คณะกรรมการไต่สวนคดี ป.ป.ช.ขึ้นเงินค่าตอบแทนตัวเอง ประชุมครั้งแรก เลือก “สมศักดิ์ เนตรมัย” เป็นประธานฯ เตรียมเรียก “พล.ต.อ.ประทิน” ผู้ยื่นคำร้อง มาไต่สวนเป็นคนแรก 18 พ.ย.นี้
วานนี้ (11พ.ย.) ที่ห้องประชุม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการประชุมคณะกรรมการไต่สวนคดีที่ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ส.ว.กรุงเทพฯ กับพวก ยื่นคำร้องกล่าวหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ทั้ง 9 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีออกระเบียบเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้ตัวเอง โดยเป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากได้รับแต่งตั้งจากองค์คณะผู้พิพากษาฯเมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา มีกรรมการเข้าประชุมครบทั้ง 7 คน
ภายหลังการประชุม นายสุภัทร์ สุทธิมนัส เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเลือกนายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการไต่สวน หลังจากนี้คณะกรรมการไต่สวนจะทำหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้ถูกกล่าวหา ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพื่อประกอบการไต่สวน ภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542
นายสุภัทร์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการไต่สวน จะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 18 พ.ย.โดยเชิญ พล.ต.อ.ประทิน มาไต่สวนในฐานะผู้ยื่นคำร้อง และเชิญเลขาธิการ ป.ป.ช.มาไต่สวนในวันที่ 19 พ.ย.จากนั้นคณะกรรมการไต่สวนจะประชุมทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30 น. ส่วนคณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้ถูกกล่าวหา จะเชิญมาไต่สวนด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดวันนัด ทั้งนี้ คณะกรรมการฯจะใช้ห้องประชุมของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นที่ไต่สวน
สำหรับแนวทางในการไต่สวนได้วางกรอบไว้ว่า จะหาข้อมูลในเชิงลึกให้ได้มากที่สุด โดยจะพยายามไต่สวนให้เสร็จโดยเร็ว เพราะเห็นว่าขณะนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในระหว่างนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถไต่สวนและทำความเห็นสรุปว่า คดีมีมูลหรือไม่ ได้เสร็จก่อนกรอบเวลา 90 วัน ที่กฎหมายกำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการไต่สวนคดีนี้ 7 คน ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เนตรมัย นายจรัส พวงมณี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา นายประพันธ์ นัยโกวิท รองอัยการสูงสุด น.พ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ อดีตเลขาธิการแพทยสภา รศ.ประธาน วัฒนวาณิชย์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และนางจริยา เจียมวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
วานนี้ (11พ.ย.) ที่ห้องประชุม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการประชุมคณะกรรมการไต่สวนคดีที่ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ส.ว.กรุงเทพฯ กับพวก ยื่นคำร้องกล่าวหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ทั้ง 9 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีออกระเบียบเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้ตัวเอง โดยเป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากได้รับแต่งตั้งจากองค์คณะผู้พิพากษาฯเมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา มีกรรมการเข้าประชุมครบทั้ง 7 คน
ภายหลังการประชุม นายสุภัทร์ สุทธิมนัส เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเลือกนายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการไต่สวน หลังจากนี้คณะกรรมการไต่สวนจะทำหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้ถูกกล่าวหา ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพื่อประกอบการไต่สวน ภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542
นายสุภัทร์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการไต่สวน จะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 18 พ.ย.โดยเชิญ พล.ต.อ.ประทิน มาไต่สวนในฐานะผู้ยื่นคำร้อง และเชิญเลขาธิการ ป.ป.ช.มาไต่สวนในวันที่ 19 พ.ย.จากนั้นคณะกรรมการไต่สวนจะประชุมทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30 น. ส่วนคณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้ถูกกล่าวหา จะเชิญมาไต่สวนด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดวันนัด ทั้งนี้ คณะกรรมการฯจะใช้ห้องประชุมของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นที่ไต่สวน
สำหรับแนวทางในการไต่สวนได้วางกรอบไว้ว่า จะหาข้อมูลในเชิงลึกให้ได้มากที่สุด โดยจะพยายามไต่สวนให้เสร็จโดยเร็ว เพราะเห็นว่าขณะนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในระหว่างนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถไต่สวนและทำความเห็นสรุปว่า คดีมีมูลหรือไม่ ได้เสร็จก่อนกรอบเวลา 90 วัน ที่กฎหมายกำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการไต่สวนคดีนี้ 7 คน ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เนตรมัย นายจรัส พวงมณี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา นายประพันธ์ นัยโกวิท รองอัยการสูงสุด น.พ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ อดีตเลขาธิการแพทยสภา รศ.ประธาน วัฒนวาณิชย์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และนางจริยา เจียมวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา