เขาว่าภาพวาดนั้นแทนคำพูดได้เป็นร้อยเป็นพัน...
คงเพราะภาพที่เรามองนั้น เรามักจะให้ความหมายในภาพที่ค่อนข้างเป็นปัจเจกของเราเองเสมอ ซึ่งไม่มีผิดไม่มีถูก เป็นอิสระที่มีแต่ความโรแมนติกโดยแท้ ด้วยเหตุนี้เองที่รสนิยมและความรู้สึกส่วนตัวเป็นเครื่องมือตัดสินค่าของภาพนั้นๆ จึงมีคนจำนวนมากยอมจ่ายเงินแพงๆ เพื่อภาพๆหนึ่งถึงหลักร้าน สิบล้าน หรือ แม้กระทั่งร้อยล้าน จนหาค่ามิได้ก็มี
การไปเดินดูภาพจึงเป็นประสบการณ์ที่ผมคิดว่าน่าจะลองมีประสบการณ์กันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รู้ที่มาของภาพนั้น...ผมคิดว่ามันเป็นการรับรู้ข้อมูลที่น่าประทับใจอีกแบบทีเดียว
พูดถึงเรื่องนี้ก็เพราะ เมื่อวานนี้เกิดครึ้มอกครึ้มใจเอางานเก่าๆ ในแนวคลาสสิกมาฟังกัน ระหว่างที่ดูภาพพิมพ์เว็ตหนึ่งที่มีมิตรรักคนหนึ่งเอามาฝาก
เพลงที่เอามาประกอบการดูภาพนั้นชื่อว่า Pictures at an Exhibition ของ โมเดสต์ มุสซอร์กสี้ (Modest Moussorgsky) บทเพลงที่แต่งขึ้นมาโดยมีแรงบันดาลใจจากการเข้าชมภาพนิทรรศการของเพื่อนรักคนหนึ่ง
จะเรียก “กำสรวลชมภาพ” ก็ไม่น่าจะผิดอะไร
ความจริงแล้วงานเพลงที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพนั้น จะว่าไปก็ไม่ได้มีเพียงแค่ชุดนี้ชุดเดียว ยังมีอีกมากนะครับที่ว่าด้วยเรื่องของภาพ แต่ถ้านับจริงๆ ในวงการเพลงคลาสสิกนั้น บทเพลงกำสรวลชมภาพของมุสซอร์กสกี้น่าจะเป็นงานเพลงที่ป็อปปูล่าร์ที่สุดแล้ว
มุสซอร์กสกี้เป็นนักแต่งเพลงรัสเซียในกลุ่มเชิดชูชาติอย่าง ริมสกี้ คอร์ซาคอฟ บาลาคิเรฟ คุย และ โบโรดิน ชื่อเสียงของกลุ่ม The Mighty Fistful นี้ผมได้โม้มาแล้วหลายครั้ง เพราะฉะนั้นคงจะไม่ต้องพูดถึงยาวนัก เอาเป็นว่าหมอนี่คือหนึ่งในสุดยอดคนแต่งเพลงของเมืองหมีขาวก็แล้วกัน
หมอนี่ก็เหมือนกับเพื่อนๆ ร่วมขบวนการที่ไม่ได้มีอาชีพเป็นนักแต่งเพลงจริงๆ คือแกอยู่ในกองทัพบก แต่ก็มีปัญหาค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งก็มาจากไอ้นิสัยชอบดริ้งค์ของแกนั่นเอง เรียกว่าเป็นติสต์เสียเต็มแก่ แถมยังกินชนิดหวิดตายเพราะสุรามาแล้ว แกก็เลยเข้าๆ ออกๆ ในอยู่กองทัพจนสุดท้ายก็ออกจริง แต่ด้วยความที่มีใจรักในเสียงเพลง อีกทั้งลักษณะของป่าไม้และเทือกเขาอันหนาวเหน็บ เต็มไปด้วยความลึกลับของรัสเซียที่ต้องไปประจำการนั่นเอง น่าจะเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ของหมอในการแต่งเพลง
