ผมชักจะเชื่อคำโบราณที่ว่า “แข่งเรือแข่งพายพอแข่งกันได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งกันไม่ได้” เสียแล้วละ เมื่อมองภาพรวมเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปขณะนี้แล้วหากไม่เกิดปรากฏการณ์ทำนองฟ้าถล่มดินทลายขึ้นมา การเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 คงจะไม่มีผลแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม 2548 จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของบ้านนี้เมืองนี้คนเดิมหน้าเดิม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
คู่แข่งที่มีศักยภาพพอจะต่อกรได้หนึ่งเดียวคือพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีโอกาสต่อสู้เลย
ตั้งธงไว้แค่ขอให้เป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีคุณภาพเท่านั้น
ตราบใดที่พรรคประชาธิปัตย์ยังบริหารจัดการปัญหาภายในไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตราบนั้นยากที่จะสร้างศักยภาพที่แท้จริงขึ้นมา
ปัญหาภาคใต้อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลชุดนี้ยังแก้ไม่ได้ก็จริง
แต่กรณีวีซีดีตากใบที่ผู้สมัครส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้ประกอบการหาเสียงนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยแน่นอน
เพราะขณะนี้เรากำลังอยู่ในบรรยากาศชาตินิยม
ประเด็น “ชาตินิยม” สร้างผู้นำมาแล้วหลายยุคหลายสมัย !
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำคนหนึ่งที่ “ชง” กับประเด็นชาตินิยม !!
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ประเทศไทยต้องรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ ต้องทำตามเงื่อนไขขององค์กรโลกบาลที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและระบบทุนนิยมโลก ทำให้เกิดวิวาทะขึ้นในสังคมไทยต่อเนื่องกันมาหลายปี
และเป็นจุดกำเนิดของเสนอแนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจ
แกนกลางในช่วงแรกอยู่ที่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งชุดสุดท้ายที่มีอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยเฉพาะข้อเขียนเรื่อง “จดหมายถึงนาย” ในเว็บไซด์ www.meechaithailand.com ในขณะที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมหลากหลาย โดยเฉพาะในช่วงปี 2543 ที่โดดเด่นก็คือคำประกาศของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คำแถลงของคณะ 8 ปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นำโดยอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช และคำประกาศชาตินิยมใหม่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุคคลและคณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมลงชื่อในคำประกาศครั้งนั้นก็มี อาทิ ลิขิต ธีรเวคิน, อมรินทร์ คอมันตร์, เทียนฉาย กีระนันทน์, สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์. สุรัฐ ศิลปอนันต์, วิทยากร เชียงกูล, ทวี วิริยฑูรย์, วิจิตร ศรีสังข์, กลุ่มชาตินิยมใหม่ พรรคไทยรักไทย (ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, กิตติ ลิ่มสกุล และคณะ), พรรคพลังธรรมวันนี้ และชมรมร่วมใจไทยกู้ชาติ
แน่นอนครับมีคนของพรรคไทยรักไทยร่วมอยู่ด้วยมากทีเดียว
คำประกาศแสดงถึง “หลักปัญจรัตน์” หรือ “แก้ว 5 ดวงของชาตินิยมใหม่” – พอจะถือเป็นตัวแทนโดยกว้าง ๆ ของผู้คนที่ยืนในแนวทางชาตินิยมใหม่ หรือชาตินิยมเชิงบวก ได้
แน่นอนว่าคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งเข้าไปสังกัดพรรคไทยรักไทย และทำงานให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
และไม่ใช่พรรคไทยรักไทยและทักษิณ ชินวัตร ริเริ่มแนวคิดชาตินิยมใหม่
ไม่ว่าโดยส่วนลึกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะคิดอย่างไร จริงใจแค่ไหน อนาคตจะลงเอยอย่างไร แต่ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือแนวนโยบายของพรรคไทยรักไทยและรัฐบาลชุดนี้แตกต่างกับแนวนโยบายของคุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ และพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็มีลักษณะที่พยายามจะเป็นตัวของตัวเองในระดับหนึ่ง ไม่เดินตามแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและมหาอำนาจตะวันตกทั้งหมด
แนวนโยบายเชิง Populist ไม่ว่าจะจริงใจหรือหาเสียง – ก่อให้เกิดแนวทางที่ต้องพึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศให้มากขึ้น ลดการนำเข้าลงระดับหนึ่ง
เป็นแนวนโยบายที่ขัดกับผลประโยชน์ของ “ทุนต่างชาติ” อย่างจัง !
