เดิมอังกฤษเป็นมหาอำนาจในอุตสาหกรรมต่อเรือของโลก แต่ต่อมาได้ค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้แก่สหรัฐฯ ซึ่งได้กลายเป็นมหาอำนาจรายต่อมา แต่ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีของตนเองขึ้นเป็นประเทศต่อเรือมากเป็นอันดับ 1 ของโลก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเกาหลีใต้ได้แซงหน้าญี่ปุ่นและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งอันดับ 1 ของโลก
เหตุการณ์สำคัญที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น คือ พลจัตวาแมทธิว เปอร์รี่ ได้นำเรือรบสหรัฐฯ จำนวน 4 ลำ แล่นเข้ามายังอ่าวโตเกียว (สมัยนั้นกรุงโตเกียวมีชื่อว่า “เอโดะ”) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2386 หรือ 150 ปีมาแล้ว เพื่อนำสารของประธานาธิบดี Millard Fillmore เพื่อขอให้ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่า
เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความตกใจแก่ประชาชนชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยรู้สึกพิศวงที่เห็นเรือสามารถแล่นได้ด้วยตนเองโดยไม่อาศัยกระแสลม แต่ได้พลังงานจากการพ่นควันสีดำออกมา โชกุนซึ่งปกครองประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้ตระหนักว่าญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะสู้รบกับกองทัพเรือของมหาอำนาจตะวันตกได้ จึงได้เซ็นสัญญาพันธไมตรีกับสหรัฐฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2387 เพื่อเปิดเมืองท่า ส่งผลให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงจากประเทศที่โดดเดี่ยวมาเป็นเวลายาวนานถึง 250 ปี กลายเป็นประเทศที่มีการค้าขายระหว่างประเทศ
อุตสาหกรรมต่อเรือสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อบริษัทมิตชูบิชิได้เช่าอู่ต่อเรือจากรัฐบาลที่นครนางาซากิเมื่อปี 2427 เพื่อทำธุรกิจต่อเรือกลไฟที่เป็นเหล็กซึ่งเดินเครื่องด้วยพลังงานจากไอน้ำเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นสามารถต่อเรือขนาดเล็กเท่านั้น ยังไม่สามารถต่อเรือขนาดใหญ่ได้
สำหรับเหตุการณ์สำคัญของโลกในเวลานั้น คือ การที่ราชนาวีของญี่ปุ่นและรัสเซียได้ระดมเรือรบเกือบทั้งหมดเข้ายุทธนาวีครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในโลกที่ช่องแคบซูชิมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2448 ราชนาวีญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายพลเรือโตโกสามารถเอาชนะกองทัพเรือของรัสเซียอย่างเด็ดขาด โดยสามารถทำลายกองเรือรบของราชนาวีรัสเซียลงได้เกือบหมดทุกลำโดยที่ฝ่ายญี่ปุ่นแทบจะไม่สูญเสียเรือรบเลย
อย่างไรก็ตาม ยุทธนาวีครั้งนี้ได้ชี้ถึงจุดอ่อนของราชนาวีญี่ปุ่น เนื่องจากเรือรบหลักเกือบทั้งหมดของญี่ปุ่นต่อขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยความสามารถในการต่อเรือขนาดใหญ่ที่สุดก่อนสงครามญี่ปุ่น-รัสเซียมีขนาดเพียง 7,460 ตันกรอสเท่านั้น
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเรือเมื่อปี 2439 โดยให้เงินอุดหนุนการต่อเรือขนาดใหญ่กว่า 700 ตันกรอส ทำให้อุตสาหกรรมต่อเรือพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2451 บริษัทมิตชูบิชิสามารถต่อเรือขนาดใหญ่ถึง 13,426 ตัน เครื่องยนต์ขนาด 20,608 แรงม้า ทำให้ญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่ามีเทคโนโลยีการต่อเรือก้าวไปสู่ระดับแนวหน้าของโลก
