สภาสูงสร้างประวัติศาสตร์ยุค ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง คว่ำ กม.สกัดม็อบชุมนุมบนถนน หลังรุมย้ำ เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนขัดรัฐธรรมนูญ เผยลงมติเท่ากัน 63 ต่อ 63 ที่สุด “นิพนธ์” ใช้อำนาจประธานที่ประชุมชี้ขาดไม่เห็นด้วยกับ กม.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมวุฒิสภาที่ประชุมได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ทางหลวง ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้วเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการประชุม ต่อจากเมื่อวันที่1 พ.ย.โดยสมาชิกได้อภิปรายท้วงติงกันมาก ในมาตรา46 /1 ซึ่งมีเนื้อหากำหนดห้ามไม่ให้มีการชุมนุมกันในเขตทางหลวงในลักษณะกีดขวาง การจราจรหรือเป็นอันตราย เกิดความเสียหายแก่ยานพาหนะหรือผู้ใช้ทางหลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้อำนวยการทางหลวง หากผู้ใดฝ่าฝืนได้กำหนดเพิ่มโทษ ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
โดยนายแก้วสรร อติโพธิ นางประทีป อึ้งทรงธรรม นายจอน อึ้งภากรณ์ ส.ว.กทม. น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ส.ว.พังงา นายบัณฑูร เกริกพิทยา ส.ว.สระบุรีส นางนิภัทรา อมรรัตนเมธา ส.ว.ปทุมธานี โดยผู้อภิปรายส่วนใหญ่ล้วนมีความเห็นว่าการห้ามชุมนุมถือเป็นการขัดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และขัดรัฐธรรมนูญพร้อมกับเรียกร้องให้คว่ำร่างกฎหมายฉบับนี้
ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา อภิปรายโจมตีว่า ที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมถูกจับกุมจำนวนมาก แม้มาชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลยังถูกจับกุม แต่รัฐบาลยังออกกฎหมายฉบับนี้มาอีกจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย อย่างมาก
ขณะที่ นายปกิต พัฒนกุล ส.ส.ระบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ประธานคณะกรรมาธิการร่วมกัน ยืนยันว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ค้างมาจากรัฐบาลก่อน ในมาตรา 46/1 ก็ค้างมาจากรัฐบาลก่อน ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม คงมาตรานี้ไว้เนื่องจากต้องการให้ผู้ชุมนุมเคารพสิทธิของคนอื่นที่ใช้ถนนด้วยแต่หากชุมนุมโดยไม่ขีดขวางการจราจรก็ไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามหลังจากอภิปรายกว่า 2 ชั่วโมงที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับร่างของ คณะกรรมาธิการร่วมฯ 63 ต่อ 63 งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
นายนิพนธ์ วิศิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานวุฒิฯซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ถึงกล่าวว่า ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่คะแนนเท่ากัน แต่ปรากฎว่า นายสมเกียรติ ศรลัมภ์ ส.ว.นครสวรรค์ ได้เรียกร้องเสนอให้นายนิพนธ์ชี้ขาด ซึ่งในตอนแรกนายนิพนธ์ ยังไม่ชี้ขาดอ้างว่าไม่อยากให้เสียงเดียวของตนไปรับผิดชอบต่อ ส.ว.ทั้ง 200 คน
แต่ในที่สุดนายนิพนธ์ ตัดสินใจยอมใช้อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาดเมื่อคะแนนเท่ากันซึ่งไม่สามารถเสนอนับคะแนนใหม่ได้ จึงใช้สิทธิ์ ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการร่วมกัน เนื่องจากยึดมติของวุฒิสภา เดิม ดังนั้น จึงทำให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ตกไป
อย่างไรก็ตามเนื่องจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นร่างเกี่ยวด้วยการเงิน สภาผู้แทนราษฎร สามารถหยิบร่างขึ้นมายืนยันได้ทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมวุฒิสภาที่ประชุมได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ทางหลวง ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้วเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการประชุม ต่อจากเมื่อวันที่1 พ.ย.โดยสมาชิกได้อภิปรายท้วงติงกันมาก ในมาตรา46 /1 ซึ่งมีเนื้อหากำหนดห้ามไม่ให้มีการชุมนุมกันในเขตทางหลวงในลักษณะกีดขวาง การจราจรหรือเป็นอันตราย เกิดความเสียหายแก่ยานพาหนะหรือผู้ใช้ทางหลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้อำนวยการทางหลวง หากผู้ใดฝ่าฝืนได้กำหนดเพิ่มโทษ ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
โดยนายแก้วสรร อติโพธิ นางประทีป อึ้งทรงธรรม นายจอน อึ้งภากรณ์ ส.ว.กทม. น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ส.ว.พังงา นายบัณฑูร เกริกพิทยา ส.ว.สระบุรีส นางนิภัทรา อมรรัตนเมธา ส.ว.ปทุมธานี โดยผู้อภิปรายส่วนใหญ่ล้วนมีความเห็นว่าการห้ามชุมนุมถือเป็นการขัดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และขัดรัฐธรรมนูญพร้อมกับเรียกร้องให้คว่ำร่างกฎหมายฉบับนี้
ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา อภิปรายโจมตีว่า ที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมถูกจับกุมจำนวนมาก แม้มาชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลยังถูกจับกุม แต่รัฐบาลยังออกกฎหมายฉบับนี้มาอีกจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย อย่างมาก
ขณะที่ นายปกิต พัฒนกุล ส.ส.ระบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ประธานคณะกรรมาธิการร่วมกัน ยืนยันว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ค้างมาจากรัฐบาลก่อน ในมาตรา 46/1 ก็ค้างมาจากรัฐบาลก่อน ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม คงมาตรานี้ไว้เนื่องจากต้องการให้ผู้ชุมนุมเคารพสิทธิของคนอื่นที่ใช้ถนนด้วยแต่หากชุมนุมโดยไม่ขีดขวางการจราจรก็ไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามหลังจากอภิปรายกว่า 2 ชั่วโมงที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับร่างของ คณะกรรมาธิการร่วมฯ 63 ต่อ 63 งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
นายนิพนธ์ วิศิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานวุฒิฯซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ถึงกล่าวว่า ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่คะแนนเท่ากัน แต่ปรากฎว่า นายสมเกียรติ ศรลัมภ์ ส.ว.นครสวรรค์ ได้เรียกร้องเสนอให้นายนิพนธ์ชี้ขาด ซึ่งในตอนแรกนายนิพนธ์ ยังไม่ชี้ขาดอ้างว่าไม่อยากให้เสียงเดียวของตนไปรับผิดชอบต่อ ส.ว.ทั้ง 200 คน
แต่ในที่สุดนายนิพนธ์ ตัดสินใจยอมใช้อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาดเมื่อคะแนนเท่ากันซึ่งไม่สามารถเสนอนับคะแนนใหม่ได้ จึงใช้สิทธิ์ ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับร่างของคณะกรรมาธิการร่วมกัน เนื่องจากยึดมติของวุฒิสภา เดิม ดังนั้น จึงทำให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ตกไป
อย่างไรก็ตามเนื่องจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นร่างเกี่ยวด้วยการเงิน สภาผู้แทนราษฎร สามารถหยิบร่างขึ้นมายืนยันได้ทันที