ก่อนที่คลื่นยักษ์หรือที่เรียกว่า สึนามิ ในภาษาญี่ปุ่นจะถล่มชายฝั่งทะเลอันดามัน ในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยคือ ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง สตูล และระนองนั้น พูดได้ว่าคนไทยไม่ว่าจะอยู่วัยเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนแล้วแต่ไม่เคยมีประสบการณ์ตรงกับภัยพิบัติประเภทนี้มาก่อน ถ้าพอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ้างก็เป็นเพียงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าจากตำรา และบันทึกเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ภัยพิบัติที่ว่านี้เกิดขึ้นมากที่สุด และเคยเสียแก่ชีวิตทรัพย์สินครั้งละมากมายมาแล้ว จนกระทั่งมีชื่อเรียกคลื่นใต้น้ำอันเกิดจากแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิดใต้ท้องทะเลลึก และเป็นเหตุให้เกิดคลื่นใหญ่ดังที่ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่่านมาว่า สึนามิแทนที่จะเรียกเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่มีความเป็นสากลมากกว่า
ด้วยเหตุที่ประเทศไทยไม่เคยมีคลื่นยักษ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายในทำนองนี้มาก่อน และในขณะเดียวกัน คนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เสี่ยงภัยอันได้แก่ ผู้ที่อยู่อาศัย และผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว รวมไปถึงผู้มีอาชีพประมงก็ไม่เคยได้รับการสอนให้รู้ถึงลักษณะการเกิดขึ้นของคลื่นยักษ์ และวิธีการเอาตัวรอด
ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกแต่ประการใดที่คนไทยรวมถึงนักท่องเที่ยวจากต่างชาติจะบาดเจ็บล้มตาย และทรัพย์สินเสียหายจากภัยพิบัติอันนี้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา เพราะพวกเขาทุกคนตั้งอยู่ในความประมาทขาดความระแวง และมิได้ระวังต่อการเกิดขึ้นของภัยพิบัตินี้แต่ประการใด ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ผู้ตายส่วนหนึ่งเมื่อเห็นน้ำทะเลแห้งลงอย่างกะทันหัน แทนที่จะเกิดข้อระแวงสงสัยถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกลับเห็นเป็นเรื่องชวนให้สนุกสนานด้วยการลงไปดู บางรายก็นำกล้องไปถ่ายภาพ และเมื่อคลื่นพัดกลับ ทั้งหมดจึงถูกดูดลงไปในทะเลจมน้ำตายทุกชีวิต ที่นำเรื่องนี้มาเป็นเหตุก็เพื่อจะอธิบายให้เห็นว่าทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับคลื่นยักษ์ จึงไม่ตระหนักถึงพิษภัยที่เกิดขึ้น
อีกประการหนึ่ง ถ้าท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูหนังสือพิมพ์บางฉบับ เมื่อปี 2542 ในยุคที่นายสมิทธ ธรรมสโรช ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ก็จะพบว่า ท่านผู้นี้ได้เคยเตือนว่าจะมีคลื่นยักษ์เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และได้มีฝ่ายปกครองท่านหนึ่งในยุคนั้นออกมาตำหนิท่านผู้เตือนว่าเป็นการพูดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจการท่องเที่ยว นี่ก็เป็นประการหนึ่งที่แสดงถึงความประมาทของบุคลากรในภาครัฐที่มีต่อเรื่องนี้ และถ้าจะบอกว่าภัยพิบัติในครั้งนี้ ท่านที่ออกมาตำหนิในครั้งนี้ก็มีส่วนที่ทำให้สังคมไทยเสียหายเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม เพราะถ้าฝ่ายปกครองในยุคนั้นรับลูก และจัดให้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมแล้วลงในรายละเอียดถึงมาตรการป้องกัน