ผมมี DVD ภาพยนต์เรื่อง “สุริโยไท” ฉบับ 5 ชั่วโมงเต็มที่เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่นานแล้วตั้งแต่ออกวางจำหน่ายเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่มีเวลาดูเสียที เพราะไม่อยากดูวันละนิดวันละหน่อย เพิ่งได้มาดูเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง คงจะเป็นความบังเอิญมากกว่าตั้งใจ
แต่ก็ทำให้เข้าใจเรื่องราวของ “สุริโยไทฉบับภาพยนต์” มากขึ้น
ในสถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเมืองที่กำลังต้องการ “รวมน้ำใจคนไทยเป็นหนึ่งเดียว” การได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้มีคุณค่าอย่างยิ่ง !
ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉบับ 3 ชั่วโมงออกฉายเมื่อหลาย 4 ปีก่อน ทำให้ผมกลับมาอ่านหนังสือประวัติศาสตร์อย่างขนานใหญ่อีกครั้ง หลังจากเลิกราไปตั้งแต่พ้นรั้วโรงเรียน อย่างน้อยก็ด้วย 2 เหตุผล
เหตุผลประการแรกก็เพราะกลัวดูหนังไม่รู้เรื่อง
เหตุผลประการต่อมาก็เพราะอยากเข้าใจพื้นฐานการตีความประวัติศาสตร์ของผู้สร้างภาพยนตร์
นอกจากอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยแล้ว ทำให้ก้าวล่วงไปสู่การอ่านประวัติศาสตร์พม่าที่เกี่ยวเนื่องด้วย
เพราะผู้สร้างคือ ท่านมุ้ย-ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และผู้ร่วมเขียนบทคือ ดร.สุเนตร ชุตินทรานนท์ ทำให้ผมสนใจใคร่ศึกษา หากเป็นคนอื่น กับเรื่องราวทำนองปลุกใจให้รักชาติเสียสละเพื่อชาติเช่นนี้คงไม่ถึงกับมีอะไรน่าสนใจมากนัก เพราะนอกจากจะมีสติปัญญาความรู้ความสามารถและมีบารมีผลงานเป็นหลักประกันได้มากพอสมควรว่าไม่มั่วและไม่มักง่ายแล้ว ท่านมุ้ยยังเป็นเชื้อพระวงศ์ระดับสูงที่เข้าใจโลกเข้าใจสังคมมากที่สุดคนหนึ่ง เช่นเดียวกับท่านอาจารย์สุเนตรที่เป็นนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ และเชี่ยวชาญด้านพม่าอย่างหาตัวจับยาก
“สุริโยไท” ไม่ใช่หนังปลุกใจตื้น ๆ ดาด ๆ แน่นอน
ท่านมุ้ยเขียนหนังสือเรื่อง “จดหมายเหตุสุริโยไท” ออกมาบอกเล่าเรื่องราวในบางตอนด้วยภาษาของท่านบวกกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากพงศาวดารและบันทึกต่าง ๆ เพื่อให้นักแสดงได้ศึกษา ซึมซับ มีลักษณะเป็นตอน ๆ ตามประเด็นของเหตุการณ์ตามท้องเรื่อง แม้แต่แรกไม่ตั้งใจจะเผยแพร่ แต่ก็เป็นหนังสือที่ควรมีไว้ประกอบการชมภาพยนตร์เล่มหนึ่ง
เพื่อจะให้คุณ ๆ ตามไปอ่านจากพงศาวดารและบันทึกประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่ท่านมุ้ยระบุไว้
อีกเล่มหนึ่งที่ผมอยากเสนอแนะให้อ่านก่อนอ่าน “จดหมายเหตุสุโยไท” คือเล่มนี้ครับ...
