สวัสดีปีใหม่ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ ปีวอก 2547 เลี้ยวเข้ามุมซ้ายหายไปแล้ว ปีระกา-ปีไก่ 2548 ขันกระต๊าก ชูคออยู่ตรงหน้าเราเรียบร้อยแล้ว เผลอแป๊บเดียว "ปีใหม่" อีกครั้ง
ก่อนอื่น "แสงแดด" ต้องขอควันหลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่เกิด "โศกนาฏกรรม" อันยิ่งใหญ่ ซึ่งบ้านเราไม่เคยเกิดปรากฏการณ์รุนแรงเช่นนี้มาก่อนเลย อาจเกิดขึ้นที่แหลมตะลุมพุกกับพายุเกย์ แต่ครั้งนี้น่าจะรุนแรงที่สุด ที่มีผู้บาดเจ็บ-ล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอินเดียและศรีลังกาแล้ว เรายังห่างไกลเขามากนัก อย่างไรก็ดี "ความเศร้าสลด" ก็ไม่ควรเกิดเลย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด
ปรากฏการณ์ "แผ่นดินไหว-คลื่นใต้น้ำยักษ์" เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครพยากรณ์ และ/หรือ คาดการณ์ได้ล่วงหน้า นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเพียรพยายามที่จะประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการพยากรณ์ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จะรู้ก็ต่อเมื่อความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว
"แสงแดด" มั่นใจว่าคนไทยทั่วประเทศรู้สึกสลดหดหู่กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดแก่ "ชาวใต้" อีกแล้ว นับตั้งแต่สถานการณ์ความไม่สงบ ก่อการร้ายภาคใต้จวบจนทุกวันนี้ ก็ยังมี "การฆ่ารายวัน-ระเบิดรายวัน" ไม่หยุดหย่อน ไม่รู้ว่าธรรมชาติจะลงโทษชาวใต้ไปทำไม แค่นี้ "การดำเนินชีวิต-ดำรงชีพ" ก็ยากแสนเข็ญอยู่แล้ว มาเจอ "สึนามิ (TSUNAMI)" เข้าไปอีก ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต!
ประเด็นสำคัญของความเสียหายมิใช่เพียงชีวิตและทรัพย์สินเท่านั้น แต่ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะตามมามากมายมหาศาลกล่าวคือ
หนึ่ง การฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยว ชายหาด ตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง คงต้องใช้เวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 6 เดือนขึ้นไป พร้อมกับงบประมาณนับพันหรือหมื่นล้านบาทกับการซ่อมแซม ฟื้นฟูสถานที่ต่างๆ ให้กลับสู่สภาพปกติ
สอง การฟื้นฟูขวัญกำลังใจของประชาชนโดยทั่วไปที่จะต้อง "ขวัญหนีดีฝ่อ!" กับความสูญเสียชีวิตของบรรดาญาติพี่น้องพร้อมทั้งทรัพย์สินต่างๆ เพราะบางรายแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว ไม่รู้จะเริ่มต้นชีวิตอย่างไรเลย
สาม นับต่อแต่นี้ไป "อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว" ในสามจังหวัดสำคัญภาคใต้ภูเก็ต พังงา กระบี่ คงพังราบพณาสูร โดยเฉพาะหมู่เกาะพีพี ทราบมาว่า "พัง" ทั้งเกาะ และช่วงนี้เป็นช่วงไฮซีซันที่นักท่องเที่ยวจองโรงแรมกันเพียบ ต่างพากันบึ่งกลับบ้านและยกเลิกกันจ้าละหวั่น เท่านั้นยังไม่พอยัง "ยกเลิก" ที่จองล่วงหน้าไว้สำหรับ 3-6 เดือนที่จะถึงนี้อีก
อย่าลืมว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกับ 3 จังหวัดภาคใต้นี้ ทำเม็ดเงินเข้าประเทศปีละเป็นแสนล้านบาท ปีนี้ 2548 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งเป้าไว้ว่านักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาประเทศไทยสูงถึง 13.4 ล้านคน คงเป็นอันว่าอันตรธานหายไปไม่ครึ่งหนึ่งก็เกือบหมด ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและธุรกิจคงไม่ต้องกล่าวถึงว่าจะเสียหายมากน้อยเพียงใด
สี่ ความมั่นใจของนักท่องเที่ยว ป่านนี้ "กระเจิง" ไม่กล้าเหยียบแผ่นดินไทยไปอีกนาน เพราะสื่อมวลชนต่างประเทศต่างโหมกระพือข่าวทุกๆ 5 นาทีไปทั่วโลกหลายวันที่ผ่านมา จนกลัวประเทศไทยไปแล้ว ทั้งข่าว "ก่อการร้าย" และข่าว "อุบัติภัยธรรมชาติ" ยิ่งมีข่าวต่อเนื่องกรณี "อาฟเตอร์ช็อก!" ซ้ำเติมกันเข้าไปอีก
ห้า แหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาด เกาะแก่งต่างๆ ถูกทำลายเกือบราบคาบ และจุดสนใจของนักท่องเที่ยวคือ "ธรรมชาติ" อันสวยงาม ของทั้งสามจังหวัดคงจะเป็นการยากที่จะปรุงแต่งเติมให้กลับดังเดิมได้โดยยาก คงต้องใช้เวลาฟื้นตัวเอง
เพราะฉะนั้น จากเหตุผลทั้งห้าข้อกล่าวได้เลยว่าจะเป็นรากฐานสำคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งเป้าเอาไว้ ยิ่งสถานการณ์ภายในประเทศกรณีอื่นๆ ก็ฉุดเราอยู่แล้ว แถมสภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน ควบคุมไม่ได้อีก หรือว่าบรรดา "โหราจารย์" ทั้งหลายอาจ "เห็น" หรือ "เดา" ถูกไว้ล่วงหน้าแล้วว่า "ดวงเมือง" จะมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน
เอาล่ะ! อย่างไรก็ตาม "แสงแดด" วิงวอนภาวนาอย่าให้มีอะไรเกิดขึ้นกับชาติบ้านเมืองเลย ขอให้ปีใหม่ 2548 นี้ ประเทศไทย "สงบ-สันติสุข" กันถ้วนหน้า "แสงแดด" ขออนุญาตเล่าที่มาที่ไปพร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่คนไทยต่างยึดถือปฏิบัติกันในช่วงปีใหม่
ปีใหม่หมายถึง "เวลา" ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน ครบ 12 เดือนตามสุริยคติ เพราะฉะนั้นหนึ่งวันนั้น เป็นเพียงโลกหมุนเองโดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง จากกลางวันเป็นกลางคืน โดยที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปช้าๆ ครบ 1 ปี
ชาวไทยในสมัยโบราณเริ่มขึ้นปีใหม่เป็นสามระยะ คือ ขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ โดยนับปีนักษัตรเป็นเกณฑ์ เริ่มวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นประเพณีมีตรุษ ระยะ 1 เริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์ จุลศักราชตามปกติประมาณวันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีสงกรานต์และมีงานนักษัตรฤกษ์ 3 วัน วันต้นเป็นวันสงกรานต์ วันที่ 2 เป็นวันเนา และวันที่ 3 จึงเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ระยะ 1 และขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ คือวันที่ 1 เมษายน ซึ่งประกาศใช้มาแต่ พ.ศ. 2432 ในรัชกาลที่ 5 และได้ประกอบพิธีฉลองปีใหม่ในวันนั้น เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ชุดหนึ่ง พิจารณาเสนอว่าวันขึ้นปีใหม่ของไทยควรจะได้เป็นไปตามสากลนิยม จึงได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดต่อพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
ส่วนในต่างประเทศนั้นก็มีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างจากบ้านเรา ในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กำลังมีอากาศหนาวเย็น และประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่างๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน ก็ได้เก็บเกี่ยวพืชผล และนำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็มาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น วันที่ 1 มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปต์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราววันที่ 21 กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน ครั้นมาถึงสมัยของซีซาร์ที่ใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่พวกยิวขึ้นปีใหม่เป็นสองอย่างคือ อย่างเป็นทางการเริ่มประมาณวันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม และอย่างทางศาสนาเริ่มวันที่ 21 มีนาคม ส่วนชาวคริสเตียนในยุคกลาง เริ่มปีใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม แต่คนอังกฤษ เชื้อสายแองโกลแซกซอนได้เริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม ภายหลังเมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยม วิชิตราชได้เป็นราชาธิราชแห่งเกาะอังกฤษ จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่ต่อมาชาวอังกฤษก็เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 25 มีนาคม เช่นเดียวกับชาวคริสเตียนอื่นๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการใช้ปฏิทินแบบกรีกอเรียน ชาวคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิกก็กลับมาขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม กันอีก
ขออวยพรให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง เจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองในหน้าที่การงาน สุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ในปีใหม่ด้วยเทอญ!
