พีเน็ต เดินหน้าตรวจสอบเลือกตั้ง 1 ม.ค. จับตาเป็นพิเศษ 10 แห่งทั่วประเทศ พร้อมประกาศไม่รับงบฯจาก กกต. เพราะไม่อยากทำงานอยู่ภายใต้คำสั่งใคร แถมจะตรวจสอบการทำงานของ กกต.ด้วย “โคทม” เตือน “ทักษิณ” แยกแยกให้จัดหาเสียงหรือทำงาน ขณะเดียวกันเสนอแก้กม.ให้จัดตั้งคณะบุคคลเข้าทำงานแทนรัฐบาล หลังหมดวาระ
นายวรินทร์ เทียมจำรัส เลขานุการมูลนิธิองค์กรกลาง (พีเน็ต) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ว่า ที่ประชุมได้มีสรุปว่าจะจัดการเวทีสาธารณะในช่วงการเลือกตั้งขึ้นมาตามภาคต่างๆ โดยร่วมกับบริษัทเนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป โดยจะให้เครือข่ายขององค์กรกลางตามภูมิภาคต่างๆเข้าร่วม ส่วนงานที่องค์กรกลางจะดำเนินการเอง คือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นการจัดขึ้นในส่วนกลาง โดยเวทีดังกล่าวองค์กรกลางจะทำหน้าที่แทนประชาชนในการตั้งคำถามไปยังพรรคการเมืองต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ที่ประชาชนเรียกร้องว่าแต่ละพรรคการเมืองจะดำเนินการอย่างไร
นอกจากนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้เครือข่ายทั้ง 8 ภาคเตรียมการสรุป จำนวนองค์กรเครือข่ายทั้งหมดที่จะร่วมงานในครั้งนี้ เพื่อจะกำหนดพื้นที่ที่จะต้องจับเป็นการพิเศษในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้องค์กรกลางได้ตั้งเป้าหมายไว้จำนวน 10 พื้นที่ ส่วนจะเป็นพื้นที่ใดบ้างนั้นขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดที่ชัดเจน ดังนั้นในวันที่ 1 ม.ค.ที่จะถึงนี้ องค์กรกลางจะทำการเปิดศูนย์ประสานงานการทำงานขององค์กลางในส่วนกลางที่บ้านมนังคศิลา และศูฯย์แถลงข่าว ซึ่งเราจะถือให้เป็นวันเริ่มการทำงานในการตรวจสอบการเลือกตั้งในทันที
ส่วนงบประมาณนั้นพีเน็ตจะไม่พึ่งงบประมาณจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)เหมือนกับการเลือกตั้งที่ผ่านมา เนื่องจากที่ประชุมขององค์การกลาง ได้มีความเห็นที่ตรงกันว่าต้องการมีความเป็นอิสระในการทำงาน และไม่ต้องการทำงานตามคำสั่งใคร และที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องการที่จะตรวจสอบการทำงานของกกต.ในการจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้ ดังนั้นงบประมาณ จึงเป็นเงินงบประมาณที่องค์กรกลางจัดหามาเองทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นที่ได้จัดเตรียมไว้ประมาณ 4 แสนบาท โดยเงินทั้งนี้จะทำการกระจายลงไปยังเครือข่ายทั้งหมด ทั้งนี้หาก กกต.ต้องการที่จะให้เข้าร่วมทำงานกับองค์กรกลางจริงๆ กกต.จะต้องให้ปฎิบัติตามข้อเสนอของเราคือจะต้องให้เราเป็นอิสระในการทำงานอย่างเต็มที โดยเฉพาะไม่สามารถเข้ามาสั่งให้เราทำงานตามที่เคยเป็นมาได้
“สาเหตุที่พีเน็ตขอแยกตัวออกมาเป็นอิสระในการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องมา เราไม่วางใจในการเตรียมบุคคลากรที่เข้ามาทำงานของ กกต.ชุดปัจจุบันนี้ ซึ่งแตกต่าง จากกกต.ในอดีตที่ผ่านมา”
ด้านนายโคทม อารียา กรรมการมูลนิธิองค์กรกลาง กล่าวแสดงความเป็นห่วง ถึงการหาเสียงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ว่า แนวทางการหาเสียงเพื่อช่วยลูกพรรคไทยรักไทยของนายกฯทักษิณ ที่ผ่านมา มีความสุ่มเสี่ยงอย่างมาก เพราะอย่าลืมในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณสวมหมวกสองใบ ดังนั้นไปช่วยลูกพรรคหาเสียงตามพื้นที่เลือกตั้งต่างๆ ควรมีความระมัดระวังด้วยว่า สิ่งที่ประกาศเป็นนโยบายต่างๆ นั้น พูดในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทยหรือฐานะนายกรัฐมนตรี เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลามันมีความทับซ้อนกันในตัวบุคคลคนเดียวกัน
“อยากเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อให้ความโปร่งใสและให้เกิดความเป็นธรรม ในการหาเสียงอยากจะให้มีหน่วยงานที่เป็นกลางเข้ามาควบคุมดูแลการใช้สื่อของรัฐทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็น องค์การสื่อสารมวลชน(ช่อง 9 ) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 การที่เสนอแนวทางนี้ออกมาเราต้องการให้เกิดความเป็นธรรม ในการสื่อของรัฐทั้งหมด เพื่อไม่ให้เปิดความได้เป็นเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง ทุกพรรค
นายโคทม กล่าวว่า อาจจะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้การจัดตั้งบุคคล ที่เข้ามาทำงานแทนที่รัฐบาล ในช่วงที่หมดวาระเพื่อป้องกันปัญหาความได้เปรียบ เสียในการเลือกตั้งซึ่งในต่างประเทศมีการจัดตั้งบุคคลที่เข้ามาควบคุมการทำงานของ รัฐบาลแทนรัฐบาลรักษาการ โดยอาจจะมอบหน้าที่ให้กับข้าราชกรชั้นผู้ใหญ่ตามกระทรวงต่างๆ เข้ามาดูแลบริหารการทำงานในช่วงระหว่างที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้หมดวาระไปเข้ามาดูแลแทน เพราะอย่าลืมว่าพอรัฐบาลหมดวาระและจะต้องมีการ จัดการเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลชุดเดิมจะต้องเป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งจะมีอำนาจควบ คุมดูแลหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งหมด ตรงนี้อาจจะทำให้เกิดความได้เปรียบได้ เพราะเราอย่าลืมว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่มีความเกรงใจผู้ที่มีอำนาจอยู่
นายวรินทร์ เทียมจำรัส เลขานุการมูลนิธิองค์กรกลาง (พีเน็ต) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ว่า ที่ประชุมได้มีสรุปว่าจะจัดการเวทีสาธารณะในช่วงการเลือกตั้งขึ้นมาตามภาคต่างๆ โดยร่วมกับบริษัทเนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป โดยจะให้เครือข่ายขององค์กรกลางตามภูมิภาคต่างๆเข้าร่วม ส่วนงานที่องค์กรกลางจะดำเนินการเอง คือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นการจัดขึ้นในส่วนกลาง โดยเวทีดังกล่าวองค์กรกลางจะทำหน้าที่แทนประชาชนในการตั้งคำถามไปยังพรรคการเมืองต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ที่ประชาชนเรียกร้องว่าแต่ละพรรคการเมืองจะดำเนินการอย่างไร
นอกจากนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้เครือข่ายทั้ง 8 ภาคเตรียมการสรุป จำนวนองค์กรเครือข่ายทั้งหมดที่จะร่วมงานในครั้งนี้ เพื่อจะกำหนดพื้นที่ที่จะต้องจับเป็นการพิเศษในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้องค์กรกลางได้ตั้งเป้าหมายไว้จำนวน 10 พื้นที่ ส่วนจะเป็นพื้นที่ใดบ้างนั้นขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดที่ชัดเจน ดังนั้นในวันที่ 1 ม.ค.ที่จะถึงนี้ องค์กรกลางจะทำการเปิดศูนย์ประสานงานการทำงานขององค์กลางในส่วนกลางที่บ้านมนังคศิลา และศูฯย์แถลงข่าว ซึ่งเราจะถือให้เป็นวันเริ่มการทำงานในการตรวจสอบการเลือกตั้งในทันที
