อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียผู้ยิ่งใหญ่อย่างดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัดเมื่อออกมาพูดเกี่ยวกับเรื่องความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ที่มีผลให้คนตายถึง 85 คน ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นที่ถูกใจคนไทยแน่นอน
โดยเฉพาะเมื่อท่านเอ่ยคำว่า “Autonomy” ออกมา !
คนไทยย่อมแปลว่า “อิสระ” แล้วไพล่ไปนึกว่าท่านให้ท้ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนไปโน่นเลย
จึงนอกจากจะโดนกระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์เชิงคัดค้านแล้ว ยังโดนนักศึกษารามคำแหงกลุ่มหนึ่งไปถือป้ายประท้วงที่หน้าสถานทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยอีกต่างหาก
ทั้ง ๆ ที่หากอ่านคำให้สัมภาษณ์ของท่านโดยละเอียดแล้ว จะพบว่าท่านให้ความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่มีทางเลยที่ชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยจะแยกตัวออกมาเป็น “เอกราช” อย่างดีที่สุดที่จะเป็นได้ก็แค่มี “Autonomy” เท่านั้น
วันนี้ – เรามาทำความเข้าใจคำว่า “Autonomy” กันดีไหม
คำว่า Autonomy ในปัจจุบันมักจะแปลว่า “อิสระ”, “ความเป็นอิสระ” หรือ “ความเป็นอิสระในการกำหนด/ปกครองตนเอง” แต่ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว – ศ.ประยูร กาญจนดุล ปรมาจารย์วิชากฎหมายปกครองของไทย เคยใช้คำที่สั้นและกระชับกว่า
“อัตตาณัติ”
เป็นคำสนธิ มาจาก “อัตตา” ที่แปลว่า “การถือตนเองเป็นใหญ่” กับคำ “อาณัติ” ที่แปลได้หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ข้อบังคับ, คำสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย และ “การมอบหมายให้ดูแลปกครอง” ในกรณีที่พูดถึงกันอยู่ทุกวันนี้น่าจะอยู่ในข่ายคำแปลหลังสุด
คือ = การมอบหมายให้ดูแลปกครอง !
แต่ไม่ว่าจะแปลอย่างไรก็ยังคงห่างไกลกับคำว่า “เอกราช” อยู่หลายขุม !
ผมจะไม่พูดถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จะพูดหลักทั่วไป ว่า Autonomy นี่คือหัวใจในการนำพาประเทศไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง Autonomy ที่สำคัญมีอยู่ 2 ทาง 2 ด้าน คือ Local Autonomy และ Education Autonomy
ขอยกตัวอย่างเกาหลีใต้ที่ถือว่าปฏิรูปการเมืองสำเร็จในช่วงปี 2538
หลัก Local Autonomy ในเกาหลีใต้บรรลุขั้นตอนสำคัญที่สุดในการเลือกตั้งท้องถิ่นปี 2538
ทำให้เกาหลีใต้มี Local Government หรือรัฐบาลท้องถิ่น ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งด้านหัวหน้าคณะผู้บริหาร (CEO) และสภา ขึ้นมาในหน่วยปกครองตนเอง 2 ระดับ คือ ระดับสูง 15 หน่วย (จังหวัด 9 และนครใหญ่ฐานะเทียบเท่าจังหวัด 6) และระดับรองลงมาจาก 15 หน่วยอันประกอบด้วยอำเภอ นคร และเขต รวมทั้งหมด 230 หน่วย
ในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งดำริให้มี “ผู้ว่าฯซีอีโอ” ในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และยังคงมาจากการแต่งตั้ง เกาหลีใต้เมื่อ 9 ปีก่อนได้เลือกตั้งสมาชิกหน่วยปกครองตนเองท้องถิ่นทั่วประเทศ 5,513 คน และหัวหน้าคณะผู้บริหารในทุกระดับอีก 230 คน
ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในขอบเขตทั่วประเทศทั้งเมืองหลวงและต่างจังหวัด
มีส่วนร่วมในการกำหนดตัวผู้ปกครองท้องถิ่นเอง และร่วมแก้ปัญหาท้องถิ่นเอง
แม้ว่าจะเป็นผลมาจากการเริ่มต้นปฏิรูปการเมืองของนายพลโรห์แตวู ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ช่วงปี 2530 – 2535 ที่ประกาศคำมั่นสัญญา 8 ข้อต่อประชาชนตั้งแต่ยังเป็นฝ่ายค้านในยุคประธานาธิบดีชุนดูฮวาน แต่ Local Autonomy Act 1988 ที่ประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน 2531 นั้นก็เป็นเพียงการสานต่อหลักอัตตาณัติของท้องถิ่นที่ขึ้นสู่พัฒนาการสูงสุดมาแล้วในปี 2503 แต่หยุดชะงักไปกับการอุบัติขึ้นมาของระบอบเผด็จการทหารของนายพลปักจุงฮีเมื่อปี 2504 ที่ต่อเนื่องมา 26 ปีเต็ม
เกาหลีใต้ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เช่นเดียวกับประเทศไทย ไม่ได้มีหลักอัตตาณัติของท้องถิ่น และเมื่อตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นยาวนาน 35 ปี หลักการนี้ก็ยังไม่เกิด
แต่เมื่อได้รับเอกราชในปี 2491 ก็เริ่มตรา Local Government Act ขึ้นบังคับใช้ในอีก 1 ปีถัดมา จัดรูปแบบองค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศโดยยึดหลักอัตตาณัติของท้องถิ่น ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นทุกระดับ โดยให้สมาชิกสภาไปเลือกคณะผู้บริหารอีกต่อหนึ่ง
ปี 2499 แก้ไขกฎหมายครั้งสำคัญ – กำหนดให้หัวหน้าคณะผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
การเลือกตั้ง Local Government ในเกาหลีใต้จึงเริ่มต้นได้สมบูรณ์แบบตั้งแต่ปี 2503
แม้จะสะดุดไปเพราะระบอบเผด็จการทหาร แต่ในทันทีที่เริ่มต้นปฏิรูปการเมือง เขาก็กลับคืนสู่จุดเดิม และจัดเลือกตั้งท้องถิ่นชนิดสมบูรณ์แบบอีกครั้งในระยะเวลาที่ห่างกัน 35 ปี
แต่ประเทศไทยนับแต่การปฏิรูประบบราชการรวมศูนย์อำนาจเมื่อปี 2435 เรามีแต่การพัฒนาไปในเชิงกระชับอำนาจบริหารส่วนกลางมากยิ่งขึ้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจการเมืองในโครงสร้างเบื้องบนเท่านั้น ความพยายามในการกระจายอำนาจถูกขัดขวางจากระบบราชการมาโดยตลอด
แม้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะบรรจุหลักอัตตาณัติของท้องถิ่นไว้ในมาตรา 282 – 290 แต่กว่าจะคลอดออกมาได้ก็ถูกขัดขวางอย่างหนัก ด้วยข้อหาฉกรรจ์ว่าจะเป็นการแบ่งแยกราชอาณาจักร
การปฏิรูประบบราชการในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ยังไม่ได้ “เน้น” ในประเด็นนี้เท่าที่ควร
กฎหมายลูกบทของรัฐธรรมนูญมาตรา 284 แม้ประกาศใช้มาแล้วหลายปี มีสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือกำเนิดขึ้นมา แต่ก็ไม่คึกคัก
แนวคิด “ผู้ว่าฯซีอีโอ” เป็นเพียงความพยายามในการช่วงชิงอำนาจจากฝ่ายระบบราชการประจำมาอยู่กับฝ่ายการเมืองเท่านั้น
มีคำกล่าวว่าการปฏิรูปการเมืองไม่มีทางสำเร็จได้ถ้าไม่มีการปฏิรูปประชาชน !
การปฏิรูปประชาชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าพวกเขายังไม่มีแบบฝึกหัดเรียนรู้จากการเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่น และร่วมแก้ปัญหาของท้องถิ่นด้วยตัวเอง ?
ในหลัก Local Autonomy จะต้องมีหลัก Education Autonomy บรรจุอยู่เป็นหัวใจ
อัตตาณัติทางการศึกษาของท้องถิ่นเป็นตำราสำคัญในการทำแบบฝึกหัดประชาธิปไตยพื้นฐาน
ระบบการศึกษาแบบรวมศูนย์อำนาจที่ส่งเสริมการแข่งขันทางการศึกษาในทุกระดับ อย่างที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นอยู่นี้ มีแต่ส่งเสริมให้คนเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น พ่อแม่จะสนใจแต่การศึกษาของบุตรธิดาตนเอง พยายามเลือกสรรสิ่งที่คิดที่เชื่อว่าดีที่สุดให้แก่ลูก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะต้องแลกมาด้วยการซื้อหาติดสินบนสักเท่าไร ไม่มีใครสนใจการจัดการศึกษาของท้องถิ่น เพราะระบบไม่เปิดโอกาส ไม่ส่งเสริม ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของการไม่สนใจส่วนรวม ผู้คนที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาในลักษณะนี้จะมีลักษณะวูบวาบฉาบฉวยทางการเมือง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับด้วยถือว่าธุระไม่ใช่
กฎหมายปฏิรูปการศึกษาของบ้านเราฉบับปี 2542 แม้จะมีลักษณะที่เริ่มจะพูดถึงการจัดการศึกษาเองของชุมชน แต่ยังห่างไกลการปฏิบัติ
แตกต่างจากเกาหลีใต้ที่พอมี Local Government สมบูรณ์ในการเลือกตั้งปี 2538 แล้ว เขาก็เข้าสู่หลักอัตตาณัติทางการศึกษาของท้องถิ่นทันทีตามกฎหมายที่ออกมาคู่กัน
มาร่วมกันมอง “Autonomy” จากอีกมุมมองหนึ่งดีไหม ???
โดยเฉพาะเมื่อท่านเอ่ยคำว่า “Autonomy” ออกมา !
คนไทยย่อมแปลว่า “อิสระ” แล้วไพล่ไปนึกว่าท่านให้ท้ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนไปโน่นเลย
จึงนอกจากจะโดนกระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์เชิงคัดค้านแล้ว ยังโดนนักศึกษารามคำแหงกลุ่มหนึ่งไปถือป้ายประท้วงที่หน้าสถานทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยอีกต่างหาก
ทั้ง ๆ ที่หากอ่านคำให้สัมภาษณ์ของท่านโดยละเอียดแล้ว จะพบว่าท่านให้ความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่มีทางเลยที่ชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยจะแยกตัวออกมาเป็น “เอกราช” อย่างดีที่สุดที่จะเป็นได้ก็แค่มี “Autonomy” เท่านั้น
วันนี้ – เรามาทำความเข้าใจคำว่า “Autonomy” กันดีไหม
คำว่า Autonomy ในปัจจุบันมักจะแปลว่า “อิสระ”, “ความเป็นอิสระ” หรือ “ความเป็นอิสระในการกำหนด/ปกครองตนเอง” แต่ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว – ศ.ประยูร กาญจนดุล ปรมาจารย์วิชากฎหมายปกครองของไทย เคยใช้คำที่สั้นและกระชับกว่า
“อัตตาณัติ”
เป็นคำสนธิ มาจาก “อัตตา” ที่แปลว่า “การถือตนเองเป็นใหญ่” กับคำ “อาณัติ” ที่แปลได้หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ข้อบังคับ, คำสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย และ “การมอบหมายให้ดูแลปกครอง” ในกรณีที่พูดถึงกันอยู่ทุกวันนี้น่าจะอยู่ในข่ายคำแปลหลังสุด
คือ = การมอบหมายให้ดูแลปกครอง !
