพังงามาสุสานไม้ขาว
นายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ กล่าวถึงปัญหาศพที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นใคร ว่า มีประมาณ 3,000 กว่าศพ ซึ่งอยู่ที่วัดบางม่วง 1,400 กว่าศพ และที่วัดย่านยาว 2,100 กว่าศพ นั้น ที่วัดบางม่วงมีการเก็บข้อมูลตรวจดีเอ็นเอเสร็จแล้ว โดยตกลงกันว่า การเก็บตัวอย่างตรวจดีเอ็นเอ ที่เป็นฟันและกระดูก จะส่งไปให้จีนเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ ส่วนที่ไทยสามารถดำเนินการเองได้ เช่น การตรวจลายนิ้วมือ เส้นผม ไทยจะตรวจพิสูจน์เอง และจะมีการเคลื่อนย้ายศพไปเก็บไว้ที่สุสานไม้ขาว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนจากประเทศอังกฤษ เป็นผู้ดำเนินการซึ่งเตรียมการไว้หมดแล้ว โดยมีตู้คอนเทนเนอร์อยู่แล้ว 26 ตู้ หลังจากย้ายศพออกมาแล้ว ศูนย์ที่วัดบางม่วงก็จะปิดทันที
ส่วนศพที่วัดย่านยาว ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบทางด้านเทคนิค ตกลงกันอีกครั้งหนึ่ง ว่าในส่วนของศพที่ดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจดีเอ็นเอเสร็จแล้ว จะย้ายมาเก็บไว้ที่สุสานไม้ขาว แต่ศพที่ยังไม่ดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจดีเอ็นเอยังไม่เสร็จ ให้หารือกันในคณะทำงาน ว่าจะย้ายมาเก็บตัวอย่างต่อที่ภูเก็ต หรือเก็บตัวอย่างจนเสร็จวัดย่านยาว และศพที่ฝังไว้ที่สุสานบางมะร่วน ขณะนี้ขุดขึ้นมาทำการเก็บตัวอย่างหมดแล้ว
"ศพที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นใคร คนไทยหรือต่างชาติ จะย้ายมาไว้ที่สุสานไม้ขาวทั้งหมด เพื่อการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ในการออกเอกสารต่างๆ และใบมรณะบัตรให้ แต่อย่างไรก็ตามศพที่ จ.กระบี่ จะไม่ขนมาที่ภูเก็ตจะเก็บไว้ที่กระบี่ตามเดิม ทำให้มีศูนย์ในการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเพียง 2 ศูนย์ คือที่สุสานไม้ขาวและกระบี่
ส่วนนี้ รัฐรับผิดชอบค่าใช้จ่ายคนไทยทั้งหมด ในส่วนของศพคนไทย ที่ยังไม่ทราบดีเอ็นเอของศพ และญาติ ซึ่งเมื่อทราบดีเอ็นเอของศพแล้ว และญาติแล้วก็นำข้อมูลมาตรวจสอบกัน ในจุดนี้รัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาแมทชิ่งข้อมูลของญาติที่เป็นคนไทยทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนไทย และสุสานไม้ขาวก็อยู่ใกล้กับจ.พังงา ส่วนศพของต่างประเทศ รัฐบาลออสเตรเลีย จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนำศพกลับประเทศให้"
**ย้ำต้องไม่มีสิ่งของวางบนชายหาด
นายโภคิน ยังกล่าวถึงความคืบหน้า การจัดระเบียบชายหาดว่า ได้ย้ำไปยังจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะไม่ยอมให้ใครเข้ามาบุกรุกบริเวณชายหาดอีก โดยกำหนดให้จุดสูงสุดที่น้ำทะเลขึ้น 20 เมตร จะไม่อนุญาตให้วางอะไรทั้งสิ้น