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมต่อเรือของญี่ปุ่นได้สะดุดลงภายหลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 2488 อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงคราม ญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรืออย่างรวดเร็ว และในปี 2499 ภายหลังแพ้สงครามเพียงแค่ 11 ปี ญี่ปุ่นได้แซงหน้าสหรัฐฯ กลายเป็นประเทศต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก การเรียนรู้เทคโนโลยีจากสหรัฐฯ โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเกิดขึ้นอย่างบังเอิญจากบริษัท National Bulk Carrier ของสหรัฐฯ ซึ่งต้องการต่อเรือจำนวนมากและต้องการประหยัดเงินลงทุน โดยเห็นว่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมีอู่ต่อเรือที่เดิมใช้ต่อเรือรบ แต่ภายหลังสงครามไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ในปี 2494
บริษัทแห่งนี้จึงมาเช่าอู่ต่อเรือที่เมือง Kure ซึ่งเดิมเคยเป็นฐานทัพเรือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นตอบตกลงโดยมีเงื่อนไขในการเช่าว่าจะต้องยอมให้วิศวกรญี่ปุ่นสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ โดยวิศวกรญี่ปุ่นไม่ได้เพียงแค่ลอกเลียนแบบเทคโนโลยีสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียว แต่ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาดัดแปลงและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
จากเดิมการต่อเรือขนาดเท่ากันแล้ว อู่ต่อเรือในญี่ปุ่นจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า โดยต้องใช้เหล็กเป็นปริมาณมากกว่าอู่ต่อเรือของประเทศตะวันตก แต่ในช่วงปี 2497 - 2598 ญี่ปุ่นก้าวทันเทคโนโลยีต่อเรือของประเทศตะวันตก โดยการต่อเรือจะใช้เหล็กในปริมาณพอๆ กัน
ประการที่สอง ญี่ปุ่นพัฒนาเทคโนโลยีต่อเรือไปสู่แบบ Block Shipbuilding ซึ่งเป็นเทคโนโลยีถือกำเนิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมนี ซึ่งได้นำวิธีการนี้มาใช้ต่อเรือดำน้ำสำหรับทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยจะเริ่มจากการเชื่อมชิ้นส่วนของเรือภายในโรงงาน แต่ละชิ้นเรียกว่า "บล็อก" จากนั้นจึงค่อยยกบล็อกมายังอู่เรือแห้งเพื่อนำมาเชื่อมประกอบเป็นลำตัวเรือ
วิธีต่อเรือแบบใหม่ทำให้ประสิทธิภาพการต่อเรือเพิ่มขึ้นมาก โดยยิ่งบล็อกมีขนาดใหญ่โตเท่าใด ประสิทธิภาพในการต่อเรือก็ยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการต่อเรือจากบล็อกขนาดใหญ่เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันนั้น จะต้องมีอู่ต่อเรือแบบแห้งขนาดใหญ่และมีเครนขนาดยักษ์ที่เรียกว่า Goliath Crane เพื่อใช้ยกบล็อกแต่ละชิ้นซึ่งมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักหลายร้อยตันได้
ประการที่สาม บริษัทญี่ปุ่นลงทุนจำนวนมากเพื่อติดตั้งเครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติ ส่งผลให้อู่ต่อเรือในญี่ปุ่นมีเครื่องมือต่างๆ ทันสมัยกว่าอู่ต่อเรือในประเทศตะวันตก เป็นต้นว่า การปรับปรุงเทคโนโลยีจากเดิมนำแผ่นเหล็กมาประกบกันแล้วเจาะรูและใช้หมุดยึดเพื่อให้เหล็กติดเข้าด้วยกัน หันมาใช้เทคโนโลยีใหม่ คือ การเชื่อมแบบ Arc Welding นอกจากนี้ ยังคิดค้นเทคโนโลยีพิมพ์ลวดลายลงบนแผ่นเหล็กเพื่อให้ง่ายในการนำมาใช้ผลิต
แม้อุตสาหกรรมต่อเรือของญี่ปุ่นได้เผชิญกับความท้าทายจากบราซิลในช่วงปี 2520 แต่เป็นความท้าทายในช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยอุตสาหกรรมต่อเรือของบราซิลประสบปัญหาอย่างรุนแรงและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในเวลาต่อมา
