ในสังคมนิติรัฐ (legal state) กฎหมายจะเป็นหลักในการปกครองบริหาร กล่าวคือ การปกครองไม่ใช้การตัดสินใจของมนุษย์ตามอำเภอใจ หากแต่จะมีการตราเป็นกฎหมายโดยเป็นลายลักษณ์อักษร หรือกฎเกณฑ์ที่ถือปฏิบัติจนเป็นประเพณี มีกระบวนการออกกฎหมายโดยองค์กรที่มีอำนาจและเป็นตัวแทนของประชาชน มีกระบวนการบังคับกฎหมายโดยมีกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง มุ่งเน้นเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งความเป็นธรรมและยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย ขณะเดียวกันกฎหมายต้องมีลักษณะสากลไม่ใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องมีสภาพบังคับ เพราะถ้าขาดสภาพบังคับกฎหมายก็จะกลายเป็นตัวอักษรที่อยู่บนกระดาษเท่านั้น ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือหลักนิติธรรม (the rule of law) อันเป็นหลักการสำคัญในระบบประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ในระบบการปกครองแบบเผด็จการนั้นก็มีการใช้กฎหมายเช่นเดียวกัน เป็นแต่ว่ากฎหมายที่ตราขึ้นมานั้นตราโดยบุคคลซึ่งประชาชนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีส่วนร่วม และกฎหมายดังกล่าวก็อาจมีเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น ผู้ใดก็ตามที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนั้นก็จะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองบริหาร ทั้งๆ ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนไร้สิทธิเสรีภาพ ไม่มีส่วนร่วมในการแสดงออก ไม่มีสิทธิมีเสียงในการตรากฎหมายและการบริหารประเทศ แต่กฎหมายก็ยังเป็นเครื่องมือของผู้ใช้อำนาจอยู่นั่นเอง สังคมเช่นนี้เป็นสังคมที่เรียกได้ว่า the rule by law คือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองบริหาร แต่สังคมดังกล่าวก็ไม่มีหลักนิติธรรม หรือ the rule of law อยู่นั่นเอง
นอกเหนือจากกฎหมายที่เป็นตัวบทเป็นลายลักษณ์อักษร ยังมีประเพณีปฏิบัติที่ถือกันมานานและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมและกลุ่มต่างๆ ประเพณีปฏิบัติดังกล่าวนี้บางครั้งก็ถูกละเมิดโดยผู้อยู่ในอำนาจโดยการออกกฎหมายระบุว่า สิ่งที่ประชาชนทำมานั้นเป็นเรื่องที่ขัดต่อกฎหมาย ในแง่หนึ่งประเพณีปฏิบัติก็ได้มีการรับรองโดยกฎหมายเช่น มาตรา 4 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้ระบุไว้ชัดเจน ขณะเดียวกันในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ก็ได้ระบุไว้ในทำนองเดียวกัน โดยหลักการมีอยู่ว่าถ้าเกิดความคลุมเครือหรือตัวบทกฎหมายครอบไม่ถึงก็ให้ถือเอาประเพณีปฏิบัติกันมา รวมตลอดทั้งใช้หลักกฎหมายทั่วไปโดยมีหลักการซึ่งต้องผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม
แต่ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในสังคมก็คือ ผู้ปฏิบัติกฎหมายหรือผู้นำกฎหมายไปปฏิบัติงานมักจะมุ่งเน้นตีความตามลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เนื่องจากว่าลายลักษณ์อักษรเป็นสิ่งซึ่งระบุไว้ชัดแจ้ง เมื่อมีการตีความตามลายลักษณ์อักษรเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย และที่สำคัญเมื่อปฏิบัติตามลายลักษณ์อักษรผู้ปฏิบัติก็จะปลอดจากความรับผิดชอบโดยอ้างว่าต้องทำตามที่กฎหมายระบุไว้ เป็นการตีความตามลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด ไม่ต้องเสี่ยงกับข้อผิดพลาดอะไรทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงการตีความตามลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัดโดยมองข้ามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อาจจะขัดต่อหลักการความยุติธรรม ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าลายลักษณ์อักษรหรือภาษาไม่สามารถจะครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ความจำกัดของภาษาเป็นที่ทราบกันอยู่ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมจึงต้องมีการพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ ทั้งลายลักษณ์อักษร เจตนารมณ์ของการออกกฎหมายในเรื่องนั้นๆ หรือในมาตรานั้นๆ รวมทั้งการคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และหลักการความยุติธรรม การพิจารณาในแง่มุมต่างๆ นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชน
ตัวอย่างของการตีความตามลายลักษณ์อักษรโดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อาจจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายในตัวของมันเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ หลังจากมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แล้ว มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 200 คน ขณะเดียวกันวุฒิสภาชุดก่อนซึ่งมาจากการแต่งตั้งและอยู่ในวาระ 4 ปี เมื่อครบวาระ 4 ปีก็มีการเลือกตั้งวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องการเลือกตั้ง มีการให้ใบเหลือง ใบแดง สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งจึงไม่ครบ 200 คน จึงยังไม่เป็นวุฒิสภาตามที่ระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งหมดอายุเนื่องจากครบวาระ 4 ปี จึงไม่เป็นวุฒิสภาอีกต่อไป แต่ขณะเดียวกันวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังไม่ครบ 200 คน จึงยังไม่มีวุฒิสภาตามกฎหมาย การตีความเช่นนี้เป็นการตีความตามลายลักษณ์อักษร เพราะระบุไว้ชัดทั้งสองกรณี จึงเป็นการตีความที่ไม่ผิด แต่ขณะเดียวกันผลจากการวินิจฉัยครั้งนี้ทำให้ไม่มีวุฒิสภาชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดังนั้น การวินิจฉัยเช่นนี้จึงไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเพราะทำให้รัฐสภามีเหลือเพียงสภาเดียว ถ้าจะมองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญซึ่งจำเป็นต้องมีสองสภา ก็คงต้องใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญโดยยึดถือประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น มีประเพณีการรักษาการเช่นกรณีคณะรัฐมนตรีหลังจากสภาครบวาระแล้วก็ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
ทำนองเดียวกัน เมื่อวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งยังไม่ครบ 200 คน ขณะเดียวกันเมื่อวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งครบวาระ 4 ปีก็ให้วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งรักษาการต่อไปจนกว่าวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีครบ 200 คน การใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญจะทำให้รัฐสภายังประกอบด้วยสองสภาอันเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ การอ้างว่าช่องว่างอำนาจที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเสียหายเพราะระหว่างนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ที่นำไปสู่การประชุมร่วมของรัฐสภา และเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นๆ นั้นฟังไม่ขึ้น หลักการกฎหมายจะมาปนเปกับข้อเท็จจริงไม่ได้ในกรณีนี้
กฎหมายจึงมีไว้เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม ตัวกฎหมายจึงไม่ใช่ความยุติธรรม หลักการกฎหมาย เทคนิคกฎหมาย แม้จะสำคัญแต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือความยุติธรรม ซึ่งจะต้องใช้ทั้งลายลักษณ์อักษร เจตนารมณ์ หลักการความยุติธรรม ข้อพิจารณาที่ให้น้ำหนักกับความยุติธรรมนี้จะเห็นได้จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องนี้
“....กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาควายุติธรรม ไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามเป็นจริงด้วย...”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 33 ปีการศึกษา 2523 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร 29 ตุลาคม 2524)
“...ทุกคนจะต้องคิดพิจารณาและต้องสำนึกว่ากฎหมายไม่ใช่เครื่องจักรแท้ที่เรียกว่ากลไกของกระบวนการยุติธรรม กฎหมายไม่ใช่กลไก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้สมองคิด และสมองนี้ออกจะยืดหยุ่นได้มาก จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ และพยายามถ่ายทอดการพิจารณาอันรอบคอบนั้นให้เป็นหลักวิชาที่เป็นที่เข้าใจแก่ประชาชนและแก่ตนเอง..”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “นิติศาสตร์จุฬา” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 13 มีนาคม 2512)
