ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่คุณเพิ่งไปดูมาคือเรื่องอะไร ใช่เรื่องของเลนนี่ปลาฉลามมังสวิรัติจากชาร์ค เทล (Shark Tale) ที่กำลังทำรายได้มหาศาลทั่วโลกหรือไม่ หรือเป็นเรื่องของแมวสีส้มจอมกวนตัวอ้วนที่ชื่อการ์ฟิลด์ (Garfield) ตัวนั้น หรือคือภาพยนตร์ไทยเรื่องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่างสุริยะฆาต
ไม่ว่าภาพยนตร์หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่คุณดูจะเป็นเรื่องอะไร สังเกตหรือไม่ว่าแทบทุกเรื่องจะมีการนำเทคนิคคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งโดยส่วนมากจะเรียกภาพยนตร์หรือการ์ตูนที่มีการใช้เทคนิคนี้ว่าภาพยนตร์แอนิเมชัน หรือ การ์ตูนแอนิเมชัน
ปัจจุบัน กระแสการใช้แอนิเมชัน (Animation) ในภาพยนตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศมีมากขึ้น จนแทบจะเรียกได้ว่าการใช้แอนิเมชันเป็นส่วนหนึ่งของเทคนิคการถ่ายทำที่ทีมงานผู้สร้างภาพยนตร์แทบทุกเรื่องคุ้นเคยดี อย่างไรก็ตามแอนิเมชันไม่ได้ถูกจำกัดขอบเขตการใช้งานเพียงแค่ในภาพยนตร์เท่านั้น หากมีส่วนร่วมในอีกหลายกิจกรรม เช่น โฆษณา เว็บไซต์ เกมออนไลน์ และแม้แต่ภาพเคลื่อนไหวในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
ในโลกมายาอย่างฮอลลีวูด บริษัทที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำเรื่องแอนิเมชันคงจะได้แก่พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ (Pixar Animation Studios) ซึ่งแต่เดิมเป็นบริษัทขนาดเล็กที่ผลิตภาพยนตร์สั้นสามมิติ ระดับคุณภาพด้วยรางวัลอคาเดมี และเป็นที่รู้จักมากขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อตกลงทำสัญญาร่วมกับวอลท์ดิสนีย์ สตูดิโอ (Walt Disney Studios) ในการลงทุนและแบ่งปันรายได้และผลกำไรที่ได้รับจากการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันจำนวนห้าเรื่อง โดยพิกซาร์จะเป็นผู้ดำเนินการด้านการผลิตขณะที่ดิสนีย์เป็นผู้ดำเนินการด้านการตลาด
ผลงานที่เกิดขึ้นหลังการร่วมมือกันของสองค่ายเป็นที่ประทับใจผู้บริโภคทั่วโลกทุกชาติทุกวัย เพราะ Toy Story ทั้งสองภาค, A Bug’s Life, Monsters Inc. และ Finding Nemo ได้รับการตอบรับอย่างดี ทั้งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลระดับโลกจำนวนมาก อาทิ รางวัลออสการ์ รางวัลอคาเดมี รางวัลโกลเด้นโกลบ เป็นต้น ด้วยคุณภาพที่ดีของผลงาน ทำให้ขณะนี้พิกซาร์กลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ และมีพนักงานเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าสิบเท่าตัว
แอนิเมชันของไทย
สำหรับในประเทศไทยนั้น การผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกที่เป็นที่รู้จักเริ่มมีขึ้นเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อคุณปยุต เงากระจ่าง ได้ใช้ความอุตสาหะกว่าสองปีในการเขียนภาพการ์ตูนนับหมื่นๆ ภาพขึ้นก่อนจะถ่ายทำออกมาเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องสุดสาคร ซึ่งปัจจุบันหอภาพยนตร์แห่งชาติเป็นผู้เก็บรักษาดูแลฟิล์มของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไว้ในฐานะสมบัติอีกชิ้นที่สำคัญของประเทศ
การริเริ่มผลิตงานแอนิเมชันของคุณปยุตได้จุดประกายความฝันให้กับผู้วาดภาพการ์ตูนอีกหลายราย และด้วยทักษะด้านศิลปะและลักษณะนิสัยพื้นฐานของคนไทยในด้านความพิถีพิถันและความละเอียดอ่อนในการทำงานทำให้ผลงานของหลายบริษัทได้รับการยอมรับจากต่างชาติ ส่งผลสืบเนื่องให้เจ้าของลิขสิทธิ์การ์ตูนจากต่างประเทศนิยมมาว่าจ้างให้ช่างฝีมือชาวไทยเป็นผู้ชุบชีวิตให้กับตัวการ์ตูนที่พวกเขาคิดค้นขึ้น อย่างไรก็ตามการรักษาความลับของลูกค้าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้รับจ้างดำเนินงาน ทำให้ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าภาพยนตร์แอนิเมชันหรือการ์ตูนหลายเรื่องที่ตนดูนั้นแท้จริงแล้วเป็นผลงานของคนไทยด้วยกันนั่นเอง
