“เราทำได้ทุกอย่าง ที่เขาต้องการให้ช่วย”
ทุกเช้าของแต่ละวัน ณ ศูนย์รับอาสาสมัคร เขตศาลากลางจังหวัดภูเก็ต จะได้ยินคำพูดเช่นนี้จากหลายต่อหลายปากของผู้คนที่หลั่งไหลเข้าไปสมัครขอช่วยเหลือในงานกู้ชีพ กู้ศพ และกู้ซาก นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มอันดามันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547
ชายชาวอเมริกันวัยกลางคน ร่างท้วม เดินไปมาอยู่หน้าศูนย์รับอาสาสมัครนานาชาติ เป็นหนึ่งในอาสาสมัครต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวภูเก็ตก่อนคลื่นถล่มไม่กี่วัน เขาชื่อบิล ฟรานซิส นักท่องเที่ยวที่เกษียนแล้ว เดินทางคนเดียวท่องเที่ยวไปทั่วโลก เขาบอกว่า มาช่วยลงทะเบียนอาสาสมัครต่างชาติ และงานทั่วๆ ที่ทางไทยจะให้ทำ
ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน เขาอยู่ที่วัดนิกรวนาราม หรือที่เรียกติดปากว่าวัดย่านยาว ศูนย์หลักในการดูแลผู้สูญหายและจัดเก็บผู้เสียชีวิต ใน จ.พังงา ศพแล้วศพเล่าจะถ่ายลงจากรถ ที่มาจากในพื้นที่ใกล้เคียง ของอ.ตะกั่วป่า ลงในเปลผ้าสีขาว ฟรานซิส ต้องคาดผ้าปิดปากและจมูก คลุมหมวกขาว สวมถุงมือ เสื้อคลุมพลาสติกสีฟ้า และรองเท้าบูท เพื่อกันเชื้อโรค หน้าที่ของเขาคือยกมุมด้านหนึ่งของเปล แล้วตรงรี่เข้าไปด้านในวัด ก่อนจะมีผู้จัดการห่อศพด้วยผ้าขาว
เสื้อคลุมพลาสติกและถุงมือของเขา เปรอะเปื้อนด้วยน้ำเหลืองจากศพ เขาบอกว่า “เป็นงานที่หนักเอาการ และกลิ่นก็ฉุนมากๆ”
ณ จนถึงวันที่ 1 มกราคม คาดว่า มีอาสาสมัครราว 5,000 คน แล้ว( ที่ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ โดยอาสาสมัครบางส่วนไม่ได้ลงทะเบียน คาดว่าจะมีจำนวนมากถึง 10,000 คน ) ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติเกือบ 2,000 คน ที่เดินทางเข้าไปช่วยเหลือ ตามจุดต่างๆ ของพื้นที่ด้านทะเลอันดามัน ที่ถูกถล่มจากคลื่นมฤตยู น่าชื่นชมยิ่ง ที่พบว่า มากกว่าครึ่งไม่ได้มีญาติเสียชีวิต หรือสูญหายจากเหตุการณ์นี้ เพียงแต่ทราบข่าวสะเทือนใจครั้งนี้ และมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
อาสาสมัครมาจากหลากหลายเชื้อชาติและอาชีพ เช่น แม่บ้าน ชาวประมง สถาปนิก วิศวกร พนักงานบริษัท นักเรียนนักศึกษา นักท่องเที่ยว ฯลฯ มีทั้งลุยเดี่ยว มาเป็นกลุ่ม และในรูปองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมทางสังคม ทั้งที่อยู่ในเมืองไทยอยู่แล้ว และเดินทางจากบ้านเกิดในต่างแดนมุ่งมาที่ภูเก็ตโดยตรง
งานของอาสาสมัครมีตั้งแต่ การรับลงทะเบียน ทำอาหาร เป็นล่าม ปลอบประโลมผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บ ห่อของบริจาค เสิร์ฟน้ำ ตามแต่จะถนัดด้านใดหรือช่วยอะไรได้ หลายคนมีรถส่วนตัวก็อาสามารับส่งผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่
