บุชส่ง 'คอนดี้' เสียบเก้าอี้ทันควัน
รอยเตอร์ / เอเอฟพี - คอลิน พาวเวลล์ ตัดสินใจสละเก้าอี้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ขณะประธานาธิบดีบุชเตรียมเสนอชื่อคอนโดลีซซา ไรซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงคู่ใจเข้ารับตำแหน่งแทน ด้านนานาชาติส่งสารเสียใจต่อการลาออกของพาวเวลล์ ซึ่งอาจส่งผลให้อิทธิพลฝ่ายขวาในรัฐบาล "บุช 2" เพิ่มขึ้น
ทำเนียบขาวของสหรัฐฯประกาศข่าวการลาออกของพาวเวลล์ เมื่อวันจันทร์ (15) พร้อมกับรัฐมนตรีอีก 3 คน ประกอบด้วยสเปนเซอร์ อับราฮัม แห่งกระทรวงพลังงาน, แอนน์ เวนแมน กระทรวงเกษตร และร็อด เพจ กระทรวงศึกษาธิการ โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับครม. ก่อนเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศต่อเป็นสมัยที่สองของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พาวเวลล์ อดีตนายพลสี่ดาวและวีรบุรุษสงครามอ่าวปี 1991 ระบุในจดหมายที่ส่งถึงบุชว่า เขาได้หารือเรื่องการลาออกกับผู้นำสหรัฐฯมาแล้วหลายเดือน ขณะเดียวกัน ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีที่เขาจะได้ก้าวลงจากอำนาจและกลับไปใช้ชีวิตส่วนตัว
แม้พาวเวลล์ไม่ให้เหตุผลของการลาออก แต่รายงานหลายชิ้นชี้ว่า อาจเป็นเพราะบาดแผลส่วนตัว หลังเขาอ้างหลักฐานเท็จเกี่ยวกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2003 นอกจากนั้นยังรวมถึงความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกับบรรดาสายเหยี่ยวในรัฐบาล อาทิ รองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ และรมว.กลาโหมโดนัลด์ รัมสเฟลด์ โดยเฉพาะนโยบายชิงลงมือโจมตีก่อน
ด้านบุชได้ตอบรับการลาออกแล้ว พร้อมกับชื่นชมพาวเวลล์ว่าเป็น "หนึ่งในข้ารับใช้ประชาชนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นทั้งทหาร นักการทูต ผู้นำพลเรือน รัฐบุรุษ และผู้รักชาติ" ขณะที่นานาชาติพร้อมใจส่งสารแสดงความเสียใจต่อการตัดสินใจครั้งนี้ของพาวเวลล์เช่นกัน
หนึ่งในนั้น คือ เฟรด เอ็กฮาร์ด โฆษกของโคฟี อันนัน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งระบุว่า อันนันกับพาวเวลล์มี "ความสัมพันธ์ทางการงานที่อบอุ่นมาก" พร้อมกับซาบซึ้งใจที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯให้การสนับสนุนยูเอ็นมาโดยตลอด
สำหรับผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งแทนพาวเวลล์นั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล เผยว่า บุชจะเสนอชื่อคอนโดลีซซา ไรซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ในอีกหนึ่งวันถัดไป ขณะเดียวกันจะขยับสตีเฟน แฮดลีย์ รองที่ปรึกษาความมั่นคง ขึ้นทำหน้าที่แทนไรซ์
ไรซ์ ซึ่งเพิ่งอายุครบ 50 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ถูกคาดหมายมาก่อนแล้วว่าจะได้รับตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากเธอเป็นหนึ่งในคนสนิทที่ใกล้ชิดบุชมากที่สุด อีกทั้งยังเชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมอาวุธ และใช้ภาษารัสเซียได้อย่างแตกฉาน
การเปลี่ยนตัวเจ้ากระทรวงการทูตมีขึ้นในขณะที่วอชิงตัน กำลังผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางครั้งใหม่ หลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดียัสเซอร์ อาราฟัต แห่งปาเลสไตน์
อย่างไรก็ดี คาดว่าพาวเวลล์จะยังคงทำหน้าที่นี้ต่อไปจนถึงกลางเดือนมกราคมปีหน้า โดยเขามีแผนเดินทางเยือนตะวันออกกลางในอีกหนึ่งสัปดาห์ พร้อมทั้งยังอาจเข้าพบหารือกับบรรดาผู้นำปาเลสไตน์ในคราวเดียวกัน
หวั่นฝ่ายขวายึดทำเนียบขาว
นอกจากการลาออกของพาวเวลล์แล้ว แหล่งข่าวยังระบุว่า ริชาร์ด อาร์มิเทจ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่อาวุโสในกระทรวงเดียวกันอีกหลายคน อาทิ มิตเชล รีสส์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน และเจมส์ เคลลี ผู้ช่วยรมต.ซึ่งเป็นแกนหลักในการเจรจากับเกาหลีเหนือ ก็เตรียมประกาศไขก๊อกตามเจ้ากระทรวงในเร็วๆนี้
ข่าวการสละเก้าอี้ของบรรดานักการเมืองสายกลาง ทำให้หลายฝ่ายวิตกว่า กลุ่มเอียงขวาหัวอนุรักษนิยมอาจเข้ามามีอิทธิพลต่อตัวประธานาธิบดีเพิ่มขึ้น กระนั้น แจ็ก สตอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ มองว่า การลาออกของพาวเวลล์ไม่น่าจะส่งผลให้นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯแข็งกร้าวขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากทุกๆสิ่งที่พาวเวลล์เคยทำมา ล้วนมาจากคำสั่งของบุชทั้งสิ้น