นอกจากนี้ ในจำนวนบริษัทที่ดำเนินงานเกี่ยวกับแอนิเมชันซึ่งมีอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน หลายบริษัทไม่เพียงเป็นผู้รับจ้างผลิตหากแต่พยายามคิดค้นคาแร็กเตอร์และเนื้อเรื่องของตนให้ถูกใจตลาดด้วย การกำหนดคาแร็กเตอร์และเนื้อหาของเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อคาแร็กเตอร์นั้นๆ เป็นที่ยอมรับและติดตามของผู้บริโภคแล้วแนวทางการดำเนินธุรกิจจะสามารถขยายออกไปได้อีกมากจากการขายลิขสิทธิ์คาแร็กเตอร์นั้นๆ เพื่อไปผลิตสินค้ารูปแบบต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้จำนวนไม่น้อยให้กับบริษัท
ไม่เพียงการขยายขอบข่ายธุรกิจไปในเชิงธุรกิจเท่านั้น ด้วยกระแสความนิยมแอนิเมชันในปัจจุบัน ทำให้มีผู้ประกอบการหลายรายหันมาให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรแอนิเมชันอีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการสอนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นไปจนถึงการฝึกฝนให้เป็นมืออาชีพ เพราะอย่างน้อยบริษัทผู้ฝึกสอนก็จะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้เห็นทักษะฝีมือของผู้เข้าอบรม ซึ่งย่อมจะเป็นโอกาสอันดีในการเลือกพนักงานที่มีคุณภาพคนต่อไปของบริษัทก่อนคู่แข่งขันในวงการอย่างแน่นอน
สำหรับผู้ที่สนใจจะก้าวเข้าสู่แวดวงการทำแอนิเมชัน ไม่ต้องกังวลว่าตนไม่มีความชำนาญในการวาดภาพ เพราะแอนิเมชันประกอบด้วยขั้นตอนที่หลากหลายให้เลือกตามความถนัดและความสนใจ โดยผู้ที่มีความสามารถด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรก็ควรฝึกฝนที่จะออกแบบโครงเรื่องและคาแร็กเตอร์ตัวละครของเรื่อง ขณะที่ผู้ที่รักการเขียนก็อาจเป็นผู้เขียนสคริปต์เล่าลำดับความเป็นมาของเรื่องให้น่าสนใจ ส่วนผู้ที่มีความสามารถในการวาดก็เหมาะที่จะเป็นผู้ออกแบบบทหรือที่เรียกว่าเขียนสตอรี่บอร์ด และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะอยู่ในฝ่ายที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ มาช่วยสร้างชีวิตและสีสันให้กับเรื่อง
ในขณะเดียวกัน ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจก็ควรมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพการผลิตผลงานของบริษัท โดยปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องของบุคลากรและเทคโนโลยี เพราะทั้งสองสิ่งเป็นหัวใจของการสร้างชิ้นงานให้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ปัจจัยอีกประการที่ไม่ควรละเลยนั้นคือการหาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นพันธมิตรกับประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องกราฟฟิก เนื่องจากจะสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก่กันได้
แอนิเมชันกับภาครัฐ
แม้ว่าความนิยมใช้เทคนิคแอนิเมชันจะเป็นเรื่องของภาคธุรกิจที่จะนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานแข่งขันกัน แต่ภาครัฐก็เล็งเห็นความสำคัญของแอนิเมชันนี้ ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวส่วนหนึ่งของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อปีที่ผ่านมาในการแสดงปาฐกถาเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่า สิ่งที่อยากจะส่งเสริมคือแอนิเมชัน จะทำให้วงการแอนิเมชันของเราแข็งแรง เพราะเรามีทักษะเรื่องนี้ ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ก็ประกาศจะผลักดันแอนิเมชันและมัลติมีเดียให้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมเกษตร แฟชั่น รถยนต์ และ การท่องเที่ยว ทั้งยังมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฮอลลีวูดแห่งเอเชียให้ได้
