กองทุนส่วนบุคคล 8 เดือนเม็ดเงินโต 15% ทะลุ 1.4 แสนล้านบาท รูปแบบคล้าย"เฮดจ์ ฟันด์"มากขึ้น เน้นทำกำไรระยะสั้น มิหนำซ้ำเป็นตัวการทุบหุ้นไอพีโอ ด้าน "เรืองวิทย์-เอเจเอฟ"ยอมรับไพรเวท ฟันด์ส่วนใหญ่เป็นพอร์ตเทรดดิ้ง มุ่งทำกำไรให้ผู้ถือหน่วย วอนไม่อยากให้มองเป็นคนทุบหุ้น เหตุบางจังหวะหากไม่ขายวันแรกโอกาสขาดทุนมีสูง ขณะที่"กำพล-ธนชาติ"ประเมินแนวโน้มเติบโตได้อีก หลังรัฐเลิกค้ำประกันเงินฝาก ดึงเศรษฐีนำเงินมาจ้างบริหารมากขึ้น
กระแสการเปิดตัวกองทุนในปัจจุบันมีหลากหลายประเภทมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุน ที่ต้องการนำเงินออมมาลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงกว่าเงินฝาก แต่หากเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวม ถึงแม้จะมีความหลากหลายให้เลือก แต่ก็มาพร้อมกับข้อจำกัดในการลงทุน ทำให้เม็ดเงินของเศรษฐีส่วนหนึ่งเล็ดรอดไปลงทุนใน "กองทุนส่วนบุคคล"( Private Fund Management)เพราะเจ้าของเงินสามารถกำหนดรูปแบบการลงทุนของตนเองโดยมุ่งหวังผลตอบแทนที่สูงพร้อมๆ กับความเสี่ยงที่สูงตามผลตอบแทน
*8 เดือนเม็ดเงินโต 15%
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 ส.ค.47 กองทุนส่วนบุคคลมีจำนวนรวม 1,521 กอง คิดเป็นจำนวนเงิน 140,228.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธ.ค.46 ที่มีจำนวนกองทุนส่วนบุคคล 1,473 กอง คิดเป็นเม็ดเงิน 121,290.26 ล้านบาท โดยหากคิดในด้านของจำนวนกองทุนเพิ่มขึ้น 48 กอง ส่วนปริมาณเม็ดเงินนั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 15.61%
ดังนั้นคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มขึ้น แฝงไปด้วยกองทุนที่เป็นรูปแบบของกองทุนส่วนบุคคลที่เติบโตขึ้นอย่างเงียบๆด้วย
ทั้งนี้ บลจ.ขนาดใหญ่อย่าง บลจ.กสิกรไทย เป็นผู้ครองส่วนมาร์เก็ตแชร์สูงสุด อันดับ 1 ของการบริหารหองทุนส่วนบุคคล โดยมีเม็ดเงินภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 42,639.63 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 30.41% อันดับ 2 บลจ.วรรณ บริหารเม็ดเงิน 20,056.79 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 14.30% บลจ.ทิสโก้ บริหารเม็ดเงิน 17,176.72 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 12.25%
อันดับ 4 เป็นของธนาคารกรุงเทพ บริหารเม็ดเงิน 16,734.67 ล้านบาท คิดเป็น 11.93% และบลจ.อยุธยาเจเอฟ บริหารเม็ดเงิน 8,733.94 ล้านบาท คิดเป็น 6.69 %
*รูปแบบคล้าย "เฮดจ์ฟันด์"
นายปิติ เกตุศิริ เจ้าหน้าที่บริหารการตลาดอาวุโส บล.บีที กล่าวว่า ในช่วงการจัดงานไทยแลนด์ โฟกัส ที่นักลงทุนสถาบันแสดงยอดขายสุทธิจำนวนมาก มองว่าส่วนหนึ่งเป็นแรงขายของกองทุนส่วนบุคคลด้วย เพราะนโยบายของกองทุนพวกนี้ต้องบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้กับเจ้าของเงิน มีลักษณะคล้ายกองทุนบริหารความเสี่ยงหรือ "เฮดจ์ฟันด์"
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผ่านมากองทุนส่วนบุคคลถือว่าเติบโตขึ้นมาก แต่ในแง่ของเม็ดเงินแล้ว ถือว่ายังมีจำนวนน้อย และยังไม่น่าจะถึง 10% ของนักลงทุนสถาบันทั้งหมด