ยกตัวอย่างเช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร แต่ผลของแนวนโยบายนี้ ถ้าจะทำให้สำเร็จ ประเทศไทยจะต้องลดรายจ่ายด้านการรักษาพยาบาล จากแนวทาง “รักษา” มาเป็นแนวทาง “ป้องกัน” และในส่วนของแนวทาง “รักษา” นั้นก็จะต้องพยายามใช้ภูมิปัญญาตะวันออกโดยอัตโนมัติ ใช้สมุนไพร ใช้แพทย์ทางเลือก เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะทุ่มเทงบประมาณไปซื้อยารักษาโรคจากต่างชาติ
ผู้ที่จะเสียประโยชน์ในระยะยาวคือบริษัทค้ายาและเวชภัณฑ์ของทุนต่างชาติ ทุนมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา
หรืออย่างความขาดแคลนในชนบท ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ในที่สุดเมื่อแก้ไขไม่ได้ก็ต้องลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย พลิกผันไปสู่เงินตราอีกระบบหนึ่ง สถาบันการเงินอีกระบบหนึ่ง ที่แยกแตกแขนงออกมาจากระบบส่วนกลางและส่วนที่สัมพันธ์กับภายนอก อาทิ การหันมายอมรับ “เบี้ยกุดชุม” และ “ธนาคารคนจน” โดยการบริหารของชุมชน
นี่จะเป็นจุดพลิกผันมาสู่ “ภูมิปัญญาตะวันออก” ได้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะคิดไกล คิดเป็นระบบ ถึงขนาดนี้หรือไม่ – ผมตอบไม่ได้ และนับวันยิ่งไม่แน่ใจขึ้นทุกที
แต่คนจำนวนหนึ่งเห็นว่าถึงอย่างท่านก็ยังมีจุดดี จุดแตกต่าง
หากจะพังภินท์ไปเพราะจุดอ่อนของตัวเองก็ให้เป็นไปตามระบบ ไม่ใช่ช่วยกันรุมถล่มไปตามเกมที่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นโดยธรรมชาติล้วน ๆ หรือมีการโหมประโคมเสริมแต่งจากแหล่งใด
บริหารประเทศมาได้ครบ 4 ปี เพราะคนที่คิดอย่างนี้ให้โอกาส ให้เวลา และละเว้นในสิ่งที่ควรละเว้น
แม้สถานการณ์เริ่มแปรเปลี่ยนเพราะดูเหมือนว่าท่านจะเป๋ ๆ ในหลายเรื่อง
โดยเฉพาะเรื่องปากไว !
ชาตินิยมช่วยท่านโดยแท้ !
ชาตินิยมไทยที่จะยอมอ่อนข้อง่าย ๆ ไม่ได้ในกรณีที่มีบางคนบางกลุ่มก่อตั้งขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรืออธิปไตยไทยถูกย่ำยีในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
เมื่อต้นปี 2546 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้คะแนนมามากโขอยู่กรณีท่าทีและท่วงทำนองที่เข้มแข็ง ขึงขัง เมื่อเกิดกรณีเผาสถานทูตไทยในกัมพูชา
ครั้งนี้ก็เช่นกัน
กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นทั้ง “จุดอ่อน” และ “จุดแข็ง” ของท่าน
อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้ที่ได้ประโยชน์จากกระแสชาตินิยมมาโดยตลอด ผมไม่อยากให้ท่านเน้นแต่ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาการเมือง
อยากให้สานต่อ “ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ” ให้เป็นเรื่องเป็นราวชัดเจนขึ้นในสมัยที่ 2 นี้
อย่าให้ “ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ” ที่ฮือฮากันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เป็นเพียง “บันได” ให้ก้าวขึ้นสู่อำนาจเท่านั้นเลย !