ที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกระทรวงไอซีที และเป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ ได้ดำเนินงานหลายรูปแบบเพื่อสนองตอบนโยบายของกระทรวงฯ
ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในระยะยาวจะเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ การสนับสนุนด้านอุปกรณ์และรูปแบบในการพัฒนา การเป็นตัวกลางเจรจาต่อรองราคากับเจ้าของลิขสิทธิ์ และ การส่งเสริมให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ไทยมากขึ้น โดยSIPAตั้งเป้าหมายว่าจะพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตประมาณ 7-10 เท่า ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
ในปีงบประมาณ 2547 SIPAได้รับการจัดสรรงบประมาณ 400 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยจะเลือกเข้าร่วมลงทุนกับบางโครงการเพื่อเป็นการสร้างเครดิตให้กับโครงการ ในเบื้องต้นจะมุ่งสนับสนุนเงินทุนกับ 3 กลุ่มหลัก คือ โครงการซอฟต์แวร์สำหรับเอสเอ็มอี ซอฟต์แวร์แอนิเมชันและมัลติมีเดีย และ แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่
สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการในสาขาแอนิเมชันและมัลติมีเดียนั้น จะเน้นการสร้างความตื่นตัวในหมู่คนที่มีทักษะด้านศิลปะเพื่อให้หันมาสนใจยึดอาชีพด้านนี้ ด้วยต้องการเพิ่มความมั่นใจว่าประเทศไทยจะมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากพอที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ เพราะมีตัวอย่างที่เห็นได้ในขณะนี้คือประเทศอินเดียที่วงการแอนิเมชันของประเทศกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคน
เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจในแอนิเมชัน ในช่วงต้นปี 2548 SIPAจะจัดงานมหกรรมเกี่ยวกับแอนิเมชันและมัลติมีเดียขึ้น ดังที่เคยจัดและประสบความสำเร็จมาแล้วเมื่อต้นปี 2547 งานมหกรรมที่กล่าวถึงนี้คืองาน “ไทยแลนด์ แอนิเมชัน แอนด์ มัลติมีเดีย 2005” (Thailand Animation and Multimedia: TAM 2005)
งาน TAM2005 เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพราะจะเป็นโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มาร่วมแสดงผลงานและเทคโนโลยี จึงเป็นงานที่รวบรวมกระบวนการต่างๆ ในวงการมานำเสนอ ทั้งผู้ประกอบการแอนิเมชันและมัลติมีเดีย ผู้พัฒนาเครื่องมือ/ซอฟต์แวร์ บริษัทโฆษณา สถาบันการศึกษา และธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะมีบริษัททั้งไทยและต่างประเทศมาร่วมงานจำนวนมาก
ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ก็เป็นอีกหน่วยงานภาครัฐที่มีความพยายามที่จะส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแอนิเมชันและมัลติมีเดียให้มากขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากการให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการประเภท 7.17 กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยหรือการให้บริการแก่ธุรกิจสร้างภาพยนตร์หรือบริการมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นการให้การส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในส่วนก่อนการถ่ายทำ (pre-production) ขณะถ่ายทำ (production) และการดำเนินการหลังการถ่ายทำ (post-production) มีความน่าสนใจลงทุนมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นคือการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี ไม่ว่าจะตั้งสถานประกอบการที่ใด และหากตั้งสถานประกอบการในเขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 3 ปี รวมเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามโครงการนั้นจะต้องมีเครื่องจักร อุปกรณ์ และขอบข่ายธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำหนด
นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการประเภท 5.8 กิจการซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นอีกหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้านแอนิเมชัน เนื่องจากการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้เกิดภาพและเสียงตามต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงานได้รับการพัฒนาใหม่อยู่ตลอดเวลา
ไม่เพียงแต่เทคโนโลยี และโลกธุรกิจเท่านั้นที่มีความเปลี่ยนแปลง เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน สำนักงานฯ ก็ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์สำหรับกิจการซอฟต์แวร์เช่นกัน โดยปรับปรุงให้ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งสถานประกอบการในเขตใด ทั้งยังไม่จำกัดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ และสำหรับกิจการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ก็ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินการยกเว้น ทั้งนี้เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตมาลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ล่าสุดสำนักงานฯ และSIPAได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ทั้งในด้านการผลิต การจัดการ และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะร่วมกันส่งเสริมและประสานงานกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าการลงทุนธุรกิจซอฟต์แวร์ในประเทศไทย มีการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษาด้านการลงทุนซอฟต์แวร์แก่ผู้ประกอบการอย่างครบวงจร จึงเป็นที่คาดหวังว่าความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่ดีขึ้น และสามารถสร้างผลงานที่น่าประทับใจได้ในเวทีโลก
********
Pre-production คือ กิจกรรมก่อนการถ่ายทำ เช่น การเขียนบท การคัดเลือกและจัดหานักแสดง การวางแผนการสร้าง
Post-production คือ การดำเนินการหลังการถ่ายทำ เช่น การล้างฟิล์ม การตัดต่อบันทึกเสียง การทำเทคนิคต่างๆ
ไม่ว่าภาพยนตร์หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่คุณดูจะเป็นเรื่องอะไร สังเกตหรือไม่ว่าแทบทุกเรื่องจะมีการนำเทคนิคคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งโดยส่วนมากจะเรียกภาพยนตร์หรือการ์ตูนที่มีการใช้เทคนิคนี้ว่าภาพยนตร์แอนิเมชัน หรือ การ์ตูนแอนิเมชัน
ปัจจุบัน กระแสการใช้แอนิเมชัน (Animation) ในภาพยนตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศมีมากขึ้น จนแทบจะเรียกได้ว่าการใช้แอนิเมชันเป็นส่วนหนึ่งของเทคนิคการถ่ายทำที่ทีมงานผู้สร้างภาพยนตร์แทบทุกเรื่องคุ้นเคยดี อย่างไรก็ตามแอนิเมชันไม่ได้ถูกจำกัดขอบเขตการใช้งานเพียงแค่ในภาพยนตร์เท่านั้น หากมีส่วนร่วมในอีกหลายกิจกรรม เช่น โฆษณา เว็บไซต์ เกมออนไลน์ และแม้แต่ภาพเคลื่อนไหวในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
ในโลกมายาอย่างฮอลลีวูด บริษัทที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำเรื่องแอนิเมชันคงจะได้แก่พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ (Pixar Animation Studios) ซึ่งแต่เดิมเป็นบริษัทขนาดเล็กที่ผลิตภาพยนตร์สั้นสามมิติ ระดับคุณภาพด้วยรางวัลอคาเดมี และเป็นที่รู้จักมากขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อตกลงทำสัญญาร่วมกับวอลท์ดิสนีย์ สตูดิโอ (Walt Disney Studios) ในการลงทุนและแบ่งปันรายได้และผลกำไรที่ได้รับจากการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันจำนวนห้าเรื่อง โดยพิกซาร์จะเป็นผู้ดำเนินการด้านการผลิตขณะที่ดิสนีย์เป็นผู้ดำเนินการด้านการตลาด
