ปัจจุบัน หลักคิดและหลักปฏิบัติพื้นฐานที่สุดของชาวพรรคฯ จีน ก็คือทุกอย่างเริ่มจากความเป็นจริง หรือ "ปลดปล่อยความคิด หาสัจจะจากความเป็นจริง ก้าวไปพร้อมกับกาลเวลา" การคิดและปฏิบัติใดๆ ที่เริ่มต้นเช่นนี้ จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จ ประสบชัยชนะ หาไม่แล้ว ก็จะประสบกับความล้มเหลว พ่ายแพ้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลักคิดและหลักปฏิบัติดังกล่าวมิใช่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้น แต่เป็นผลหรือการตกผลึกทางปัญญาที่สั่งสมต่อเนื่องกันมาตลอดเวลาของการเคลื่อนไหวต่อสู้ ทั้งในช่วงของการเคลื่อนไหวปฏิวัติ ปลดปล่อยประเทศจีน (ค.ศ. 1921-1949) และการปฏิรูปพัฒนาสังคมจีน (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน) ซึ่งรวมหัวรวมท้ายแล้วก็เกือบร้อยปี
ด้วยหลักคิดและหลักปฏิบัติดังกล่าวนี่เอง จึงได้นำมาสู่การพิจารณาใน "ความพร้อม" ของเหตุปัจจัยในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในสังคมในแต่ละขั้นตอน ก่อนที่กำหนดแนวทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีในการปฏิบัติ ในรูปแบบที่เหมาะสม
ความพร้อมของเหตุปัจจัยในยุคการปฏิวัติปลดปล่อยประเทศจีน
หลังสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840-1842) ประเทศจีนตกอยู่ในภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด อำนาจปกครองเสื่อมทรุด มหาอำนาจต่างชาติรุกเข้ายึดประเทศจีนทีละส่วนๆ กลุ่มขุนศึกยึดพื้นที่สร้างเขตอิทธิพลของตนเองไปทั่ว ประชาชนจีนเดือดร้อนแสนสาหัส อดอยากล้มตายด้วยทุพภิกขภัยและสงครามท้องถิ่นนานาชนิด ต้องการการเปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด
สภาวะเช่นนี้นำไปสู่การเกิด "ความพร้อมพื้นฐานภายใน" รองรับการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ
ยิ่งเมื่อประชาชนจีนพบว่า ความพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมจีนตามแนวทางทุนนิยม ทั้งในรูปการปฏิวัติชาวนาที่นำโดยหงสิ้วเฉวียน (ไท่ผิงเทียนกั๋วหรือขบถไท่ผิง) และการปฏิรูปที่นำโดยคังอิ่วเหวย และเอี๋ยนฟู่ ตลอดจนการปฏิวัติซิงไห่ล้มล้างราชวงศ์ชิงที่นำโดย ดร.ซุนยัดเซน (ซุนจงซัน) ถึงที่สุดแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ ประเทศจีนและประชาชนจีนยังตกอยู่ใต้แอกการปกครองของจักรพรรดินิยม ศักดินานิยม และทุนนิยมขุนนาง ดังนั้น จึงสามารถรับแนวคิดและแนวทางการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ดำเนินสงครามประชาชนภายใต้การนำของพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ (พรรคคอมมิวนิสต์จีน) ได้ไม่ยาก
ทำให้ "ความพร้อมพื้นฐานภายใน" มีความหนักแน่นเป็นพิเศษ
