ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้ (เช้าวันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2547) การเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกายังไม่เสร็จสิ้น มลรัฐที่ทราบผลการเลือกตั้งแล้วอยู่ทางซีกตะวันออก ส่วนมลรัฐทางภาคตะวันตกจำนวนมากยังไม่หมดเวลาการเลือกตั้ง ทั้งนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนที่กว้างใหญ่ไพศาล ครอบคลุมโซนเวลาที่ต่างกัน ตามหมายกำหนดการ ผลการเลือกตั้งควรจะปรากฏชัดเจนในยามย่ำค่ำของวันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2547
ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ (เวลา 15.50 น.) จอร์จ บุช จูเนียร์ ได้รับ Electoral Votes นำจอห์น แคร์รี ด้วยคะแนน 249 ต่อ 242 โดยได้รับ Popular Votes 51% ต่อ 48% (www.washingtonpost.com)
การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองของสำนักต่างๆ พบว่า คะแนนเสียงเลือกตั้งที่ผู้สมัครทั้งสองได้รับคู่คี่กันมาก และอาจชนะด้วยคะแนนต่างกันไม่มาก ดุจเดียวกับผลการเลือกตั้งในปี 2543 ซึ่งจอร์จ บุช จูเนียร์ ชนะการเลือกตั้ง โดยที่มีการโกงการเลือกตั้งในมลรัฐฟลอริดา ซึ่งน้องชายของจอร์จ บุช จูเนียร์ เป็นผู้ว่าการ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นแบบอย่างของการเลือกตั้งที่สกปรกโสมม นอกจากจะเป็นการเลือกตั้งที่ปราศจากความยุติธรรม เนื่องจากมีการกีดกันชนกล่มน้อยและคนผิวสีมิให้ใช้สิทธิการเลือกตั้ง โดยที่การเลือกตั้งปราศจากความโปร่งใสแล้ว ยังมีการซื้อเสียงอย่างแพร่หลายอีกด้วย ระบอบ "ประชาธิปไตย" ชนิดนี้เองที่รัฐบาลอเมริกันพยายามยัดเยียดให้นานาประเทศ รวมทั้งอิรัก
ด้วยเหตุที่การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองปรากฏผลสูสีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสอง จึงยังคงต้องหาเสียงในวันเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมลรัฐที่คะแนนเสียงแกว่งไกวที่เรียกว่า Swing States ทั้งสองพรรคว่าจ้างนักกฎหมายนับพันคนเพื่อทำหน้าที่ประท้วงการนับคะแนนเลือกตั้งในมลรัฐเหล่านี้ รวมตลอดจนการนำคดีขึ้นสู่ศาลสถิตยุติธรรม ด้วยเหตุดังนี้ การประกาศผลการเลือกตั้งจะต้องล่าช้ากว่ากำหนดการ เพราะจะมีปัญหาดุจเดียวกับที่เกิดขึ้นในมลรัฐฟลอริดาในการเลือกตั้งปี 2543 คราวนี้โอไฮโอเป็นมลรัฐที่ถูกจับตามอง
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยฟันธงตั้งแต่ไก่ยังไม่ขัน บุช จูเนียร์ จะชนะการเลือกตั้ง โดยที่มิได้กล่าวถึงภาพความโกลาหลในการนับคะแนนเลือกตั้ง นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้สร้างแบบจำลอง เพื่อทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โดยที่แต่ละแบบจำลองมีคุณลักษณะแตกต่างกัน และมีชื่อเสียงเกียรติคุณแตกต่างกัน
ในบรรดาแบบจำลองการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 10 แบบจำลอง มีเพียงแบบจำลองเดียวที่ จอห์น แคร์รี จะชนะการเลือกตั้ง นอกนั้นฟันธงว่า ไอ้พุ่มจะยึดทำเนียบขาวต่อไป ผลการทำนายนอกคอกนี้มาจากมหาวิทยาลัยไอโอวา (Michael Lewis-Beck and Charles Tien) (ดูตารางที่ 1)