เช่น มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า และจัดให้มีการฝึกอบรมแก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยเท่าที่ควรจะเป็นแล้ว เชื่อได้ว่าถึงแม้จะเกิดคลื่นยักษ์และก่อให้เกิดความเสียหายก็คงจะน้อยกว่านี้ ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการป้องกัน และการให้ความร่วมมือของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเป็นหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นคลื่นยักษ์ในครั้งนี้นอกจากผลกระทบในทางลบแล้ว ก็มีเป็นผลในทางบวกด้วย ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความจริงใจและจริงจังกับการแก้ไขป้องกันภัยพิบัติประเภทนี้ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงถือว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นวิกฤตในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสเพื่ออนาคตของธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ มิได้เกิดขึ้นในทะเลอันเป็นดินแดนของประเทศไทย แต่ได้เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และถ้าว่าโดยหลักของการเกิดแผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่มีการขยับตัวแล้ว มักจะเกิดซ้ำกัน คือ เกิดที่ไหนแล้วต่อไปมักจะเกิดที่นั่นอีก ถ้าแนวคิดหรือหลักแห่งความเชื่อนี้ถูกต้อง ประเทศไทยก็ยังมีโอกาสที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดขึ้นจากภัยประเภทนี้ได้ไม่ยากนัก เพียงแต่จัดให้มีการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าร่วมกันกับประเทศที่คาดว่าจะเป็นต้นเหตุแห่งแผ่นดินไหวอันเป็นต้นตอแห่งการเกิดคลื่นยักษ์เท่านั้น ก็จะทำให้เขารู้ล่วงหน้าและมีเวลามากพอที่จะเอาตัวรอดจากภัยประเภทนี้ได้
2. ถ้าท่านผู้อ่านเคยไปจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล ไม่ว่าที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ในครั้งนี้ หรือมิได้มีผลกระทบ ท่านก็จะพบความจริงประการหนึ่งที่ควรจะได้มีการหยิบยกขึ้นมาโดยการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันหลังจากคลื่นยักษ์ ประการหนึ่งก็คือ การปลูกอาคาร ร้านค้า สถานที่ประกอบการธุรกิจบันเทิงในพื้นที่ชายหาดชนิดเรียกได้ว่า น่าจะเป็นการรุกล้ำที่สาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดที่ว่า ที่ติดทะเล และที่บนภูเขาห้ามมิให้มีการจับจองถือครองโดยมีเอกสารสิทธิ
แต่เท่าที่ปรากฏ ที่เขาหลักก็มี ริมชายหาดภูเก็ตก็มี ถ้าดูด้วยสายตาของนักอนุรักษ์แล้วบอกได้คำเดียวว่า ควรจะได้มีการจัดระเบียบวางระบบเมืองท่องเที่ยวเสียใหม่ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากคลื่นถล่ม และความสวยงามในการเที่ยวชมธรรมชาติ อันเป็นจุดขายประการสำคัญของการท่องเที่ยวชายทะเล ดังนั้น การที่เกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นโอกาสให้รัฐบาลเข้าไปจัดระเบียบ และวางระบบแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ในอนาคตได้ไม่ยากนัก
3. ในการเกิดวิกฤตจากคลื่นยักษ์ถล่มในครั้งนี้ ถ้ามองในแง่ของการโฆษณาประชาสัมพันธ์แล้ว ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่คนต่างประเทศในระยะที่เป็นแหล่งที่มีวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามจากการที่รัฐบาลไทยและคนไทยได้แสดงน้ำใจไมตรีโอบอ้อมอารีต่อนักท่องเที่ยวที่มาประสบชะตากรรมในประเทศ จะเห็นได้จากการที่สื่อต่างประเทศพูดถึงคนไทยในแง่มุมที่ดี ซึ่งก็เท่ากับช่วยประชาสัมพันธ์เมืองไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และประเพณีได้อีกประการหนึ่ง