ใครเคยฟัง Night of the Bare Mountain ของเขาคงพอจะนึกออกว่า ไอ้ความหนาวเหน็บ เย็นยะเยียบ น่ากลัวในอาถรรพ์ของป่านั้นเป็นอย่างไร เพลงนี้น่ากลัวครับ ทั้งโครมคราม หวาดผวา ห้ามฟังก่อนนอน หรือ ห้ามฟังเมื่อต้องการจะพักผ่อน เพราะ มันจะปลุกให้คุณตื่นขึ้นมาด้วยใจที่เต้นแรงๆ
อันนี้เตือนกันด้วยความหวังดีว่า มันเรียกหัวใจคุณให้ระทึกได้จริงๆ
งานเด่นอีกชิ้นของ มุสซอร์กสกี้ก็คือ งานโอเปร่าที่ชื่อ บอริส กูโดนอฟ ที่ผมต้องยอมรับว่าเป็นโอเปร่าเรื่องหนึ่งที่ฟังยากเป็นบ้า เพราะแกเน้นเสียงต่ำๆ ทั้งเบส ทั้งแบริโทน กันจนปวดหัว คนอื่นก็คงปวดหัวเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโอเปร่าของแกเรื่องนี้ก็เลยถูกปฏิเสธไปถึงสองครั้ง ก่อนจะได้รับการยอมรับให้เล่นและสุดท้ายก็ได้ชื่อว่าเป็นโอเปร่าเรื่องเยี่ยมของรัสเซียอยู่กับเขาเหมือนกัน
แรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่และงานที่ดังที่สุดของมุสซอร์กสกี้เกิดขึ้นในปี 1847 เมื่อเขาเข้าไปเที่ยวชมงานแสดงภาพของนักวาดรูปเพื่อนรักอย่าง วิคเตอร์ ฮาร์ทมันน์ ศิลปินและสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเสียชีวิตไปด้วยอายุเพียงน้อยนิด คือ 39 ปี (จริงๆก็ไม่น้อยแล้วละครับ) การไปดูรูปภาพของเพื่อนซี้นั่นเองทำให้มุสซอร์กสกี้ตั้งใจจะทำผลงานเพื่อรำลึกถึงเพื่อนรักคนนี้ซักชิ้น แล้วเครื่องเซ่นแด่ดวงวิญญาณของเพื่อนที่ดีที่สุดเท่าที่นักแต่งเพลงคนหนึ่งจะทำให้ได้...ช้าก่อน ไม่ใช่การร่ำสุราคลายทุกข์ แต่เป็นการสร้างบทเพลงที่จะทำให้ภาพของเพื่อนเขาเป็นอมตะนั่นเอง
เพลงชุด Pictures at an Exhibition จึงเริ่มต้นขึ้น
อย่างแรกที่ต้องจำเอาไว้ก่อนว่า บทเพลงชมภาพ ของมุสซอร์กสกี้นั้นถูกสร้างขึ้นมาสำหรับการเล่นเปียโนเดี่ยวๆ นะครับ แต่เพราะว่าความซับซ้อนและเรื่องราวที่มีหลายต่อหลายรูปแบบในเพลงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่อบรรดานักเรียบเรียงเสียงประสานหรือแม้กระคนแต่งเพลงรุ่นหลัง..นั่นทำให้ “กำสรวลชมภาพ” ของมุสซอร์สกี้กลายเป็นของเล่นแสนสนุก และทำให้มันกลายเป็นเพลงที่มีการเรียบเรียงหลากเวอร์ชั่นเอามากๆ