นักเศรษฐศาสตร์คนแรกๆ ที่สร้างแบบจำลองเพื่อทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ ศาสตราจารย์เรย์ แฟร์ (Ray C. Fair) แห่งมหาวิทยาลัยเยล แฟร์เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ชำนัญด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค และมีหน้าที่สอนวิชาเศรษฐมิติด้วย การสร้างแบบจำลองดังกล่าวนี้ก็เพื่อให้การเรียนการสอนวิชาเศรษฐมิติมีชีวิตชีวาสนุกสนาน และน่าสนใจ แฟร์เผยแพร่ผลงานในรูปบทความวิชาการเรื่อง "The Effect of Economic Event on Votes for President" ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ The Review of Economics and Statistics (May 1978) แฟร์ปรับปรุงแบบจำลองเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของพลังในการให้คำทำนาย จากบทความในปี 2521 กลายเป็นหนังสือเรื่อง Predicting Presidential Elections and Other Things (Stanford University Press, 2002) ในอีก 24 ปีต่อมา
ตามแบบจำลองของแฟร์ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 ชุด อันได้แก่ อัตราการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และข่าวดี (Good News) หากระบบเศรษฐกิจเติบโตในอัตราสูง เงินเฟ้อต่ำ และมีข่าวดี ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ก่อนแล้วมีแนวโน้มที่จะรักษาตำแหน่งไว้ได้ ทั้งนี้ข่าวดีหมายถึง จำนวนไตรมาสในช่วง 15 ไตรมาสแรกของประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าอัตราขั้นต่ำขั้นหนึ่ง อัตราการเติบโตขั้นต่ำนี้ บางครั้งแฟร์กำหนดไว้ที่ 3.2% สำหรับยุครัฐบาลบุช หากอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงกว่า 2.9% ก็ถือเป็นข่าวดีแล้ว
แบบจำลองของแฟร์ใช้ในการทำนายการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา 22 ครั้ง ปรากฏว่า คำทำนายถูกต้อง 19 ครั้ง ในการเลือกตั้งปี 2543 แฟร์ทำนายถูกต้องว่า อัลเบิร์ต กอร์ ได้รับ Popular Votes มากกว่าบุช จูเนียร์ และคำทำนายใกล้เคียงความเป็นจริง แต่กอร์แพ้ Electoral Votes เนื่องเพราะปัญหาในการนับคะแนนเลือกตั้งในมลรัฐฟลอริดา
ในทันทีที่บุช จูเนียร์รับตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคม 2544 แฟร์ก็เสนอคำทำนายว่า บุช จูเนียร์ ยากที่จะแพ้การเลือกตั้ง เมื่อมีการปรับตัวเลขเศรษฐกิจมหภาค แฟร์ก็ปรับคำทำนายอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 เป็นต้นมา แฟร์เสนอคำทำนายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2547 ว่า บุช จูเนียร์ จะได้รับ Popular Votes 57.7% (ดูตารางที่ 2)
แบบจำลองการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ ที่น่าสนใจอีกแบบจำลองหนึ่งเป็นผลงานของศาสตราจารย์ดักลาส ฮิบส์ (Dougas Hibbs) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งปัจจุบันย้ายไป Goteborg University ประเทศสวีเดน แบบจำลองของฮิบส์มีชื่อว่า Bread and Peace Model เนื่องเพราะฮิบส์เลือกใช้ตัวแปรอธิบาย (Explanatory Variables) 2 ชุด อันได้แก่ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ (Bread) และศานติสุข (Peace) แบบจำลองนี้ใช้อธิบายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาได้ดีระหว่างปี 2495-2535 แต่ให้คำทำนายที่ผิดพลาดในการเลือกตั้งปี 2539 และ 2543 ฮิบส์ระมัดระวังในการใช้ Bread and Peace Model ในการทำนายผลการเลือกตั้งปี 2547 เพราะไม่แน่ใจว่า แบบจำลองมีข้อบกพร่องในเชิงโครงสร้างหรือไม่