“สุริโยไท : ประวัติศาสตร์จากภาพยนต์”
โดย พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
ท่านเป็นข้าราชการกรมศิลปากร เป็นนักวิชาการบริสุทธิ์ แม่นเอกสาร ตำนานพงศาวดาร ศิลจารึก และแม่นโบราณศิลปวัตถุสถานในประเทศไทย โดยเฉพาะทางท้องถิ่นลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงดินแดนล้านนา ผลงานของท่านมีมากมายก่ายกอง
และเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาทางวิชาการของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย
นอกจากนั้น -- ก็เห็นจะเป็นงานทุกเล่มที่เกี่ยวกีบสงครามไทย-พม่าของดร.สุเนตร ชุตินทรานนท์ !
ทั้งหมดนอกจากจะปูพื้นประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยายุคต้นตามแนวคิดใหม่ทางประวัติศาสตร์อันเป็นแก่นแกนของบทภาพยนตร์แล้ว ยังจะได้บอกเล่าทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยว่าทำไมบทภาพยนตร์จึงออกมาในรูปแบบที่ปรากฎ
“สุริโยไท” มีความยิ่งใหญ่อย่างน้อย 3 ประการ
ประการที่หนึ่ง – เพราะเป็นการเสนอแนวคิดทางประวัติศาสตร์ใหม่ บอกเล่าการช่วงชิงอำนาจและการดุลอำนาจของชนชั้นนำ 3 กลุ่ม ราชวงศ์ละโว้-อโยธยา, ราชวงศ์สุพรรณภูมิ และราชวงศ์สุโขทัย โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการและการตีความพงศาวดารโดยมีพื้นฐานทางวิชาการรองรับ
ประการที่สอง – ไม่ยึดติดการนำเสนอในแนวชาตินิยมล้าหลัง เพราะอุดมการณ์ชาติยังไม่เกิดในยุคนั้น เป็นเรื่องราวของแว่นแคว้น อโยธยา, พิษณุโลก, นครศรีธรรมราช, ล้านนา, ตองอู, หงสาวดี, พะสิม และ ฯลฯ เป็นการต่อสู้ระหว่างยุทธศาสตร์พยายามรวมศูนย์อำนาจของกษัตริย์ที่เข้มแข็ง กับการพยายามเป็นอิสระปกครองตนเองของแว่นแคว้นต่าง ๆ และการพบกันครึ่งทางในลักษณะมอบอำนาจให้ปกครอง
ประการที่สาม – เป็นการนำเสนอท่ามกลางภววิสัยที่ขาดแคลนหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเอกสารศึกษาวิจัย
เฉพาะในประการที่ 3 ข้างต้น ท่านมุ้ยใช้ “ลิลิตยวนพ่าย” เป็นอาวุธลับ
ลิลิตยวนพ่ายเกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ช่วงระยะเวลาก่อนท้องเรื่องระยะหนึ่ง การบรรยายภาพกระบวนทัพรวมถึงการแต่งกายของนักรบทั้งคนและช้างม้าอย่างละเอียดในสงครามอโยธยารบล้านนานั้น ท่านได้ทรงนำมาเป็นแบบอย่างในภาพยนตร์
โทนของภาพยนตร์ออกมาในเชิงทำความเข้าใจกับความเป็นมนุษย์ภายใต้สถานการณ์ในยุคนั้นของตัวละคอนทุกตัว ไม่มีใครเป็นผู้ร้ายชนิดร้ายสุด ๆ
รวมทั้งแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราช
หรือกล้าตีความให้ภาพของตะเบ็งชะเวตี้ออกมาเป็น “แต๋ว” หรือ “เกย์” ได้อย่างน่าทึ่ง
โดยไม่กลัวว่าจะขัดแย้งกับภาพ “มังตรา” ที่คนไทยคุ้นชินจากนวนิยาย “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ “ยาขอบ” เลยแม้แต่น้อย
แต่ที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นบทบาท “พระแม่เมือง” ของ “สุริโยไทในภาพยนตร์” !
เราเคยรู้จัก “สมเด็จพระศรีสุริโยทัยในตำราประวัติศาสตร์” ในด้านความรักที่ยิ่งใหญ่ รักแผ่นดิน รักพระมหากษัตริย์ และในด้านความกล้าหาญ ความเสียสละ
แต่ “สุริโยไทในภาพยนตร์” ให้ภาพเพิ่มเติมในด้านความเป็น “นักบริหารจัดการ” ที่ยอดเยี่ยม
เป็นหนึ่งใน DVD ที่คุณไม่ควรพลาด !