ปัจจุบันญี่ปุ่นได้เผชิญหน้ากับความท้าทายจากเกาหลีใต้ ซึ่งความจริงแล้วอุตสาหกรรมต่อเรือของเกาหลีใต้เพิ่งเริ่มต้นอย่างจริงๆ จังๆ ในปี 2510 เมื่อมีการออกกฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเรือ จากนั้น ในปี 2522 เป็นเวลาเพียง 12 ปี นับจากออกกฎหมายข้างต้น อู่ต่อเรือของเกาหลีใต้เพิ่มส่วนแบ่งตลาดโลกเป็น 6.3% ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่ต่อเรือมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองแค่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้น
อีก 10 ปีต่อมา เกาหลีใต้เริ่มท้าทายญี่ปุ่นโดยแย่งตำแหน่งประเทศที่ต่อมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยเดิมเกาหลีใต้และญี่ปุ่นผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะในการแย่งตำแหน่งประเทศที่ต่อเรือมากที่สุดในโลก
แต่ในปี 2547 เกาหลีใต้สามารถเอาชนะญี่ปุ่นอย่างเด็ดขาด โดยจากสถิติของสถาบัน Shipping Intelligence Network ซึ่งตั้งที่กรุงลอนดอน หากวัดตามคำสั่งต่อเรือของลูกค้าคำนวณตามน้ำหนักเรือแล้ว อุตสาหกรรมต่อเรือของเกาหลีใต้นับว่าใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดโลกมากถึง 40% รองลงมา คือ ญี่ปุ่น 24% และจีน 14% ขณะที่สหรัฐฯ ซึ่งเดิมมีอุตสาหกรรมต่อเรือใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดโลกไม่ถึง 1%
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมต่อเรือของเกาหลีใต้ ส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นต้องเร่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยในปี 2542 คณะที่ปรึกษาของกระทรวงการขนส่งของญี่ปุ่นได้เสนอให้บริษัทต่อเรือญี่ปุ่นขนาดใหญ่ 7 บริษัท ควบกิจการเข้าด้วยกันให้เหลือจำนวนบริษัทน้อยลง เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดจากขนาดและเสริมสร้างความสามารถแข่งขัน
ปัจจุบันเริ่มมีการควบรวมกิจการกันบ้างแล้ว โดยบริษัท NKK ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 6 ของญี่ปุ่นและบริษัท Hitachi Zosen ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น ได้ตกลงควบกิจการในเดือนตุลาคม 2545 ทำให้กลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจอู่ต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น
ส่วนบริษัท Mitsubishi Heavy Industries ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น มีนโยบายจะไม่ควบกิจการ แต่ใช้กลยุทธ์พยายามหลีกเลี่ยงการแข่งขันตัดราคากับอู่ต่อเรือของเกาหลีใต้และจีน โดยหันมาสนใจมากขึ้นกับตลาดบน คือ เรือชนิดพิเศษและเรือเดินสมุทรหรูหราสำหรับบรรทุกผู้โดยสาร
ส่วนบริษัท Ishikawajima-Harima Heavy Industries (IHI) และบริษัทซูมิโตโมเฮ็ฟวี่อินดัสตรีส์ของญี่ปุ่น ได้แยกกิจการต่อเรือออกมาจากบริษัทแม่ จากนั้นควบกิจการเข้าด้วยกันเมื่อเดือนตุลาคม 2545 กลายเป็นบริษัทใหม่ซึ่งมีชื่อว่า IHI Marine United นอกจากนี้ บริษัท IHI ยังลงทุนเพิ่มเติมจำนวนมากเพื่อปรับปรุงอู่ต่อเรือ โดยติดตั้งหุ่นยนต์สำหรับทำงานเชื่อมชิ้นส่วนเรือโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันญี่ปุ่นประสบปัญหาว่าคนรุ่นใหม่ไม่สนใจทำงานในอุตสาหกรรมต่อเรือเนื่องจากเห็นว่าเป็นงานที่สภาพการทำงานไม่ดีนัก โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ถึงกับยกเลิกหลักสูตรในสาขาต่อเรือเมื่อเดือนเมษายน 2543 เนื่องจากมีนักศึกษาสนใจเรียนในสาขานี้น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมต่อเรือต้องใช้ทักษะจำนวนมาก เช่น เทคนิคการดัดแผ่นเหล็กเพื่อให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยมีเคล็ดลับมากมาย จึงมีความวิตกกังวลว่าความรู้ต่างๆ เหล่านี้ได้เก็บสะสมในสมองของบรรดาช่างเทคนิคอาวุโสชาวญี่ปุ่น และหากบุคลากรเหล่านี้เกษียณไปแล้ว จะทำให้ความรู้และเคล็ดลับต่างๆ สูญหายไปหมด ดังนั้น กระทรวงการขนส่งของญี่ปุ่นจึงพยายามเก็บรวบรวมความรู้เหล่านี้ให้อยู่ในรูปดิจิตอล เพื่อเอื้ออำนวยแก่บุคลากรรุ่นต่อไปให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะได้อย่างรวดเร็วในอนาคต
ส่วนบริษัท Kawasaki Heavy Industries ได้หลีกหนีปัญหาค่าแรงงานในญี่ปุ่นที่มีอัตราสูงมาก โดยไปร่วมทุนกับบริษัท COSCO ซึ่งเป็นสายการเดินเรือขนส่งสินค้าซึ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีนในการก่อตั้งบริษัท Nantong Cosco KHI Ship Engineering เพื่อดำเนินธุรกิจอู่ต่อเรือในประเทศจีน เริ่มจากต่อเรือขนส่งสินค้าเทกองซึ่งใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก ต่อมาได้ต่อเรือที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เป็นต้นว่า เรือคอนเทนเนอร์ เรือบรรทุกน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายหวั่นวิตกว่าการลงทุนในจีนจะทำให้เทคโนโลยีรั่วไหลไปยังบริษัทจีน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าจีนน่ากลัวกว่าเกาหลีใต้ด้วยซ้ำ เนื่องจากจีนมีแรงงานจำนวนมาก ซึ่งนับว่าสำคัญมากในอุตสาหกรรมต่อเรือ เนื่องจากเป็นธุรกิจใช้แรงงานจำนวนมาก โดยรัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายว่าจะก้าวขึ้นเป็นประเทศซึ่งมีอุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอันดับ 1 ของโลก ภายในปี 2558
เหตุการณ์สำคัญที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น คือ พลจัตวาแมทธิว เปอร์รี่ ได้นำเรือรบสหรัฐฯ จำนวน 4 ลำ แล่นเข้ามายังอ่าวโตเกียว (สมัยนั้นกรุงโตเกียวมีชื่อว่า “เอโดะ”) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2386 หรือ 150 ปีมาแล้ว เพื่อนำสารของประธานาธิบดี Millard Fillmore เพื่อขอให้ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่า
เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความตกใจแก่ประชาชนชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยรู้สึกพิศวงที่เห็นเรือสามารถแล่นได้ด้วยตนเองโดยไม่อาศัยกระแสลม แต่ได้พลังงานจากการพ่นควันสีดำออกมา โชกุนซึ่งปกครองประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้ตระหนักว่าญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะสู้รบกับกองทัพเรือของมหาอำนาจตะวันตกได้ จึงได้เซ็นสัญญาพันธไมตรีกับสหรัฐฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2387 เพื่อเปิดเมืองท่า ส่งผลให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงจากประเทศที่โดดเดี่ยวมาเป็นเวลายาวนานถึง 250 ปี กลายเป็นประเทศที่มีการค้าขายระหว่างประเทศ
อุตสาหกรรมต่อเรือสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อบริษัทมิตชูบิชิได้เช่าอู่ต่อเรือจากรัฐบาลที่นครนางาซากิเมื่อปี 2427 เพื่อทำธุรกิจต่อเรือกลไฟที่เป็นเหล็กซึ่งเดินเครื่องด้วยพลังงานจากไอน้ำเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นสามารถต่อเรือขนาดเล็กเท่านั้น ยังไม่สามารถต่อเรือขนาดใหญ่ได้