นอกจากนี้ คงจำได้ว่า ที่ป่าตองวางเก้าอี้และร่มจนถึงจุดที่น้ำลงต่ำสุด และขยายลงไปเรื่อยๆ ที่ที่จะเดินก็แถบจะไม่ได้ และผู้ว่าฯรายงานว่า ใครหย่อนก้นลงไปต้องจ่ายเลย 100 บาท ซึ่งไร้ระเบียบแบบแผน ทำลายสภาพแวดล้อม และสร้างความรำคาญให้กับนักท่องเที่ยว แต่ขบวนการให้การทำงานคงต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
"ผู้ว่าฯภูเก็ตรายงานว่าที่ป่าตองมีผู้ประกอบการร่ม เตียงผ้าใบ 55 ราย แต่ละคนมีลูกทีมของตัวเองอีกจำนวนมาก บางรายมีคนทำงานเป็นร้อยคน เบ็ดเสร็จแล้วมีคนทำงานบนหาดป่าตอง 7,000-8,000 คน ซึ่งหลังการจัดระเบียบ คงจะไม่ให้เข้าไปทำร่มและเตียงที่ชายหาดทั้ง 55 ราย เพระหากปล่อยให้เข้าไปทั้งหมด ก็จะเหมือนเดิมที่มีสลัม หน้าชายหาด ต่อไปนี้จะมีการกำหนดเป็นโซนให้ตั้งคีย์ออส ร่ม เตียง ที่มีการออกแบบพิเศษแบบลอยน้ำได้ และเป็นการลงทุนโดยท้องถิ่นประทับตราท้องถิ่น และให้ท้องถิ่นมีรายได้จากจุดนี้ด้วย ซึ่งน่าจะชายหาดมีระเบียบมากขึ้น"นายโภคิน กล่าว
นายโภคิน ยังได้สั่งการให้นายวีรวัฒน์ จันทร์เพ็ญ นายอำเภอเมืองภูเก็ต ตรวจสอบศาลาริมหาด ซึ่งเป็นของ นักการเมืองท้องถิ่นรายหนึ่ง เนื่องจากตรวจพบว่า เป็นการก่อสร้างรุกล้ำที่ดินสาธารณะ โดยให้ประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นเข้ารื้อถอนอย่างเร่งด่วน
**สปน.ของบเพิ่ม 1,400 ล้าน
เมื่อวานนี้ (16ม.ค.) นายรองพล เจริญพันธุ์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า เป็นการประชุมเตรียมข้อมูลเพื่อขอรับงบประมาณเพิ่มเติมอีก 603 ล้านบาท หลังจากพบว่างบประมาณที่ครม.ได้อนุมัติไว้5,000 กว่าล้านบาท เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานั้นไม่เพียงพอ เพราะหลายๆ หน่วยงานของบฯไม่ทัน เช่น กระทรวงไอซีทีได้ของบเพิ่ม 1 ล้านบาท เพื่อซื้อเซิฟเวอร์คอมพิวเตอร์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของบเพิ่ม 100 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นงบฯในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ยังพบว่าอาจมีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้นสูงถึง 650 คน จากเดิมที่คาดว่าจะมีประมาณ 400 คน อีกทั้งยังพบว่ามีเด็กที่ได้รับผลกระทบสูงถึง 10,000 คน จากเดิมที่คาดว่าจะมีเพียง 6,500 คน
ทั้งนี้ งบประมาณที่ขอเพิ่ม 603 ล้านบาทดังกล่าว ตนจะนำเข้าคณะกรรมการอำนายการ ที่มีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในเช้าวันนี้ ก่อนนำเข้าครม.ในวันที่ 18 ม.ค.