แต่ส่วนที่หนักหนาสาหัส โดยเฉพาะด้านจิตใจก็คือ การเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งนานวันก็เปลี่ยนมาเป็นการกู้ซากศพ ที่เริ่มทวีจำนวนมากขึ้น กวาดหนอนตามร่างกายผู้เสียชีวิต ชำระล้างศพ ขนศพ ถ่ายรูปศพ และห่อศพ ซึ่งล้วนต้องการคนช่วยจำนวนมาก
เมื่อขาดกำลังคนด้านนี้ รถยนต์จำนวนมากจึงมุ่งหน้าไปที่เขาหลัก จุดหมายหลักคือที่วัดย่านยาว ซึ่งเก็บศพเพื่อพิสูจน์หลักฐานมากถึง 2,000 รายแล้ว
นายสตีฟ บอล์ดวิน ชาวอังกฤษวัย 57 ปี เป็นอาสาสมัครอีกคนหนึ่งที่เดินทางไปที่วัดแห่งนี้ ก่อนเกิดเหตุเขาเดินทางมาเที่ยวหาดป่าตอง จ.พังงา พร้อมภรรยาและลูกชายวัย 2 ขวบครึ่ง เขาและครอบครัวรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด เมื่อถามถึงความรู้สึก เขาบอกว่า “ขอพูดจากใจ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ผมอยากใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้คนที่เดือดร้อน”
ท่ามกลางอาสาสมัครต่างชาติ มีหนุ่มหน้าเอเชียชาวพม่าคนหนึ่งเตร็ดเตร่อยู่ในบริเวณศูนย์รับอาสาสมัครฯ เขาชื่ออูหม่อง ธอ เป็นคนงานก่อสร้างวัย 25 ปี ของบริษัท P.S.K. ในภูเก็ต เขาบอกว่า ตามนายมาช่วยงานครั้งนี้ และได้มีส่วนร่วมในการขนศพที่วัดย่านยาวเช่นกัน “งานหินมาก” เขาว่าอย่างนั้น
อาสาสมัครเอเชียที่ดูคล่องแคล่วกว่าใครคือ ชาดา รี ชาวเกาหลีใต้ เขาไม่ได้ไปช่วยงานเก็บศพโดยตรง เพราะมีความสามารถด้านภาษา เขาพูดภาษาไทยได้บ้าง เพราะเคยทำบริษัททัวร์ที่กรุงเทพฯ มาหลายปีแล้ว ในวันสุดท้ายของปี รีได้เป็นล่ามให้กับทีมกู้ภัยของเกาหลีใต้ 15 คน ซึ่งทำงานอยู่ที่เขาหลัก
สองสาวจากสวีเดนและนอร์เวย์ นางสาวแซนนา ทีเรียน และนางสาวแอนนา มิคาเรก ก็เดินทางมาลงทะเบียนขอเป็นอาสาสมัคร ทั้งคู่เพิ่งรู้จักกันที่ภูเก็ต และประสงค์จะเดินทางไปที่โรงพยาบาลตะกั่วป่า จ.พังงา นอกเหนือจากค้นหาญาติที่สูญหายแล้ว เธอต้องการนำของไปบริจาค และดูว่าที่นั้นจะให้เธอช่วยอะไรได้บ้าง
ทีเรียน บอกว่า เพื่อน 2 คน ของแฟนเธอ มาเที่ยวที่เขาหลัก และสูญหายไปนับจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ส่วนแฟนของเธอ ตอนนี้เป็นอาสาสมัครอยู่ที่วัดย่านยาว แน่นอนว่านอกจากจะค้นหาเพื่อนผู้สูญหายแล้ว แฟนของเธอยังต้องช่วยแบกและห่อศพ ซึ่งกลิ่นที่โชยมาจากวัดนับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนมิคาเรก เป็นนักศึกษาการแพทย์ มาภูเก็ตเพื่อตามหามารดา ที่มาพักผ่อนวันหยุดที่ชายหาดเขาหลัก พร้อมกับพ่อเลี้ยง แม่ของเธอสูญหายไปจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ส่วนพ่อเลี้ยงรอดชีวิต