แต่ก็ทำให้เข้าใจเรื่องราวของ “สุริโยไทฉบับภาพยนต์” มากขึ้น
ในสถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเมืองที่กำลังต้องการ “รวมน้ำใจคนไทยเป็นหนึ่งเดียว” การได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้มีคุณค่าอย่างยิ่ง !
ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉบับ 3 ชั่วโมงออกฉายเมื่อหลาย 4 ปีก่อน ทำให้ผมกลับมาอ่านหนังสือประวัติศาสตร์อย่างขนานใหญ่อีกครั้ง หลังจากเลิกราไปตั้งแต่พ้นรั้วโรงเรียน อย่างน้อยก็ด้วย 2 เหตุผล
เหตุผลประการแรกก็เพราะกลัวดูหนังไม่รู้เรื่อง
เหตุผลประการต่อมาก็เพราะอยากเข้าใจพื้นฐานการตีความประวัติศาสตร์ของผู้สร้างภาพยนตร์
นอกจากอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยแล้ว ทำให้ก้าวล่วงไปสู่การอ่านประวัติศาสตร์พม่าที่เกี่ยวเนื่องด้วย
เพราะผู้สร้างคือ ท่านมุ้ย-ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และผู้ร่วมเขียนบทคือ ดร.สุเนตร ชุตินทรานนท์ ทำให้ผมสนใจใคร่ศึกษา หากเป็นคนอื่น กับเรื่องราวทำนองปลุกใจให้รักชาติเสียสละเพื่อชาติเช่นนี้คงไม่ถึงกับมีอะไรน่าสนใจมากนัก เพราะนอกจากจะมีสติปัญญาความรู้ความสามารถและมีบารมีผลงานเป็นหลักประกันได้มากพอสมควรว่าไม่มั่วและไม่มักง่ายแล้ว ท่านมุ้ยยังเป็นเชื้อพระวงศ์ระดับสูงที่เข้าใจโลกเข้าใจสังคมมากที่สุดคนหนึ่ง เช่นเดียวกับท่านอาจารย์สุเนตรที่เป็นนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ และเชี่ยวชาญด้านพม่าอย่างหาตัวจับยาก
“สุริโยไท” ไม่ใช่หนังปลุกใจตื้น ๆ ดาด ๆ แน่นอน
ท่านมุ้ยเขียนหนังสือเรื่อง “จดหมายเหตุสุริโยไท” ออกมาบอกเล่าเรื่องราวในบางตอนด้วยภาษาของท่านบวกกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากพงศาวดารและบันทึกต่าง ๆ เพื่อให้นักแสดงได้ศึกษา ซึมซับ มีลักษณะเป็นตอน ๆ ตามประเด็นของเหตุการณ์ตามท้องเรื่อง แม้แต่แรกไม่ตั้งใจจะเผยแพร่ แต่ก็เป็นหนังสือที่ควรมีไว้ประกอบการชมภาพยนตร์เล่มหนึ่ง
เพื่อจะให้คุณ ๆ ตามไปอ่านจากพงศาวดารและบันทึกประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่ท่านมุ้ยระบุไว้
อีกเล่มหนึ่งที่ผมอยากเสนอแนะให้อ่านก่อนอ่าน “จดหมายเหตุสุโยไท” คือเล่มนี้ครับ...
“สุริโยไท : ประวัติศาสตร์จากภาพยนต์”
โดย พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
ท่านเป็นข้าราชการกรมศิลปากร เป็นนักวิชาการบริสุทธิ์ แม่นเอกสาร ตำนานพงศาวดาร ศิลจารึก และแม่นโบราณศิลปวัตถุสถานในประเทศไทย โดยเฉพาะทางท้องถิ่นลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงดินแดนล้านนา ผลงานของท่านมีมากมายก่ายกอง
และเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาทางวิชาการของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย
นอกจากนั้น -- ก็เห็นจะเป็นงานทุกเล่มที่เกี่ยวกีบสงครามไทย-พม่าของดร.สุเนตร ชุตินทรานนท์ !