รอยเตอร์ / เอเอฟพี - คอลิน พาวเวลล์ ตัดสินใจสละเก้าอี้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ขณะประธานาธิบดีบุชเตรียมเสนอชื่อคอนโดลีซซา ไรซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงคู่ใจเข้ารับตำแหน่งแทน ด้านนานาชาติส่งสารเสียใจต่อการลาออกของพาวเวลล์ ซึ่งอาจส่งผลให้อิทธิพลฝ่ายขวาในรัฐบาล "บุช 2" เพิ่มขึ้น
ทำเนียบขาวของสหรัฐฯประกาศข่าวการลาออกของพาวเวลล์ เมื่อวันจันทร์ (15) พร้อมกับรัฐมนตรีอีก 3 คน ประกอบด้วยสเปนเซอร์ อับราฮัม แห่งกระทรวงพลังงาน, แอนน์ เวนแมน กระทรวงเกษตร และร็อด เพจ กระทรวงศึกษาธิการ โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับครม. ก่อนเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศต่อเป็นสมัยที่สองของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พาวเวลล์ อดีตนายพลสี่ดาวและวีรบุรุษสงครามอ่าวปี 1991 ระบุในจดหมายที่ส่งถึงบุชว่า เขาได้หารือเรื่องการลาออกกับผู้นำสหรัฐฯมาแล้วหลายเดือน ขณะเดียวกัน ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีที่เขาจะได้ก้าวลงจากอำนาจและกลับไปใช้ชีวิตส่วนตัว
แม้พาวเวลล์ไม่ให้เหตุผลของการลาออก แต่รายงานหลายชิ้นชี้ว่า อาจเป็นเพราะบาดแผลส่วนตัว หลังเขาอ้างหลักฐานเท็จเกี่ยวกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2003 นอกจากนั้นยังรวมถึงความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกับบรรดาสายเหยี่ยวในรัฐบาล อาทิ รองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ และรมว.กลาโหมโดนัลด์ รัมสเฟลด์ โดยเฉพาะนโยบายชิงลงมือโจมตีก่อน
ด้านบุชได้ตอบรับการลาออกแล้ว พร้อมกับชื่นชมพาวเวลล์ว่าเป็น "หนึ่งในข้ารับใช้ประชาชนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นทั้งทหาร นักการทูต ผู้นำพลเรือน รัฐบุรุษ และผู้รักชาติ" ขณะที่นานาชาติพร้อมใจส่งสารแสดงความเสียใจต่อการตัดสินใจครั้งนี้ของพาวเวลล์เช่นกัน
หนึ่งในนั้น คือ เฟรด เอ็กฮาร์ด โฆษกของโคฟี อันนัน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งระบุว่า อันนันกับพาวเวลล์มี "ความสัมพันธ์ทางการงานที่อบอุ่นมาก" พร้อมกับซาบซึ้งใจที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯให้การสนับสนุนยูเอ็นมาโดยตลอด
สำหรับผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งแทนพาวเวลล์นั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล เผยว่า บุชจะเสนอชื่อคอนโดลีซซา ไรซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ในอีกหนึ่งวันถัดไป ขณะเดียวกันจะขยับสตีเฟน แฮดลีย์ รองที่ปรึกษาความมั่นคง ขึ้นทำหน้าที่แทนไรซ์
ไรซ์ ซึ่งเพิ่งอายุครบ 50 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ถูกคาดหมายมาก่อนแล้วว่าจะได้รับตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากเธอเป็นหนึ่งในคนสนิทที่ใกล้ชิดบุชมากที่สุด อีกทั้งยังเชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมอาวุธ และใช้ภาษารัสเซียได้อย่างแตกฉาน
การเปลี่ยนตัวเจ้ากระทรวงการทูตมีขึ้นในขณะที่วอชิงตัน กำลังผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางครั้งใหม่ หลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดียัสเซอร์ อาราฟัต แห่งปาเลสไตน์
อย่างไรก็ดี คาดว่าพาวเวลล์จะยังคงทำหน้าที่นี้ต่อไปจนถึงกลางเดือนมกราคมปีหน้า โดยเขามีแผนเดินทางเยือนตะวันออกกลางในอีกหนึ่งสัปดาห์ พร้อมทั้งยังอาจเข้าพบหารือกับบรรดาผู้นำปาเลสไตน์ในคราวเดียวกัน
หวั่นฝ่ายขวายึดทำเนียบขาว
นอกจากการลาออกของพาวเวลล์แล้ว แหล่งข่าวยังระบุว่า ริชาร์ด อาร์มิเทจ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่อาวุโสในกระทรวงเดียวกันอีกหลายคน อาทิ มิตเชล รีสส์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน และเจมส์ เคลลี ผู้ช่วยรมต.ซึ่งเป็นแกนหลักในการเจรจากับเกาหลีเหนือ ก็เตรียมประกาศไขก๊อกตามเจ้ากระทรวงในเร็วๆนี้
ข่าวการสละเก้าอี้ของบรรดานักการเมืองสายกลาง ทำให้หลายฝ่ายวิตกว่า กลุ่มเอียงขวาหัวอนุรักษนิยมอาจเข้ามามีอิทธิพลต่อตัวประธานาธิบดีเพิ่มขึ้น กระนั้น แจ็ก สตอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ มองว่า การลาออกของพาวเวลล์ไม่น่าจะส่งผลให้นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯแข็งกร้าวขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากทุกๆสิ่งที่พาวเวลล์เคยทำมา ล้วนมาจากคำสั่งของบุชทั้งสิ้น