ที่โรงพยาบาลตะกั่วป่า เป็นอีกแห่งหนึ่งที่สามารถพบกลุ่มอาสาสมัครต่างชาติ สมาชิกหนุ่มสาว 7 คน จาก Mennonite Bretheren Mission Services International นั่งเรียงรายอยู่หน้าห้องพยาบาลที่ชั้นสองของอาคาร เพื่อรอพนักงานของโรงพยาบาลฯ เรียกให้เข้าไปช่วยเหลือ สุดแต่ว่าจะให้ทำอะไร ไม่เกี่ยงงานแม้จะเข็นรถ หรือทำความสะอาดผู้ป่วย
“เราทำทุกอย่าง แล้วแต่ว่าเขาจะให้ทำอะไร” นางสาวแดเนียล สเลาเตอร์ ชาวอเมริกันวัย 21 กล่าวอย่างนั้น
เธอและเพื่อนสมาชิกอาสาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ อยู่ที่ชลบุรี มาได้ 7 เดือนแล้ว และเมื่อทราบว่าต้องการคนช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ จ.พังงา เธอและเพื่อนๆ ก็ยินดีมาทำงานนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม
ใบหน้าและแววตาของอาสาสมัครกลุ่มนี้ ดูเศร้าหมองและเหน็ดเหนื่อย นางสาวคาธิน่า แกรบเนอร์ ชาวแคนาดาวัยเพียง 18 ปี บอกว่า เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม เธอและเพื่อนสมาชิกอันประกอบไปด้วย ชาย 1 หญิง 6 ได้เข้าไปช่วยงานที่วัดย่านยาว พวกเธอต้องทำงานตั้งแต่การตรวจเช็คชื่อคนหาย ไปจนถึงการล้างศพ ยกศพ และห่อศพ
“มีคนเยอะ ศพก็เยอะ เรียงรายขนเข้ามาตลอด รู้สึกเศร้ามากๆ บางศพแหลกเป็นชิ้นๆ ทำให้รู้สึกว่า เราเองก็ต้องตายในวันหนึ่ง มันเป็นความจริงที่โหดร้าย และฉันก็คิดถึงชีวิตที่เหลืออยู่ของตัวเอง” แกรบเนอร์เล่าถึงความรู้สึกด้วยสีหน้าเศร้าหมอง ซึ่งนั่นทำให้เธอและเพื่อนๆ ไม่อาจทำงานที่วัดแห่งนี้ได้ต่ออีกในวันถัดไป
สำหรับคนไทยอย่าง พงษ์ พนักงานบริษัทมือถือแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ได้ร่วมเป็นอาสาสมัคร ทำหน้าที่ถ่ายรูปผู้เสียชีวิตที่วัดย่านยาว แต่เมื่อถึงสถานที่จริง เขาอยู่ได้เพียง 15 นาทีก็ออกมา เนื่องจากไม่ทราบจะเริ่มต้นทำอะไร และที่จัดเก็บศพด้านในก็กลิ่นแรงมาก ใบหน้าของผู้เสียชีวิตก็คล้ายกันไปหมดแล้วหลังจากหัวใจหยุดเต้นมาเกิน 3 วัน
ที่แน่ๆ กลิ่นภายในวัดได้ติดเสื้อพวกเขาไปตลอดวันจนกลับบ้าน ยังไม่นับภาพที่ติดอยู่ในใจที่คงไม่หายไปง่ายๆ
คงเป็นอย่างที่ นายโทนี คาร์นี่ ผู้ประสานงานอาสาสมัครชาวอเมริกัน ที่บอกว่า อาสาสมัครหลายต่อหลายคน หลังจากที่ได้ไปช่วยงานมา ได้รับผลประทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดเก็บศพ และไม่ได้รับการซักซ้อมมาก่อน
เขาบอกว่า อยากให้รัฐบาลและประเทศต่างๆ ส่งคนที่มาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยให้มากกว่านี้ เพราะอาสาสมัครเป็นเพียงคนธรรมดาๆ เป็นแม่บ้าน ลุงป้า น้าอา พนักงานบริษัท
“เขาไปช่วยเก็บศพ และกลับมาด้วยความหดหู่ พวกเขามีแต่เพียงน้ำใจเท่านั้น”
