ถือเป็นการปิดตำนาน "รอยเนท" เมื่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีคำสั่งเมื่อ วันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ให้เพิกถอนบริษัท รอยเนท จำกัด(มหาชน) (ROYNET) ออกจากการเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป โดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 171(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เนื่องจากบริษัทฝ่าฝืนไม่นำส่งงบการเงินและรายงานตามมาตรา 56 เป็นระยะเวลานาน
ถือเป็นการฝ่าฝืนละเลย ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์อย่างร้ายแรง
ส่วนการเปิดให้ทำการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ของรอยแนท ครั้งสุดท้ายจะอนุญาตให้ซื้อขายในวันที่ 14 ตุลาคม-15 พฤศจิกายน 2547 โดยไม่กำหนดราคาสูงสุด หรือต่ำสุด แม้ว่าจะถึงนาทีสุดท้ายของการซื้อขายหุ้นรอยเนทแล้ว นักลงทุนยังต้องใช้ความระมัดระวังในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นรอยเนท เพราะข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลดำเนินงานของรอยเนท ไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน งบการเงินถูกสั่งให้แก้ไข รวมทั้งความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจของ รอยเนท
สำหรับราคาหุ้น รอยแนท ครั้งสุดท้ายที่มีการซื้อขายอยู่ที่ 0.72 บาทต่อหุ้น
"รอยเนท" ถือเป็นหุ้นน้องใหม่ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ รายแรกที่เข้าไปเทรดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 แต่ไม่นานนักก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี ที่บริษัทอาศัยช่องโหว่ในการลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายชั่วโมงอินเทอร์เน็ต ที่ฝากขายไว้แก่ร้านค้า ซึ่งถือเป็นการให้เครดิตร้านค้าที่รับชั่วโมงอินเทอร์เน็ตไปขาย แต่ "รอยเนท" บันทึกเป็น การขายสินค้าเงินสด ทั้งที่ในความเป็นจริงบริษัทยังไม่ได้รับเงินสดเข้ามาทันที ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานของบริษัทมีกำไรสูงเกินจริง
นั่นคือที่มาที่ไป...ในแง่ของการใช้ "ช่องโหว่" ของการลงบันทึกบัญชี จนเป็นที่มาให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งให้รอยเนทปรับปรุงงบการเงินใหม่ จนท้าย ที่สุดหลังปรับงบการเงิน ผลการดำเนินงานของรอยเนทก็ปูดขึ้นมา กลับกลายเป็นว่าบริษัทประสบปัญหาขาดทุน สร้างความเสียหายให้แก่นักลงทุนรายย่อย ที่เข้าลงทุนเป็นอย่างมาก รายย่อยจึงกลายเป็นเหยื่อ "ตกหลุมพราง" ที่ผู้บริหารขุดล่อ
นอกเหนือจากความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นจาก การบันทึกบัญชี ของ "รอยเนท" แล้ว ยังมีประเด็นปัญหาในเรื่องของ "ธรรมาภิบาล" หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องด้วย
เพราะ "กลุ่มตระกูลเยาวพฤกษ์" ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่ของรอยเนท ในสัดส่วนกว่า 60% มีการเทขายหุ้นออกมาต่อเนื่อง หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ จนท้ายที่สุดแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือเพียง 18.03%
และที่สำคัญลักษณะการเทขายหุ้น รอยเนท ออกมา ของ "กิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์" ประธานกรรมการบริหารของ บริษัทรอยเนท และกลุ่มผู้บริหารรายอื่น ยังมีเจตนาที่จะปิดบังซ่อนเร้น นักลงทุนซึ่งตามกฎของก.ล.ต.แล้วหากมีการซื้อขายหุ้นทุก 5% จะต้องแจ้งรายการให้แก่ก.ล.ต.ทราบ แต่...ผู้บริหารรอยเนทไม่ทำเช่นนั้น
เพราะ...ในห้วงเวลาที่อยู่ระหว่างการตกแต่งบัญชี ผู้บริหารจะทำการเทขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร และพร้อมที่จะจ่ายค่าปรับให้ก.ล.ต. เนื่องจากค่าปรับที่เรียก เก็บต่ำมากเมื่อเทียบกับกำไรส่วนต่าง ที่พวกเขาจะสามารถ "ไซฟ่อนเงิน" เข้าพกเข้าห่อ โดยค่าปรับสูงสุดจะไม่เกิน 1 แสนบาท
นั่นจึงเป็นที่มาที่ไป ซึ่งทำให้ "ประสาร ไตรรัตน์-วรกุล" เลขาธิการก.ล.ต.ในช่วงนั้น ยื่นกล่าวโทษ "กิตติพัฒน์" ต่อสำนักงานสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) กรณีเจตนาตกแต่งบัญชีเพื่อลวงบุคคลอื่น เจตนาปกปิดรายงานการซื้อขายหุ้น ที่ตามกฎต้องมีการ รายงานการซื้อขายทุก 5% และใช้ข้อมูลภายในในการขายหุ้น