และเมื่อพิจารณาดูสภาวะเป็นจริงของสังคมโลกในช่วงเดียวกัน (ต้นศตวรรษที่ 20) "ลักษณะแห่งยุคสมัย" ซึ่งเปรียบเสมือน "บรรยากาศใหญ่" ที่จะเอื้อหรือไม่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติในประเทศจีนอีกที ก็ยังอยู่ในช่วง "สงครามและการปฏิวัติ" (เพราะยังมีการใช้สงครามแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมด้วยกัน กระทั่งนำมาสู่สงครามโลกครั้งที่สองในเวลาต่อมา ผสมผสานกับเข้ากับคลื่นการต่อสู้เพื่อเอกราชของประชาชนในดินแดนอาณานิคม และการต่อสู้กับกลุ่มทุนผูกขาดของขบวนการกรรมกรสากลทั่วโลก ภายหลังชัยชนะของการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ) ซึ่ง "เอื้อ" อย่างยิ่งต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติในรูปแบบสงครามประชาชนที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ลักษณะแห่งยุคสมัยเช่นนี้ อีกนัยหนึ่ง ก็คือ "ความพร้อมพื้นฐานภายนอก" รองรับการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประชาชนจีน ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ลักษณะแห่งยุคสมัยที่เป็น "สงครามและการปฏิวัติ" ดังกล่าว จึงกลายเป็นความพร้อม "ภายนอก" หรือ "บรรยากาศใหญ่" ระดับโลก รองรับการเคลื่อนไหวปฏิวัติในประเทศจีน ในรูปแบบ "สงครามประชาชน"เป็นอย่างดี
อีกนัยหนึ่ง การกำหนดแนวคิดทฤษฎีชี้นำการปฏิวัติ ดำเนินการปฏิวัติด้วยสงครามประชาชน ที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ความพร้อม" ของเหตุปัจจัยต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างเคร่งครัด
มิใช่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการเฉพาะตัวของเหมาเจ๋อตงหรือใครคนหนึ่งคนใด ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ความพร้อมของเหตุปัจจัยในยุคปฏิรูปและการพัฒนา
ดังที่ได้นำเสนอมาโดยตลอดแล้วว่า สาเหตุของความล้มเหลวในการสร้างสรรค์สังคมนิยมจีนในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1960-1970 ที่สำคัญเพราะการไม่ยึดมั่นในหลักคิดหลักปฏิบัติที่ "ทุกอย่างเริ่มจากความเป็นจริง"
ในช่วงนี้ ประชาชนจีนมี "ความพร้อม" อย่างยิ่งที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อการมีชีวิตอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่รัฐบาลจีน (โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน)ได้ดำเนินการจัดระบบเศรษฐกิจสังคมเข้าสู่ภาวะที่ "พร้อม" สำหรับการพัฒนาประเทศตามระบอบสังคมนิยมแล้วโดยพื้นฐาน
ด้วย "ความพร้อมภายใน" เช่นนี้ โอกาสที่ประเทศจีนและประชาชนจีนจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนา สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศจีนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนก็เป็นไปได้มาก
อย่างไรก็ดี "ลักษณะแห่งยุคสมัย" ในช่วงนั้น ยังคลุมเครือ สังคมโลกเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคสงครามเย็น แม้ไม่มีเงื่อนไขที่จะเกิดสงครามโลก แต่จีนยังตกเป็นเป้าหมายโจมตีของสองอภิมหาอำนาจ คือสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต (ในสมัยครุชชอฟและต่อๆ มา ตลอดทศวรรษ ค.ศ. 1960-1970) "บรรยากาศใหญ่" โลก ไม่ค่อยเอื้อให้จีนพัฒนาประเทศได้อย่างสันติ
ในภาวะเช่นนี้ เหมาเจ๋อตง ผู้ทรงบารมีเหนือพรรคฯจีน ได้สรุปสภาวการณ์โดยรวมไปในทาง "มองโลกในแง่ร้าย" เกินจริง (จากการประเมินค่าเหมาเจ๋อตง ที่พรรคฯ จีนกระทำภายหลังจากเขาสิ้นชีวิตลง) ใช้ข้อวินิจฉัยเฉพาะตนเป็นหลัก ชี้นำพรรคฯจีนและประชาชนจีนดำเนินการเคลื่อนไหวต่อสู้ "ปฏิวัติต่อไป" ด้านหนึ่ง เพื่อรับมือกับการโจมตีของสองอภิมหาอำนาจ อีกด้านหนึ่ง เพื่อพลิกสังคมจีนไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์แบบลัดสั้น ด้วยเห็นว่า สามารถทำได้โดยการปฏิวัติความคิด "เปลี่ยนคน" โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของการพัฒนาพลังการผลิต หรือ "เปลี่ยนสังคม"
