ปชป.ดันร่างแก้ไข กม.เลือกตั้งของตัวเอง เข้า สภาฯวันนี้ ขณะที่ ชท. ก็เตรียมเสนอร่างของพรรคเข้าสภาเช่นกัน อ้างร่างกม.ของ ทรท. ซึ่งอยู่ในรัฐบาลด้วยกันยังแก้ไขไม่ตรงจุด ส่วน กกต.พร้อมทำตาม กม.ที่แก้ไขใหม่ เพราะมีหน้าที่ปฎิบัติ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วม ฝ่ายค้านหรือวิปฝ่ายค้านแถลงภายหลังการประชุมว่าที่ประชุมมีมติให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.แก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. ที่ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอขึ้นมาพิจารณา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (6 ต.ค.) ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประเด็นคือ
1.ห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งมีพฤติกรรมจูงใจก่อนการเลือกตั้ง 60 วัน 2.ให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้ชัดเจนว่าอะไรที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทำได้และอะไรที่กระทำไม่ได้ ่ และ3.การคัดค้านการ เลือกตั้งจะต้องมีผู้ร้องคัดค้านไม่น้อยกว่า10 คนขึ้นไปจากเดิมที่กำหนดว่า แค่บุคคลเดียว ก็สามารถร้องคัดค้านได้แล้ว โดย 3 ประเด็นดังกล่าวเป็นการศึกษา จุดอ่อนและจุดแข็งในการเลือกตั้งส.ส.และส.ว.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามฝ่ายค้านเห็นว่า สภาควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ควรมีมติผ่าน 3 วาระรวด แต่ควรให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา
ที่พรรคประชาธิปัตย์ วานนี้ (5 ต.ค.) มีการประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยเชิญ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. มาชี้แจงและตอบข้อซักถามของ ส.ส.และว่าที่ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับข้อกฎหมายในการเลือกตั้ง ส.ส. โดย พล.ต.อ.วาสนาได้กล่าวถึงกำหนดเงื่อนเวลาในการหาเสียง ที่ ส.ส.ต้องการ ให้เพิ่มเติมมาตรา 44 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. พ.ศ.2541 ไว้ 60 วัน ว่า ถ้าความเห็นของตนคนเดียว ซึ่งยังไม่ได้ปรึกษากับ กกต.คนอื่นนั้น เห็นว่าควรแก้ไข เพื่อกำหนดเงื่อนเวลาให้ชัดเจนเช่นเดียวกับมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 เพราะรายละเอียดใน (1)-(5) ของมาตรา 57 นี้แทบจะลอกถ้อยคำมาจากมาตรา 44 ต่างกันเพียงว่า ในมาตรา 44 ไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลาไว้ และเพื่อเป็นประโยชน์ ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น กกต. ผู้สมัคร หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
พล.ต.อ.วาสนา กล่าวว่า ส่วนจะแก้ไขทันหรือไม่นั้น ตนสนับสนุนให้พิจารณา 3 วาระรวด อย่างไรก็ตาม หากแก้ไม่สำเร็จ เพราะติดขัดขั้นตอนของกฎหมาย กกต.เคยมีความเห็นกันว่า ไม่อาจกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ แต่มีข้อวินิจฉัยว่า ระยะเวลาคงไม่นานเกินไป น่าจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 90 วันก่อนครบวาระจนถึงวันเลือกตั้ง แต่ที่สำคัญต้องดูว่าพฤติการณ์และการกระทำในแตี่่น่าเชื่อว่าเป็นการจูงใจหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การแก้มาตรา 44 คงจะไม่ถูกจุด แต่ต้องพิจารณาที่สำคัญคือ รัฐธรรมนูญ มาตรา 147(2) และมาตรา 40 ของพ.ร.บ.