ผลงานที่เกิดขึ้นหลังการร่วมมือกันของสองค่ายเป็นที่ประทับใจผู้บริโภคทั่วโลกทุกชาติทุกวัย เพราะ Toy Story ทั้งสองภาค, A Bug’s Life, Monsters Inc. และ Finding Nemo ได้รับการตอบรับอย่างดี ทั้งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลระดับโลกจำนวนมาก อาทิ รางวัลออสการ์ รางวัลอคาเดมี รางวัลโกลเด้นโกลบ เป็นต้น ด้วยคุณภาพที่ดีของผลงาน ทำให้ขณะนี้พิกซาร์กลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ และมีพนักงานเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าสิบเท่าตัว
แอนิเมชันของไทย
สำหรับในประเทศไทยนั้น การผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกที่เป็นที่รู้จักเริ่มมีขึ้นเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อคุณปยุต เงากระจ่าง ได้ใช้ความอุตสาหะกว่าสองปีในการเขียนภาพการ์ตูนนับหมื่นๆ ภาพขึ้นก่อนจะถ่ายทำออกมาเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องสุดสาคร ซึ่งปัจจุบันหอภาพยนตร์แห่งชาติเป็นผู้เก็บรักษาดูแลฟิล์มของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไว้ในฐานะสมบัติอีกชิ้นที่สำคัญของประเทศ
การริเริ่มผลิตงานแอนิเมชันของคุณปยุตได้จุดประกายความฝันให้กับผู้วาดภาพการ์ตูนอีกหลายราย และด้วยทักษะด้านศิลปะและลักษณะนิสัยพื้นฐานของคนไทยในด้านความพิถีพิถันและความละเอียดอ่อนในการทำงานทำให้ผลงานของหลายบริษัทได้รับการยอมรับจากต่างชาติ ส่งผลสืบเนื่องให้เจ้าของลิขสิทธิ์การ์ตูนจากต่างประเทศนิยมมาว่าจ้างให้ช่างฝีมือชาวไทยเป็นผู้ชุบชีวิตให้กับตัวการ์ตูนที่พวกเขาคิดค้นขึ้น อย่างไรก็ตามการรักษาความลับของลูกค้าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้รับจ้างดำเนินงาน ทำให้ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าภาพยนตร์แอนิเมชันหรือการ์ตูนหลายเรื่องที่ตนดูนั้นแท้จริงแล้วเป็นผลงานของคนไทยด้วยกันนั่นเอง
นอกจากนี้ ในจำนวนบริษัทที่ดำเนินงานเกี่ยวกับแอนิเมชันซึ่งมีอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน หลายบริษัทไม่เพียงเป็นผู้รับจ้างผลิตหากแต่พยายามคิดค้นคาแร็กเตอร์และเนื้อเรื่องของตนให้ถูกใจตลาดด้วย การกำหนดคาแร็กเตอร์และเนื้อหาของเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อคาแร็กเตอร์นั้นๆ เป็นที่ยอมรับและติดตามของผู้บริโภคแล้วแนวทางการดำเนินธุรกิจจะสามารถขยายออกไปได้อีกมากจากการขายลิขสิทธิ์คาแร็กเตอร์นั้นๆ เพื่อไปผลิตสินค้ารูปแบบต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้จำนวนไม่น้อยให้กับบริษัท
ไม่เพียงการขยายขอบข่ายธุรกิจไปในเชิงธุรกิจเท่านั้น ด้วยกระแสความนิยมแอนิเมชันในปัจจุบัน ทำให้มีผู้ประกอบการหลายรายหันมาให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรแอนิเมชันอีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการสอนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นไปจนถึงการฝึกฝนให้เป็นมืออาชีพ เพราะอย่างน้อยบริษัทผู้ฝึกสอนก็จะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้เห็นทักษะฝีมือของผู้เข้าอบรม ซึ่งย่อมจะเป็นโอกาสอันดีในการเลือกพนักงานที่มีคุณภาพคนต่อไปของบริษัทก่อนคู่แข่งขันในวงการอย่างแน่นอน
สำหรับผู้ที่สนใจจะก้าวเข้าสู่แวดวงการทำแอนิเมชัน ไม่ต้องกังวลว่าตนไม่มีความชำนาญในการวาดภาพ เพราะแอนิเมชันประกอบด้วยขั้นตอนที่หลากหลายให้เลือกตามความถนัดและความสนใจ โดยผู้ที่มีความสามารถด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรก็ควรฝึกฝนที่จะออกแบบโครงเรื่องและคาแร็กเตอร์ตัวละครของเรื่อง ขณะที่ผู้ที่รักการเขียนก็อาจเป็นผู้เขียนสคริปต์เล่าลำดับความเป็นมาของเรื่องให้น่าสนใจ ส่วนผู้ที่มีความสามารถในการวาดก็เหมาะที่จะเป็นผู้ออกแบบบทหรือที่เรียกว่าเขียนสตอรี่บอร์ด และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะอยู่ในฝ่ายที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ มาช่วยสร้างชีวิตและสีสันให้กับเรื่อง