จะว่าไปน่าจะพูดได้ว่า นี่คือการระบายสีใส่ในภาพวาดที่อาศัยตัวโน้ตละเลงอีกรอบหนึ่ง อย่างริมสกี้ คอร์ซาคอฟเองก็เคยเอาเมโลดี้มาทำ ลีโปลด์ สโตว์คาวสกี้ก็เอามาเรียบเรียงในแบบของเขา หรือแม้กระทั่ง วลาดิเมียร์ อาสเคนาซี มือเปียโนชื่อดังก็เคยเอามาเรียบเรียงสำหรับเป็นกึ่งๆเปียโน คอนแชร์โต้มาแล้ว
สำหรับคอร็อก คงจะต้องนึกออกว่า เพลงๆ นี้ถูก คีธ อีเมอร์สัน มือคีย์บอร์ดแห่งคณะ อีเมอร์สัน เลค แอนด์ พาล์มเมอร์ วงโปรเกรสซีฟ ร็อกชื่อดังของยุค 70 เอาเพลงนี้มาเล่นในแนวร็อกเสียจนคนฟังที่มีโอกาสต้องรู้สึกหลอนไปเลย…เป็นอีกเวอร์ชั่นของงานเพลงๆ นี้
เวอร์ชั่นสุดท้ายที่พูดถึงนี่ ว่ากันว่าเป็นเวอร์ชั่นที่มีแรงบันดาลใจจากยาอี เพราะสีสันฉูดฉาด รวมถึงการที่ คีธ อีเมอร์สัน แกสำแดงเสียงปวดกะโหลกนั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ถึงขีดสุดครั้งหนึ่งของดนตรีโปรเกรสซีฟร็อกก็ว่าได้
แต่สำหรับคอคลาสสิก...เวอร์ชั่นที่คนรู้จักกันมากที่สุดกลับเป็นผลงานของ มัวริซ ราเวล ซึ่งเคยนำมาแสดงเมื่อปี 1922 ที่กรุงปารีส และได้รับเสียงปรบมือชื่นชมกันอย่างมากมาย มันได้รับความชื่นชมว่า สามารถถ่ายทอดจินตนาการ แนวคิด และความเป็นคนขี้สงสัยในตัวของมุสซอร์กสกี้ได้อย่างเหลือเชื่อ ก่อนจะระเบิดทุกอย่างอย่างยิ่งใหญ่กับ Great Gate Of Kiev ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
เอาละครับ เรามาเริ่มเดินชมงานแสดงภาพกันด้วยบทเพลงดีกว่า
มุสซอร์กสกี้ เริ่มต้นส่งบัตรเชิญและยืนต้อนรับคนดูด้วยบทเพลงหวานๆ ที่เต็มไปด้วยความน่าฉงนสนเท่ห์อย่าง Promenade ... ด้วยเสียงของเครื่องทองเหลืองแหลมแต่เต็มไปด้วยความรู้สึกเพลินๆ ผมว่านี่แหล่ะครับคือ เอกลักษณ์ประจำตัวในบทเพลงของเขา คือมันจะมีกลิ่นอายของความฉงนอยู่ตลอดเวลา
จะบอกไปว่าไม่ไพเราะก็คงไม่ได้ แต่ถ้าจะบอกว่าเพราะเหลือเกิน มันก็ไม่ใช่อารมณ์แบบคนอื่นๆ ในยุคเดียวกันเวลาที่เขาหวานกัน เพราะมันหวานเย็นๆ มีปริศนาบางอย่างซ่อนไว้ Promenade นั้นๆ ไม่ยาวนักอยู่ในขนาดกำลังพอดีสำหรับการเป็นบัตรเชิญ คือแค่ 1 นาทีครึ่งเท่านั้น
ผมว่ามุสซอร์กสกี้แกหวังแค่นี้แหล่ะว่า พอคนหลงเข้ามาในงานนี้แล้ว แกก็ปิดประตูล็อกปัง แล้วก็เริ่มฉายภาพอันดุ เผ็ด และ มันส์ เต็มไปด้วยแง่มุมต่างๆ ที่เราเองยังหาคำตอบไม่ได้