นอกจากนี้ ที่ประชุมุมยังหารือถึงสิทธิประโยชน์ที่จะให้กับข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง ที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น ให้วันลา พักผ่อน 10 วัน นอกจากนี้ จะมีค่าตอบแทนรายเดือนเพิ่มให้คนที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.47ถึง 31 มี.ค.48 อีกเดือนละ 1,000-2,500 บาท และจะได้ 2 ขั้นตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ รวมทั้งจะให้หนังสือประกาศเกียรติคุณ การบันทึกลงในประวัติ ก.พ.7 รวมทั้งอาจได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ เหรียญที่ระลึกเป็นต้น
"สำหรับผู้ที่จะได้เงินเพิ่มหากใครไปทำงานในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.-31 ธ.ค.รวม 6 วันต่อเนื่อง จะให้ไปเลย 1,000 บาท จากนั้นจะมีดูแต่ละเดือน ถ้าใครลงไปทำงานถึง 7-15วันก็จะได้รับ 1,000 บาท แต่หากเดือนไหนใครทำเกิน 15 วัน จะได้ 2,500 บาท โดยคาดว่าจะเริ่มจ่ายได้ในสิ้นเดือนนี้"นายรองพล กล่าว
นอกจากนี้ ในการประชุมครม.วันอังคารนี้ ยังจะมีการของบกลางปี 48 สำหรับโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการที่เสียหาย เช่น ถนน ท่าเทียบเรือ อีกจำนวน 840 ล้านบาท และจะมีขอให้ครม.ยกเว้นขั้นตอนการประมูลโดยเปลี่ยนมาใช้วิธีพิเศษแทน เพื่อให้ทันต่อการแก้ปัญหาด้วย
**คลื่นยักษ์กลืนแรงงานพม่าในไทย2,500 คน
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า มีชาวพม่าผู้อาศัยอยู่ใน จ.พังงา ของไทยอย่างน้อย 2,500 คน เสียชีวิตด้วยคลื่นยักษ์สึนามิ ทั้งนี้เป็นคำแถลงของกลุ่มเอ็นจีโอในไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
นายโม ส่วย (Moe Swe) เลขาธิการสมาคมแรงงานหย่องชีโอ (Yaung Chi Oo) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ใน อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวสรุปจากการเก็บข้อมูล และการสัมภาษณ์แรงงานพม่า ลูกจ้างชาวไทย และชาวบ้านในพื้นที่เป็นเวลา 1 สัปดาห์
นายส่วยกล่าวว่า มีแรงงานผู้อพยพชาวพม่าในไทยสูญหายไปจำนวน 4,000 คน โดยสันนิษฐานว่า หลายคนในจำนวนนั้นได้เสียชีวิตแล้ว และเชื่อว่าบางส่วนได้หลบหนีไปอยู่จังหวัดอื่นๆ ของไทย และส่วนที่เหลือย้ายกลับไปยังพม่า
นายตู่ชิต (Htoo Chit) ผู้ประสานงานสมาคมเพื่อการศึกษา การพัฒนา และสิทธิมนุษยชนรากหญ้า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่า อัตราผู้เสียชีวิตชาวพม่าในไทยนี้อาจสูงถึง 3,000 คน โดยจากการสำรวจขององค์กรดังกล่าวในบ้านน้ำเค็ม คุระบุรี และ เขาหลัก ในจ.พังงา มีผู้อพยพชาวพม่าราว 2,500-3,000 คน เสียชีวิตจากอุบัติภัยดังกล่าว และมีอีก 5,000-7,000 คน สูญหาย
**แคนาดาพร้อมช่วยไทยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
วานนี้(16 ม.ค.)นายพอล มาร์แตง นายกรัฐมนตรีประเทศแคนาดา พร้อมภริยา และ นายเคอนี โคโม เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทยได้เดินทางไปที่ ศาลากลาง จ.ภูเก็ต เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่สถานทูต ที่มาทำงานอยู่ที่จ.ภูเก็ต และเดินทางเข้าพบกับนายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทย และนายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผวจ.ภูเก็ต
หลังจากนั้นได้เดินทางต่อไปยังชายหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เพื่อเยี่ยมชมชายหาดกมลา ที่ถูกคลื่นยักษ์ถล่มเสียหาย และได้เดินทางไปยังสำนักสงฆ์กมลา เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้ที่ประสบความเดือดร้อน
ต่อมาในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้เดินทางโดยเครื่องบินส่วนตัวไปยัง กรุงจาร์การ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิเช่นกัน
นายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่านายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้แสดงความขอบคุณรัฐบาลไทย ที่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับผู้ประสบภัยสึนามิ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเดินทางมาครั้งนี้ นายกฯแคนาดาให้ความสนใจ ที่จะให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูทะเลของไทย
นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีแคนาดา ยังรับปากว่า จะส่งรัฐมนตรีมาร่วมประชุม "รัฐมนตรีว่าด้วยการเตือนภัยล่วงหน้า"ที่จ.ภูเก็ต วันที่ 28-29 ม.ค.นี้ ร่วมกับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ 12 ประเทศ และ ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอีก 30 ประเทศ