แต่ไม่ว่าจะแปลอย่างไรก็ยังคงห่างไกลกับคำว่า “เอกราช” อยู่หลายขุม !
ผมจะไม่พูดถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จะพูดหลักทั่วไป ว่า Autonomy นี่คือหัวใจในการนำพาประเทศไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง Autonomy ที่สำคัญมีอยู่ 2 ทาง 2 ด้าน คือ Local Autonomy และ Education Autonomy
ขอยกตัวอย่างเกาหลีใต้ที่ถือว่าปฏิรูปการเมืองสำเร็จในช่วงปี 2538
หลัก Local Autonomy ในเกาหลีใต้บรรลุขั้นตอนสำคัญที่สุดในการเลือกตั้งท้องถิ่นปี 2538
ทำให้เกาหลีใต้มี Local Government หรือรัฐบาลท้องถิ่น ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งด้านหัวหน้าคณะผู้บริหาร (CEO) และสภา ขึ้นมาในหน่วยปกครองตนเอง 2 ระดับ คือ ระดับสูง 15 หน่วย (จังหวัด 9 และนครใหญ่ฐานะเทียบเท่าจังหวัด 6) และระดับรองลงมาจาก 15 หน่วยอันประกอบด้วยอำเภอ นคร และเขต รวมทั้งหมด 230 หน่วย
ในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งดำริให้มี “ผู้ว่าฯซีอีโอ” ในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และยังคงมาจากการแต่งตั้ง เกาหลีใต้เมื่อ 9 ปีก่อนได้เลือกตั้งสมาชิกหน่วยปกครองตนเองท้องถิ่นทั่วประเทศ 5,513 คน และหัวหน้าคณะผู้บริหารในทุกระดับอีก 230 คน
ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในขอบเขตทั่วประเทศทั้งเมืองหลวงและต่างจังหวัด
มีส่วนร่วมในการกำหนดตัวผู้ปกครองท้องถิ่นเอง และร่วมแก้ปัญหาท้องถิ่นเอง
แม้ว่าจะเป็นผลมาจากการเริ่มต้นปฏิรูปการเมืองของนายพลโรห์แตวู ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ช่วงปี 2530 – 2535 ที่ประกาศคำมั่นสัญญา 8 ข้อต่อประชาชนตั้งแต่ยังเป็นฝ่ายค้านในยุคประธานาธิบดีชุนดูฮวาน แต่ Local Autonomy Act 1988 ที่ประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน 2531 นั้นก็เป็นเพียงการสานต่อหลักอัตตาณัติของท้องถิ่นที่ขึ้นสู่พัฒนาการสูงสุดมาแล้วในปี 2503 แต่หยุดชะงักไปกับการอุบัติขึ้นมาของระบอบเผด็จการทหารของนายพลปักจุงฮีเมื่อปี 2504 ที่ต่อเนื่องมา 26 ปีเต็ม
เกาหลีใต้ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เช่นเดียวกับประเทศไทย ไม่ได้มีหลักอัตตาณัติของท้องถิ่น และเมื่อตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นยาวนาน 35 ปี หลักการนี้ก็ยังไม่เกิด
แต่เมื่อได้รับเอกราชในปี 2491 ก็เริ่มตรา Local Government Act ขึ้นบังคับใช้ในอีก 1 ปีถัดมา จัดรูปแบบองค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศโดยยึดหลักอัตตาณัติของท้องถิ่น ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นทุกระดับ โดยให้สมาชิกสภาไปเลือกคณะผู้บริหารอีกต่อหนึ่ง
ปี 2499 แก้ไขกฎหมายครั้งสำคัญ – กำหนดให้หัวหน้าคณะผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
การเลือกตั้ง Local Government ในเกาหลีใต้จึงเริ่มต้นได้สมบูรณ์แบบตั้งแต่ปี 2503