ทั้งหมดนอกจากจะปูพื้นประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยายุคต้นตามแนวคิดใหม่ทางประวัติศาสตร์อันเป็นแก่นแกนของบทภาพยนตร์แล้ว ยังจะได้บอกเล่าทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยว่าทำไมบทภาพยนตร์จึงออกมาในรูปแบบที่ปรากฎ
“สุริโยไท” มีความยิ่งใหญ่อย่างน้อย 3 ประการ
ประการที่หนึ่ง – เพราะเป็นการเสนอแนวคิดทางประวัติศาสตร์ใหม่ บอกเล่าการช่วงชิงอำนาจและการดุลอำนาจของชนชั้นนำ 3 กลุ่ม ราชวงศ์ละโว้-อโยธยา, ราชวงศ์สุพรรณภูมิ และราชวงศ์สุโขทัย โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการและการตีความพงศาวดารโดยมีพื้นฐานทางวิชาการรองรับ
ประการที่สอง – ไม่ยึดติดการนำเสนอในแนวชาตินิยมล้าหลัง เพราะอุดมการณ์ชาติยังไม่เกิดในยุคนั้น เป็นเรื่องราวของแว่นแคว้น อโยธยา, พิษณุโลก, นครศรีธรรมราช, ล้านนา, ตองอู, หงสาวดี, พะสิม และ ฯลฯ เป็นการต่อสู้ระหว่างยุทธศาสตร์พยายามรวมศูนย์อำนาจของกษัตริย์ที่เข้มแข็ง กับการพยายามเป็นอิสระปกครองตนเองของแว่นแคว้นต่าง ๆ และการพบกันครึ่งทางในลักษณะมอบอำนาจให้ปกครอง
ประการที่สาม – เป็นการนำเสนอท่ามกลางภววิสัยที่ขาดแคลนหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเอกสารศึกษาวิจัย
เฉพาะในประการที่ 3 ข้างต้น ท่านมุ้ยใช้ “ลิลิตยวนพ่าย” เป็นอาวุธลับ
ลิลิตยวนพ่ายเกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ช่วงระยะเวลาก่อนท้องเรื่องระยะหนึ่ง การบรรยายภาพกระบวนทัพรวมถึงการแต่งกายของนักรบทั้งคนและช้างม้าอย่างละเอียดในสงครามอโยธยารบล้านนานั้น ท่านได้ทรงนำมาเป็นแบบอย่างในภาพยนตร์
โทนของภาพยนตร์ออกมาในเชิงทำความเข้าใจกับความเป็นมนุษย์ภายใต้สถานการณ์ในยุคนั้นของตัวละคอนทุกตัว ไม่มีใครเป็นผู้ร้ายชนิดร้ายสุด ๆ
รวมทั้งแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราช
หรือกล้าตีความให้ภาพของตะเบ็งชะเวตี้ออกมาเป็น “แต๋ว” หรือ “เกย์” ได้อย่างน่าทึ่ง
โดยไม่กลัวว่าจะขัดแย้งกับภาพ “มังตรา” ที่คนไทยคุ้นชินจากนวนิยาย “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ “ยาขอบ” เลยแม้แต่น้อย
แต่ที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นบทบาท “พระแม่เมือง” ของ “สุริโยไทในภาพยนตร์” !
เราเคยรู้จัก “สมเด็จพระศรีสุริโยทัยในตำราประวัติศาสตร์” ในด้านความรักที่ยิ่งใหญ่ รักแผ่นดิน รักพระมหากษัตริย์ และในด้านความกล้าหาญ ความเสียสละ
แต่ “สุริโยไทในภาพยนตร์” ให้ภาพเพิ่มเติมในด้านความเป็น “นักบริหารจัดการ” ที่ยอดเยี่ยม
เป็นหนึ่งใน DVD ที่คุณไม่ควรพลาด !