สำหรับเหตุการณ์สำคัญของโลกในเวลานั้น คือ การที่ราชนาวีของญี่ปุ่นและรัสเซียได้ระดมเรือรบเกือบทั้งหมดเข้ายุทธนาวีครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในโลกที่ช่องแคบซูชิมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2448 ราชนาวีญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายพลเรือโตโกสามารถเอาชนะกองทัพเรือของรัสเซียอย่างเด็ดขาด โดยสามารถทำลายกองเรือรบของราชนาวีรัสเซียลงได้เกือบหมดทุกลำโดยที่ฝ่ายญี่ปุ่นแทบจะไม่สูญเสียเรือรบเลย
อย่างไรก็ตาม ยุทธนาวีครั้งนี้ได้ชี้ถึงจุดอ่อนของราชนาวีญี่ปุ่น เนื่องจากเรือรบหลักเกือบทั้งหมดของญี่ปุ่นต่อขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยความสามารถในการต่อเรือขนาดใหญ่ที่สุดก่อนสงครามญี่ปุ่น-รัสเซียมีขนาดเพียง 7,460 ตันกรอสเท่านั้น
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเรือเมื่อปี 2439 โดยให้เงินอุดหนุนการต่อเรือขนาดใหญ่กว่า 700 ตันกรอส ทำให้อุตสาหกรรมต่อเรือพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2451 บริษัทมิตชูบิชิสามารถต่อเรือขนาดใหญ่ถึง 13,426 ตัน เครื่องยนต์ขนาด 20,608 แรงม้า ทำให้ญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่ามีเทคโนโลยีการต่อเรือก้าวไปสู่ระดับแนวหน้าของโลก
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมต่อเรือของญี่ปุ่นได้สะดุดลงภายหลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 2488 อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงคราม ญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรืออย่างรวดเร็ว และในปี 2499 ภายหลังแพ้สงครามเพียงแค่ 11 ปี ญี่ปุ่นได้แซงหน้าสหรัฐฯ กลายเป็นประเทศต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก การเรียนรู้เทคโนโลยีจากสหรัฐฯ โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเกิดขึ้นอย่างบังเอิญจากบริษัท National Bulk Carrier ของสหรัฐฯ ซึ่งต้องการต่อเรือจำนวนมากและต้องการประหยัดเงินลงทุน โดยเห็นว่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมีอู่ต่อเรือที่เดิมใช้ต่อเรือรบ แต่ภายหลังสงครามไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ในปี 2494
บริษัทแห่งนี้จึงมาเช่าอู่ต่อเรือที่เมือง Kure ซึ่งเดิมเคยเป็นฐานทัพเรือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นตอบตกลงโดยมีเงื่อนไขในการเช่าว่าจะต้องยอมให้วิศวกรญี่ปุ่นสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ โดยวิศวกรญี่ปุ่นไม่ได้เพียงแค่ลอกเลียนแบบเทคโนโลยีสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียว แต่ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาดัดแปลงและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
จากเดิมการต่อเรือขนาดเท่ากันแล้ว อู่ต่อเรือในญี่ปุ่นจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า โดยต้องใช้เหล็กเป็นปริมาณมากกว่าอู่ต่อเรือของประเทศตะวันตก แต่ในช่วงปี 2497 - 2598 ญี่ปุ่นก้าวทันเทคโนโลยีต่อเรือของประเทศตะวันตก โดยการต่อเรือจะใช้เหล็กในปริมาณพอๆ กัน