ทุกเช้าของแต่ละวัน ณ ศูนย์รับอาสาสมัคร เขตศาลากลางจังหวัดภูเก็ต จะได้ยินคำพูดเช่นนี้จากหลายต่อหลายปากของผู้คนที่หลั่งไหลเข้าไปสมัครขอช่วยเหลือในงานกู้ชีพ กู้ศพ และกู้ซาก นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มอันดามันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547
ชายชาวอเมริกันวัยกลางคน ร่างท้วม เดินไปมาอยู่หน้าศูนย์รับอาสาสมัครนานาชาติ เป็นหนึ่งในอาสาสมัครต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวภูเก็ตก่อนคลื่นถล่มไม่กี่วัน เขาชื่อบิล ฟรานซิส นักท่องเที่ยวที่เกษียนแล้ว เดินทางคนเดียวท่องเที่ยวไปทั่วโลก เขาบอกว่า มาช่วยลงทะเบียนอาสาสมัครต่างชาติ และงานทั่วๆ ที่ทางไทยจะให้ทำ
ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน เขาอยู่ที่วัดนิกรวนาราม หรือที่เรียกติดปากว่าวัดย่านยาว ศูนย์หลักในการดูแลผู้สูญหายและจัดเก็บผู้เสียชีวิต ใน จ.พังงา ศพแล้วศพเล่าจะถ่ายลงจากรถ ที่มาจากในพื้นที่ใกล้เคียง ของอ.ตะกั่วป่า ลงในเปลผ้าสีขาว ฟรานซิส ต้องคาดผ้าปิดปากและจมูก คลุมหมวกขาว สวมถุงมือ เสื้อคลุมพลาสติกสีฟ้า และรองเท้าบูท เพื่อกันเชื้อโรค หน้าที่ของเขาคือยกมุมด้านหนึ่งของเปล แล้วตรงรี่เข้าไปด้านในวัด ก่อนจะมีผู้จัดการห่อศพด้วยผ้าขาว
เสื้อคลุมพลาสติกและถุงมือของเขา เปรอะเปื้อนด้วยน้ำเหลืองจากศพ เขาบอกว่า “เป็นงานที่หนักเอาการ และกลิ่นก็ฉุนมากๆ”
ณ จนถึงวันที่ 1 มกราคม คาดว่า มีอาสาสมัครราว 5,000 คน แล้ว( ที่ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ โดยอาสาสมัครบางส่วนไม่ได้ลงทะเบียน คาดว่าจะมีจำนวนมากถึง 10,000 คน ) ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติเกือบ 2,000 คน ที่เดินทางเข้าไปช่วยเหลือ ตามจุดต่างๆ ของพื้นที่ด้านทะเลอันดามัน ที่ถูกถล่มจากคลื่นมฤตยู น่าชื่นชมยิ่ง ที่พบว่า มากกว่าครึ่งไม่ได้มีญาติเสียชีวิต หรือสูญหายจากเหตุการณ์นี้ เพียงแต่ทราบข่าวสะเทือนใจครั้งนี้ และมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
อาสาสมัครมาจากหลากหลายเชื้อชาติและอาชีพ เช่น แม่บ้าน ชาวประมง สถาปนิก วิศวกร พนักงานบริษัท นักเรียนนักศึกษา นักท่องเที่ยว ฯลฯ มีทั้งลุยเดี่ยว มาเป็นกลุ่ม และในรูปองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมทางสังคม ทั้งที่อยู่ในเมืองไทยอยู่แล้ว และเดินทางจากบ้านเกิดในต่างแดนมุ่งมาที่ภูเก็ตโดยตรง
งานของอาสาสมัครมีตั้งแต่ การรับลงทะเบียน ทำอาหาร เป็นล่าม ปลอบประโลมผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บ ห่อของบริจาค เสิร์ฟน้ำ ตามแต่จะถนัดด้านใดหรือช่วยอะไรได้ หลายคนมีรถส่วนตัวก็อาสามารับส่งผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่
