สภาสูงรุมยำเละกม.แก้ไขการเลือกตั้ง ส.ว.-ส.ส.หลังแก้ไขเพิ่ม ห้ามหาเสียงล่วงหน้า 180 วัน ชี้มุ่งฟอกความผิดตัวเอง มีผลบังคับใช้เลือกตั้งอีก 4 ปีข้างหน้า "การุณ"ขู่ล่าชื่อยื่นตีความอ้างขัด รธน."ไสว"หวั่นเกิดความวุ่นวาย ขณะที่"ชุมพล"ปธ.กมธ.ยันไม่ขัด หลังที่ประชุมถกมาตรา 4 ยืดเยื้อ ก่อนลงมติ ส.ว.จ้องนับองค์ประชุม"สุชน"เห็นท่าไม่ดีชิงปิดประชุม เลื่อนมาลงมติวันนี้ ด้านวิปรัฐบาลเผย รับได้กับการแก้ไขของส.ว.เตรียมนำเข้าพิจารณา 24 พ.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (22พ.ย.)ภายหลังจากที่วุฒิสภาได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ต่างๆ ในวาระ 2 และ 3 จำนวน 3 ฉบับแล้ว นายนิเวศ พันธุ์เจริญวรกุล ส.ว.พระนครศรีอยุธยา ได้ขอเลื่อน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ขึ้นมาพิจารณาก่อน ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งสมาชิกบางส่วนอภิปรายสนับสนุน
ขณะที่นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ อภิปรายคัดค้านว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ใช้ไม่ได้ ร่างออกมาเหมือนนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิด แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะผ่านวุฒิสภา และสภาผู้แทนฯเห็นชอบกับการแก้ไข ก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ ขณะนี้สามารถล่ารายชื่อได้ถึง 40-50 คนแล้ว ขณะที่การยื่นให้ตีความ จะใช้เสียงเพียง 20 คน ซึ่งหากวุฒิสภามีมติเห็นชอบก็จะยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการทันที ดังนั้น สภาไม่ควรใช้เวลามาพิจารณาเรื่องไร้สาระ และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ควรนำเวลาที่มีอยู่มาพิจารณาเรื่องที่เป็นประโยชน์ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการลงมติ เห็นชอบให้เลื่อน ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ ขึ้นมาพิจารณาด้วยคะแนน 71 เสียงต่อ 39 เสียง จากนั้นที่ประชุมได้เริ่มพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ ในวาระ 2 โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้แก้ไขสาระสำคัญใน มาตรา 4 ซึ่งเป็นมาตรา 44 ของร่าง กฎหมายเดิมเกี่ยวกับระยะเวลาในการห้ามผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการจูงใจ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาลงคะแนนเสียง ซึ่งร่าง ของสภาผู้แทนราษฎร ได้กำหนดเวลาไว้ภายใน 60 วัน แต่คณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขเป็นภายใน 180 วัน และได้แก้ไข มาตรา 6 ซึ่งเป็นมาตรา 96 ของกฎหมายเดิม เกี่ยวกับการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ซึ่งร่าง ของสภาผู้แทนราษฎร กำหนดว่า หากเป็นผู้มีสิทธิ์ลือกตั้งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน ถึงจะร้องคัดค้านได้ แต่คณะกรรมาธิการฯ ได้ตัดจำนวนไม่น้อยกว่า10 คนออกไป อีกทั้งได้แก้ไขกรณีผู้ถูกคัดค้านสามารถขอทราบชื่อผู้คัดค้านและรายละเอียดการคัดค้านต่อ กกต.โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขให้ กกต.ต้องให้โอกาสผู้ถูกคัดค้านทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เพียงพอแก่การเข้าใจพฤติการณ์ที่ถูกคัดค้าน
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขเพิ่มเติมใน มาตรา 8 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล โดยไม่ให้นำข้อห้ามในเรื่องระยะเวลา 180 วัน มาใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก หลังกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และให้เริ่มนับเวลาการห้ามกระทำการตั้งแต่วันที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ แต่หากกฎหมายฉบับนี้ยังบังคับใช้หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งแล้ว ให้เริ่มนับระยะเวลาการห้ามดังกล่าวตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นต้นไป