ฮิบส์ฟันธงว่า บุช จูเนียร์ จะชนะการเลือกตั้งด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ แม้การทำสงครามอิรักจะทอนคะแนนนิยมของบุช แต่จำนวนทหารอเมริกันที่ตายระดับ 1,000 คน ต้องนับว่าน้อยนิด เมื่อเทียบกับสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ฮิบส์พบว่า ประธานาธิบดีที่ก่อสงครามทั้งสองล้วนพ่ายแพ้การเลือกตั้งในเวลาต่อมา หรือมิฉะนั้นพรรคต้นสังกัดล้วนพ่ายแพ้การเลือกตั้งในเวลาต่อมา
นักเศรษฐศาสตร์บางคนเสนอความเห็นว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจให้ประโยชน์แก่บุช แต่การฟื้นตัวที่ไม่ช่วยเพิ่มการจ้างงาน ที่เรียกกันว่า Jobless Recovery ไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุช ในประการสำคัญ การกระจายรายได้เลวร้ายลง เนื่องจากนโยบายภาษีอากรให้ประโยชน์แก่ชาวอเมริกันที่ฐานะดี ขณะเดียวกันรัฐบาลบุชละลายการจัดสรรบริการสุขภาพอนามัยและบริการสาธารณะอื่นๆ แก่คนยากจน
แบบจำลองการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาที่สมบูรณ์นั้นไม่มี ผู้สร้างแบบจำลองจึงต้องปรับแบบจำลองให้มีพลังในการให้คำทำนายอยู่เสมอ แบบจำลองเหล่านี้ทำหน้าที่ "อ่านใจ" ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงประพฤติกรรมในขั้นรากฐาน แบบจำลองที่เคยทำนายผลการเลือกตั้งได้อย่างถูกต้อง ก็อาจให้คำทำนายที่ผิดพลาดได้ เนื่องจากแบบจำลองมีปัญหาในเรื่องโครงสร้าง
ภายใต้สถานะของแบบจำลองที่มีอยู่ในปัจจุบัน นักเศรษฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งร่วมกันฟันธงว่า บุช จูเนียร์ จะยึดเก้าอี้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาต่อไปได้
ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ (เวลา 15.50 น.) จอร์จ บุช จูเนียร์ ได้รับ Electoral Votes นำจอห์น แคร์รี ด้วยคะแนน 249 ต่อ 242 โดยได้รับ Popular Votes 51% ต่อ 48% (www.washingtonpost.com)
การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองของสำนักต่างๆ พบว่า คะแนนเสียงเลือกตั้งที่ผู้สมัครทั้งสองได้รับคู่คี่กันมาก และอาจชนะด้วยคะแนนต่างกันไม่มาก ดุจเดียวกับผลการเลือกตั้งในปี 2543 ซึ่งจอร์จ บุช จูเนียร์ ชนะการเลือกตั้ง โดยที่มีการโกงการเลือกตั้งในมลรัฐฟลอริดา ซึ่งน้องชายของจอร์จ บุช จูเนียร์ เป็นผู้ว่าการ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นแบบอย่างของการเลือกตั้งที่สกปรกโสมม นอกจากจะเป็นการเลือกตั้งที่ปราศจากความยุติธรรม เนื่องจากมีการกีดกันชนกล่มน้อยและคนผิวสีมิให้ใช้สิทธิการเลือกตั้ง โดยที่การเลือกตั้งปราศจากความโปร่งใสแล้ว ยังมีการซื้อเสียงอย่างแพร่หลายอีกด้วย ระบอบ "ประชาธิปไตย" ชนิดนี้เองที่รัฐบาลอเมริกันพยายามยัดเยียดให้นานาประเทศ รวมทั้งอิรัก