แต่ส่วนที่หนักหนาสาหัส โดยเฉพาะด้านจิตใจก็คือ การเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งนานวันก็เปลี่ยนมาเป็นการกู้ซากศพ ที่เริ่มทวีจำนวนมากขึ้น กวาดหนอนตามร่างกายผู้เสียชีวิต ชำระล้างศพ ขนศพ ถ่ายรูปศพ และห่อศพ ซึ่งล้วนต้องการคนช่วยจำนวนมาก
เมื่อขาดกำลังคนด้านนี้ รถยนต์จำนวนมากจึงมุ่งหน้าไปที่เขาหลัก จุดหมายหลักคือที่วัดย่านยาว ซึ่งเก็บศพเพื่อพิสูจน์หลักฐานมากถึง 2,000 รายแล้ว
นายสตีฟ บอล์ดวิน ชาวอังกฤษวัย 57 ปี เป็นอาสาสมัครอีกคนหนึ่งที่เดินทางไปที่วัดแห่งนี้ ก่อนเกิดเหตุเขาเดินทางมาเที่ยวหาดป่าตอง จ.พังงา พร้อมภรรยาและลูกชายวัย 2 ขวบครึ่ง เขาและครอบครัวรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด เมื่อถามถึงความรู้สึก เขาบอกว่า “ขอพูดจากใจ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ผมอยากใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้คนที่เดือดร้อน”
ท่ามกลางอาสาสมัครต่างชาติ มีหนุ่มหน้าเอเชียชาวพม่าคนหนึ่งเตร็ดเตร่อยู่ในบริเวณศูนย์รับอาสาสมัครฯ เขาชื่ออูหม่อง ธอ เป็นคนงานก่อสร้างวัย 25 ปี ของบริษัท P.S.K. ในภูเก็ต เขาบอกว่า ตามนายมาช่วยงานครั้งนี้ และได้มีส่วนร่วมในการขนศพที่วัดย่านยาวเช่นกัน “งานหินมาก” เขาว่าอย่างนั้น
อาสาสมัครเอเชียที่ดูคล่องแคล่วกว่าใครคือ ชาดา รี ชาวเกาหลีใต้ เขาไม่ได้ไปช่วยงานเก็บศพโดยตรง เพราะมีความสามารถด้านภาษา เขาพูดภาษาไทยได้บ้าง เพราะเคยทำบริษัททัวร์ที่กรุงเทพฯ มาหลายปีแล้ว ในวันสุดท้ายของปี รีได้เป็นล่ามให้กับทีมกู้ภัยของเกาหลีใต้ 15 คน ซึ่งทำงานอยู่ที่เขาหลัก
สองสาวจากสวีเดนและนอร์เวย์ นางสาวแซนนา ทีเรียน และนางสาวแอนนา มิคาเรก ก็เดินทางมาลงทะเบียนขอเป็นอาสาสมัคร ทั้งคู่เพิ่งรู้จักกันที่ภูเก็ต และประสงค์จะเดินทางไปที่โรงพยาบาลตะกั่วป่า จ.พังงา นอกเหนือจากค้นหาญาติที่สูญหายแล้ว เธอต้องการนำของไปบริจาค และดูว่าที่นั้นจะให้เธอช่วยอะไรได้บ้าง
ทีเรียน บอกว่า เพื่อน 2 คน ของแฟนเธอ มาเที่ยวที่เขาหลัก และสูญหายไปนับจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ส่วนแฟนของเธอ ตอนนี้เป็นอาสาสมัครอยู่ที่วัดย่านยาว แน่นอนว่านอกจากจะค้นหาเพื่อนผู้สูญหายแล้ว แฟนของเธอยังต้องช่วยแบกและห่อศพ ซึ่งกลิ่นที่โชยมาจากวัดนับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนมิคาเรก เป็นนักศึกษาการแพทย์ มาภูเก็ตเพื่อตามหามารดา ที่มาพักผ่อนวันหยุดที่ชายหาดเขาหลัก พร้อมกับพ่อเลี้ยง แม่ของเธอสูญหายไปจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ส่วนพ่อเลี้ยงรอดชีวิต