การเลือกตั้ง ที่กำหนดเงื่อนเวลานับตั้งแต่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ว่า ควรแก้ไขมาตรา 40 หรือมาตรา 44 เพราะถ้าแก้มาตรา 44 จะขัดกับมาตรา 40 ทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เกือบทุกคนต่างหยิบยกประเด็นปัญหากฎหมายมาสอบถามพล.ต.อ.วาสนา ซึ่งใช้เวลาร่วม 3 ชั่วโมง อาทิ นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุงได้ซักถามถึงกรณีที่มีรัฐมนตรีคนหนึ่งไปราชการในจ.พัทลุงและต่อรองกับผู้ที่มาต้อนรับว่าจะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่จ.พัทลุงต่อไป แต่มีข้อแม้ต้องเลือกผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยเป็นส.ส.อย่างน้อย 1 คน ทางพล.ต.อ.วาสนา กล่าวว่า ว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจและขอให้ทำข้อเท็จจริงเสนอรายละเอียดมายัง กกต.อีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ได้มีส.ส.สอบถามถึงกรณีพล.ต.ต.พงศพัศ พงศ์เจริญ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ประกาศตัวจะเป็นทีมงานผู้ว่าฯกทม.หากนางปวีณา หงสกุล อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งส.ส.ข้องใจเพราะ พล.ต.ต.พงศพัศประกาศตัวโดยที่ยังไม่ลาออกจากราชการ ทั้งนี้พล.ต.อ.วาสนาชี้แจงว่า ไม่ผิดกฎหมาย สามารถทำได้ หากเป็นการประกาศตัวจะลงสมัครแต่ไม่ได้ออกแอ็กชั่นอะไร แต่ถ้ามีการเดินหาเสียงด้วยก็ต้องพิจารณาลึกลงไปว่าเป็นการใช้ตำแหน่งมาหาเสียงหรือไม่ ซึ่งหลังจากที่พล.ต.อ.วาสนาชี้แจงทำให้ส.ส.หลายคนไม่ค่อยพอใจกับคำตอบที่มีลักษณะเข้าข้างรัฐบาล
ด้านนายนริศ ขำนุรักษ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.ว่า พรรคมีมติเห็นชอบแก้ไขพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. เลือกตั้งตามร่างที่นายวิลาส จันทรพิทักษ์และคณะเป็นผู้เสนอ โดยให้อิงกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นหลักในการแก้ไขคือเงื่อนไขเวลาในการหาเสียง 60 วัน ทั้งนี้การพิจารณาในสภาจะเป็น 3 วาระรวดหรือตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพรรคก็ไม่ขัดข้อง นอกจากนี้พรรคยังขอให้กกต.ทำหนังสือเป็นทางการไปยังรัฐบาลให้ทำการซักซ้อมข้าราชการให้วางตัวเป็นกลางตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะให้กกต.จัดให้มีอาสาสมัครแจ้งเบาะแสให้การแจ้งเหตุการณ์ทุจริตในการเลือกตั้งทั่วประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำหน้าที่ของกกต.และทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
นายนริศ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 6 ต.ค.เวลา 10.00 น.วิปฝ่ายค้านได้นัดกันที่ห้องประชุมวิปฝ่ายค้าน ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 1 เพื่อจะนำรายชื่อของส.ส.ฝ่ายค้าน ที่ร่วมลงชื่อเพื่อยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตรวจสอบกรณีที่ ป.ป.ช.ออกระเบียบขึ้นเงินเดือนให้แก่ตนเองว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ต่อประธานวุฒิสภา
นายประภัตร โพธสุธน รักษาการเลขาธิการพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่ พรรคไทยรักไทยจะเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งส.ส.และ ส.ว.ว่า ในวันนี้ (5 ต.ค.) ทางพรรคจะเสนอกฎหมาย เข้าไปคู่กับพรรคไทยรักไทย เพราะเห็นว่าพรรคไทยรักไทย ยังแก้ไขไม่ตรงจุด โดยเฉพาะการกำหนดระยะเวลาในการหาเสียงที่ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจน โดยทางพรรคจะให้ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.อ่างทอง และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี เป็นผู้เสนอ
นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. กล่าวว่า กกต. ได้มีมติไปแล้วว่า กกต. จะไม่กำหนดกรอบเวลาไม่ว่าจะเป็น 60 หรือ 90 วัน แต่หาก ส.ส.เข้าชื่อเสนอแก้กฎหมาย กกต.ก็ต้องรอดูและทำตามกฎหมายที่ออกมาจากสภา อีกทั้งการไม่กำหนดกรอบเวลา ก็เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยของ กกต. เพราะคำวินิจฉัยของ กกต .นั้นอาศัยเพียงหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าทุจริต นอกจากนี้จะได้ไม่เป็นการผูกมัดตัวเองและกกต. ก็สามารถจะแยกพิจารณาเป็นกรณีไป อย่างไรก็ตามก็ต้องดูถ้อยคำในตัวกฎหมายก่อนว่าเขาเขียนออกมาอย่างไร
“การแก้ไขกฎหมายมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ มีกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าห้ามกระทำผิดตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน ส่วนข้อเสียคืออาจจะมีการทำผิดก่อนวันที่กำหนด และ ก็จะไม่สามารถเอาผิดได้”
นายปริญญา กล่าวว่า ส่วนที่มีคนมองว่าการแก้ไขกฎหมายลักษณะนี้ก็เพื่อ เอื้อประโยชน์ให้กับ ส.ส.เองนั้น ตนไม่มีความคิดเห็นเพราะไม่ทราบ และกกต. ไม่ได้เป็นผู้ออกกฎหมายและ สภาก็ไม่เคยเรียก กกต.ไปชี้แจง ก่อนจะมีการออกกฎหมาย ซึ่ง ส.ส.เป็นผู้ออกกฎหมายและเราเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตาม
ด้านนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี กกต.กล่าวในกรณีเดียวกันว่า หากมีการแก้ไข กฎหมาย กกต.ก็ต้องปฏิบัติตาม เราไม่มีสิทธิที่จะไปว่าอะไรอยู่แล้ว และหากว่า เมื่อมีการกำหนดวันออกมาแล้ว แต่ส.ส.ได้มีการทำก่อนช่วง 60 วันที่ได้กำหนด กกต.จะดูเป็นกรณีไปว่าเข้าข่ายหรือไม่
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วม ฝ่ายค้านหรือวิปฝ่ายค้านแถลงภายหลังการประชุมว่าที่ประชุมมีมติให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.แก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. ที่ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอขึ้นมาพิจารณา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (6 ต.ค.) ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประเด็นคือ
1.ห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งมีพฤติกรรมจูงใจก่อนการเลือกตั้ง 60 วัน 2.ให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้ชัดเจนว่าอะไรที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทำได้และอะไรที่กระทำไม่ได้ ่ และ3.การคัดค้านการ เลือกตั้งจะต้องมีผู้ร้องคัดค้านไม่น้อยกว่า10 คนขึ้นไปจากเดิมที่กำหนดว่า แค่บุคคลเดียว ก็สามารถร้องคัดค้านได้แล้ว โดย 3 ประเด็นดังกล่าวเป็นการศึกษา จุดอ่อนและจุดแข็งในการเลือกตั้งส.ส.และส.ว.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามฝ่ายค้านเห็นว่า สภาควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ควรมีมติผ่าน 3 วาระรวด แต่ควรให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา
ที่พรรคประชาธิปัตย์ วานนี้ (5 ต.ค.) มีการประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยเชิญ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. มาชี้แจงและตอบข้อซักถามของ ส.ส.และว่าที่ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับข้อกฎหมายในการเลือกตั้ง ส.ส. โดย พล.ต.อ.วาสนาได้กล่าวถึงกำหนดเงื่อนเวลาในการหาเสียง ที่ ส.ส.ต้องการ ให้เพิ่มเติมมาตรา 44 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. พ.ศ.2541 ไว้ 60 วัน ว่า ถ้าความเห็นของตนคนเดียว ซึ่งยังไม่ได้ปรึกษากับ กกต.คนอื่นนั้น เห็นว่าควรแก้ไข เพื่อกำหนดเงื่อนเวลาให้ชัดเจนเช่นเดียวกับมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 เพราะรายละเอียดใน (1)-(5) ของมาตรา 57 นี้แทบจะลอกถ้อยคำมาจากมาตรา 44 ต่างกันเพียงว่า ในมาตรา 44 ไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลาไว้ และเพื่อเป็นประโยชน์ ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น กกต. ผู้สมัคร หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
พล.ต.อ.วาสนา กล่าวว่า ส่วนจะแก้ไขทันหรือไม่นั้น ตนสนับสนุนให้พิจารณา 3 วาระรวด อย่างไรก็ตาม หากแก้ไม่สำเร็จ เพราะติดขัดขั้นตอนของกฎหมาย กกต.เคยมีความเห็นกันว่า ไม่อาจกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ แต่มีข้อวินิจฉัยว่า ระยะเวลาคงไม่นานเกินไป น่าจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 90 วันก่อนครบวาระจนถึงวันเลือกตั้ง แต่ที่สำคัญต้องดูว่าพฤติการณ์และการกระทำในแตี่่น่าเชื่อว่าเป็นการจูงใจหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การแก้มาตรา 44 คงจะไม่ถูกจุด แต่ต้องพิจารณาที่สำคัญคือ รัฐธรรมนูญ มาตรา 147(2) และมาตรา 40 ของพ.ร.บ.การเลือกตั้ง ที่กำหนดเงื่อนเวลานับตั้งแต่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ว่า ควรแก้ไขมาตรา 40 หรือมาตรา 44 เพราะถ้าแก้มาตรา 44 จะขัดกับมาตรา 40 ทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เกือบทุกคนต่างหยิบยกประเด็นปัญหากฎหมายมาสอบถามพล.ต.อ.วาสนา ซึ่งใช้เวลาร่วม 3 ชั่วโมง อาทิ นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุงได้ซักถามถึงกรณีที่มีรัฐมนตรีคนหนึ่งไปราชการในจ.พัทลุงและต่อรองกับผู้ที่มาต้อนรับว่าจะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่จ.พัทลุงต่อไป แต่มีข้อแม้ต้องเลือกผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยเป็นส.ส.อย่างน้อย 1 คน ทางพล.ต.อ.วาสนา กล่าวว่า ว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจและขอให้ทำข้อเท็จจริงเสนอรายละเอียดมายัง กกต.อีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ได้มีส.ส.สอบถามถึงกรณีพล.ต.ต.พงศพัศ พงศ์เจริญ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ประกาศตัวจะเป็นทีมงานผู้ว่าฯกทม.หากนางปวีณา หงสกุล อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งส.ส.ข้องใจเพราะ พล.ต.ต.พงศพัศประกาศตัวโดยที่ยังไม่ลาออกจากราชการ ทั้งนี้พล.ต.อ.วาสนาชี้แจงว่า ไม่ผิดกฎหมาย สามารถทำได้ หากเป็นการประกาศตัวจะลงสมัครแต่ไม่ได้ออกแอ็กชั่นอะไร แต่ถ้ามีการเดินหาเสียงด้วยก็ต้องพิจารณาลึกลงไปว่าเป็นการใช้ตำแหน่งมาหาเสียงหรือไม่ ซึ่งหลังจากที่พล.ต.อ.วาสนาชี้แจงทำให้ส.ส.หลายคนไม่ค่อยพอใจกับคำตอบที่มีลักษณะเข้าข้างรัฐบาล