ประการที่สอง ญี่ปุ่นพัฒนาเทคโนโลยีต่อเรือไปสู่แบบ Block Shipbuilding ซึ่งเป็นเทคโนโลยีถือกำเนิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมนี ซึ่งได้นำวิธีการนี้มาใช้ต่อเรือดำน้ำสำหรับทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยจะเริ่มจากการเชื่อมชิ้นส่วนของเรือภายในโรงงาน แต่ละชิ้นเรียกว่า "บล็อก" จากนั้นจึงค่อยยกบล็อกมายังอู่เรือแห้งเพื่อนำมาเชื่อมประกอบเป็นลำตัวเรือ
วิธีต่อเรือแบบใหม่ทำให้ประสิทธิภาพการต่อเรือเพิ่มขึ้นมาก โดยยิ่งบล็อกมีขนาดใหญ่โตเท่าใด ประสิทธิภาพในการต่อเรือก็ยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการต่อเรือจากบล็อกขนาดใหญ่เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันนั้น จะต้องมีอู่ต่อเรือแบบแห้งขนาดใหญ่และมีเครนขนาดยักษ์ที่เรียกว่า Goliath Crane เพื่อใช้ยกบล็อกแต่ละชิ้นซึ่งมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักหลายร้อยตันได้
ประการที่สาม บริษัทญี่ปุ่นลงทุนจำนวนมากเพื่อติดตั้งเครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติ ส่งผลให้อู่ต่อเรือในญี่ปุ่นมีเครื่องมือต่างๆ ทันสมัยกว่าอู่ต่อเรือในประเทศตะวันตก เป็นต้นว่า การปรับปรุงเทคโนโลยีจากเดิมนำแผ่นเหล็กมาประกบกันแล้วเจาะรูและใช้หมุดยึดเพื่อให้เหล็กติดเข้าด้วยกัน หันมาใช้เทคโนโลยีใหม่ คือ การเชื่อมแบบ Arc Welding นอกจากนี้ ยังคิดค้นเทคโนโลยีพิมพ์ลวดลายลงบนแผ่นเหล็กเพื่อให้ง่ายในการนำมาใช้ผลิต
แม้อุตสาหกรรมต่อเรือของญี่ปุ่นได้เผชิญกับความท้าทายจากบราซิลในช่วงปี 2520 แต่เป็นความท้าทายในช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยอุตสาหกรรมต่อเรือของบราซิลประสบปัญหาอย่างรุนแรงและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในเวลาต่อมา
ปัจจุบันญี่ปุ่นได้เผชิญหน้ากับความท้าทายจากเกาหลีใต้ ซึ่งความจริงแล้วอุตสาหกรรมต่อเรือของเกาหลีใต้เพิ่งเริ่มต้นอย่างจริงๆ จังๆ ในปี 2510 เมื่อมีการออกกฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเรือ จากนั้น ในปี 2522 เป็นเวลาเพียง 12 ปี นับจากออกกฎหมายข้างต้น อู่ต่อเรือของเกาหลีใต้เพิ่มส่วนแบ่งตลาดโลกเป็น 6.3% ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่ต่อเรือมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองแค่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้น
อีก 10 ปีต่อมา เกาหลีใต้เริ่มท้าทายญี่ปุ่นโดยแย่งตำแหน่งประเทศที่ต่อมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยเดิมเกาหลีใต้และญี่ปุ่นผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะในการแย่งตำแหน่งประเทศที่ต่อเรือมากที่สุดในโลก
แต่ในปี 2547 เกาหลีใต้สามารถเอาชนะญี่ปุ่นอย่างเด็ดขาด โดยจากสถิติของสถาบัน Shipping Intelligence Network ซึ่งตั้งที่กรุงลอนดอน หากวัดตามคำสั่งต่อเรือของลูกค้าคำนวณตามน้ำหนักเรือแล้ว อุตสาหกรรมต่อเรือของเกาหลีใต้นับว่าใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดโลกมากถึง 40% รองลงมา คือ ญี่ปุ่น 24% และจีน 14% ขณะที่สหรัฐฯ ซึ่งเดิมมีอุตสาหกรรมต่อเรือใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดโลกไม่ถึง 1%
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมต่อเรือของเกาหลีใต้ ส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นต้องเร่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยในปี 2542 คณะที่ปรึกษาของกระทรวงการขนส่งของญี่ปุ่นได้เสนอให้บริษัทต่อเรือญี่ปุ่นขนาดใหญ่ 7 บริษัท ควบกิจการเข้าด้วยกันให้เหลือจำนวนบริษัทน้อยลง เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดจากขนาดและเสริมสร้างความสามารถแข่งขัน