คำถามที่ต้องการคำตอบ...จากหน่วยงานกำกับไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์-ก.ล.ต. เหตุไฉนกลไกการ ตรวจสอบข้อมูลถึงปล่อยให้ลากยาวได้ถึงป่านนี้ ถ้านับรวมแล้วกระบวนการตรวจสอบ ตั้งแต่ที่ "รอยเนท" เข้ามาจดทะเบียน จะต้องมีการทำหนังสือชี้ชวนต่างๆ ต้องมีความครอบคลุมกับแผนการดำเนินธุรกิจ และที่สำคัญกระบวนการเข้าตลาดหุ้น จำเป็นที่จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียน ซึ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่า แล้วความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ที่ไหน หรือเป็นเพียงแค่ทำหน้าที่ในการช่วย "แต่งหน้า ทาแป้ง" ให้บริษัทที่มีเจตนาฉ้อฉล เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนจากบรรดานักลงทุน รายย่อยเข้าพกเข้าห่อเพียงเท่านั้นหรือ
ขณะเดียวกัน ในแง่ของบทลงโทษ ผู้บริหารที่มีเจตนาทุจริตมีการสร้างราคาหุ้นด้วยการปล่อยข่าวผ่านสื่อเพื่อดันราคาหุ้น จากนั้น ตัวผู้บริหาร หรือกรรมการของบริษัทก็เทขายหุ้นออกมา โดยไม่รายงานข้อมูลให้แก่ก.ล.ต.ได้รับทราบ เพียงแต่ยอมเสียค่าปรับจำนวนน้อยนิด เมื่อเทียบกับการฟันส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้น
ไม่แน่ใจว่า ก.ล.ต.จะจัดการอย่างไรกับพฤติกรรม เยี่ยงนี้ เพราะนักลงทุนรายย่อยไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ขณะที่รายใหญ่ทิ้งหุ้น ส่วนรายย่อยเก็งกำไรตามข่าว ทาง ออกก.ล.ต.น่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลการซื้อขายหุ้นให้มากขึ้น และให้เร็วทันท่วงที ไม่ใช่ปล่อยให้ลากยาวออกไป ท้ายที่สุดแล้ว ความคาดหวังที่จะให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะกลายเป็นสิ่งที่เพ้อฝัน
บทเรียนที่เกิดขึ้นกับรอยเนทครั้งนี้ ก็ได้แต่คาดหวังว่าจะเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับตลาดหลักทรัพย์-ก.ล.ต.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลให้เร่งรื้อหลักเกณฑ์ การกำกับดูแลต่างๆ ให้มีความเข้มงวด และมีมาตรฐาน ยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย ไม่ให้ตกกลายเป็นเหยื่อของ "โจรเสื้อสูท" ที่ต้องการนำหุ้นเน่าเข้าตลาดฯ และไซฟ่อนเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเพียงเท่านั้น
ถือเป็นการฝ่าฝืนละเลย ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์อย่างร้ายแรง
ส่วนการเปิดให้ทำการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ของรอยแนท ครั้งสุดท้ายจะอนุญาตให้ซื้อขายในวันที่ 14 ตุลาคม-15 พฤศจิกายน 2547 โดยไม่กำหนดราคาสูงสุด หรือต่ำสุด แม้ว่าจะถึงนาทีสุดท้ายของการซื้อขายหุ้นรอยเนทแล้ว นักลงทุนยังต้องใช้ความระมัดระวังในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นรอยเนท เพราะข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลดำเนินงานของรอยเนท ไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน งบการเงินถูกสั่งให้แก้ไข รวมทั้งความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจของ รอยเนท
สำหรับราคาหุ้น รอยแนท ครั้งสุดท้ายที่มีการซื้อขายอยู่ที่ 0.72 บาทต่อหุ้น
"รอยเนท" ถือเป็นหุ้นน้องใหม่ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ รายแรกที่เข้าไปเทรดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 แต่ไม่นานนักก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี ที่บริษัทอาศัยช่องโหว่ในการลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายชั่วโมงอินเทอร์เน็ต ที่ฝากขายไว้แก่ร้านค้า ซึ่งถือเป็นการให้เครดิตร้านค้าที่รับชั่วโมงอินเทอร์เน็ตไปขาย แต่ "รอยเนท" บันทึกเป็น การขายสินค้าเงินสด ทั้งที่ในความเป็นจริงบริษัทยังไม่ได้รับเงินสดเข้ามาทันที ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานของบริษัทมีกำไรสูงเกินจริง
นั่นคือที่มาที่ไป...ในแง่ของการใช้ "ช่องโหว่" ของการลงบันทึกบัญชี จนเป็นที่มาให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งให้รอยเนทปรับปรุงงบการเงินใหม่ จนท้าย ที่สุดหลังปรับงบการเงิน ผลการดำเนินงานของรอยเนทก็ปูดขึ้นมา กลับกลายเป็นว่าบริษัทประสบปัญหาขาดทุน สร้างความเสียหายให้แก่นักลงทุนรายย่อย ที่เข้าลงทุนเป็นอย่างมาก รายย่อยจึงกลายเป็นเหยื่อ "ตกหลุมพราง" ที่ผู้บริหารขุดล่อ
นอกเหนือจากความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นจาก การบันทึกบัญชี ของ "รอยเนท" แล้ว ยังมีประเด็นปัญหาในเรื่องของ "ธรรมาภิบาล" หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องด้วย
เพราะ "กลุ่มตระกูลเยาวพฤกษ์" ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่ของรอยเนท ในสัดส่วนกว่า 60% มีการเทขายหุ้นออกมาต่อเนื่อง หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ จนท้ายที่สุดแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือเพียง 18.03%
และที่สำคัญลักษณะการเทขายหุ้น รอยเนท ออกมา ของ "กิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์" ประธานกรรมการบริหารของ บริษัทรอยเนท และกลุ่มผู้บริหารรายอื่น ยังมีเจตนาที่จะปิดบังซ่อนเร้น นักลงทุนซึ่งตามกฎของก.ล.ต.แล้วหากมีการซื้อขายหุ้นทุก 5% จะต้องแจ้งรายการให้แก่ก.ล.ต.ทราบ แต่...ผู้บริหารรอยเนทไม่ทำเช่นนั้น
เพราะ...ในห้วงเวลาที่อยู่ระหว่างการตกแต่งบัญชี ผู้บริหารจะทำการเทขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร และพร้อมที่จะจ่ายค่าปรับให้ก.ล.ต. เนื่องจากค่าปรับที่เรียก เก็บต่ำมากเมื่อเทียบกับกำไรส่วนต่าง ที่พวกเขาจะสามารถ "ไซฟ่อนเงิน" เข้าพกเข้าห่อ โดยค่าปรับสูงสุดจะไม่เกิน 1 แสนบาท
นั่นจึงเป็นที่มาที่ไป ซึ่งทำให้ "ประสาร ไตรรัตน์-วรกุล" เลขาธิการก.ล.ต.ในช่วงนั้น ยื่นกล่าวโทษ "กิตติพัฒน์" ต่อสำนักงานสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) กรณีเจตนาตกแต่งบัญชีเพื่อลวงบุคคลอื่น เจตนาปกปิดรายงานการซื้อขายหุ้น ที่ตามกฎต้องมีการ รายงานการซื้อขายทุก 5% และใช้ข้อมูลภายในในการขายหุ้น
คำถามที่ต้องการคำตอบ...จากหน่วยงานกำกับไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์-ก.ล.ต. เหตุไฉนกลไกการ ตรวจสอบข้อมูลถึงปล่อยให้ลากยาวได้ถึงป่านนี้ ถ้านับรวมแล้วกระบวนการตรวจสอบ ตั้งแต่ที่ "รอยเนท" เข้ามาจดทะเบียน จะต้องมีการทำหนังสือชี้ชวนต่างๆ ต้องมีความครอบคลุมกับแผนการดำเนินธุรกิจ และที่สำคัญกระบวนการเข้าตลาดหุ้น จำเป็นที่จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียน ซึ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่า แล้วความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ที่ไหน หรือเป็นเพียงแค่ทำหน้าที่ในการช่วย "แต่งหน้า ทาแป้ง" ให้บริษัทที่มีเจตนาฉ้อฉล เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนจากบรรดานักลงทุน รายย่อยเข้าพกเข้าห่อเพียงเท่านั้นหรือ
ขณะเดียวกัน ในแง่ของบทลงโทษ ผู้บริหารที่มีเจตนาทุจริตมีการสร้างราคาหุ้นด้วยการปล่อยข่าวผ่านสื่อเพื่อดันราคาหุ้น จากนั้น ตัวผู้บริหาร หรือกรรมการของบริษัทก็เทขายหุ้นออกมา โดยไม่รายงานข้อมูลให้แก่ก.ล.ต.ได้รับทราบ เพียงแต่ยอมเสียค่าปรับจำนวนน้อยนิด เมื่อเทียบกับการฟันส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้น
ไม่แน่ใจว่า ก.ล.ต.จะจัดการอย่างไรกับพฤติกรรม เยี่ยงนี้ เพราะนักลงทุนรายย่อยไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ขณะที่รายใหญ่ทิ้งหุ้น ส่วนรายย่อยเก็งกำไรตามข่าว ทาง ออกก.ล.ต.น่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลการซื้อขายหุ้นให้มากขึ้น และให้เร็วทันท่วงที ไม่ใช่ปล่อยให้ลากยาวออกไป ท้ายที่สุดแล้ว ความคาดหวังที่จะให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะกลายเป็นสิ่งที่เพ้อฝัน
บทเรียนที่เกิดขึ้นกับรอยเนทครั้งนี้ ก็ได้แต่คาดหวังว่าจะเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับตลาดหลักทรัพย์-ก.ล.ต.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลให้เร่งรื้อหลักเกณฑ์ การกำกับดูแลต่างๆ ให้มีความเข้มงวด และมีมาตรฐาน ยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย ไม่ให้ตกกลายเป็นเหยื่อของ "โจรเสื้อสูท" ที่ต้องการนำหุ้นเน่าเข้าตลาดฯ และไซฟ่อนเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเพียงเท่านั้น