จริงอยู่ในแง่นี้อาจมีบางท่านคัดค้านได้ว่า ในการเกิดวิกฤตในครั้งนี้ คนไทยและประเทศไทยมิได้มีแง่บวกในเชิงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามเพียงอย่างเดียว แต่มีการเผยแพร่ในแง่ลบเกี่ยวกับอุปนิสัยของคนไทยออกไปด้วย เช่น มีการขโมยของมีค่าจากผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ รวมไปถึงมีการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งของที่นำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น
แต่เรื่องนี้ก็ต้องยอมรับว่ามีอยู่จริง แต่เมื่อเทียบกับคนไทยที่แสดงพฤติกรรมอันเป็นบวกต่อประเทศไทยแล้ว ถือได้ว่ามีอยู่น้อยนิด และเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าปกติของสังคมแห่งปุถุชนคนมีกิเลสที่แก้ไขให้หมดไปได้ยาก ทั้งเชื่อว่าชาวต่างประเทศที่มีความเป็นกลางยอมรับเรื่องนี้ได้โดยจะไม่นำมาเป็นข้ออ้างในการโจมตีประเทศไทยเพื่อทำลายธุรกิจการท่องเที่ยวแน่นอน
4. ในการเกิดคลื่นยักษ์ครั้งนี้ ถ้าจะมองว่าแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งได้ถูกทำลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสวยงามทางธรรมชาติ เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล หญ้าทะเล เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะมีอยู่จริงก็อย่าลืมมองในแง่การแข่งขันกับแหล่งธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านที่มีจุดขายคือความสวยงามทางธรรมชาติประเภทเดียวกัน เพราะเมื่อของไทยถูกทำลาย ของประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับไทยก็คงจะอยู่ในภาวะที่ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคตมิได้ขึ้นอยู่ที่ว่าประเทศไทยสูญเสียอะไรไปเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ว่าจะฟื้นฟูได้อย่างไร และกลับไปเหมือนเดิมเมื่อครั้งที่ไม่เกิดภัยได้มากน้อยขนาดไหน และที่สำคัญที่สุดการปรับปรุงจะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมให้มากที่สุดก็จะเป็นจุดขายให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ได้มากเท่านั้น
จากที่เกิดเหตุภัยพิบัติมาจนถึงบัดนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคงจะเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องจัดระเบียบและวางระบบแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลเพื่อรองรับธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศในอนาคต แต่ปัญหาอยู่ที่จะปรับปรุงอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นระเบียบ และเป็นระบบตามที่ควรจะเป็น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่าทำได้ไม่ยาก เพียงต้องยอมรับความจริงในส่วนที่เป็นจุดขายของการท่องเที่ยวก่อนว่า อะไรคือจุดขายของธุรกิจท่องเที่ยวไทยในจังหวัดภาคใต้ และในขณะนี้จุดขายที่ว่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน และถ้าจะปรับปรุงให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมทำได้อย่างไร ใช้เงินเท่าไหร่ และใช้เวลานานเท่าใด รวมไปถึงจะให้หน่วยงานไหนทำ?
จากประเด็นที่ยกขึ้นมาถามก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงในครั้งนี้ได้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหา และหาคำตอบเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับความต้องการที่เป็นจริง ธุรกิจการท่องเที่ยวไทยอย่างแท้จริงจะได้ไม่ต้องห่วงประเด็นดังที่เกิดขึ้นกับหลายๆ กรณีมาแล้วในอดีต
เริ่มที่จุดขายของธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่เชื่อว่าทุกคนที่ไปเที่ยวหรือไปประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่ภาคใต้ รู้และยอมรับตรงกันว่า ทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลเริ่มตั้งแต่ความใส ความสะอาดของน้ำไปจนถึงเกาะแก่งปะการัง ฝูงปลาที่มีความสวยงาม และหาดูไม่ได้จากที่อื่นแต่ต้องมาดูที่ประเทศไทย
ดังนั้น ถ้าจะให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาดูสิ่งที่ว่านี้กลับมาอีกครั้งก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงจุดขายที่ว่านี้ให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด
ส่วนประเด็นว่าจะแก้ไขอย่างไรนั้น รัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมป่าไม้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะต้องเป็นแกนในการดำเนินการในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาดำเนินการ
นอกจากจะขายที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติแล้ว การแก้ไขปรับปรุงสถานประกอบการ เช่น โรงแรม ร้านค้า และสถานบันเทิงในแหล่งท่องเที่ยวก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เพราะถึงแม้จุดขายจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่สถานประกอบการไม่มีมาตรฐานที่ดีพอจะรองรับนักท่องเที่ยว ก็ไม่สามารถจะทำให้การหารายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบรรลุผลได้เช่นกัน
ส่วนว่าจะปรับปรุงอย่างไรบ้าง จะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวางผังเมืองของแต่ละจังหวัดเป็นแกนร่วมกับการท่องเที่ยว ในการกำหนดรูปแบบของตัวอาคาร และร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเข้ามากำหนดเงื่อนไขในการปรับปรุง
แต่ไม่ว่าจะปรับปรุงอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงเสมอก็คือ จะต้องให้มีสภาพแวดล้อมเดิมๆ มากที่สุด ยกตัวอย่างถ้าจะป้องกันคลื่นซึ่งมีทางทำได้ด้วยการสร้างกำแพงกันคลื่นด้วยสิ่งก่อสร้าง หรือกำแพงต้นไม้ริมหาดก็ควรจะต้องเลือกให้เหมาะสม เช่น ถ้าจะต้องปลูกต้นไม้ริมหาดป่าตองไม้ที่ควรจะปลูกก็เป็นท้องถิ่นดังเดิม อันได้แก่ ต้นสนทะเล และต้นเตยหนามซึ่งเคยมีอย่างดาษดื่นมาแต่เดิม ในภายหลังได้มีการบุกรุก และทำลายทิ้งไป เป็นต้น
ทั้งหมดที่บอกมานี้เป็นเพียงมุมมองหนึ่งของคนที่เห็นว่า เมืองไทยควรจะขายธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่ความงามธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก ไม่ควรนำเอาความเป็นคนไทยไปขายในฐานะให้บริการทางเพศ ดังที่ปรากฏอยู่ในเมืองท่องเที่ยวชายทะเลบางแห่งจนกลายเป็นแหล่งทำลายวัฒนธรรม เพื่อแลกกับเม็ดเงินของนักท่องเที่ยวไปแล้ว
ด้วยเหตุที่ประเทศไทยไม่เคยมีคลื่นยักษ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายในทำนองนี้มาก่อน และในขณะเดียวกัน คนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เสี่ยงภัยอันได้แก่ ผู้ที่อยู่อาศัย และผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว รวมไปถึงผู้มีอาชีพประมงก็ไม่เคยได้รับการสอนให้รู้ถึงลักษณะการเกิดขึ้นของคลื่นยักษ์ และวิธีการเอาตัวรอด
ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกแต่ประการใดที่คนไทยรวมถึงนักท่องเที่ยวจากต่างชาติจะบาดเจ็บล้มตาย และทรัพย์สินเสียหายจากภัยพิบัติอันนี้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา เพราะพวกเขาทุกคนตั้งอยู่ในความประมาทขาดความระแวง และมิได้ระวังต่อการเกิดขึ้นของภัยพิบัตินี้แต่ประการใด ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ผู้ตายส่วนหนึ่งเมื่อเห็นน้ำทะเลแห้งลงอย่างกะทันหัน แทนที่จะเกิดข้อระแวงสงสัยถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกลับเห็นเป็นเรื่องชวนให้สนุกสนานด้วยการลงไปดู บางรายก็นำกล้องไปถ่ายภาพ และเมื่อคลื่นพัดกลับ ทั้งหมดจึงถูกดูดลงไปในทะเลจมน้ำตายทุกชีวิต ที่นำเรื่องนี้มาเป็นเหตุก็เพื่อจะอธิบายให้เห็นว่าทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับคลื่นยักษ์ จึงไม่ตระหนักถึงพิษภัยที่เกิดขึ้น
อีกประการหนึ่ง ถ้าท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูหนังสือพิมพ์บางฉบับ เมื่อปี 2542 ในยุคที่นายสมิทธ ธรรมสโรช ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ก็จะพบว่า ท่านผู้นี้ได้เคยเตือนว่าจะมีคลื่นยักษ์เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และได้มีฝ่ายปกครองท่านหนึ่งในยุคนั้นออกมาตำหนิท่านผู้เตือนว่าเป็นการพูดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจการท่องเที่ยว นี่ก็เป็นประการหนึ่งที่แสดงถึงความประมาทของบุคลากรในภาครัฐที่มีต่อเรื่องนี้ และถ้าจะบอกว่าภัยพิบัติในครั้งนี้ ท่านที่ออกมาตำหนิในครั้งนี้ก็มีส่วนที่ทำให้สังคมไทยเสียหายเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม เพราะถ้าฝ่ายปกครองในยุคนั้นรับลูก และจัดให้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมแล้วลงในรายละเอียดถึงมาตรการป้องกัน เช่น มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า และจัดให้มีการฝึกอบรมแก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยเท่าที่ควรจะเป็นแล้ว เชื่อได้ว่าถึงแม้จะเกิดคลื่นยักษ์และก่อให้เกิดความเสียหายก็คงจะน้อยกว่านี้ ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการป้องกัน และการให้ความร่วมมือของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเป็นหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นคลื่นยักษ์ในครั้งนี้นอกจากผลกระทบในทางลบแล้ว ก็มีเป็นผลในทางบวกด้วย ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความจริงใจและจริงจังกับการแก้ไขป้องกันภัยพิบัติประเภทนี้ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงถือว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นวิกฤตในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสเพื่ออนาคตของธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ มิได้เกิดขึ้นในทะเลอันเป็นดินแดนของประเทศไทย แต่ได้เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และถ้าว่าโดยหลักของการเกิดแผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่มีการขยับตัวแล้ว มักจะเกิดซ้ำกัน คือ เกิดที่ไหนแล้วต่อไปมักจะเกิดที่นั่นอีก ถ้าแนวคิดหรือหลักแห่งความเชื่อนี้ถูกต้อง ประเทศไทยก็ยังมีโอกาสที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดขึ้นจากภัยประเภทนี้ได้ไม่ยากนัก เพียงแต่จัดให้มีการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าร่วมกันกับประเทศที่คาดว่าจะเป็นต้นเหตุแห่งแผ่นดินไหวอันเป็นต้นตอแห่งการเกิดคลื่นยักษ์เท่านั้น ก็จะทำให้เขารู้ล่วงหน้าและมีเวลามากพอที่จะเอาตัวรอดจากภัยประเภทนี้ได้
2. ถ้าท่านผู้อ่านเคยไปจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล ไม่ว่าที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ในครั้งนี้ หรือมิได้มีผลกระทบ ท่านก็จะพบความจริงประการหนึ่งที่ควรจะได้มีการหยิบยกขึ้นมาโดยการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันหลังจากคลื่นยักษ์ ประการหนึ่งก็คือ การปลูกอาคาร ร้านค้า สถานที่ประกอบการธุรกิจบันเทิงในพื้นที่ชายหาดชนิดเรียกได้ว่า น่าจะเป็นการรุกล้ำที่สาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดที่ว่า ที่ติดทะเล และที่บนภูเขาห้ามมิให้มีการจับจองถือครองโดยมีเอกสารสิทธิ