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
คู่แข่งที่มีศักยภาพพอจะต่อกรได้หนึ่งเดียวคือพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีโอกาสต่อสู้เลย
ตั้งธงไว้แค่ขอให้เป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีคุณภาพเท่านั้น
ตราบใดที่พรรคประชาธิปัตย์ยังบริหารจัดการปัญหาภายในไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตราบนั้นยากที่จะสร้างศักยภาพที่แท้จริงขึ้นมา
ปัญหาภาคใต้อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลชุดนี้ยังแก้ไม่ได้ก็จริง
แต่กรณีวีซีดีตากใบที่ผู้สมัครส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้ประกอบการหาเสียงนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยแน่นอน
เพราะขณะนี้เรากำลังอยู่ในบรรยากาศชาตินิยม
ประเด็น “ชาตินิยม” สร้างผู้นำมาแล้วหลายยุคหลายสมัย !
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำคนหนึ่งที่ “ชง” กับประเด็นชาตินิยม !!
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ประเทศไทยต้องรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ ต้องทำตามเงื่อนไขขององค์กรโลกบาลที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและระบบทุนนิยมโลก ทำให้เกิดวิวาทะขึ้นในสังคมไทยต่อเนื่องกันมาหลายปี
และเป็นจุดกำเนิดของเสนอแนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจ
แกนกลางในช่วงแรกอยู่ที่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งชุดสุดท้ายที่มีอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยเฉพาะข้อเขียนเรื่อง “จดหมายถึงนาย” ในเว็บไซด์ www.meechaithailand.com ในขณะที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมหลากหลาย โดยเฉพาะในช่วงปี 2543 ที่โดดเด่นก็คือคำประกาศของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คำแถลงของคณะ 8 ปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นำโดยอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช และคำประกาศชาตินิยมใหม่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุคคลและคณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมลงชื่อในคำประกาศครั้งนั้นก็มี อาทิ ลิขิต ธีรเวคิน, อมรินทร์ คอมันตร์, เทียนฉาย กีระนันทน์, สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์. สุรัฐ ศิลปอนันต์, วิทยากร เชียงกูล, ทวี วิริยฑูรย์, วิจิตร ศรีสังข์, กลุ่มชาตินิยมใหม่ พรรคไทยรักไทย (ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, กิตติ ลิ่มสกุล และคณะ), พรรคพลังธรรมวันนี้ และชมรมร่วมใจไทยกู้ชาติ
แน่นอนครับมีคนของพรรคไทยรักไทยร่วมอยู่ด้วยมากทีเดียว
คำประกาศแสดงถึง “หลักปัญจรัตน์” หรือ “แก้ว 5 ดวงของชาตินิยมใหม่” – พอจะถือเป็นตัวแทนโดยกว้าง ๆ ของผู้คนที่ยืนในแนวทางชาตินิยมใหม่ หรือชาตินิยมเชิงบวก ได้
แน่นอนว่าคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งเข้าไปสังกัดพรรคไทยรักไทย และทำงานให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
และไม่ใช่พรรคไทยรักไทยและทักษิณ ชินวัตร ริเริ่มแนวคิดชาตินิยมใหม่
ไม่ว่าโดยส่วนลึกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะคิดอย่างไร จริงใจแค่ไหน อนาคตจะลงเอยอย่างไร แต่ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือแนวนโยบายของพรรคไทยรักไทยและรัฐบาลชุดนี้แตกต่างกับแนวนโยบายของคุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ และพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็มีลักษณะที่พยายามจะเป็นตัวของตัวเองในระดับหนึ่ง ไม่เดินตามแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและมหาอำนาจตะวันตกทั้งหมด
แนวนโยบายเชิง Populist ไม่ว่าจะจริงใจหรือหาเสียง – ก่อให้เกิดแนวทางที่ต้องพึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศให้มากขึ้น ลดการนำเข้าลงระดับหนึ่ง
เป็นแนวนโยบายที่ขัดกับผลประโยชน์ของ “ทุนต่างชาติ” อย่างจัง !