ด้านนายนริศ ขำนุรักษ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.ว่า พรรคมีมติเห็นชอบแก้ไขพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. เลือกตั้งตามร่างที่นายวิลาส จันทรพิทักษ์และคณะเป็นผู้เสนอ โดยให้อิงกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นหลักในการแก้ไขคือเงื่อนไขเวลาในการหาเสียง 60 วัน ทั้งนี้การพิจารณาในสภาจะเป็น 3 วาระรวดหรือตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพรรคก็ไม่ขัดข้อง นอกจากนี้พรรคยังขอให้กกต.ทำหนังสือเป็นทางการไปยังรัฐบาลให้ทำการซักซ้อมข้าราชการให้วางตัวเป็นกลางตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะให้กกต.จัดให้มีอาสาสมัครแจ้งเบาะแสให้การแจ้งเหตุการณ์ทุจริตในการเลือกตั้งทั่วประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำหน้าที่ของกกต.และทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
นายนริศ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 6 ต.ค.เวลา 10.00 น.วิปฝ่ายค้านได้นัดกันที่ห้องประชุมวิปฝ่ายค้าน ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 1 เพื่อจะนำรายชื่อของส.ส.ฝ่ายค้าน ที่ร่วมลงชื่อเพื่อยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตรวจสอบกรณีที่ ป.ป.ช.ออกระเบียบขึ้นเงินเดือนให้แก่ตนเองว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ต่อประธานวุฒิสภา
นายประภัตร โพธสุธน รักษาการเลขาธิการพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่ พรรคไทยรักไทยจะเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งส.ส.และ ส.ว.ว่า ในวันนี้ (5 ต.ค.) ทางพรรคจะเสนอกฎหมาย เข้าไปคู่กับพรรคไทยรักไทย เพราะเห็นว่าพรรคไทยรักไทย ยังแก้ไขไม่ตรงจุด โดยเฉพาะการกำหนดระยะเวลาในการหาเสียงที่ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจน โดยทางพรรคจะให้ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.อ่างทอง และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี เป็นผู้เสนอ
นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. กล่าวว่า กกต. ได้มีมติไปแล้วว่า กกต. จะไม่กำหนดกรอบเวลาไม่ว่าจะเป็น 60 หรือ 90 วัน แต่หาก ส.ส.เข้าชื่อเสนอแก้กฎหมาย กกต.ก็ต้องรอดูและทำตามกฎหมายที่ออกมาจากสภา อีกทั้งการไม่กำหนดกรอบเวลา ก็เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยของ กกต. เพราะคำวินิจฉัยของ กกต .นั้นอาศัยเพียงหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าทุจริต นอกจากนี้จะได้ไม่เป็นการผูกมัดตัวเองและกกต. ก็สามารถจะแยกพิจารณาเป็นกรณีไป อย่างไรก็ตามก็ต้องดูถ้อยคำในตัวกฎหมายก่อนว่าเขาเขียนออกมาอย่างไร
“การแก้ไขกฎหมายมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ มีกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าห้ามกระทำผิดตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน ส่วนข้อเสียคืออาจจะมีการทำผิดก่อนวันที่กำหนด และ ก็จะไม่สามารถเอาผิดได้”
นายปริญญา กล่าวว่า ส่วนที่มีคนมองว่าการแก้ไขกฎหมายลักษณะนี้ก็เพื่อ เอื้อประโยชน์ให้กับ ส.ส.เองนั้น ตนไม่มีความคิดเห็นเพราะไม่ทราบ และกกต. ไม่ได้เป็นผู้ออกกฎหมายและ สภาก็ไม่เคยเรียก กกต.ไปชี้แจง ก่อนจะมีการออกกฎหมาย ซึ่ง ส.ส.เป็นผู้ออกกฎหมายและเราเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตาม
ด้านนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี กกต.กล่าวในกรณีเดียวกันว่า หากมีการแก้ไข กฎหมาย กกต.ก็ต้องปฏิบัติตาม เราไม่มีสิทธิที่จะไปว่าอะไรอยู่แล้ว และหากว่า เมื่อมีการกำหนดวันออกมาแล้ว แต่ส.ส.ได้มีการทำก่อนช่วง 60 วันที่ได้กำหนด กกต.จะดูเป็นกรณีไปว่าเข้าข่ายหรือไม่