แม้จะสะดุดไปเพราะระบอบเผด็จการทหาร แต่ในทันทีที่เริ่มต้นปฏิรูปการเมือง เขาก็กลับคืนสู่จุดเดิม และจัดเลือกตั้งท้องถิ่นชนิดสมบูรณ์แบบอีกครั้งในระยะเวลาที่ห่างกัน 35 ปี
แต่ประเทศไทยนับแต่การปฏิรูประบบราชการรวมศูนย์อำนาจเมื่อปี 2435 เรามีแต่การพัฒนาไปในเชิงกระชับอำนาจบริหารส่วนกลางมากยิ่งขึ้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจการเมืองในโครงสร้างเบื้องบนเท่านั้น ความพยายามในการกระจายอำนาจถูกขัดขวางจากระบบราชการมาโดยตลอด
แม้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะบรรจุหลักอัตตาณัติของท้องถิ่นไว้ในมาตรา 282 – 290 แต่กว่าจะคลอดออกมาได้ก็ถูกขัดขวางอย่างหนัก ด้วยข้อหาฉกรรจ์ว่าจะเป็นการแบ่งแยกราชอาณาจักร
การปฏิรูประบบราชการในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ยังไม่ได้ “เน้น” ในประเด็นนี้เท่าที่ควร
กฎหมายลูกบทของรัฐธรรมนูญมาตรา 284 แม้ประกาศใช้มาแล้วหลายปี มีสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือกำเนิดขึ้นมา แต่ก็ไม่คึกคัก
แนวคิด “ผู้ว่าฯซีอีโอ” เป็นเพียงความพยายามในการช่วงชิงอำนาจจากฝ่ายระบบราชการประจำมาอยู่กับฝ่ายการเมืองเท่านั้น
มีคำกล่าวว่าการปฏิรูปการเมืองไม่มีทางสำเร็จได้ถ้าไม่มีการปฏิรูปประชาชน !
การปฏิรูปประชาชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าพวกเขายังไม่มีแบบฝึกหัดเรียนรู้จากการเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่น และร่วมแก้ปัญหาของท้องถิ่นด้วยตัวเอง ?
ในหลัก Local Autonomy จะต้องมีหลัก Education Autonomy บรรจุอยู่เป็นหัวใจ
อัตตาณัติทางการศึกษาของท้องถิ่นเป็นตำราสำคัญในการทำแบบฝึกหัดประชาธิปไตยพื้นฐาน
ระบบการศึกษาแบบรวมศูนย์อำนาจที่ส่งเสริมการแข่งขันทางการศึกษาในทุกระดับ อย่างที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นอยู่นี้ มีแต่ส่งเสริมให้คนเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น พ่อแม่จะสนใจแต่การศึกษาของบุตรธิดาตนเอง พยายามเลือกสรรสิ่งที่คิดที่เชื่อว่าดีที่สุดให้แก่ลูก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะต้องแลกมาด้วยการซื้อหาติดสินบนสักเท่าไร ไม่มีใครสนใจการจัดการศึกษาของท้องถิ่น เพราะระบบไม่เปิดโอกาส ไม่ส่งเสริม ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของการไม่สนใจส่วนรวม ผู้คนที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาในลักษณะนี้จะมีลักษณะวูบวาบฉาบฉวยทางการเมือง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับด้วยถือว่าธุระไม่ใช่
กฎหมายปฏิรูปการศึกษาของบ้านเราฉบับปี 2542 แม้จะมีลักษณะที่เริ่มจะพูดถึงการจัดการศึกษาเองของชุมชน แต่ยังห่างไกลการปฏิบัติ
แตกต่างจากเกาหลีใต้ที่พอมี Local Government สมบูรณ์ในการเลือกตั้งปี 2538 แล้ว เขาก็เข้าสู่หลักอัตตาณัติทางการศึกษาของท้องถิ่นทันทีตามกฎหมายที่ออกมาคู่กัน
มาร่วมกันมอง “Autonomy” จากอีกมุมมองหนึ่งดีไหม ???