เพื่อให้การขับเคลื่อนของกระบวนการ "ปฏิวัติ" ตามแนวคิดของเขาดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เหมาเจ๋อตงจึงดำเนินการสะสางทางการเมืองภายในพรรค ขจัดผู้มีความคิดเห็นแย้งกับแนวคิดดังกล่าวของตนอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่างๆ จนกระทั่งถลำลึกลงสู่ "การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม" (ค.ศ. 1966-1976) สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายไปทั่วประเทศจีน
ภายหลังจากที่เหมาสิ้นชีวิตลง (วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1976) จึงได้มีการปรับแนวคิด วิธีคิดกันครั้งใหญ่ทั่วทั้งพรรคฯ จีน ซึ่งนำไปสู่การดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง ขับเคลื่อนประเทศจีนไปบนเส้นทางที่สอดคล้องกับกฎพัฒนาการของสังคมนิยมจีน โดยยึดถือเอา "ความพร้อม" ของเหตุปัจจัย ทั้งภายนอกและภายใน เป็นตัวกำหนดอย่างเคร่งครัด
ลักษณะแห่งยุคสมัยคือ "สันติภาพและการพัฒนา"
เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำพรรคฯจีนต่อจากเหมาเจ๋อตง (ในรูปการก็คือ "แกนนำ" ของคณะผู้นำรุ่นที่สองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ได้ประเมินลักษณะแห่งยุคสมัยของสังคมโลกในปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970 ว่า "สันติภาพและการพัฒนา" คือลักษณะแห่งยุคสมัย
เขากล่าวว่า ในยุคปัจจุบัน "โลกควรหลีกเลี่ยงสงคราม และก็สามารถหลีกเลี่ยงสงครามได้" ซึ่งต่างจากคำวินิจฉัยของเหมาเจ๋อตงในช่วงก่อนหน้านั้นที่ว่า "เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงคราม"
คำวินิจฉัยเช่นนี้ ได้พลิกบรรยากาศโดยรวมของสังคมจีนอย่างสิ้นเชิง ผู้คนพากันโล่งอก หลุดจากเงาร้ายที่หลอกหลอนจิตใจมานาน ทำให้สังคมจีนเกิดความคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง ประชาชนจีนต่างพากันอ้ารับกับคำวินิจฉัยดังกล่าว และสนับสนุนแนวนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง เปิดประเทศเชื่อมโยงเข้ากับสังคมโลก
แน่นอนละ คำวินิจฉัยดังกล่าว และการนำเสนอนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้างของเติ้งเสี่ยวผิง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ความพร้อมพื้นฐาน" ทั้งจากภายนอกภายใน มิใช่จาก "ความนึกอยาก" ของเติ้งเสี่ยวผิงหรือคณะผู้นำพรรคฯ จีนในยุค "หลังเหมา" แต่ประการใด
"ความพร้อม" ภายนอก ที่สำคัญก็คือ สังคมโลกในปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970 ได้ก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีครั้งใหม่แล้ว วิทยาการไฮเทคได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาพลังการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ การปิดประเทศรังแต่จะทำให้จีนเสียโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง
ทางด้านการเมือง เติ้งเสี่ยวผิงเห็นว่า แม้ว่าประเทศจีนและสังคมโลกยังคงถูกคุกคามด้วยอิทธิพลของสองอภิมหาอำนาจ แต่หากจีนดำเนินการต่อสู้กับพวกเขาอย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสยืดเวลาที่จะเกิดสงครามออกไปได้เรื่อยๆ
สรุปคือ สงครามโลกใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างปุบปับตามใจใครได้ง่ายๆ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการคือ 1. ประเทศที่สามารถก่อสงครามได้ ไม่มีใครกล้าลงมือ และ 2. พลังสันติภาพทั่วโลกขยายตัวเหนือกว่าพลังสงคราม
ความพร้อมภายในคือ ความต้องการของประชาชน
คุณูปการยิ่งใหญ่ของเติ้งเสี่ยวผิง ให้แก่การพัฒนาระบอบสังคมนิยม ก็คือการให้ "คำตอบ" ว่า สังคมนิยมคืออะไร และจะสร้างสรรค์สังคมนิยมอย่างไร
เขาเห็นว่า สังคมนิยมก็คือความมั่งคั่ง (ในความหมายเดียวกับคำว่า "ความยากจนไม่ใช่สังคมนิยม") หมายถึงความมั่งคั่งร่วมกันทั่วทั้งสังคม โดยยินยอมให้คนบางส่วนที่พร้อมกว่ามั่งคั่งขึ้นมาก่อน
การสร้างสรรค์สังคมนิยมทำได้ด้วยการพัฒนาพลังการผลิต (พลังการผลิตคือพลังขับเคลื่อนพื้นฐานของการพัฒนาของสังคมมนุษย์) ซึ่งสำหรับประเทศจีน ที่ยังเป็นเพียง "สังคมนิยมขึ้นปฐม" ยังล้าหลังทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประชาชนจีนยังยากจนข้นแค้น จะต้องใช้มาตรการทุกอย่างที่เป็นไปได้ และนำเอาระบบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาเสริมเข้าไปในกระบวนการพัฒนา (แมวขาวแมวดำ ขอให้จับหนูได้ ก็เป็นแมวที่ดี)
ขณะนั้น (ปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970) ความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตที่ล้าพลังของสังคมจีนกับความเรียกร้องต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจีน คือความขัดแย้งหลักของสังคมจีน
ดังนั้น การดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง นำประเทศจีนเข้าสู่ยุคการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ความพร้อม" รอบด้าน
พยายาม "ยืด" ความพร้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา
เมื่อพัฒนามาถึงวันนี้ ประเทศจีนเจริญขึ้นมาก ประชาชนจีนอยู่ดีกินดีขึ้นมาก แม้มีปัญหาร้อยแปดตามมา แต่คณะผู้นำพรรคฯจีนรุ่นหลังๆ ล้วนแต่ได้ซึมซับถึงสัจธรรมที่ว่า ทุกอย่างต้องเริ่มจากจากความเป็นจริง คำนึงถึง "ความพร้อม" ทั้งภายนอกและภายใน มีความุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศจีนให้เจริญต่อไปอีกนานเท่านาน ซึ่งหมายความว่า จะต้องหาทาง "ยื้อ" และ "ยืด" เงื่อนไขปัจจัยที่เป็น "ความพร้อม" เหล่านั้นอย่างสุดความสามารถ
ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงเห็นชัดเจนว่า พรรคฯจีนตั้งแต่ยุคเจียงเจ๋อหมินเป็นแกนนำเป็นต้นมา ได้เฝ้าฟูมฟักเงื่อนไขให้แก่ "สันติภาพและการพัฒนา" เป็นอย่างยิ่ง
หลักๆ ก็คือ พยายามผ่อนและทอนการคุกคามของอภิมหาอำนาจแต่เพียงหนึ่งเดียวของโลก (สหรัฐฯ) ในทุกๆ ด้าน ด้วยเห็นว่า นับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว สหรัฐฯ กลายเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงหนึ่งเดียวเหนือโลก มีแนวโน้มก่อสงครามรูปแบบต่างๆ "ตามใจตัว" ได้มาก