*กองทุนส่วนบุคคลมือทุบหุ้นจอง
แหล่งข่าวจากวาณิชธนกิจรายหนึ่งกล่าวว่า หุ้นใหม่บางตัวราคาลดลงต่ำกว่าจองอย่างมากหลังจากเข้าตลาด สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกองทุนที่เข้ามาจองซื้อหุ้น และขายหุ้นทิ้งหลังจากเข้าตลาดเมื่อเห็นว่าราคาปรับตัวขึ้นไปเหนือราคาจองมาก ซึ่งเมื่อมีแรงขายหนักทำให้รายย่อยเกิดความไม่มั่นใจ และขายหุ้นตามออกมาด้วย ส่งผลให้ระยะหลังนี้หุ้นหลายตัวแม้มีการจัดสรรให้กับนักลงทุนสถาบันในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก แต่กลับไม่ได้ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาหุ้น เพราะกองทุนปัจจุบันไม่ได้เป็นนักลงทุนระยะยาวอย่างที่ต้องการ
นายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.อยุธยาเจเอฟ กล่าวว่า การที่กองทุนบางกองต้องขายหุ้นออกมาในช่วงแรกที่หุ้นเข้าตลาดนั้น เนื่องจากบางบริษัทราคาหุ้นปรับตัวดีในช่วงวันแรกๆ และถึงเป้าหมายที่กองทุนวางไว้ เช่นต้องการกำไร 30% เมื่อราคาถึงเป้าหมายก็ต้องขายออกไปก่อน ซึ่งในช่วงปีนี้การซื้อหุ้นไอพีโอ แม้ว่าจะเป็นกองทุนก็ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น หากไม่ได้ขายในวันแรกโอกาสที่จะขาดทุนก็มีสูง และหลายครั้งที่หุ้นไอพีโอไม่ได้ทำกำไรให้กับกองทุน
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุนด้วย ซึ่งตามปกติแล้วจะมีทั้งพอร์ตที่ถือยาวและพอร์ตเทรดดิ้ง โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นพอร์ตที่ถือยาว แต่จะมีกองทุนบางลักษณะที่ต้องเทรดดิ้ง อย่างเช่นในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล ที่ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าของเงินด้วยเช่นกัน
"เวลาจองหุ้นเราก็จะจองในนามของบลจ.แล้วก็จะมาจัดสรรอีกทีว่าจะลงในกองทุนไหนภายใต้การจัดการบ้าง ซึ่งในกองทุนรวมบางครั้งก็ไม่สามารถลงในหุ้นไอพีโอของบางบริษัทได้ เพราะมีขนาดเล็กเกินไป แต่กองทุนส่วนส่วนบุคคลสามารถลงได้ อย่างไรก็ตามไม่อยากให้มองว่า กองทุนเป็นคนทุบหุ้น เพราะเราก็ต้องระมัดระวังเหมือนกัน หุ้นจองบางตัวก็ไม่สามารถทำกำไรให้ได้ถ้าเราไม่ขายตั้งแต่วันแรกโอกาสขาดทุนก็สูง"นายเรืองวิทย์ กล่าว
*แนวโน้มกองทุนส่วนบุคคลรุ่ง
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ธนชาติ จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่าในอนาคตกองทุนส่วนบุคคลยังมีแนวโน้มที่สดใส ประเด็นสำคัญคือ การออกพระราชบัญญัติค้ำประกันเงินฝากที่คาดว่าจะสามารถอออกมาได้ในช่วง 5 ปี จะทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินซึ่งปกติได้รับการค้ำประกันเงินที่ฝากกับธนาคารเต็มจำนวน เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้เงินที่จะได้รับความคุ้มครองจะลดลง ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีเม็ดเงินจากเงินฝากเข้ามาลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเรื่องผลตอบแทนที่ได้รับคงเป็นไปตามความต้องการ และระดับการรับความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละรายไป หากสามารถรับความเสี่ยงได้สูง อัตราผลตอบแทนก็จะอยู่ในระดับสูง แต่หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ ผลตอบแทนก็อยู่ในระดับไม่สูงมาก แต่เชื่อว่าผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจะสูงเกินกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่าย