ที่โรงพยาบาลตะกั่วป่า เป็นอีกแห่งหนึ่งที่สามารถพบกลุ่มอาสาสมัครต่างชาติ สมาชิกหนุ่มสาว 7 คน จาก Mennonite Bretheren Mission Services International นั่งเรียงรายอยู่หน้าห้องพยาบาลที่ชั้นสองของอาคาร เพื่อรอพนักงานของโรงพยาบาลฯ เรียกให้เข้าไปช่วยเหลือ สุดแต่ว่าจะให้ทำอะไร ไม่เกี่ยงงานแม้จะเข็นรถ หรือทำความสะอาดผู้ป่วย
“เราทำทุกอย่าง แล้วแต่ว่าเขาจะให้ทำอะไร” นางสาวแดเนียล สเลาเตอร์ ชาวอเมริกันวัย 21 กล่าวอย่างนั้น
เธอและเพื่อนสมาชิกอาสาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ อยู่ที่ชลบุรี มาได้ 7 เดือนแล้ว และเมื่อทราบว่าต้องการคนช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ จ.พังงา เธอและเพื่อนๆ ก็ยินดีมาทำงานนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม
ใบหน้าและแววตาของอาสาสมัครกลุ่มนี้ ดูเศร้าหมองและเหน็ดเหนื่อย นางสาวคาธิน่า แกรบเนอร์ ชาวแคนาดาวัยเพียง 18 ปี บอกว่า เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม เธอและเพื่อนสมาชิกอันประกอบไปด้วย ชาย 1 หญิง 6 ได้เข้าไปช่วยงานที่วัดย่านยาว พวกเธอต้องทำงานตั้งแต่การตรวจเช็คชื่อคนหาย ไปจนถึงการล้างศพ ยกศพ และห่อศพ
“มีคนเยอะ ศพก็เยอะ เรียงรายขนเข้ามาตลอด รู้สึกเศร้ามากๆ บางศพแหลกเป็นชิ้นๆ ทำให้รู้สึกว่า เราเองก็ต้องตายในวันหนึ่ง มันเป็นความจริงที่โหดร้าย และฉันก็คิดถึงชีวิตที่เหลืออยู่ของตัวเอง” แกรบเนอร์เล่าถึงความรู้สึกด้วยสีหน้าเศร้าหมอง ซึ่งนั่นทำให้เธอและเพื่อนๆ ไม่อาจทำงานที่วัดแห่งนี้ได้ต่ออีกในวันถัดไป
สำหรับคนไทยอย่าง พงษ์ พนักงานบริษัทมือถือแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ได้ร่วมเป็นอาสาสมัคร ทำหน้าที่ถ่ายรูปผู้เสียชีวิตที่วัดย่านยาว แต่เมื่อถึงสถานที่จริง เขาอยู่ได้เพียง 15 นาทีก็ออกมา เนื่องจากไม่ทราบจะเริ่มต้นทำอะไร และที่จัดเก็บศพด้านในก็กลิ่นแรงมาก ใบหน้าของผู้เสียชีวิตก็คล้ายกันไปหมดแล้วหลังจากหัวใจหยุดเต้นมาเกิน 3 วัน
ที่แน่ๆ กลิ่นภายในวัดได้ติดเสื้อพวกเขาไปตลอดวันจนกลับบ้าน ยังไม่นับภาพที่ติดอยู่ในใจที่คงไม่หายไปง่ายๆ
คงเป็นอย่างที่ นายโทนี คาร์นี่ ผู้ประสานงานอาสาสมัครชาวอเมริกัน ที่บอกว่า อาสาสมัครหลายต่อหลายคน หลังจากที่ได้ไปช่วยงานมา ได้รับผลประทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดเก็บศพ และไม่ได้รับการซักซ้อมมาก่อน
เขาบอกว่า อยากให้รัฐบาลและประเทศต่างๆ ส่งคนที่มาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยให้มากกว่านี้ เพราะอาสาสมัครเป็นเพียงคนธรรมดาๆ เป็นแม่บ้าน ลุงป้า น้าอา พนักงานบริษัท
“เขาไปช่วยเก็บศพ และกลับมาด้วยความหดหู่ พวกเขามีแต่เพียงน้ำใจเท่านั้น”