หลักๆ คือ ส่งเสริมให้เกิดอำนาจหลายขั้วบนเวทีโลก พร้อมๆ ไปกับการเร่งพัฒนาตนเองให้ทันสมัยรอบด้าน
ทั้งนี้ ยังเห็นว่า ลักษณะแห่งยุคสมัยยังคงเป็น "สันติภาพและการพัฒนา" ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น
หลักคิดและหลักปฏิบัติดังกล่าวมิใช่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้น แต่เป็นผลหรือการตกผลึกทางปัญญาที่สั่งสมต่อเนื่องกันมาตลอดเวลาของการเคลื่อนไหวต่อสู้ ทั้งในช่วงของการเคลื่อนไหวปฏิวัติ ปลดปล่อยประเทศจีน (ค.ศ. 1921-1949) และการปฏิรูปพัฒนาสังคมจีน (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน) ซึ่งรวมหัวรวมท้ายแล้วก็เกือบร้อยปี
ด้วยหลักคิดและหลักปฏิบัติดังกล่าวนี่เอง จึงได้นำมาสู่การพิจารณาใน "ความพร้อม" ของเหตุปัจจัยในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในสังคมในแต่ละขั้นตอน ก่อนที่กำหนดแนวทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีในการปฏิบัติ ในรูปแบบที่เหมาะสม
ความพร้อมของเหตุปัจจัยในยุคการปฏิวัติปลดปล่อยประเทศจีน
หลังสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840-1842) ประเทศจีนตกอยู่ในภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด อำนาจปกครองเสื่อมทรุด มหาอำนาจต่างชาติรุกเข้ายึดประเทศจีนทีละส่วนๆ กลุ่มขุนศึกยึดพื้นที่สร้างเขตอิทธิพลของตนเองไปทั่ว ประชาชนจีนเดือดร้อนแสนสาหัส อดอยากล้มตายด้วยทุพภิกขภัยและสงครามท้องถิ่นนานาชนิด ต้องการการเปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด
สภาวะเช่นนี้นำไปสู่การเกิด "ความพร้อมพื้นฐานภายใน" รองรับการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ
ยิ่งเมื่อประชาชนจีนพบว่า ความพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมจีนตามแนวทางทุนนิยม ทั้งในรูปการปฏิวัติชาวนาที่นำโดยหงสิ้วเฉวียน (ไท่ผิงเทียนกั๋วหรือขบถไท่ผิง) และการปฏิรูปที่นำโดยคังอิ่วเหวย และเอี๋ยนฟู่ ตลอดจนการปฏิวัติซิงไห่ล้มล้างราชวงศ์ชิงที่นำโดย ดร.ซุนยัดเซน (ซุนจงซัน) ถึงที่สุดแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ ประเทศจีนและประชาชนจีนยังตกอยู่ใต้แอกการปกครองของจักรพรรดินิยม ศักดินานิยม และทุนนิยมขุนนาง ดังนั้น จึงสามารถรับแนวคิดและแนวทางการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ดำเนินสงครามประชาชนภายใต้การนำของพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ (พรรคคอมมิวนิสต์จีน) ได้ไม่ยาก
ทำให้ "ความพร้อมพื้นฐานภายใน" มีความหนักแน่นเป็นพิเศษ
และเมื่อพิจารณาดูสภาวะเป็นจริงของสังคมโลกในช่วงเดียวกัน (ต้นศตวรรษที่ 20) "ลักษณะแห่งยุคสมัย" ซึ่งเปรียบเสมือน "บรรยากาศใหญ่" ที่จะเอื้อหรือไม่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติในประเทศจีนอีกที ก็ยังอยู่ในช่วง "สงครามและการปฏิวัติ" (เพราะยังมีการใช้สงครามแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมด้วยกัน กระทั่งนำมาสู่สงครามโลกครั้งที่สองในเวลาต่อมา ผสมผสานกับเข้ากับคลื่นการต่อสู้เพื่อเอกราชของประชาชนในดินแดนอาณานิคม และการต่อสู้กับกลุ่มทุนผูกขาดของขบวนการกรรมกรสากลทั่วโลก ภายหลังชัยชนะของการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ) ซึ่ง "เอื้อ" อย่างยิ่งต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติในรูปแบบสงครามประชาชนที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ลักษณะแห่งยุคสมัยเช่นนี้ อีกนัยหนึ่ง ก็คือ "ความพร้อมพื้นฐานภายนอก" รองรับการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประชาชนจีน ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ลักษณะแห่งยุคสมัยที่เป็น "สงครามและการปฏิวัติ" ดังกล่าว จึงกลายเป็นความพร้อม "ภายนอก" หรือ "บรรยากาศใหญ่" ระดับโลก รองรับการเคลื่อนไหวปฏิวัติในประเทศจีน ในรูปแบบ "สงครามประชาชน"เป็นอย่างดี
อีกนัยหนึ่ง การกำหนดแนวคิดทฤษฎีชี้นำการปฏิวัติ ดำเนินการปฏิวัติด้วยสงครามประชาชน ที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ความพร้อม" ของเหตุปัจจัยต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างเคร่งครัด
มิใช่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการเฉพาะตัวของเหมาเจ๋อตงหรือใครคนหนึ่งคนใด ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ความพร้อมของเหตุปัจจัยในยุคปฏิรูปและการพัฒนา
ดังที่ได้นำเสนอมาโดยตลอดแล้วว่า สาเหตุของความล้มเหลวในการสร้างสรรค์สังคมนิยมจีนในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1960-1970 ที่สำคัญเพราะการไม่ยึดมั่นในหลักคิดหลักปฏิบัติที่ "ทุกอย่างเริ่มจากความเป็นจริง"
ในช่วงนี้ ประชาชนจีนมี "ความพร้อม" อย่างยิ่งที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อการมีชีวิตอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่รัฐบาลจีน (โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน)ได้ดำเนินการจัดระบบเศรษฐกิจสังคมเข้าสู่ภาวะที่ "พร้อม" สำหรับการพัฒนาประเทศตามระบอบสังคมนิยมแล้วโดยพื้นฐาน
ด้วย "ความพร้อมภายใน" เช่นนี้ โอกาสที่ประเทศจีนและประชาชนจีนจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนา สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศจีนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนก็เป็นไปได้มาก
อย่างไรก็ดี "ลักษณะแห่งยุคสมัย" ในช่วงนั้น ยังคลุมเครือ สังคมโลกเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคสงครามเย็น แม้ไม่มีเงื่อนไขที่จะเกิดสงครามโลก แต่จีนยังตกเป็นเป้าหมายโจมตีของสองอภิมหาอำนาจ คือสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต (ในสมัยครุชชอฟและต่อๆ มา ตลอดทศวรรษ ค.ศ. 1960-1970) "บรรยากาศใหญ่" โลก ไม่ค่อยเอื้อให้จีนพัฒนาประเทศได้อย่างสันติ
ในภาวะเช่นนี้ เหมาเจ๋อตง ผู้ทรงบารมีเหนือพรรคฯจีน ได้สรุปสภาวการณ์โดยรวมไปในทาง "มองโลกในแง่ร้าย" เกินจริง (จากการประเมินค่าเหมาเจ๋อตง ที่พรรคฯ จีนกระทำภายหลังจากเขาสิ้นชีวิตลง) ใช้ข้อวินิจฉัยเฉพาะตนเป็นหลัก ชี้นำพรรคฯจีนและประชาชนจีนดำเนินการเคลื่อนไหวต่อสู้ "ปฏิวัติต่อไป" ด้านหนึ่ง เพื่อรับมือกับการโจมตีของสองอภิมหาอำนาจ อีกด้านหนึ่ง เพื่อพลิกสังคมจีนไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์แบบลัดสั้น ด้วยเห็นว่า สามารถทำได้โดยการปฏิวัติความคิด "เปลี่ยนคน" โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของการพัฒนาพลังการผลิต หรือ "เปลี่ยนสังคม"