ในขณะเดียวกัน ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจก็ควรมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพการผลิตผลงานของบริษัท โดยปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องของบุคลากรและเทคโนโลยี เพราะทั้งสองสิ่งเป็นหัวใจของการสร้างชิ้นงานให้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ปัจจัยอีกประการที่ไม่ควรละเลยนั้นคือการหาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นพันธมิตรกับประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องกราฟฟิก เนื่องจากจะสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก่กันได้
แอนิเมชันกับภาครัฐ
แม้ว่าความนิยมใช้เทคนิคแอนิเมชันจะเป็นเรื่องของภาคธุรกิจที่จะนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานแข่งขันกัน แต่ภาครัฐก็เล็งเห็นความสำคัญของแอนิเมชันนี้ ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวส่วนหนึ่งของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อปีที่ผ่านมาในการแสดงปาฐกถาเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่า สิ่งที่อยากจะส่งเสริมคือแอนิเมชัน จะทำให้วงการแอนิเมชันของเราแข็งแรง เพราะเรามีทักษะเรื่องนี้ ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ก็ประกาศจะผลักดันแอนิเมชันและมัลติมีเดียให้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมเกษตร แฟชั่น รถยนต์ และ การท่องเที่ยว ทั้งยังมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฮอลลีวูดแห่งเอเชียให้ได้
ที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกระทรวงไอซีที และเป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ ได้ดำเนินงานหลายรูปแบบเพื่อสนองตอบนโยบายของกระทรวงฯ
ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในระยะยาวจะเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ การสนับสนุนด้านอุปกรณ์และรูปแบบในการพัฒนา การเป็นตัวกลางเจรจาต่อรองราคากับเจ้าของลิขสิทธิ์ และ การส่งเสริมให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ไทยมากขึ้น โดยSIPAตั้งเป้าหมายว่าจะพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตประมาณ 7-10 เท่า ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
ในปีงบประมาณ 2547 SIPAได้รับการจัดสรรงบประมาณ 400 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยจะเลือกเข้าร่วมลงทุนกับบางโครงการเพื่อเป็นการสร้างเครดิตให้กับโครงการ ในเบื้องต้นจะมุ่งสนับสนุนเงินทุนกับ 3 กลุ่มหลัก คือ โครงการซอฟต์แวร์สำหรับเอสเอ็มอี ซอฟต์แวร์แอนิเมชันและมัลติมีเดีย และ แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่
สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการในสาขาแอนิเมชันและมัลติมีเดียนั้น จะเน้นการสร้างความตื่นตัวในหมู่คนที่มีทักษะด้านศิลปะเพื่อให้หันมาสนใจยึดอาชีพด้านนี้ ด้วยต้องการเพิ่มความมั่นใจว่าประเทศไทยจะมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากพอที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ เพราะมีตัวอย่างที่เห็นได้ในขณะนี้คือประเทศอินเดียที่วงการแอนิเมชันของประเทศกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคน
เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจในแอนิเมชัน ในช่วงต้นปี 2548 SIPAจะจัดงานมหกรรมเกี่ยวกับแอนิเมชันและมัลติมีเดียขึ้น ดังที่เคยจัดและประสบความสำเร็จมาแล้วเมื่อต้นปี 2547 งานมหกรรมที่กล่าวถึงนี้คืองาน “ไทยแลนด์ แอนิเมชัน แอนด์ มัลติมีเดีย 2005” (Thailand Animation and Multimedia: TAM 2005)