ทั้งนี้ในส่วนของกลุ่มลูกค้าหลักของกองทุนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสถาบัน สหกรณ์ มูลนิธิ มหาวิทยาลัย เป็นต้น 2.กลุ่มรายย่อย จำนวนตั้งแต่ 2-35 คน โดยขณะนี้สัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยที่ขอจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลจะมีสูงว่ากลุ่มสถาบัน เนื่องจากกฎเกณฑ์ และระเบียบข้อห้ามของแต่ละที่มีข้อจำกัดในการลงทุน เช่น สหกรณ์ไม่สามารถนำเงินลงทุนในหุ้นได้ เนื่องจากความเสี่ยงจากการลงทุนสูง ประกอบกับนักลงทุนรายย่อยที่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องการลงทุนมากนัก จึงต้องการหามืออาชีพมาบริหารเงินให้
"คงต้องมีการส่งเสริมการลงทุนให้มากขึ้นทั้งในเรื่องการให้ความรู้ การแก้ไขข้อกำหนดที่จะทำให้ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน เพราะหากพ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากประกาศใช้ การย้ายเงินเข้ามาลงทุนในตลาดทุนก็จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และยังสามารถเลือกความเสี่ยงจากการลงทุนได้อีกด้วย" นายกำพล กล่าว
ปัจจุบันบลจ.ธนชาติ บริหารกองทุนส่วนบุคคลมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 10 มูลค่ารวม 2,743 ล้านบาท อัตราการเติบโตของกองทุนส่วนบุคคลในส่วนของ บลจ.ธนชาติจาก ธ.ค. ปี 46 ถึง ก.ย. ปี 47 มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้น 32.43%
กระแสการเปิดตัวกองทุนในปัจจุบันมีหลากหลายประเภทมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุน ที่ต้องการนำเงินออมมาลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงกว่าเงินฝาก แต่หากเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวม ถึงแม้จะมีความหลากหลายให้เลือก แต่ก็มาพร้อมกับข้อจำกัดในการลงทุน ทำให้เม็ดเงินของเศรษฐีส่วนหนึ่งเล็ดรอดไปลงทุนใน "กองทุนส่วนบุคคล"( Private Fund Management)เพราะเจ้าของเงินสามารถกำหนดรูปแบบการลงทุนของตนเองโดยมุ่งหวังผลตอบแทนที่สูงพร้อมๆ กับความเสี่ยงที่สูงตามผลตอบแทน
*8 เดือนเม็ดเงินโต 15%
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 ส.ค.47 กองทุนส่วนบุคคลมีจำนวนรวม 1,521 กอง คิดเป็นจำนวนเงิน 140,228.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธ.ค.46 ที่มีจำนวนกองทุนส่วนบุคคล 1,473 กอง คิดเป็นเม็ดเงิน 121,290.26 ล้านบาท โดยหากคิดในด้านของจำนวนกองทุนเพิ่มขึ้น 48 กอง ส่วนปริมาณเม็ดเงินนั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 15.61%
ดังนั้นคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มขึ้น แฝงไปด้วยกองทุนที่เป็นรูปแบบของกองทุนส่วนบุคคลที่เติบโตขึ้นอย่างเงียบๆด้วย
ทั้งนี้ บลจ.ขนาดใหญ่อย่าง บลจ.กสิกรไทย เป็นผู้ครองส่วนมาร์เก็ตแชร์สูงสุด อันดับ 1 ของการบริหารหองทุนส่วนบุคคล โดยมีเม็ดเงินภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 42,639.63 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 30.41% อันดับ 2 บลจ.วรรณ บริหารเม็ดเงิน 20,056.79 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 14.30% บลจ.ทิสโก้ บริหารเม็ดเงิน 17,176.72 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 12.25%
อันดับ 4 เป็นของธนาคารกรุงเทพ บริหารเม็ดเงิน 16,734.67 ล้านบาท คิดเป็น 11.93% และบลจ.อยุธยาเจเอฟ บริหารเม็ดเงิน 8,733.94 ล้านบาท คิดเป็น 6.69 %
*รูปแบบคล้าย "เฮดจ์ฟันด์"
นายปิติ เกตุศิริ เจ้าหน้าที่บริหารการตลาดอาวุโส บล.บีที กล่าวว่า ในช่วงการจัดงานไทยแลนด์ โฟกัส ที่นักลงทุนสถาบันแสดงยอดขายสุทธิจำนวนมาก มองว่าส่วนหนึ่งเป็นแรงขายของกองทุนส่วนบุคคลด้วย เพราะนโยบายของกองทุนพวกนี้ต้องบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้กับเจ้าของเงิน มีลักษณะคล้ายกองทุนบริหารความเสี่ยงหรือ "เฮดจ์ฟันด์"
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผ่านมากองทุนส่วนบุคคลถือว่าเติบโตขึ้นมาก แต่ในแง่ของเม็ดเงินแล้ว ถือว่ายังมีจำนวนน้อย และยังไม่น่าจะถึง 10% ของนักลงทุนสถาบันทั้งหมด
*กองทุนส่วนบุคคลมือทุบหุ้นจอง
แหล่งข่าวจากวาณิชธนกิจรายหนึ่งกล่าวว่า หุ้นใหม่บางตัวราคาลดลงต่ำกว่าจองอย่างมากหลังจากเข้าตลาด สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกองทุนที่เข้ามาจองซื้อหุ้น และขายหุ้นทิ้งหลังจากเข้าตลาดเมื่อเห็นว่าราคาปรับตัวขึ้นไปเหนือราคาจองมาก ซึ่งเมื่อมีแรงขายหนักทำให้รายย่อยเกิดความไม่มั่นใจ และขายหุ้นตามออกมาด้วย ส่งผลให้ระยะหลังนี้หุ้นหลายตัวแม้มีการจัดสรรให้กับนักลงทุนสถาบันในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก แต่กลับไม่ได้ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาหุ้น เพราะกองทุนปัจจุบันไม่ได้เป็นนักลงทุนระยะยาวอย่างที่ต้องการ
นายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.อยุธยาเจเอฟ กล่าวว่า การที่กองทุนบางกองต้องขายหุ้นออกมาในช่วงแรกที่หุ้นเข้าตลาดนั้น เนื่องจากบางบริษัทราคาหุ้นปรับตัวดีในช่วงวันแรกๆ และถึงเป้าหมายที่กองทุนวางไว้ เช่นต้องการกำไร 30% เมื่อราคาถึงเป้าหมายก็ต้องขายออกไปก่อน ซึ่งในช่วงปีนี้การซื้อหุ้นไอพีโอ แม้ว่าจะเป็นกองทุนก็ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น หากไม่ได้ขายในวันแรกโอกาสที่จะขาดทุนก็มีสูง และหลายครั้งที่หุ้นไอพีโอไม่ได้ทำกำไรให้กับกองทุน
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุนด้วย ซึ่งตามปกติแล้วจะมีทั้งพอร์ตที่ถือยาวและพอร์ตเทรดดิ้ง โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นพอร์ตที่ถือยาว แต่จะมีกองทุนบางลักษณะที่ต้องเทรดดิ้ง อย่างเช่นในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล ที่ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าของเงินด้วยเช่นกัน