เพื่อให้การขับเคลื่อนของกระบวนการ "ปฏิวัติ" ตามแนวคิดของเขาดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เหมาเจ๋อตงจึงดำเนินการสะสางทางการเมืองภายในพรรค ขจัดผู้มีความคิดเห็นแย้งกับแนวคิดดังกล่าวของตนอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่างๆ จนกระทั่งถลำลึกลงสู่ "การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม" (ค.ศ. 1966-1976) สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายไปทั่วประเทศจีน
ภายหลังจากที่เหมาสิ้นชีวิตลง (วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1976) จึงได้มีการปรับแนวคิด วิธีคิดกันครั้งใหญ่ทั่วทั้งพรรคฯ จีน ซึ่งนำไปสู่การดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง ขับเคลื่อนประเทศจีนไปบนเส้นทางที่สอดคล้องกับกฎพัฒนาการของสังคมนิยมจีน โดยยึดถือเอา "ความพร้อม" ของเหตุปัจจัย ทั้งภายนอกและภายใน เป็นตัวกำหนดอย่างเคร่งครัด
ลักษณะแห่งยุคสมัยคือ "สันติภาพและการพัฒนา"
เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำพรรคฯจีนต่อจากเหมาเจ๋อตง (ในรูปการก็คือ "แกนนำ" ของคณะผู้นำรุ่นที่สองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ได้ประเมินลักษณะแห่งยุคสมัยของสังคมโลกในปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970 ว่า "สันติภาพและการพัฒนา" คือลักษณะแห่งยุคสมัย
เขากล่าวว่า ในยุคปัจจุบัน "โลกควรหลีกเลี่ยงสงคราม และก็สามารถหลีกเลี่ยงสงครามได้" ซึ่งต่างจากคำวินิจฉัยของเหมาเจ๋อตงในช่วงก่อนหน้านั้นที่ว่า "เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงคราม"
คำวินิจฉัยเช่นนี้ ได้พลิกบรรยากาศโดยรวมของสังคมจีนอย่างสิ้นเชิง ผู้คนพากันโล่งอก หลุดจากเงาร้ายที่หลอกหลอนจิตใจมานาน ทำให้สังคมจีนเกิดความคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง ประชาชนจีนต่างพากันอ้ารับกับคำวินิจฉัยดังกล่าว และสนับสนุนแนวนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง เปิดประเทศเชื่อมโยงเข้ากับสังคมโลก
แน่นอนละ คำวินิจฉัยดังกล่าว และการนำเสนอนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้างของเติ้งเสี่ยวผิง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ความพร้อมพื้นฐาน" ทั้งจากภายนอกภายใน มิใช่จาก "ความนึกอยาก" ของเติ้งเสี่ยวผิงหรือคณะผู้นำพรรคฯ จีนในยุค "หลังเหมา" แต่ประการใด
"ความพร้อม" ภายนอก ที่สำคัญก็คือ สังคมโลกในปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970 ได้ก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีครั้งใหม่แล้ว วิทยาการไฮเทคได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาพลังการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ การปิดประเทศรังแต่จะทำให้จีนเสียโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง
ทางด้านการเมือง เติ้งเสี่ยวผิงเห็นว่า แม้ว่าประเทศจีนและสังคมโลกยังคงถูกคุกคามด้วยอิทธิพลของสองอภิมหาอำนาจ แต่หากจีนดำเนินการต่อสู้กับพวกเขาอย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสยืดเวลาที่จะเกิดสงครามออกไปได้เรื่อยๆ
