นายยุทธนา ทัพเจริญ รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ตามแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก (พญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) หรือ Airport Rail Link Project ระยะทาง 28 กม.ราคากลางในการก่อสร้าง 25,917,060,209 บาท ซึ่งมี 3 กลุ่มยื่นประมูลเปิดเผยว่า วันนี้ (8 ธ.ค.) คณะกรรมการฯ จะประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคอย่างเป็นทางการและจะเปิดซองข้อเสนอราคาในเวลา 10.00 น.
โดยตามทีโออาร์ได้กำหนดว่าผู้ที่ผ่านเทคนิคจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน แต่จะไม่เรียงลำดับคะแนน ทำให้ทุกรายที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับสิทธิในการเปิดราคาทั้งหมด ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังเปิดซองราคาจะยังไม่สามารถระบุได้ว่ารายใดเสนอต่ำสุด โดยใช้เวลาพิจารณารายละเอียดอีก 2-3 วัน เนื่องจากข้อเสนอด้านราคาจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ค่าก่อสร้าง ค่าธรรมเนียมด้านการเงินและ อัตราดอกเบี้ย (MLR) ทำให้ไม่สามารถระบุได้ทันทีว่า ผู้ที่เสนอค่าก่อสร้างต่ำที่สุดภาพรวมของค่าดำเนินการทั้งหมดจะต่ำที่สุดหรือไม่เพราะยังมีเงื่อนไขทางการเงินที่เป็นตัวแปร
นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ทำให้เกิดปัญหาร้องเรียนภายหลัง สำนักงบประมาณและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง) ได้ส่งผู้แทนมาร่วมสังเกตการณ์ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการดูแลซองข้อเสนอด้านราคาของทุกรายจะต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างระบบรถไฟรายหนึ่งกล่าวว่า ประเด็นเรื่องขนาดรางระหว่าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง1.435 เมตร (Standard Gauge) หรือขนาดธรรมดากว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) ไม่ใช่สาระสำคัญต่อการเสนอราคา เพราะราง 1 เมตรมีต้นทุนด้านโครงสร้างน้อยกว่าแต่ในเรื่องตัวรถราง 1 เมตร อาจจะแพงกว่าได้ เพราะต้องใช้เทคโนโลยีและการออกแบบมากกว่าเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและปลอดภัยในการเข้าโค้ง การทรงตัว ดังนั้น เฉลี่ยการลงทุนทั้ง 2 แบบรวมแล้วไม่ต่างกัน
ทั้งนี้การเสนอราคาครั้งนี้น่าจะอยู่ที่ประสบการณ์การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการที่ดีมากกว่า ส่วนราคากลางที่กำหนดนั้น ยังเชื่อว่าอยู่ในวิสัยที่เอกชนยังรับได้แต่จะมีกำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มช.การช่าง ที่ร่วมกับมิตซุย (ญี่ปุ่น) เสนอราง1เมตร เพราะญี่ปุ่นมีความชำนาญ และอาจจะได้เปรียบในเรื่องพื้นที่ก่อสร้างเนื่องจากได้งานก่อสร้างรถไฟทางคู่สายตะวันออก ส่วนกลุ่มอิตาเลียนไทย จับมือกับจีน ซึ่งจีนอาจจะได้เปรียบเรื่องต้นทุนส่วนกลุ่มบีกริมมีซีเมตน์ร่วมนั้น มีประสบการณ์การทำรถไฟเชื่อมสนามบินที่มาเลเซีย
สำหรับเอกชน 3 กลุ่มที่ยื่นประมูลคือ 1. กลุ่มEAST-WEST- Consortium (บริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัทของจีนเสนอรางขนาด 1.435 เมตร 2. กลุ่ม MCBM CONSORTIUM ( ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับมิตซุยของญี่ปุ่น เสนอรางขนาด1 เมตร 3. กลุ่ม B.GRIM ร่วมกับบริษัท ซีเมนท์ เสนอรางขนาด 1.435 เมตร
//////////////
โดยตามทีโออาร์ได้กำหนดว่าผู้ที่ผ่านเทคนิคจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน แต่จะไม่เรียงลำดับคะแนน ทำให้ทุกรายที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับสิทธิในการเปิดราคาทั้งหมด ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังเปิดซองราคาจะยังไม่สามารถระบุได้ว่ารายใดเสนอต่ำสุด โดยใช้เวลาพิจารณารายละเอียดอีก 2-3 วัน เนื่องจากข้อเสนอด้านราคาจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ค่าก่อสร้าง ค่าธรรมเนียมด้านการเงินและ อัตราดอกเบี้ย (MLR) ทำให้ไม่สามารถระบุได้ทันทีว่า ผู้ที่เสนอค่าก่อสร้างต่ำที่สุดภาพรวมของค่าดำเนินการทั้งหมดจะต่ำที่สุดหรือไม่เพราะยังมีเงื่อนไขทางการเงินที่เป็นตัวแปร
นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ทำให้เกิดปัญหาร้องเรียนภายหลัง สำนักงบประมาณและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง) ได้ส่งผู้แทนมาร่วมสังเกตการณ์ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการดูแลซองข้อเสนอด้านราคาของทุกรายจะต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างระบบรถไฟรายหนึ่งกล่าวว่า ประเด็นเรื่องขนาดรางระหว่าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง1.435 เมตร (Standard Gauge) หรือขนาดธรรมดากว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) ไม่ใช่สาระสำคัญต่อการเสนอราคา เพราะราง 1 เมตรมีต้นทุนด้านโครงสร้างน้อยกว่าแต่ในเรื่องตัวรถราง 1 เมตร อาจจะแพงกว่าได้ เพราะต้องใช้เทคโนโลยีและการออกแบบมากกว่าเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและปลอดภัยในการเข้าโค้ง การทรงตัว ดังนั้น เฉลี่ยการลงทุนทั้ง 2 แบบรวมแล้วไม่ต่างกัน
ทั้งนี้การเสนอราคาครั้งนี้น่าจะอยู่ที่ประสบการณ์การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการที่ดีมากกว่า ส่วนราคากลางที่กำหนดนั้น ยังเชื่อว่าอยู่ในวิสัยที่เอกชนยังรับได้แต่จะมีกำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มช.การช่าง ที่ร่วมกับมิตซุย (ญี่ปุ่น) เสนอราง1เมตร เพราะญี่ปุ่นมีความชำนาญ และอาจจะได้เปรียบในเรื่องพื้นที่ก่อสร้างเนื่องจากได้งานก่อสร้างรถไฟทางคู่สายตะวันออก ส่วนกลุ่มอิตาเลียนไทย จับมือกับจีน ซึ่งจีนอาจจะได้เปรียบเรื่องต้นทุนส่วนกลุ่มบีกริมมีซีเมตน์ร่วมนั้น มีประสบการณ์การทำรถไฟเชื่อมสนามบินที่มาเลเซีย
สำหรับเอกชน 3 กลุ่มที่ยื่นประมูลคือ 1. กลุ่มEAST-WEST- Consortium (บริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัทของจีนเสนอรางขนาด 1.435 เมตร 2. กลุ่ม MCBM CONSORTIUM ( ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับมิตซุยของญี่ปุ่น เสนอรางขนาด1 เมตร 3. กลุ่ม B.GRIM ร่วมกับบริษัท ซีเมนท์ เสนอรางขนาด 1.435 เมตร
//////////////