งาน TAM2005 เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพราะจะเป็นโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มาร่วมแสดงผลงานและเทคโนโลยี จึงเป็นงานที่รวบรวมกระบวนการต่างๆ ในวงการมานำเสนอ ทั้งผู้ประกอบการแอนิเมชันและมัลติมีเดีย ผู้พัฒนาเครื่องมือ/ซอฟต์แวร์ บริษัทโฆษณา สถาบันการศึกษา และธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะมีบริษัททั้งไทยและต่างประเทศมาร่วมงานจำนวนมาก
ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ก็เป็นอีกหน่วยงานภาครัฐที่มีความพยายามที่จะส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแอนิเมชันและมัลติมีเดียให้มากขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากการให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการประเภท 7.17 กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยหรือการให้บริการแก่ธุรกิจสร้างภาพยนตร์หรือบริการมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นการให้การส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในส่วนก่อนการถ่ายทำ (pre-production) ขณะถ่ายทำ (production) และการดำเนินการหลังการถ่ายทำ (post-production) มีความน่าสนใจลงทุนมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นคือการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี ไม่ว่าจะตั้งสถานประกอบการที่ใด และหากตั้งสถานประกอบการในเขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 3 ปี รวมเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามโครงการนั้นจะต้องมีเครื่องจักร อุปกรณ์ และขอบข่ายธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำหนด
นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการประเภท 5.8 กิจการซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นอีกหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้านแอนิเมชัน เนื่องจากการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้เกิดภาพและเสียงตามต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงานได้รับการพัฒนาใหม่อยู่ตลอดเวลา
ไม่เพียงแต่เทคโนโลยี และโลกธุรกิจเท่านั้นที่มีความเปลี่ยนแปลง เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน สำนักงานฯ ก็ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์สำหรับกิจการซอฟต์แวร์เช่นกัน โดยปรับปรุงให้ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งสถานประกอบการในเขตใด ทั้งยังไม่จำกัดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ และสำหรับกิจการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ก็ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินการยกเว้น ทั้งนี้เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตมาลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ล่าสุดสำนักงานฯ และSIPAได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ทั้งในด้านการผลิต การจัดการ และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะร่วมกันส่งเสริมและประสานงานกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าการลงทุนธุรกิจซอฟต์แวร์ในประเทศไทย มีการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษาด้านการลงทุนซอฟต์แวร์แก่ผู้ประกอบการอย่างครบวงจร จึงเป็นที่คาดหวังว่าความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่ดีขึ้น และสามารถสร้างผลงานที่น่าประทับใจได้ในเวทีโลก
********
Pre-production คือ กิจกรรมก่อนการถ่ายทำ เช่น การเขียนบท การคัดเลือกและจัดหานักแสดง การวางแผนการสร้าง
Post-production คือ การดำเนินการหลังการถ่ายทำ เช่น การล้างฟิล์ม การตัดต่อบันทึกเสียง การทำเทคนิคต่างๆ