โถ่...ก็งานศิลป์นะครับ คงไม่มีใครจะไปหาคำตอบที่ชัดเจนของศิลปินได้ดีเท่ากับที่ศิลปินเขาคิดละครับ งานศิลปะแบบนี้เขาเปิดโอกาสให้เราใช้จินตนาการของเราอย่างเต็มที่ต่างหาก อาจจะเป็นคราวโชคร้ายของ วิคเตอร์ ฮาร์ทมันน์ ก็ได้ที่คนตีความคือ มุสซอร์กสกี้ เพราะฉะนั้นมันถึงได้ออกมาด้วยลีลาที่อึมครึม แสบสันต์แบบนี้
บทเพลงของมุสซอร์กสกี้เต็มไปด้วยอารมณ์มันๆ ที่ว่าไปตลอด จนกระทั่งมาผ่อนคลายด้วยอารมณ์แห่งความยิ่งใหญ่ งดงาม ทรงพลังสมกับชื่อ Great Gate Of Kiev ได้อย่างดีที่สุด
ความจริงภาพนี้ วิคเตอร์ ฮาร์ตมันน์ตั้งใจที่จะเขียนอุทิศให้กับ พระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ที่ตั้งใจจะทำประตูชัยแห่งเคียฟ แต่จนแล้วจนรอด ไอ้เจ้าประตูที่ว่านี้ก็ไม่เคยได้สร้างเสียที แต่กระนั้นความตั้งใจที่จะขออุทิศให้กลับทำให้ภาพนี้ค่อนข้างที่จะทรงพลังในความรู้สึกของมุสซอร์กสกี้อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นหมอก็เลยใส่อารมณ์และทำนองที่ยิ่งใหญ่งดงามอย่างที่สุด ด้วยเสียงเครื่องทองเหลืองที่เปล่งออกมาอย่างทรงพลัง ตามด้วยเสียงกระดิ่งหรือระฆังแห่งความยิ่งใหญ่รัวไปตลอดจนกระทั่งถึงไคลแม็กซ์ซึ่งเป็นอารมณ์แห่งความเฉลิมฉลองโดยแท้ ถ้าเป็นฝรั่งเขาเรียกว่ามันเกรียงไกรเป็นท่วงทำนองแห่งฮีโร่
เพลงๆ นี้ความจริงได้ยินกันไม่ยากนะครับ เขามักจะเอามาประกอบสปอตหรือประกอบสไคลด์มัลติวิชั่นสำหรับงานที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตั้งบริษัทใหม่ หรือ รวมบริษัท หรือเข้าตลาดหลักทรัพย์กันมากอยู่
เชื่อหรือไม่ครับว่า ผมเคยเจอบางคนที่เขาเอาซื้ออัลบั้มนี้เพียงเพราะต้องการฟังเพลงๆ นี้ที่มีเวลาแค่ 5 นาทีเท่านั้น
ถือเป็นการปิดฉากภาพวาดสุดท้ายได้อย่างสุดยอดสำหรับนิทรรศการภาพและเพลงของมุสซอร์กสกี้
เป็นบทเพลงข้างหลังภาพที่ควรอย่างยิ่งที่จะต้องหามาฟังกันไว้ไม่ว่าคุณจะชอบดูภาพวาดหรือไม่ก็ตามที
*****
ปล หนังสือ กขค.คลาสสิก ฉบับ เอบีซี พิมพ์ครั้งที่สองพร้อมซีดีแนะนำการฟังเพลงคลาสสิก ซึ่งประกอบไปด้วยเสียงบรรยายและดนตรีประกอบเพื่อให้เข้าใจถึงศัพท์เทคนิคต่างๆ ของโลกแห่งคลาสสิกนั้น ตอนนี้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง B2S และ ซีเอ็ด จะหาได้ง่ายสักหน่อย
ขณะที่ ทรอย ฉบับ สวยประหาร พร้อมซีดีเล่าเรื่องย่อก็วางจำหน่ายแล้วเช่นกัน หาซื้อที่ B2S และ ซีเอ็ด เจ้าเก่าครับ หรือถ้าต้องการสั่งตรงก็โทรมาที่ 02-6294488 ต่อ สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ได้ตามเวลาทำการ
