xs
xsm
sm
md
lg

"รับเหมา"แจงสารพัดปัญหาบ้านเอื้อฯ แนะผู้ประกอบการรับมือปัญหาการเงิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน - "สิทธิชัย"ชี้ ปัญหารับเหมาก่อสร้างบ้านเอื้อฯ ปี48 หน่วยราชการอนุมัติล่าช้า น้ำหนักบรรทุก แรงงานขาดตลาด รับเหมาขาดสภาพคล่อง ส่งผลต้นทุนก่อสร้างพุ่ง แนะรับเหมาบ้านเอื้อฯ ต้องพร้อมทั้ง ด้านเทคโนโลยี เครื่องจักร แรงงาน สภาพคล่องทางการเงิน ย้ำเตรียมเสนอโครงการใหม่แบบเทิร์นคีย์กว่า 1,200 หน่วยร่วมโครงการบ้านเอื้อฯ หลังส่ง 2 โครงการแรกกว่า 1,400 หน่วยเข้าร่วมโครงการ

นายธนิต ธรรมไกรสร ผู้ประสานงานโครงการ บริษัท สิทธิชัย เอนจิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า สิทธิชัยฯ เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่รับสร้างบ้านให้กับโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยบริษัทจัดทำโครงการแบบเทิร์นคีย์ให้กับการเหหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 2 โครงการที่เสนอเข้าร่วมโครงการคือโครงการแฟลตศาลายา 1 และโครงการแฟลตศาลายาเฟส2 (พุทธมณฑลสาย 4-5)

ทั้งนี้ สำหรับโครงการแฟลตศาลายานั้น เป็นโครงการอาคารสูง 5ชั้น 23 อาคาร จำนวน 1048 หน่วย บนเนื้อที่ 20 ไร่ ส่วนความกว้าหน้าของการก่อสร้างขณะนี้อยู่ที่ 52% แล้ว ซึ่งสามารถก่อสร้างได้เร็วกว่าแผนงาน 30 % โดยตามแผนงานเดิมความก้าวหน้าของงานจะต้องอยู่ที่ 22 % ส่วนโครงการแฟลตศาลายาเฟส 2 (พุทธมณฑลสาย 4-5 ) เป็นโครงการอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งอยู่ในช่วงของการดำเนินงานเสนอต่อ กคช. คืออยู่ในช่วงของการเปิดให้ผู้ลงทะเบียนสิทธิกับ กคช.ไว้แสดงความจำนง หากมีจำนวนผู้จองสิทธิแสดงความจำนงต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการเกินกว่า 2ใน3 ของจำนวนยูนิตที่ก่อสร้างในโครงการก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที

สำหรับโครงการแฟลตศาลายาเฟส2 นี้ เป็นโครงการก่อสร้างอาคารสูง 3 ชั้น จำนวน 400 หน่วย บนเนื้อที่ 10 ไร่ นอกจากนี้ สิทธิชัยฯ ยังมีแผนที่นำโครงการใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสูง 3 ชั้น ในช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 4 บริเวณหน้าองค์พระ จำนวน 1,200 หน่วย บนเนื้อที่ 40 ไร่ เข้าร่วมเสนอขายให้กับ กคช. เพื่อนำเข้าโครงการบ้านเอื้ออาทร

นายธนิต กล่าวว่า ในปี2547 ที่ผ่านมา สิทธิชัยฯยังไม่มีปัญหาในเรื่องของต้นทุนในการก่อสร้างมากเท่าใด แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการก่อสร้างเพราะติดขั้นตอนการขออนุญาติทำการก่อสร้างผ่านหน่วยงานราชการ เพราะระยะเวลาในการก่อสร้างที่เซ็นสัญญาก่อสร้างไว้กับ กคช. เพียง 14 เดือนเท่นั้น ซึ่งหากติดขั้นตอนการขออนุญิตก็ทำให้เสียเวลาไปค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิชัยฯ ก็เชื่อว่าจะสามารถส่งมอบงานให้กับ กคช.ได้ทันระยะเวลาเพราะ บริษัทนำระบบอุตสาหกรรมก่อสร้างสำเร็จรูปเข้ามาช่วยในการดำเนินการ

อย่างไรก็ดี ปัญหาในเรื่องของระยะเวลาในการก่อสร้างนั้น จะทำให้ในปี 2548นี้ ผู้ประกอบการทุกรายต้องตระหนักถึงความพร้อมในเรื่อง ของเทคโนโลยี เครื่องจักร แรงงาน สภาพคล่องทางการเงิน ที่จะใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมในเรื่องของสภาพคล่อง เพราะต้องมีเงินหมุนเวียนในการจ้างแรงงานและสต็อกวัสดุก่อสร้าง

ส่วนในปี 2548 นี้ เชื่อว่าผลกระทบจากต้นทุนจะเริ่มมีให้เห้ฯชัดเจนมากยิ่งขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากราคาน้ำมันดีเชล และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะปรับขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างทุกอย่างปรับตัวขึ้นอีกประมาณ 20 % อาทิค่าถมดินก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น จากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น รวมถึงข้อกำหนดของกฎหมายการบรรทุกน้ำหนักของรถบรรทุกที่กำหนดให้มีการบรรทุกน้ำหนักได้ไม่เกิน 26 ตั้น ทำให้ต้องมีการเพิ่มเที่ยวรถ ในการขนส่งดินเพื่อถมที่ให้ได้ระดับตามข้อตกลงในสัญญาก่อสร้าง

นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบกับผู้รับเหมาก่อสร้าง จากการขาดแคลนแรงงานในตลาด โดยเฉพาะการที่รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนการกระจายความเจริญสูงภูมิภาค และภาคการเกษตร ทำให้แรงงานที่มาจากกลุ่มเกษตรกรกลับไปทำอาชีพทางการเกษตรมากขึ้น

"เดิมที่แรงงานในตลาดจะมีผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าและออกไปตามฤดูกาล โดยในช่วงฤดูการเกษตรแรงงานก็จะกลับไปทำนาทำไร่แต่พอหมดช่วงฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล แรงงานในกลุ่มนี้ก็จะกลับเข้ามาทำงานรับจ้างในตลาดก่อสร้าง แต่หลังจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเกษตรมากขึ้นทำให้แรงงานไม่กลับเข้ามาอย่างในช่วงทุกๆ ปีที่ผ่านมา " นายธนิตกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น