ด้วยเหตุที่การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองปรากฏผลสูสีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสอง จึงยังคงต้องหาเสียงในวันเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมลรัฐที่คะแนนเสียงแกว่งไกวที่เรียกว่า Swing States ทั้งสองพรรคว่าจ้างนักกฎหมายนับพันคนเพื่อทำหน้าที่ประท้วงการนับคะแนนเลือกตั้งในมลรัฐเหล่านี้ รวมตลอดจนการนำคดีขึ้นสู่ศาลสถิตยุติธรรม ด้วยเหตุดังนี้ การประกาศผลการเลือกตั้งจะต้องล่าช้ากว่ากำหนดการ เพราะจะมีปัญหาดุจเดียวกับที่เกิดขึ้นในมลรัฐฟลอริดาในการเลือกตั้งปี 2543 คราวนี้โอไฮโอเป็นมลรัฐที่ถูกจับตามอง
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยฟันธงตั้งแต่ไก่ยังไม่ขัน บุช จูเนียร์ จะชนะการเลือกตั้ง โดยที่มิได้กล่าวถึงภาพความโกลาหลในการนับคะแนนเลือกตั้ง นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้สร้างแบบจำลอง เพื่อทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โดยที่แต่ละแบบจำลองมีคุณลักษณะแตกต่างกัน และมีชื่อเสียงเกียรติคุณแตกต่างกัน
ในบรรดาแบบจำลองการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 10 แบบจำลอง มีเพียงแบบจำลองเดียวที่ จอห์น แคร์รี จะชนะการเลือกตั้ง นอกนั้นฟันธงว่า ไอ้พุ่มจะยึดทำเนียบขาวต่อไป ผลการทำนายนอกคอกนี้มาจากมหาวิทยาลัยไอโอวา (Michael Lewis-Beck and Charles Tien) (ดูตารางที่ 1)
นักเศรษฐศาสตร์คนแรกๆ ที่สร้างแบบจำลองเพื่อทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ ศาสตราจารย์เรย์ แฟร์ (Ray C. Fair) แห่งมหาวิทยาลัยเยล แฟร์เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ชำนัญด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค และมีหน้าที่สอนวิชาเศรษฐมิติด้วย การสร้างแบบจำลองดังกล่าวนี้ก็เพื่อให้การเรียนการสอนวิชาเศรษฐมิติมีชีวิตชีวาสนุกสนาน และน่าสนใจ แฟร์เผยแพร่ผลงานในรูปบทความวิชาการเรื่อง "The Effect of Economic Event on Votes for President" ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ The Review of Economics and Statistics (May 1978) แฟร์ปรับปรุงแบบจำลองเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของพลังในการให้คำทำนาย จากบทความในปี 2521 กลายเป็นหนังสือเรื่อง Predicting Presidential Elections and Other Things (Stanford University Press, 2002) ในอีก 24 ปีต่อมา
ตามแบบจำลองของแฟร์ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 ชุด อันได้แก่ อัตราการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และข่าวดี (Good News) หากระบบเศรษฐกิจเติบโตในอัตราสูง เงินเฟ้อต่ำ และมีข่าวดี ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ก่อนแล้วมีแนวโน้มที่จะรักษาตำแหน่งไว้ได้ ทั้งนี้ข่าวดีหมายถึง จำนวนไตรมาสในช่วง 15 ไตรมาสแรกของประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าอัตราขั้นต่ำขั้นหนึ่ง อัตราการเติบโตขั้นต่ำนี้ บางครั้งแฟร์กำหนดไว้ที่ 3.2% สำหรับยุครัฐบาลบุช หากอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงกว่า 2.9% ก็ถือเป็นข่าวดีแล้ว
แบบจำลองของแฟร์ใช้ในการทำนายการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา 22 ครั้ง ปรากฏว่า คำทำนายถูกต้อง 19 ครั้ง ในการเลือกตั้งปี 2543 แฟร์ทำนายถูกต้องว่า อัลเบิร์ต กอร์ ได้รับ Popular Votes มากกว่าบุช จูเนียร์ และคำทำนายใกล้เคียงความเป็นจริง แต่กอร์แพ้ Electoral Votes เนื่องเพราะปัญหาในการนับคะแนนเลือกตั้งในมลรัฐฟลอริดา
ในทันทีที่บุช จูเนียร์รับตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคม 2544 แฟร์ก็เสนอคำทำนายว่า บุช จูเนียร์ ยากที่จะแพ้การเลือกตั้ง เมื่อมีการปรับตัวเลขเศรษฐกิจมหภาค แฟร์ก็ปรับคำทำนายอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 เป็นต้นมา แฟร์เสนอคำทำนายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2547 ว่า บุช จูเนียร์ จะได้รับ Popular Votes 57.7% (ดูตารางที่ 2)
แบบจำลองการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ ที่น่าสนใจอีกแบบจำลองหนึ่งเป็นผลงานของศาสตราจารย์ดักลาส ฮิบส์ (Dougas Hibbs) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งปัจจุบันย้ายไป Goteborg University ประเทศสวีเดน แบบจำลองของฮิบส์มีชื่อว่า Bread and Peace Model เนื่องเพราะฮิบส์เลือกใช้ตัวแปรอธิบาย (Explanatory Variables) 2 ชุด อันได้แก่ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ (Bread) และศานติสุข (Peace) แบบจำลองนี้ใช้อธิบายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาได้ดีระหว่างปี 2495-2535 แต่ให้คำทำนายที่ผิดพลาดในการเลือกตั้งปี 2539 และ 2543 ฮิบส์ระมัดระวังในการใช้ Bread and Peace Model ในการทำนายผลการเลือกตั้งปี 2547 เพราะไม่แน่ใจว่า แบบจำลองมีข้อบกพร่องในเชิงโครงสร้างหรือไม่
ฮิบส์ฟันธงว่า บุช จูเนียร์ จะชนะการเลือกตั้งด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ แม้การทำสงครามอิรักจะทอนคะแนนนิยมของบุช แต่จำนวนทหารอเมริกันที่ตายระดับ 1,000 คน ต้องนับว่าน้อยนิด เมื่อเทียบกับสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ฮิบส์พบว่า ประธานาธิบดีที่ก่อสงครามทั้งสองล้วนพ่ายแพ้การเลือกตั้งในเวลาต่อมา หรือมิฉะนั้นพรรคต้นสังกัดล้วนพ่ายแพ้การเลือกตั้งในเวลาต่อมา
นักเศรษฐศาสตร์บางคนเสนอความเห็นว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจให้ประโยชน์แก่บุช แต่การฟื้นตัวที่ไม่ช่วยเพิ่มการจ้างงาน ที่เรียกกันว่า Jobless Recovery ไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุช ในประการสำคัญ การกระจายรายได้เลวร้ายลง เนื่องจากนโยบายภาษีอากรให้ประโยชน์แก่ชาวอเมริกันที่ฐานะดี ขณะเดียวกันรัฐบาลบุชละลายการจัดสรรบริการสุขภาพอนามัยและบริการสาธารณะอื่นๆ แก่คนยากจน
แบบจำลองการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาที่สมบูรณ์นั้นไม่มี ผู้สร้างแบบจำลองจึงต้องปรับแบบจำลองให้มีพลังในการให้คำทำนายอยู่เสมอ แบบจำลองเหล่านี้ทำหน้าที่ "อ่านใจ" ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงประพฤติกรรมในขั้นรากฐาน แบบจำลองที่เคยทำนายผลการเลือกตั้งได้อย่างถูกต้อง ก็อาจให้คำทำนายที่ผิดพลาดได้ เนื่องจากแบบจำลองมีปัญหาในเรื่องโครงสร้าง
ภายใต้สถานะของแบบจำลองที่มีอยู่ในปัจจุบัน นักเศรษฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งร่วมกันฟันธงว่า บุช จูเนียร์ จะยึดเก้าอี้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาต่อไปได้