คงเพราะภาพที่เรามองนั้น เรามักจะให้ความหมายในภาพที่ค่อนข้างเป็นปัจเจกของเราเองเสมอ ซึ่งไม่มีผิดไม่มีถูก เป็นอิสระที่มีแต่ความโรแมนติกโดยแท้ ด้วยเหตุนี้เองที่รสนิยมและความรู้สึกส่วนตัวเป็นเครื่องมือตัดสินค่าของภาพนั้นๆ จึงมีคนจำนวนมากยอมจ่ายเงินแพงๆ เพื่อภาพๆหนึ่งถึงหลักร้าน สิบล้าน หรือ แม้กระทั่งร้อยล้าน จนหาค่ามิได้ก็มี
การไปเดินดูภาพจึงเป็นประสบการณ์ที่ผมคิดว่าน่าจะลองมีประสบการณ์กันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รู้ที่มาของภาพนั้น...ผมคิดว่ามันเป็นการรับรู้ข้อมูลที่น่าประทับใจอีกแบบทีเดียว
พูดถึงเรื่องนี้ก็เพราะ เมื่อวานนี้เกิดครึ้มอกครึ้มใจเอางานเก่าๆ ในแนวคลาสสิกมาฟังกัน ระหว่างที่ดูภาพพิมพ์เว็ตหนึ่งที่มีมิตรรักคนหนึ่งเอามาฝาก
เพลงที่เอามาประกอบการดูภาพนั้นชื่อว่า Pictures at an Exhibition ของ โมเดสต์ มุสซอร์กสี้ (Modest Moussorgsky) บทเพลงที่แต่งขึ้นมาโดยมีแรงบันดาลใจจากการเข้าชมภาพนิทรรศการของเพื่อนรักคนหนึ่ง
จะเรียก “กำสรวลชมภาพ” ก็ไม่น่าจะผิดอะไร
ความจริงแล้วงานเพลงที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพนั้น จะว่าไปก็ไม่ได้มีเพียงแค่ชุดนี้ชุดเดียว ยังมีอีกมากนะครับที่ว่าด้วยเรื่องของภาพ แต่ถ้านับจริงๆ ในวงการเพลงคลาสสิกนั้น บทเพลงกำสรวลชมภาพของมุสซอร์กสกี้น่าจะเป็นงานเพลงที่ป็อปปูล่าร์ที่สุดแล้ว
มุสซอร์กสกี้เป็นนักแต่งเพลงรัสเซียในกลุ่มเชิดชูชาติอย่าง ริมสกี้ คอร์ซาคอฟ บาลาคิเรฟ คุย และ โบโรดิน ชื่อเสียงของกลุ่ม The Mighty Fistful นี้ผมได้โม้มาแล้วหลายครั้ง เพราะฉะนั้นคงจะไม่ต้องพูดถึงยาวนัก เอาเป็นว่าหมอนี่คือหนึ่งในสุดยอดคนแต่งเพลงของเมืองหมีขาวก็แล้วกัน
หมอนี่ก็เหมือนกับเพื่อนๆ ร่วมขบวนการที่ไม่ได้มีอาชีพเป็นนักแต่งเพลงจริงๆ คือแกอยู่ในกองทัพบก แต่ก็มีปัญหาค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งก็มาจากไอ้นิสัยชอบดริ้งค์ของแกนั่นเอง เรียกว่าเป็นติสต์เสียเต็มแก่ แถมยังกินชนิดหวิดตายเพราะสุรามาแล้ว แกก็เลยเข้าๆ ออกๆ ในอยู่กองทัพจนสุดท้ายก็ออกจริง แต่ด้วยความที่มีใจรักในเสียงเพลง อีกทั้งลักษณะของป่าไม้และเทือกเขาอันหนาวเหน็บ เต็มไปด้วยความลึกลับของรัสเซียที่ต้องไปประจำการนั่นเอง น่าจะเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ของหมอในการแต่งเพลง