แต่เท่าที่ปรากฏ ที่เขาหลักก็มี ริมชายหาดภูเก็ตก็มี ถ้าดูด้วยสายตาของนักอนุรักษ์แล้วบอกได้คำเดียวว่า ควรจะได้มีการจัดระเบียบวางระบบเมืองท่องเที่ยวเสียใหม่ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากคลื่นถล่ม และความสวยงามในการเที่ยวชมธรรมชาติ อันเป็นจุดขายประการสำคัญของการท่องเที่ยวชายทะเล ดังนั้น การที่เกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นโอกาสให้รัฐบาลเข้าไปจัดระเบียบ และวางระบบแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ในอนาคตได้ไม่ยากนัก
3. ในการเกิดวิกฤตจากคลื่นยักษ์ถล่มในครั้งนี้ ถ้ามองในแง่ของการโฆษณาประชาสัมพันธ์แล้ว ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่คนต่างประเทศในระยะที่เป็นแหล่งที่มีวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามจากการที่รัฐบาลไทยและคนไทยได้แสดงน้ำใจไมตรีโอบอ้อมอารีต่อนักท่องเที่ยวที่มาประสบชะตากรรมในประเทศ จะเห็นได้จากการที่สื่อต่างประเทศพูดถึงคนไทยในแง่มุมที่ดี ซึ่งก็เท่ากับช่วยประชาสัมพันธ์เมืองไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และประเพณีได้อีกประการหนึ่ง
จริงอยู่ในแง่นี้อาจมีบางท่านคัดค้านได้ว่า ในการเกิดวิกฤตในครั้งนี้ คนไทยและประเทศไทยมิได้มีแง่บวกในเชิงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามเพียงอย่างเดียว แต่มีการเผยแพร่ในแง่ลบเกี่ยวกับอุปนิสัยของคนไทยออกไปด้วย เช่น มีการขโมยของมีค่าจากผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ รวมไปถึงมีการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งของที่นำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น
แต่เรื่องนี้ก็ต้องยอมรับว่ามีอยู่จริง แต่เมื่อเทียบกับคนไทยที่แสดงพฤติกรรมอันเป็นบวกต่อประเทศไทยแล้ว ถือได้ว่ามีอยู่น้อยนิด และเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าปกติของสังคมแห่งปุถุชนคนมีกิเลสที่แก้ไขให้หมดไปได้ยาก ทั้งเชื่อว่าชาวต่างประเทศที่มีความเป็นกลางยอมรับเรื่องนี้ได้โดยจะไม่นำมาเป็นข้ออ้างในการโจมตีประเทศไทยเพื่อทำลายธุรกิจการท่องเที่ยวแน่นอน
4. ในการเกิดคลื่นยักษ์ครั้งนี้ ถ้าจะมองว่าแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งได้ถูกทำลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสวยงามทางธรรมชาติ เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล หญ้าทะเล เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะมีอยู่จริงก็อย่าลืมมองในแง่การแข่งขันกับแหล่งธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านที่มีจุดขายคือความสวยงามทางธรรมชาติประเภทเดียวกัน เพราะเมื่อของไทยถูกทำลาย ของประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับไทยก็คงจะอยู่ในภาวะที่ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคตมิได้ขึ้นอยู่ที่ว่าประเทศไทยสูญเสียอะไรไปเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ว่าจะฟื้นฟูได้อย่างไร และกลับไปเหมือนเดิมเมื่อครั้งที่ไม่เกิดภัยได้มากน้อยขนาดไหน และที่สำคัญที่สุดการปรับปรุงจะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมให้มากที่สุดก็จะเป็นจุดขายให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ได้มากเท่านั้น
จากที่เกิดเหตุภัยพิบัติมาจนถึงบัดนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคงจะเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องจัดระเบียบและวางระบบแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลเพื่อรองรับธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศในอนาคต แต่ปัญหาอยู่ที่จะปรับปรุงอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นระเบียบ และเป็นระบบตามที่ควรจะเป็น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่าทำได้ไม่ยาก เพียงต้องยอมรับความจริงในส่วนที่เป็นจุดขายของการท่องเที่ยวก่อนว่า อะไรคือจุดขายของธุรกิจท่องเที่ยวไทยในจังหวัดภาคใต้ และในขณะนี้จุดขายที่ว่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน และถ้าจะปรับปรุงให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมทำได้อย่างไร ใช้เงินเท่าไหร่ และใช้เวลานานเท่าใด รวมไปถึงจะให้หน่วยงานไหนทำ?