ในการพิจารณามาตรา 4 สมาชิกแสดงความไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ของคณะกรรมาธิการ รวมทั้งร่างของสภาผู้แทนฯ โดยนายการุณ เห็นว่า ไม่เกิดประโยชน์เพราะเจตนารมย์ในการแก้ไขก็เพียงการรับรองให้การกระทำความผิด เป็นเรื่องที่ถูก ถือเป็นอาชญากรทางการเมืองที่เข้าสู่การเมืองโดยทุจริต ซึ่ง ส.ส.ได้แจกเงินไปแล้วกลัวว่าจะมีความผิด หรือโดนใบแดง จึงเขียนกฎหมายรับรองว่า สิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง หนทางที่ถูกต้องควรจะมาแก้ไขหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยแก้ไขรื้อทั้งระบบ
ขณะที่นายไสว พราหมณี ส.ว.นครราชสีมา อภิปรายว่า เหตุใดจึงไม่มีการแก้ไขเกี่ยวกับข้อห้ามกระทำการจูงใจเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้มีวิธีการที่พลิกแพลง หรือมีเทคนิคมากขึ้น การแก้ไขเพียงระยะเวลา ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการซื้อเสียง ดังนั้น ควรกลับไปใช้กฎหมายเดิมที่ดีอยู่แล้ว ซึ่ง กกต.มีอำนาจในการดำเนินการอยู่แล้ว กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายลักษณะฟอก หรือรับรองผลการกระทำผิดของผู้สมัครก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง หากวุฒิสภาผ่านกฎหมายฉบับนี้ เชื่อว่าจะเกิดความโกลาหล เกิดการฆ่ากันในสังคมการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งในต้นปี 2548 ไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งในปี 2500 ที่โกงการเลือกตั้งอย่างโจ๋งครึ่ม สิ่งสำคัญกฎหมายฉบับนี้ออกก็ยังไม่มีผลบังคับอย่างเต็มที่ในการเลือกตั้ง ตรงข้ามกลับเป็นการส่งเสริมให้คนรวยเข้ามาในสภามากกว่าคนจน เป็นการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์คนบางกลุ่มเท่านั้น
ด้านนายชุมพล ศิลปอาชา ประธานคณะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า กฎหมายเดิมกำหนดระยะเวลาห้ามไว้ 45 วัน ขณะที่ร่างของสภาผู้แทนฯ เปลี่ยนแปลงเป็น 60 วัน และคณะกรรมาธิการฯมาแก้ไขเป็น 180 วัน ซึ่งเป็นการแก้ไขเพื่อนำคนทำผิดในช่วงใกล้เลือกตั้งมาลงโทษ ซึ่งดีกว่ากฎหมายเดิมแน่นอน แม้ว่ากำหนดเวลา 180 วัน จะใช้ไม่ได้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่สามารถนำไปใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม กกต.สามารถใช้รัฐธรรมนูญมาตรา147 ไปดำเนินการได้ จึงขอยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการขยายเวลาการห้ามหาเสียงจูงใจจาก 45 วันเป็น 180 วัน หากจะขัดรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับว่ากฎหมายเดิมก็ขัดรัฐธรรมนูญด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังสมาชิกที่สงวนคำแปรญัตติไว้ อภิปรายมาตรานี้ใช้เวลาพอสมควรแล้ว นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา จะถามมติ ในมาตรา 4 แต่นายการุณ ได้ทักท้วงขอให้ตรวจสอบองค์ประชุมว่าครบหรือไม่ หากไม่ครบอาจขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้ นายสุชน ตัดบทปิดประชุมอย่างกระทันหัน ในเวลา 18.55 น.เพื่อเลื่อนให้ไปลงมติในวันรุ่งขึ้น (23พ.ย.)แทน อย่างไรก็ตามในการลงมติมาตราอื่นๆ เสียงองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
**วิปรัฐบาลรับได้กับการแก้ไขของส.ว.
ด้าน นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า การแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งส.ส.และส.ว.ที่วุฒิสภาแก้ไขมา 3 ประเด็น คือ 1.ห้ามหาเสียงและแจกของจาก 60 วันเป็น 180 วัน 2.ผู้ร้องเรียนคัดค้านผลการเลือกตั้งที่ส.ส.เสนอไปจำนวน 10 คนแต่ ส.ว.แก้ไขจำนวนผู้ร้องคัดค้านเหลือเพียง 1 คน และ 3. ส.ส.เสนอให้ประกาศชื่อผู้ที่ร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งและพยาน แต่ส.ว.แก้ไขจุดนี้นั้น ทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว วิปรัฐบาลสามารถรับได้กับการแก้ไข โดยจะรอการพิจารณาของส.ว. หากไม่มีอะไรผิดพลาด คาดว่าจะบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 พ.ย.และอาจพิจารณาเป็นวาระเพิ่มเติม ในวันที่ 26 พ.ย.นี้