ใครเคยฟัง Night of the Bare Mountain ของเขาคงพอจะนึกออกว่า ไอ้ความหนาวเหน็บ เย็นยะเยียบ น่ากลัวในอาถรรพ์ของป่านั้นเป็นอย่างไร เพลงนี้น่ากลัวครับ ทั้งโครมคราม หวาดผวา ห้ามฟังก่อนนอน หรือ ห้ามฟังเมื่อต้องการจะพักผ่อน เพราะ มันจะปลุกให้คุณตื่นขึ้นมาด้วยใจที่เต้นแรงๆ
อันนี้เตือนกันด้วยความหวังดีว่า มันเรียกหัวใจคุณให้ระทึกได้จริงๆ
งานเด่นอีกชิ้นของ มุสซอร์กสกี้ก็คือ งานโอเปร่าที่ชื่อ บอริส กูโดนอฟ ที่ผมต้องยอมรับว่าเป็นโอเปร่าเรื่องหนึ่งที่ฟังยากเป็นบ้า เพราะแกเน้นเสียงต่ำๆ ทั้งเบส ทั้งแบริโทน กันจนปวดหัว คนอื่นก็คงปวดหัวเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโอเปร่าของแกเรื่องนี้ก็เลยถูกปฏิเสธไปถึงสองครั้ง ก่อนจะได้รับการยอมรับให้เล่นและสุดท้ายก็ได้ชื่อว่าเป็นโอเปร่าเรื่องเยี่ยมของรัสเซียอยู่กับเขาเหมือนกัน
แรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่และงานที่ดังที่สุดของมุสซอร์กสกี้เกิดขึ้นในปี 1847 เมื่อเขาเข้าไปเที่ยวชมงานแสดงภาพของนักวาดรูปเพื่อนรักอย่าง วิคเตอร์ ฮาร์ทมันน์ ศิลปินและสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเสียชีวิตไปด้วยอายุเพียงน้อยนิด คือ 39 ปี (จริงๆก็ไม่น้อยแล้วละครับ) การไปดูรูปภาพของเพื่อนซี้นั่นเองทำให้มุสซอร์กสกี้ตั้งใจจะทำผลงานเพื่อรำลึกถึงเพื่อนรักคนนี้ซักชิ้น แล้วเครื่องเซ่นแด่ดวงวิญญาณของเพื่อนที่ดีที่สุดเท่าที่นักแต่งเพลงคนหนึ่งจะทำให้ได้...ช้าก่อน ไม่ใช่การร่ำสุราคลายทุกข์ แต่เป็นการสร้างบทเพลงที่จะทำให้ภาพของเพื่อนเขาเป็นอมตะนั่นเอง
เพลงชุด Pictures at an Exhibition จึงเริ่มต้นขึ้น
อย่างแรกที่ต้องจำเอาไว้ก่อนว่า บทเพลงชมภาพ ของมุสซอร์กสกี้นั้นถูกสร้างขึ้นมาสำหรับการเล่นเปียโนเดี่ยวๆ นะครับ แต่เพราะว่าความซับซ้อนและเรื่องราวที่มีหลายต่อหลายรูปแบบในเพลงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่อบรรดานักเรียบเรียงเสียงประสานหรือแม้กระคนแต่งเพลงรุ่นหลัง..นั่นทำให้ “กำสรวลชมภาพ” ของมุสซอร์สกี้กลายเป็นของเล่นแสนสนุก และทำให้มันกลายเป็นเพลงที่มีการเรียบเรียงหลากเวอร์ชั่นเอามากๆ