ส่วนงบประมาณนั้นพีเน็ตจะไม่พึ่งงบประมาณจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)เหมือนกับการเลือกตั้งที่ผ่านมา เนื่องจากที่ประชุมขององค์การกลาง ได้มีความเห็นที่ตรงกันว่าต้องการมีความเป็นอิสระในการทำงาน และไม่ต้องการทำงานตามคำสั่งใคร และที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องการที่จะตรวจสอบการทำงานของกกต.ในการจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้ ดังนั้นงบประมาณ จึงเป็นเงินงบประมาณที่องค์กรกลางจัดหามาเองทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นที่ได้จัดเตรียมไว้ประมาณ 4 แสนบาท โดยเงินทั้งนี้จะทำการกระจายลงไปยังเครือข่ายทั้งหมด ทั้งนี้หาก กกต.ต้องการที่จะให้เข้าร่วมทำงานกับองค์กรกลางจริงๆ กกต.จะต้องให้ปฎิบัติตามข้อเสนอของเราคือจะต้องให้เราเป็นอิสระในการทำงานอย่างเต็มที โดยเฉพาะไม่สามารถเข้ามาสั่งให้เราทำงานตามที่เคยเป็นมาได้
“สาเหตุที่พีเน็ตขอแยกตัวออกมาเป็นอิสระในการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องมา เราไม่วางใจในการเตรียมบุคคลากรที่เข้ามาทำงานของ กกต.ชุดปัจจุบันนี้ ซึ่งแตกต่าง จากกกต.ในอดีตที่ผ่านมา”
ด้านนายโคทม อารียา กรรมการมูลนิธิองค์กรกลาง กล่าวแสดงความเป็นห่วง ถึงการหาเสียงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ว่า แนวทางการหาเสียงเพื่อช่วยลูกพรรคไทยรักไทยของนายกฯทักษิณ ที่ผ่านมา มีความสุ่มเสี่ยงอย่างมาก เพราะอย่าลืมในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณสวมหมวกสองใบ ดังนั้นไปช่วยลูกพรรคหาเสียงตามพื้นที่เลือกตั้งต่างๆ ควรมีความระมัดระวังด้วยว่า สิ่งที่ประกาศเป็นนโยบายต่างๆ นั้น พูดในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทยหรือฐานะนายกรัฐมนตรี เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลามันมีความทับซ้อนกันในตัวบุคคลคนเดียวกัน
“อยากเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อให้ความโปร่งใสและให้เกิดความเป็นธรรม ในการหาเสียงอยากจะให้มีหน่วยงานที่เป็นกลางเข้ามาควบคุมดูแลการใช้สื่อของรัฐทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็น องค์การสื่อสารมวลชน(ช่อง 9 ) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 การที่เสนอแนวทางนี้ออกมาเราต้องการให้เกิดความเป็นธรรม ในการสื่อของรัฐทั้งหมด เพื่อไม่ให้เปิดความได้เป็นเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง ทุกพรรค
นายโคทม กล่าวว่า อาจจะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้การจัดตั้งบุคคล ที่เข้ามาทำงานแทนที่รัฐบาล ในช่วงที่หมดวาระเพื่อป้องกันปัญหาความได้เปรียบ เสียในการเลือกตั้งซึ่งในต่างประเทศมีการจัดตั้งบุคคลที่เข้ามาควบคุมการทำงานของ รัฐบาลแทนรัฐบาลรักษาการ โดยอาจจะมอบหน้าที่ให้กับข้าราชกรชั้นผู้ใหญ่ตามกระทรวงต่างๆ เข้ามาดูแลบริหารการทำงานในช่วงระหว่างที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้หมดวาระไปเข้ามาดูแลแทน เพราะอย่าลืมว่าพอรัฐบาลหมดวาระและจะต้องมีการ จัดการเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลชุดเดิมจะต้องเป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งจะมีอำนาจควบ คุมดูแลหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งหมด ตรงนี้อาจจะทำให้เกิดความได้เปรียบได้ เพราะเราอย่าลืมว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่มีความเกรงใจผู้ที่มีอำนาจอยู่