นอกจากนี้ นายวิชีต ยังได้กล่าวถึงผลงาน และกฎหมายต่างๆที่ผ่านการพิจารณษจากสภาผูแทนราษฎร ว่าที่ผ่านมาวิปรัฐบาลได้เสนอกฎหมายต่อรัฐสภา198 ฉบับ บังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว 144 ฉบับ อยู่ระหว่างการพิจารณาและรับหลักการ 13 ฉบับ รับหลักการในวาระแรกไปแล้ว 9 ฉบับ อยู่ในขั้นตอนการรับหลักการและพิจารณาของวุฒิสภา 11 ฉบับ อยู่ในขั้นตอนของกมธ.วุฒิสภา 12 ฉบับและอยู่ในกมธ.ร่วม 1 ฉบับคือ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ส.ว.แก้ไข และส่งคือมา 3 ฉบับ และส.ส.ยับยั้งร่างกฎหมายที่ส.ว.แก้ไขมา 5 ฉบับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (22พ.ย.)ภายหลังจากที่วุฒิสภาได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ต่างๆ ในวาระ 2 และ 3 จำนวน 3 ฉบับแล้ว นายนิเวศ พันธุ์เจริญวรกุล ส.ว.พระนครศรีอยุธยา ได้ขอเลื่อน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ขึ้นมาพิจารณาก่อน ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งสมาชิกบางส่วนอภิปรายสนับสนุน
ขณะที่นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ อภิปรายคัดค้านว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ใช้ไม่ได้ ร่างออกมาเหมือนนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิด แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะผ่านวุฒิสภา และสภาผู้แทนฯเห็นชอบกับการแก้ไข ก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ ขณะนี้สามารถล่ารายชื่อได้ถึง 40-50 คนแล้ว ขณะที่การยื่นให้ตีความ จะใช้เสียงเพียง 20 คน ซึ่งหากวุฒิสภามีมติเห็นชอบก็จะยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการทันที ดังนั้น สภาไม่ควรใช้เวลามาพิจารณาเรื่องไร้สาระ และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ควรนำเวลาที่มีอยู่มาพิจารณาเรื่องที่เป็นประโยชน์ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการลงมติ เห็นชอบให้เลื่อน ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ ขึ้นมาพิจารณาด้วยคะแนน 71 เสียงต่อ 39 เสียง จากนั้นที่ประชุมได้เริ่มพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ ในวาระ 2 โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้แก้ไขสาระสำคัญใน มาตรา 4 ซึ่งเป็นมาตรา 44 ของร่าง กฎหมายเดิมเกี่ยวกับระยะเวลาในการห้ามผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการจูงใจ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาลงคะแนนเสียง ซึ่งร่าง ของสภาผู้แทนราษฎร ได้กำหนดเวลาไว้ภายใน 60 วัน แต่คณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขเป็นภายใน 180 วัน และได้แก้ไข มาตรา 6 ซึ่งเป็นมาตรา 96 ของกฎหมายเดิม เกี่ยวกับการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ซึ่งร่าง ของสภาผู้แทนราษฎร กำหนดว่า หากเป็นผู้มีสิทธิ์ลือกตั้งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน ถึงจะร้องคัดค้านได้ แต่คณะกรรมาธิการฯ ได้ตัดจำนวนไม่น้อยกว่า10 คนออกไป อีกทั้งได้แก้ไขกรณีผู้ถูกคัดค้านสามารถขอทราบชื่อผู้คัดค้านและรายละเอียดการคัดค้านต่อ กกต.โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขให้ กกต.ต้องให้โอกาสผู้ถูกคัดค้านทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เพียงพอแก่การเข้าใจพฤติการณ์ที่ถูกคัดค้าน
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขเพิ่มเติมใน มาตรา 8 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล โดยไม่ให้นำข้อห้ามในเรื่องระยะเวลา 180 วัน มาใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก หลังกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และให้เริ่มนับเวลาการห้ามกระทำการตั้งแต่วันที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ แต่หากกฎหมายฉบับนี้ยังบังคับใช้หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งแล้ว ให้เริ่มนับระยะเวลาการห้ามดังกล่าวตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นต้นไป
ในการพิจารณามาตรา 4 สมาชิกแสดงความไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ของคณะกรรมาธิการ รวมทั้งร่างของสภาผู้แทนฯ โดยนายการุณ เห็นว่า ไม่เกิดประโยชน์เพราะเจตนารมย์ในการแก้ไขก็เพียงการรับรองให้การกระทำความผิด เป็นเรื่องที่ถูก ถือเป็นอาชญากรทางการเมืองที่เข้าสู่การเมืองโดยทุจริต ซึ่ง ส.ส.ได้แจกเงินไปแล้วกลัวว่าจะมีความผิด หรือโดนใบแดง จึงเขียนกฎหมายรับรองว่า สิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง หนทางที่ถูกต้องควรจะมาแก้ไขหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยแก้ไขรื้อทั้งระบบ
ขณะที่นายไสว พราหมณี ส.ว.นครราชสีมา อภิปรายว่า เหตุใดจึงไม่มีการแก้ไขเกี่ยวกับข้อห้ามกระทำการจูงใจเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้มีวิธีการที่พลิกแพลง หรือมีเทคนิคมากขึ้น การแก้ไขเพียงระยะเวลา ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการซื้อเสียง ดังนั้น ควรกลับไปใช้กฎหมายเดิมที่ดีอยู่แล้ว ซึ่ง กกต.มีอำนาจในการดำเนินการอยู่แล้ว กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายลักษณะฟอก หรือรับรองผลการกระทำผิดของผู้สมัครก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง หากวุฒิสภาผ่านกฎหมายฉบับนี้ เชื่อว่าจะเกิดความโกลาหล เกิดการฆ่ากันในสังคมการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งในต้นปี 2548 ไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งในปี 2500 ที่โกงการเลือกตั้งอย่างโจ๋งครึ่ม สิ่งสำคัญกฎหมายฉบับนี้ออกก็ยังไม่มีผลบังคับอย่างเต็มที่ในการเลือกตั้ง ตรงข้ามกลับเป็นการส่งเสริมให้คนรวยเข้ามาในสภามากกว่าคนจน เป็นการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์คนบางกลุ่มเท่านั้น
ด้านนายชุมพล ศิลปอาชา ประธานคณะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า กฎหมายเดิมกำหนดระยะเวลาห้ามไว้ 45 วัน ขณะที่ร่างของสภาผู้แทนฯ เปลี่ยนแปลงเป็น 60 วัน และคณะกรรมาธิการฯมาแก้ไขเป็น 180 วัน ซึ่งเป็นการแก้ไขเพื่อนำคนทำผิดในช่วงใกล้เลือกตั้งมาลงโทษ ซึ่งดีกว่ากฎหมายเดิมแน่นอน แม้ว่ากำหนดเวลา 180 วัน จะใช้ไม่ได้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่สามารถนำไปใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม กกต.สามารถใช้รัฐธรรมนูญมาตรา147 ไปดำเนินการได้ จึงขอยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการขยายเวลาการห้ามหาเสียงจูงใจจาก 45 วันเป็น 180 วัน หากจะขัดรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับว่ากฎหมายเดิมก็ขัดรัฐธรรมนูญด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังสมาชิกที่สงวนคำแปรญัตติไว้ อภิปรายมาตรานี้ใช้เวลาพอสมควรแล้ว นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา จะถามมติ ในมาตรา 4 แต่นายการุณ ได้ทักท้วงขอให้ตรวจสอบองค์ประชุมว่าครบหรือไม่ หากไม่ครบอาจขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้ นายสุชน ตัดบทปิดประชุมอย่างกระทันหัน ในเวลา 18.55 น.เพื่อเลื่อนให้ไปลงมติในวันรุ่งขึ้น (23พ.ย.)แทน อย่างไรก็ตามในการลงมติมาตราอื่นๆ เสียงองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
**วิปรัฐบาลรับได้กับการแก้ไขของส.ว.
ด้าน นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า การแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งส.ส.และส.ว.ที่วุฒิสภาแก้ไขมา 3 ประเด็น คือ 1.ห้ามหาเสียงและแจกของจาก 60 วันเป็น 180 วัน 2.ผู้ร้องเรียนคัดค้านผลการเลือกตั้งที่ส.ส.เสนอไปจำนวน 10 คนแต่ ส.ว.แก้ไขจำนวนผู้ร้องคัดค้านเหลือเพียง 1 คน และ 3. ส.ส.เสนอให้ประกาศชื่อผู้ที่ร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งและพยาน แต่ส.ว.แก้ไขจุดนี้นั้น ทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว วิปรัฐบาลสามารถรับได้กับการแก้ไข โดยจะรอการพิจารณาของส.ว. หากไม่มีอะไรผิดพลาด คาดว่าจะบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 พ.ย.และอาจพิจารณาเป็นวาระเพิ่มเติม ในวันที่ 26 พ.ย.นี้
นอกจากนี้ นายวิชีต ยังได้กล่าวถึงผลงาน และกฎหมายต่างๆที่ผ่านการพิจารณษจากสภาผูแทนราษฎร ว่าที่ผ่านมาวิปรัฐบาลได้เสนอกฎหมายต่อรัฐสภา198 ฉบับ บังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว 144 ฉบับ อยู่ระหว่างการพิจารณาและรับหลักการ 13 ฉบับ รับหลักการในวาระแรกไปแล้ว 9 ฉบับ อยู่ในขั้นตอนการรับหลักการและพิจารณาของวุฒิสภา 11 ฉบับ อยู่ในขั้นตอนของกมธ.วุฒิสภา 12 ฉบับและอยู่ในกมธ.ร่วม 1 ฉบับคือ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ส.ว.แก้ไข และส่งคือมา 3 ฉบับ และส.ส.ยับยั้งร่างกฎหมายที่ส.ว.แก้ไขมา 5 ฉบับ