จะว่าไปน่าจะพูดได้ว่า นี่คือการระบายสีใส่ในภาพวาดที่อาศัยตัวโน้ตละเลงอีกรอบหนึ่ง อย่างริมสกี้ คอร์ซาคอฟเองก็เคยเอาเมโลดี้มาทำ ลีโปลด์ สโตว์คาวสกี้ก็เอามาเรียบเรียงในแบบของเขา หรือแม้กระทั่ง วลาดิเมียร์ อาสเคนาซี มือเปียโนชื่อดังก็เคยเอามาเรียบเรียงสำหรับเป็นกึ่งๆเปียโน คอนแชร์โต้มาแล้ว
สำหรับคอร็อก คงจะต้องนึกออกว่า เพลงๆ นี้ถูก คีธ อีเมอร์สัน มือคีย์บอร์ดแห่งคณะ อีเมอร์สัน เลค แอนด์ พาล์มเมอร์ วงโปรเกรสซีฟ ร็อกชื่อดังของยุค 70 เอาเพลงนี้มาเล่นในแนวร็อกเสียจนคนฟังที่มีโอกาสต้องรู้สึกหลอนไปเลย…เป็นอีกเวอร์ชั่นของงานเพลงๆ นี้
เวอร์ชั่นสุดท้ายที่พูดถึงนี่ ว่ากันว่าเป็นเวอร์ชั่นที่มีแรงบันดาลใจจากยาอี เพราะสีสันฉูดฉาด รวมถึงการที่ คีธ อีเมอร์สัน แกสำแดงเสียงปวดกะโหลกนั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ถึงขีดสุดครั้งหนึ่งของดนตรีโปรเกรสซีฟร็อกก็ว่าได้
แต่สำหรับคอคลาสสิก...เวอร์ชั่นที่คนรู้จักกันมากที่สุดกลับเป็นผลงานของ มัวริซ ราเวล ซึ่งเคยนำมาแสดงเมื่อปี 1922 ที่กรุงปารีส และได้รับเสียงปรบมือชื่นชมกันอย่างมากมาย มันได้รับความชื่นชมว่า สามารถถ่ายทอดจินตนาการ แนวคิด และความเป็นคนขี้สงสัยในตัวของมุสซอร์กสกี้ได้อย่างเหลือเชื่อ ก่อนจะระเบิดทุกอย่างอย่างยิ่งใหญ่กับ Great Gate Of Kiev ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
เอาละครับ เรามาเริ่มเดินชมงานแสดงภาพกันด้วยบทเพลงดีกว่า
มุสซอร์กสกี้ เริ่มต้นส่งบัตรเชิญและยืนต้อนรับคนดูด้วยบทเพลงหวานๆ ที่เต็มไปด้วยความน่าฉงนสนเท่ห์อย่าง Promenade ... ด้วยเสียงของเครื่องทองเหลืองแหลมแต่เต็มไปด้วยความรู้สึกเพลินๆ ผมว่านี่แหล่ะครับคือ เอกลักษณ์ประจำตัวในบทเพลงของเขา คือมันจะมีกลิ่นอายของความฉงนอยู่ตลอดเวลา
จะบอกไปว่าไม่ไพเราะก็คงไม่ได้ แต่ถ้าจะบอกว่าเพราะเหลือเกิน มันก็ไม่ใช่อารมณ์แบบคนอื่นๆ ในยุคเดียวกันเวลาที่เขาหวานกัน เพราะมันหวานเย็นๆ มีปริศนาบางอย่างซ่อนไว้ Promenade นั้นๆ ไม่ยาวนักอยู่ในขนาดกำลังพอดีสำหรับการเป็นบัตรเชิญ คือแค่ 1 นาทีครึ่งเท่านั้น
ผมว่ามุสซอร์กสกี้แกหวังแค่นี้แหล่ะว่า พอคนหลงเข้ามาในงานนี้แล้ว แกก็ปิดประตูล็อกปัง แล้วก็เริ่มฉายภาพอันดุ เผ็ด และ มันส์ เต็มไปด้วยแง่มุมต่างๆ ที่เราเองยังหาคำตอบไม่ได้
โถ่...ก็งานศิลป์นะครับ คงไม่มีใครจะไปหาคำตอบที่ชัดเจนของศิลปินได้ดีเท่ากับที่ศิลปินเขาคิดละครับ งานศิลปะแบบนี้เขาเปิดโอกาสให้เราใช้จินตนาการของเราอย่างเต็มที่ต่างหาก อาจจะเป็นคราวโชคร้ายของ วิคเตอร์ ฮาร์ทมันน์ ก็ได้ที่คนตีความคือ มุสซอร์กสกี้ เพราะฉะนั้นมันถึงได้ออกมาด้วยลีลาที่อึมครึม แสบสันต์แบบนี้