จากประเด็นที่ยกขึ้นมาถามก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงในครั้งนี้ได้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหา และหาคำตอบเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับความต้องการที่เป็นจริง ธุรกิจการท่องเที่ยวไทยอย่างแท้จริงจะได้ไม่ต้องห่วงประเด็นดังที่เกิดขึ้นกับหลายๆ กรณีมาแล้วในอดีต
เริ่มที่จุดขายของธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่เชื่อว่าทุกคนที่ไปเที่ยวหรือไปประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่ภาคใต้ รู้และยอมรับตรงกันว่า ทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลเริ่มตั้งแต่ความใส ความสะอาดของน้ำไปจนถึงเกาะแก่งปะการัง ฝูงปลาที่มีความสวยงาม และหาดูไม่ได้จากที่อื่นแต่ต้องมาดูที่ประเทศไทย
ดังนั้น ถ้าจะให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาดูสิ่งที่ว่านี้กลับมาอีกครั้งก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงจุดขายที่ว่านี้ให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด
ส่วนประเด็นว่าจะแก้ไขอย่างไรนั้น รัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมป่าไม้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะต้องเป็นแกนในการดำเนินการในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาดำเนินการ
นอกจากจะขายที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติแล้ว การแก้ไขปรับปรุงสถานประกอบการ เช่น โรงแรม ร้านค้า และสถานบันเทิงในแหล่งท่องเที่ยวก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เพราะถึงแม้จุดขายจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่สถานประกอบการไม่มีมาตรฐานที่ดีพอจะรองรับนักท่องเที่ยว ก็ไม่สามารถจะทำให้การหารายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบรรลุผลได้เช่นกัน
ส่วนว่าจะปรับปรุงอย่างไรบ้าง จะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวางผังเมืองของแต่ละจังหวัดเป็นแกนร่วมกับการท่องเที่ยว ในการกำหนดรูปแบบของตัวอาคาร และร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเข้ามากำหนดเงื่อนไขในการปรับปรุง
แต่ไม่ว่าจะปรับปรุงอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงเสมอก็คือ จะต้องให้มีสภาพแวดล้อมเดิมๆ มากที่สุด ยกตัวอย่างถ้าจะป้องกันคลื่นซึ่งมีทางทำได้ด้วยการสร้างกำแพงกันคลื่นด้วยสิ่งก่อสร้าง หรือกำแพงต้นไม้ริมหาดก็ควรจะต้องเลือกให้เหมาะสม เช่น ถ้าจะต้องปลูกต้นไม้ริมหาดป่าตองไม้ที่ควรจะปลูกก็เป็นท้องถิ่นดังเดิม อันได้แก่ ต้นสนทะเล และต้นเตยหนามซึ่งเคยมีอย่างดาษดื่นมาแต่เดิม ในภายหลังได้มีการบุกรุก และทำลายทิ้งไป เป็นต้น
ทั้งหมดที่บอกมานี้เป็นเพียงมุมมองหนึ่งของคนที่เห็นว่า เมืองไทยควรจะขายธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่ความงามธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก ไม่ควรนำเอาความเป็นคนไทยไปขายในฐานะให้บริการทางเพศ ดังที่ปรากฏอยู่ในเมืองท่องเที่ยวชายทะเลบางแห่งจนกลายเป็นแหล่งทำลายวัฒนธรรม เพื่อแลกกับเม็ดเงินของนักท่องเที่ยวไปแล้ว