สรุปคือ สงครามโลกใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างปุบปับตามใจใครได้ง่ายๆ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการคือ 1. ประเทศที่สามารถก่อสงครามได้ ไม่มีใครกล้าลงมือ และ 2. พลังสันติภาพทั่วโลกขยายตัวเหนือกว่าพลังสงคราม
ความพร้อมภายในคือ ความต้องการของประชาชน
คุณูปการยิ่งใหญ่ของเติ้งเสี่ยวผิง ให้แก่การพัฒนาระบอบสังคมนิยม ก็คือการให้ "คำตอบ" ว่า สังคมนิยมคืออะไร และจะสร้างสรรค์สังคมนิยมอย่างไร
เขาเห็นว่า สังคมนิยมก็คือความมั่งคั่ง (ในความหมายเดียวกับคำว่า "ความยากจนไม่ใช่สังคมนิยม") หมายถึงความมั่งคั่งร่วมกันทั่วทั้งสังคม โดยยินยอมให้คนบางส่วนที่พร้อมกว่ามั่งคั่งขึ้นมาก่อน
การสร้างสรรค์สังคมนิยมทำได้ด้วยการพัฒนาพลังการผลิต (พลังการผลิตคือพลังขับเคลื่อนพื้นฐานของการพัฒนาของสังคมมนุษย์) ซึ่งสำหรับประเทศจีน ที่ยังเป็นเพียง "สังคมนิยมขึ้นปฐม" ยังล้าหลังทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประชาชนจีนยังยากจนข้นแค้น จะต้องใช้มาตรการทุกอย่างที่เป็นไปได้ และนำเอาระบบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาเสริมเข้าไปในกระบวนการพัฒนา (แมวขาวแมวดำ ขอให้จับหนูได้ ก็เป็นแมวที่ดี)
ขณะนั้น (ปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970) ความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตที่ล้าพลังของสังคมจีนกับความเรียกร้องต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจีน คือความขัดแย้งหลักของสังคมจีน
ดังนั้น การดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง นำประเทศจีนเข้าสู่ยุคการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ความพร้อม" รอบด้าน
พยายาม "ยืด" ความพร้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา
เมื่อพัฒนามาถึงวันนี้ ประเทศจีนเจริญขึ้นมาก ประชาชนจีนอยู่ดีกินดีขึ้นมาก แม้มีปัญหาร้อยแปดตามมา แต่คณะผู้นำพรรคฯจีนรุ่นหลังๆ ล้วนแต่ได้ซึมซับถึงสัจธรรมที่ว่า ทุกอย่างต้องเริ่มจากจากความเป็นจริง คำนึงถึง "ความพร้อม" ทั้งภายนอกและภายใน มีความุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศจีนให้เจริญต่อไปอีกนานเท่านาน ซึ่งหมายความว่า จะต้องหาทาง "ยื้อ" และ "ยืด" เงื่อนไขปัจจัยที่เป็น "ความพร้อม" เหล่านั้นอย่างสุดความสามารถ
ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงเห็นชัดเจนว่า พรรคฯจีนตั้งแต่ยุคเจียงเจ๋อหมินเป็นแกนนำเป็นต้นมา ได้เฝ้าฟูมฟักเงื่อนไขให้แก่ "สันติภาพและการพัฒนา" เป็นอย่างยิ่ง
หลักๆ ก็คือ พยายามผ่อนและทอนการคุกคามของอภิมหาอำนาจแต่เพียงหนึ่งเดียวของโลก (สหรัฐฯ) ในทุกๆ ด้าน ด้วยเห็นว่า นับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว สหรัฐฯ กลายเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงหนึ่งเดียวเหนือโลก มีแนวโน้มก่อสงครามรูปแบบต่างๆ "ตามใจตัว" ได้มาก
หลักๆ คือ ส่งเสริมให้เกิดอำนาจหลายขั้วบนเวทีโลก พร้อมๆ ไปกับการเร่งพัฒนาตนเองให้ทันสมัยรอบด้าน
ทั้งนี้ ยังเห็นว่า ลักษณะแห่งยุคสมัยยังคงเป็น "สันติภาพและการพัฒนา" ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น