ปัจจุบันเริ่มมีการควบรวมกิจการกันบ้างแล้ว โดยบริษัท NKK ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 6 ของญี่ปุ่นและบริษัท Hitachi Zosen ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น ได้ตกลงควบกิจการในเดือนตุลาคม 2545 ทำให้กลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจอู่ต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น
ส่วนบริษัท Mitsubishi Heavy Industries ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่เป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น มีนโยบายจะไม่ควบกิจการ แต่ใช้กลยุทธ์พยายามหลีกเลี่ยงการแข่งขันตัดราคากับอู่ต่อเรือของเกาหลีใต้และจีน โดยหันมาสนใจมากขึ้นกับตลาดบน คือ เรือชนิดพิเศษและเรือเดินสมุทรหรูหราสำหรับบรรทุกผู้โดยสาร
ส่วนบริษัท Ishikawajima-Harima Heavy Industries (IHI) และบริษัทซูมิโตโมเฮ็ฟวี่อินดัสตรีส์ของญี่ปุ่น ได้แยกกิจการต่อเรือออกมาจากบริษัทแม่ จากนั้นควบกิจการเข้าด้วยกันเมื่อเดือนตุลาคม 2545 กลายเป็นบริษัทใหม่ซึ่งมีชื่อว่า IHI Marine United นอกจากนี้ บริษัท IHI ยังลงทุนเพิ่มเติมจำนวนมากเพื่อปรับปรุงอู่ต่อเรือ โดยติดตั้งหุ่นยนต์สำหรับทำงานเชื่อมชิ้นส่วนเรือโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันญี่ปุ่นประสบปัญหาว่าคนรุ่นใหม่ไม่สนใจทำงานในอุตสาหกรรมต่อเรือเนื่องจากเห็นว่าเป็นงานที่สภาพการทำงานไม่ดีนัก โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ถึงกับยกเลิกหลักสูตรในสาขาต่อเรือเมื่อเดือนเมษายน 2543 เนื่องจากมีนักศึกษาสนใจเรียนในสาขานี้น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมต่อเรือต้องใช้ทักษะจำนวนมาก เช่น เทคนิคการดัดแผ่นเหล็กเพื่อให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยมีเคล็ดลับมากมาย จึงมีความวิตกกังวลว่าความรู้ต่างๆ เหล่านี้ได้เก็บสะสมในสมองของบรรดาช่างเทคนิคอาวุโสชาวญี่ปุ่น และหากบุคลากรเหล่านี้เกษียณไปแล้ว จะทำให้ความรู้และเคล็ดลับต่างๆ สูญหายไปหมด ดังนั้น กระทรวงการขนส่งของญี่ปุ่นจึงพยายามเก็บรวบรวมความรู้เหล่านี้ให้อยู่ในรูปดิจิตอล เพื่อเอื้ออำนวยแก่บุคลากรรุ่นต่อไปให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะได้อย่างรวดเร็วในอนาคต
ส่วนบริษัท Kawasaki Heavy Industries ได้หลีกหนีปัญหาค่าแรงงานในญี่ปุ่นที่มีอัตราสูงมาก โดยไปร่วมทุนกับบริษัท COSCO ซึ่งเป็นสายการเดินเรือขนส่งสินค้าซึ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีนในการก่อตั้งบริษัท Nantong Cosco KHI Ship Engineering เพื่อดำเนินธุรกิจอู่ต่อเรือในประเทศจีน เริ่มจากต่อเรือขนส่งสินค้าเทกองซึ่งใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก ต่อมาได้ต่อเรือที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เป็นต้นว่า เรือคอนเทนเนอร์ เรือบรรทุกน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายหวั่นวิตกว่าการลงทุนในจีนจะทำให้เทคโนโลยีรั่วไหลไปยังบริษัทจีน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าจีนน่ากลัวกว่าเกาหลีใต้ด้วยซ้ำ เนื่องจากจีนมีแรงงานจำนวนมาก ซึ่งนับว่าสำคัญมากในอุตสาหกรรมต่อเรือ เนื่องจากเป็นธุรกิจใช้แรงงานจำนวนมาก โดยรัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายว่าจะก้าวขึ้นเป็นประเทศซึ่งมีอุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอันดับ 1 ของโลก ภายในปี 2558