"เวลาจองหุ้นเราก็จะจองในนามของบลจ.แล้วก็จะมาจัดสรรอีกทีว่าจะลงในกองทุนไหนภายใต้การจัดการบ้าง ซึ่งในกองทุนรวมบางครั้งก็ไม่สามารถลงในหุ้นไอพีโอของบางบริษัทได้ เพราะมีขนาดเล็กเกินไป แต่กองทุนส่วนส่วนบุคคลสามารถลงได้ อย่างไรก็ตามไม่อยากให้มองว่า กองทุนเป็นคนทุบหุ้น เพราะเราก็ต้องระมัดระวังเหมือนกัน หุ้นจองบางตัวก็ไม่สามารถทำกำไรให้ได้ถ้าเราไม่ขายตั้งแต่วันแรกโอกาสขาดทุนก็สูง"นายเรืองวิทย์ กล่าว
*แนวโน้มกองทุนส่วนบุคคลรุ่ง
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ธนชาติ จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่าในอนาคตกองทุนส่วนบุคคลยังมีแนวโน้มที่สดใส ประเด็นสำคัญคือ การออกพระราชบัญญัติค้ำประกันเงินฝากที่คาดว่าจะสามารถอออกมาได้ในช่วง 5 ปี จะทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินซึ่งปกติได้รับการค้ำประกันเงินที่ฝากกับธนาคารเต็มจำนวน เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้เงินที่จะได้รับความคุ้มครองจะลดลง ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีเม็ดเงินจากเงินฝากเข้ามาลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเรื่องผลตอบแทนที่ได้รับคงเป็นไปตามความต้องการ และระดับการรับความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละรายไป หากสามารถรับความเสี่ยงได้สูง อัตราผลตอบแทนก็จะอยู่ในระดับสูง แต่หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ ผลตอบแทนก็อยู่ในระดับไม่สูงมาก แต่เชื่อว่าผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจะสูงเกินกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่าย
ทั้งนี้ในส่วนของกลุ่มลูกค้าหลักของกองทุนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสถาบัน สหกรณ์ มูลนิธิ มหาวิทยาลัย เป็นต้น 2.กลุ่มรายย่อย จำนวนตั้งแต่ 2-35 คน โดยขณะนี้สัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยที่ขอจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลจะมีสูงว่ากลุ่มสถาบัน เนื่องจากกฎเกณฑ์ และระเบียบข้อห้ามของแต่ละที่มีข้อจำกัดในการลงทุน เช่น สหกรณ์ไม่สามารถนำเงินลงทุนในหุ้นได้ เนื่องจากความเสี่ยงจากการลงทุนสูง ประกอบกับนักลงทุนรายย่อยที่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องการลงทุนมากนัก จึงต้องการหามืออาชีพมาบริหารเงินให้
"คงต้องมีการส่งเสริมการลงทุนให้มากขึ้นทั้งในเรื่องการให้ความรู้ การแก้ไขข้อกำหนดที่จะทำให้ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน เพราะหากพ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากประกาศใช้ การย้ายเงินเข้ามาลงทุนในตลาดทุนก็จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และยังสามารถเลือกความเสี่ยงจากการลงทุนได้อีกด้วย" นายกำพล กล่าว
ปัจจุบันบลจ.ธนชาติ บริหารกองทุนส่วนบุคคลมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 10 มูลค่ารวม 2,743 ล้านบาท อัตราการเติบโตของกองทุนส่วนบุคคลในส่วนของ บลจ.ธนชาติจาก ธ.ค. ปี 46 ถึง ก.ย. ปี 47 มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้น 32.43%