ยกตัวอย่างเช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร แต่ผลของแนวนโยบายนี้ ถ้าจะทำให้สำเร็จ ประเทศไทยจะต้องลดรายจ่ายด้านการรักษาพยาบาล จากแนวทาง “รักษา” มาเป็นแนวทาง “ป้องกัน” และในส่วนของแนวทาง “รักษา” นั้นก็จะต้องพยายามใช้ภูมิปัญญาตะวันออกโดยอัตโนมัติ ใช้สมุนไพร ใช้แพทย์ทางเลือก เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะทุ่มเทงบประมาณไปซื้อยารักษาโรคจากต่างชาติ
ผู้ที่จะเสียประโยชน์ในระยะยาวคือบริษัทค้ายาและเวชภัณฑ์ของทุนต่างชาติ ทุนมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา
หรืออย่างความขาดแคลนในชนบท ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ในที่สุดเมื่อแก้ไขไม่ได้ก็ต้องลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย พลิกผันไปสู่เงินตราอีกระบบหนึ่ง สถาบันการเงินอีกระบบหนึ่ง ที่แยกแตกแขนงออกมาจากระบบส่วนกลางและส่วนที่สัมพันธ์กับภายนอก อาทิ การหันมายอมรับ “เบี้ยกุดชุม” และ “ธนาคารคนจน” โดยการบริหารของชุมชน
นี่จะเป็นจุดพลิกผันมาสู่ “ภูมิปัญญาตะวันออก” ได้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะคิดไกล คิดเป็นระบบ ถึงขนาดนี้หรือไม่ – ผมตอบไม่ได้ และนับวันยิ่งไม่แน่ใจขึ้นทุกที
แต่คนจำนวนหนึ่งเห็นว่าถึงอย่างท่านก็ยังมีจุดดี จุดแตกต่าง
หากจะพังภินท์ไปเพราะจุดอ่อนของตัวเองก็ให้เป็นไปตามระบบ ไม่ใช่ช่วยกันรุมถล่มไปตามเกมที่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นโดยธรรมชาติล้วน ๆ หรือมีการโหมประโคมเสริมแต่งจากแหล่งใด
บริหารประเทศมาได้ครบ 4 ปี เพราะคนที่คิดอย่างนี้ให้โอกาส ให้เวลา และละเว้นในสิ่งที่ควรละเว้น
แม้สถานการณ์เริ่มแปรเปลี่ยนเพราะดูเหมือนว่าท่านจะเป๋ ๆ ในหลายเรื่อง
โดยเฉพาะเรื่องปากไว !
ชาตินิยมช่วยท่านโดยแท้ !
ชาตินิยมไทยที่จะยอมอ่อนข้อง่าย ๆ ไม่ได้ในกรณีที่มีบางคนบางกลุ่มก่อตั้งขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรืออธิปไตยไทยถูกย่ำยีในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
เมื่อต้นปี 2546 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้คะแนนมามากโขอยู่กรณีท่าทีและท่วงทำนองที่เข้มแข็ง ขึงขัง เมื่อเกิดกรณีเผาสถานทูตไทยในกัมพูชา
ครั้งนี้ก็เช่นกัน
กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นทั้ง “จุดอ่อน” และ “จุดแข็ง” ของท่าน
อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้ที่ได้ประโยชน์จากกระแสชาตินิยมมาโดยตลอด ผมไม่อยากให้ท่านเน้นแต่ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาการเมือง
อยากให้สานต่อ “ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ” ให้เป็นเรื่องเป็นราวชัดเจนขึ้นในสมัยที่ 2 นี้
อย่าให้ “ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ” ที่ฮือฮากันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เป็นเพียง “บันได” ให้ก้าวขึ้นสู่อำนาจเท่านั้นเลย !