บทเพลงของมุสซอร์กสกี้เต็มไปด้วยอารมณ์มันๆ ที่ว่าไปตลอด จนกระทั่งมาผ่อนคลายด้วยอารมณ์แห่งความยิ่งใหญ่ งดงาม ทรงพลังสมกับชื่อ Great Gate Of Kiev ได้อย่างดีที่สุด
ความจริงภาพนี้ วิคเตอร์ ฮาร์ตมันน์ตั้งใจที่จะเขียนอุทิศให้กับ พระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ที่ตั้งใจจะทำประตูชัยแห่งเคียฟ แต่จนแล้วจนรอด ไอ้เจ้าประตูที่ว่านี้ก็ไม่เคยได้สร้างเสียที แต่กระนั้นความตั้งใจที่จะขออุทิศให้กลับทำให้ภาพนี้ค่อนข้างที่จะทรงพลังในความรู้สึกของมุสซอร์กสกี้อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นหมอก็เลยใส่อารมณ์และทำนองที่ยิ่งใหญ่งดงามอย่างที่สุด ด้วยเสียงเครื่องทองเหลืองที่เปล่งออกมาอย่างทรงพลัง ตามด้วยเสียงกระดิ่งหรือระฆังแห่งความยิ่งใหญ่รัวไปตลอดจนกระทั่งถึงไคลแม็กซ์ซึ่งเป็นอารมณ์แห่งความเฉลิมฉลองโดยแท้ ถ้าเป็นฝรั่งเขาเรียกว่ามันเกรียงไกรเป็นท่วงทำนองแห่งฮีโร่
เพลงๆ นี้ความจริงได้ยินกันไม่ยากนะครับ เขามักจะเอามาประกอบสปอตหรือประกอบสไคลด์มัลติวิชั่นสำหรับงานที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตั้งบริษัทใหม่ หรือ รวมบริษัท หรือเข้าตลาดหลักทรัพย์กันมากอยู่
เชื่อหรือไม่ครับว่า ผมเคยเจอบางคนที่เขาเอาซื้ออัลบั้มนี้เพียงเพราะต้องการฟังเพลงๆ นี้ที่มีเวลาแค่ 5 นาทีเท่านั้น
ถือเป็นการปิดฉากภาพวาดสุดท้ายได้อย่างสุดยอดสำหรับนิทรรศการภาพและเพลงของมุสซอร์กสกี้
เป็นบทเพลงข้างหลังภาพที่ควรอย่างยิ่งที่จะต้องหามาฟังกันไว้ไม่ว่าคุณจะชอบดูภาพวาดหรือไม่ก็ตามที
*****
ปล หนังสือ กขค.คลาสสิก ฉบับ เอบีซี พิมพ์ครั้งที่สองพร้อมซีดีแนะนำการฟังเพลงคลาสสิก ซึ่งประกอบไปด้วยเสียงบรรยายและดนตรีประกอบเพื่อให้เข้าใจถึงศัพท์เทคนิคต่างๆ ของโลกแห่งคลาสสิกนั้น ตอนนี้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง B2S และ ซีเอ็ด จะหาได้ง่ายสักหน่อย
ขณะที่ ทรอย ฉบับ สวยประหาร พร้อมซีดีเล่าเรื่องย่อก็วางจำหน่ายแล้วเช่นกัน หาซื้อที่ B2S และ ซีเอ็ด เจ้าเก่าครับ หรือถ้าต้องการสั่งตรงก็โทรมาที่ 02-6294488 ต่อ สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ได้ตามเวลาทำการ