ก่อนอื่น "แสงแดด" ต้องขอควันหลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่เกิด "โศกนาฏกรรม" อันยิ่งใหญ่ ซึ่งบ้านเราไม่เคยเกิดปรากฏการณ์รุนแรงเช่นนี้มาก่อนเลย อาจเกิดขึ้นที่แหลมตะลุมพุกกับพายุเกย์ แต่ครั้งนี้น่าจะรุนแรงที่สุด ที่มีผู้บาดเจ็บ-ล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอินเดียและศรีลังกาแล้ว เรายังห่างไกลเขามากนัก อย่างไรก็ดี "ความเศร้าสลด" ก็ไม่ควรเกิดเลย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด
ปรากฏการณ์ "แผ่นดินไหว-คลื่นใต้น้ำยักษ์" เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครพยากรณ์ และ/หรือ คาดการณ์ได้ล่วงหน้า นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเพียรพยายามที่จะประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการพยากรณ์ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จะรู้ก็ต่อเมื่อความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว
"แสงแดด" มั่นใจว่าคนไทยทั่วประเทศรู้สึกสลดหดหู่กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดแก่ "ชาวใต้" อีกแล้ว นับตั้งแต่สถานการณ์ความไม่สงบ ก่อการร้ายภาคใต้จวบจนทุกวันนี้ ก็ยังมี "การฆ่ารายวัน-ระเบิดรายวัน" ไม่หยุดหย่อน ไม่รู้ว่าธรรมชาติจะลงโทษชาวใต้ไปทำไม แค่นี้ "การดำเนินชีวิต-ดำรงชีพ" ก็ยากแสนเข็ญอยู่แล้ว มาเจอ "สึนามิ (TSUNAMI)" เข้าไปอีก ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต!
ประเด็นสำคัญของความเสียหายมิใช่เพียงชีวิตและทรัพย์สินเท่านั้น แต่ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะตามมามากมายมหาศาลกล่าวคือ
หนึ่ง การฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยว ชายหาด ตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง คงต้องใช้เวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 6 เดือนขึ้นไป พร้อมกับงบประมาณนับพันหรือหมื่นล้านบาทกับการซ่อมแซม ฟื้นฟูสถานที่ต่างๆ ให้กลับสู่สภาพปกติ
สอง การฟื้นฟูขวัญกำลังใจของประชาชนโดยทั่วไปที่จะต้อง "ขวัญหนีดีฝ่อ!" กับความสูญเสียชีวิตของบรรดาญาติพี่น้องพร้อมทั้งทรัพย์สินต่างๆ เพราะบางรายแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว ไม่รู้จะเริ่มต้นชีวิตอย่างไรเลย
สาม นับต่อแต่นี้ไป "อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว" ในสามจังหวัดสำคัญภาคใต้ภูเก็ต พังงา กระบี่ คงพังราบพณาสูร โดยเฉพาะหมู่เกาะพีพี ทราบมาว่า "พัง" ทั้งเกาะ และช่วงนี้เป็นช่วงไฮซีซันที่นักท่องเที่ยวจองโรงแรมกันเพียบ ต่างพากันบึ่งกลับบ้านและยกเลิกกันจ้าละหวั่น เท่านั้นยังไม่พอยัง "ยกเลิก" ที่จองล่วงหน้าไว้สำหรับ 3-6 เดือนที่จะถึงนี้อีก
อย่าลืมว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกับ 3 จังหวัดภาคใต้นี้ ทำเม็ดเงินเข้าประเทศปีละเป็นแสนล้านบาท ปีนี้ 2548 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งเป้าไว้ว่านักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาประเทศไทยสูงถึง 13.4 ล้านคน คงเป็นอันว่าอันตรธานหายไปไม่ครึ่งหนึ่งก็เกือบหมด ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและธุรกิจคงไม่ต้องกล่าวถึงว่าจะเสียหายมากน้อยเพียงใด
สี่ ความมั่นใจของนักท่องเที่ยว ป่านนี้ "กระเจิง" ไม่กล้าเหยียบแผ่นดินไทยไปอีกนาน เพราะสื่อมวลชนต่างประเทศต่างโหมกระพือข่าวทุกๆ 5 นาทีไปทั่วโลกหลายวันที่ผ่านมา จนกลัวประเทศไทยไปแล้ว ทั้งข่าว "ก่อการร้าย" และข่าว "อุบัติภัยธรรมชาติ" ยิ่งมีข่าวต่อเนื่องกรณี "อาฟเตอร์ช็อก!" ซ้ำเติมกันเข้าไปอีก
ห้า แหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาด เกาะแก่งต่างๆ ถูกทำลายเกือบราบคาบ และจุดสนใจของนักท่องเที่ยวคือ "ธรรมชาติ" อันสวยงาม ของทั้งสามจังหวัดคงจะเป็นการยากที่จะปรุงแต่งเติมให้กลับดังเดิมได้โดยยาก คงต้องใช้เวลาฟื้นตัวเอง
เพราะฉะนั้น จากเหตุผลทั้งห้าข้อกล่าวได้เลยว่าจะเป็นรากฐานสำคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งเป้าเอาไว้ ยิ่งสถานการณ์ภายในประเทศกรณีอื่นๆ ก็ฉุดเราอยู่แล้ว แถมสภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน ควบคุมไม่ได้อีก หรือว่าบรรดา "โหราจารย์" ทั้งหลายอาจ "เห็น" หรือ "เดา" ถูกไว้ล่วงหน้าแล้วว่า "ดวงเมือง" จะมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน
เอาล่ะ! อย่างไรก็ตาม "แสงแดด" วิงวอนภาวนาอย่าให้มีอะไรเกิดขึ้นกับชาติบ้านเมืองเลย ขอให้ปีใหม่ 2548 นี้ ประเทศไทย "สงบ-สันติสุข" กันถ้วนหน้า "แสงแดด" ขออนุญาตเล่าที่มาที่ไปพร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่คนไทยต่างยึดถือปฏิบัติกันในช่วงปีใหม่
ปีใหม่หมายถึง "เวลา" ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน ครบ 12 เดือนตามสุริยคติ เพราะฉะนั้นหนึ่งวันนั้น เป็นเพียงโลกหมุนเองโดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง จากกลางวันเป็นกลางคืน โดยที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปช้าๆ ครบ 1 ปี
ชาวไทยในสมัยโบราณเริ่มขึ้นปีใหม่เป็นสามระยะ คือ ขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ โดยนับปีนักษัตรเป็นเกณฑ์ เริ่มวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นประเพณีมีตรุษ ระยะ 1 เริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์ จุลศักราชตามปกติประมาณวันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีสงกรานต์และมีงานนักษัตรฤกษ์ 3 วัน วันต้นเป็นวันสงกรานต์ วันที่ 2 เป็นวันเนา และวันที่ 3 จึงเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ระยะ 1 และขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ คือวันที่ 1 เมษายน ซึ่งประกาศใช้มาแต่ พ.ศ. 2432 ในรัชกาลที่ 5 และได้ประกอบพิธีฉลองปีใหม่ในวันนั้น เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ชุดหนึ่ง พิจารณาเสนอว่าวันขึ้นปีใหม่ของไทยควรจะได้เป็นไปตามสากลนิยม จึงได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดต่อพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
ส่วนในต่างประเทศนั้นก็มีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างจากบ้านเรา ในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กำลังมีอากาศหนาวเย็น และประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่างๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน ก็ได้เก็บเกี่ยวพืชผล และนำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็มาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น วันที่ 1 มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปต์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราววันที่ 21 กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน ครั้นมาถึงสมัยของซีซาร์ที่ใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่พวกยิวขึ้นปีใหม่เป็นสองอย่างคือ อย่างเป็นทางการเริ่มประมาณวันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม และอย่างทางศาสนาเริ่มวันที่ 21 มีนาคม ส่วนชาวคริสเตียนในยุคกลาง เริ่มปีใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม แต่คนอังกฤษ เชื้อสายแองโกลแซกซอนได้เริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม ภายหลังเมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยม วิชิตราชได้เป็นราชาธิราชแห่งเกาะอังกฤษ จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่ต่อมาชาวอังกฤษก็เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 25 มีนาคม เช่นเดียวกับชาวคริสเตียนอื่นๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการใช้ปฏิทินแบบกรีกอเรียน ชาวคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิกก็กลับมาขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม กันอีก
ขออวยพรให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง เจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองในหน้าที่การงาน สุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ในปีใหม่ด้วยเทอญ!