“...กฎหมายทั้งปวงจะธำรงความยุติธรรมและถูกต้องเที่ยงตรง หรือจะธำรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมอยู่ได้หรือไม่เพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับการใช้ คือ ถ้าใช้ให้ได้ถูกวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ จริงแล้ว ก็จะทรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพอันสมบูรณ์ไว้ได้ แต่ถ้าหากนำไปใช้ให้ผิดวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ โดยการพลิกแพลงบิดพลิ้วให้ผันผวนไปด้วยความหลงผิดด้วยอคติ หรือด้วยเจตนาอันไม่สุจริตต่างๆ กฎหมายก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพลงทันที และกลับกลายเป็นพิษเป็นภัยแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง..”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร 19 กรกฎาคม ตุลาคม 2520)
อย่างไรก็ตาม ในระบบการปกครองแบบเผด็จการนั้นก็มีการใช้กฎหมายเช่นเดียวกัน เป็นแต่ว่ากฎหมายที่ตราขึ้นมานั้นตราโดยบุคคลซึ่งประชาชนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีส่วนร่วม และกฎหมายดังกล่าวก็อาจมีเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น ผู้ใดก็ตามที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนั้นก็จะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองบริหาร ทั้งๆ ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนไร้สิทธิเสรีภาพ ไม่มีส่วนร่วมในการแสดงออก ไม่มีสิทธิมีเสียงในการตรากฎหมายและการบริหารประเทศ แต่กฎหมายก็ยังเป็นเครื่องมือของผู้ใช้อำนาจอยู่นั่นเอง สังคมเช่นนี้เป็นสังคมที่เรียกได้ว่า the rule by law คือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองบริหาร แต่สังคมดังกล่าวก็ไม่มีหลักนิติธรรม หรือ the rule of law อยู่นั่นเอง
นอกเหนือจากกฎหมายที่เป็นตัวบทเป็นลายลักษณ์อักษร ยังมีประเพณีปฏิบัติที่ถือกันมานานและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมและกลุ่มต่างๆ ประเพณีปฏิบัติดังกล่าวนี้บางครั้งก็ถูกละเมิดโดยผู้อยู่ในอำนาจโดยการออกกฎหมายระบุว่า สิ่งที่ประชาชนทำมานั้นเป็นเรื่องที่ขัดต่อกฎหมาย ในแง่หนึ่งประเพณีปฏิบัติก็ได้มีการรับรองโดยกฎหมายเช่น มาตรา 4 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้ระบุไว้ชัดเจน ขณะเดียวกันในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ก็ได้ระบุไว้ในทำนองเดียวกัน โดยหลักการมีอยู่ว่าถ้าเกิดความคลุมเครือหรือตัวบทกฎหมายครอบไม่ถึงก็ให้ถือเอาประเพณีปฏิบัติกันมา รวมตลอดทั้งใช้หลักกฎหมายทั่วไปโดยมีหลักการซึ่งต้องผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม
แต่ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในสังคมก็คือ ผู้ปฏิบัติกฎหมายหรือผู้นำกฎหมายไปปฏิบัติงานมักจะมุ่งเน้นตีความตามลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เนื่องจากว่าลายลักษณ์อักษรเป็นสิ่งซึ่งระบุไว้ชัดแจ้ง เมื่อมีการตีความตามลายลักษณ์อักษรเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย และที่สำคัญเมื่อปฏิบัติตามลายลักษณ์อักษรผู้ปฏิบัติก็จะปลอดจากความรับผิดชอบโดยอ้างว่าต้องทำตามที่กฎหมายระบุไว้ เป็นการตีความตามลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด ไม่ต้องเสี่ยงกับข้อผิดพลาดอะไรทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงการตีความตามลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัดโดยมองข้ามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อาจจะขัดต่อหลักการความยุติธรรม ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าลายลักษณ์อักษรหรือภาษาไม่สามารถจะครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ความจำกัดของภาษาเป็นที่ทราบกันอยู่ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมจึงต้องมีการพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ ทั้งลายลักษณ์อักษร เจตนารมณ์ของการออกกฎหมายในเรื่องนั้นๆ หรือในมาตรานั้นๆ รวมทั้งการคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และหลักการความยุติธรรม การพิจารณาในแง่มุมต่างๆ นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชน
ตัวอย่างของการตีความตามลายลักษณ์อักษรโดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อาจจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายในตัวของมันเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ หลังจากมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แล้ว มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 200 คน ขณะเดียวกันวุฒิสภาชุดก่อนซึ่งมาจากการแต่งตั้งและอยู่ในวาระ 4 ปี เมื่อครบวาระ 4 ปีก็มีการเลือกตั้งวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องการเลือกตั้ง มีการให้ใบเหลือง ใบแดง สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งจึงไม่ครบ 200 คน จึงยังไม่เป็นวุฒิสภาตามที่ระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งหมดอายุเนื่องจากครบวาระ 4 ปี จึงไม่เป็นวุฒิสภาอีกต่อไป แต่ขณะเดียวกันวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังไม่ครบ 200 คน จึงยังไม่มีวุฒิสภาตามกฎหมาย การตีความเช่นนี้เป็นการตีความตามลายลักษณ์อักษร เพราะระบุไว้ชัดทั้งสองกรณี จึงเป็นการตีความที่ไม่ผิด แต่ขณะเดียวกันผลจากการวินิจฉัยครั้งนี้ทำให้ไม่มีวุฒิสภาชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดังนั้น การวินิจฉัยเช่นนี้จึงไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเพราะทำให้รัฐสภามีเหลือเพียงสภาเดียว ถ้าจะมองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญซึ่งจำเป็นต้องมีสองสภา ก็คงต้องใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญโดยยึดถือประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น มีประเพณีการรักษาการเช่นกรณีคณะรัฐมนตรีหลังจากสภาครบวาระแล้วก็ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
ทำนองเดียวกัน เมื่อวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งยังไม่ครบ 200 คน ขณะเดียวกันเมื่อวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งครบวาระ 4 ปีก็ให้วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งรักษาการต่อไปจนกว่าวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีครบ 200 คน การใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญจะทำให้รัฐสภายังประกอบด้วยสองสภาอันเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ การอ้างว่าช่องว่างอำนาจที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเสียหายเพราะระหว่างนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ที่นำไปสู่การประชุมร่วมของรัฐสภา และเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นๆ นั้นฟังไม่ขึ้น หลักการกฎหมายจะมาปนเปกับข้อเท็จจริงไม่ได้ในกรณีนี้
กฎหมายจึงมีไว้เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม ตัวกฎหมายจึงไม่ใช่ความยุติธรรม หลักการกฎหมาย เทคนิคกฎหมาย แม้จะสำคัญแต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือความยุติธรรม ซึ่งจะต้องใช้ทั้งลายลักษณ์อักษร เจตนารมณ์ หลักการความยุติธรรม ข้อพิจารณาที่ให้น้ำหนักกับความยุติธรรมนี้จะเห็นได้จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องนี้
“....กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาควายุติธรรม ไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามเป็นจริงด้วย...”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 33 ปีการศึกษา 2523 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร 29 ตุลาคม 2524)
“...ทุกคนจะต้องคิดพิจารณาและต้องสำนึกว่ากฎหมายไม่ใช่เครื่องจักรแท้ที่เรียกว่ากลไกของกระบวนการยุติธรรม กฎหมายไม่ใช่กลไก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้สมองคิด และสมองนี้ออกจะยืดหยุ่นได้มาก จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ และพยายามถ่ายทอดการพิจารณาอันรอบคอบนั้นให้เป็นหลักวิชาที่เป็นที่เข้าใจแก่ประชาชนและแก่ตนเอง..”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “นิติศาสตร์จุฬา” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 13 มีนาคม 2512)
“...กฎหมายทั้งปวงจะธำรงความยุติธรรมและถูกต้องเที่ยงตรง หรือจะธำรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมอยู่ได้หรือไม่เพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับการใช้ คือ ถ้าใช้ให้ได้ถูกวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ จริงแล้ว ก็จะทรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพอันสมบูรณ์ไว้ได้ แต่ถ้าหากนำไปใช้ให้ผิดวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ โดยการพลิกแพลงบิดพลิ้วให้ผันผวนไปด้วยความหลงผิดด้วยอคติ หรือด้วยเจตนาอันไม่สุจริตต่างๆ กฎหมายก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพลงทันที และกลับกลายเป็นพิษเป็นภัยแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง..”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร 19 กรกฎาคม ตุลาคม 2520)