ขณะที่คนส่วนใหญ่ในโลกตั้งตารอการประกาศผลรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติกันอย่างใจจดใจจ่อ เมื่อสัปดาห์ก่อนคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเชิดชูความคิดสร้างสรรค์และความสามารถเฉพาะตัว (ห้ามเลียนแบบ) ก็เพิ่งร่วมพิธีมอบรางวัล "อิกโนเบล" รางวัลที่บางคนฟังแล้วบอกว่าสุดเพี้ยน เพราะมันอาจทำให้คุณต้องลงไปหัวเราะตัวงออยู่บนพื้นสองสามนาที ก่อนจะคิดได้อีกทีว่า เจ้างานวิจัยประหลาด ๆ นี่แหละ มันจุดประกายให้คุณนึกสนใจวิทยาศาสตร์ขึ้นมาเสียแล้ว
เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่แล้ว ก่อนที่คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบล จะทยอยประกาศชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับรางวัลโนเบลประจำปี 2004 เมื่อวันจันทร์ (4) กลุ่มคณะกรรมการสติเฟื่องผู้ตัดสินรางวัล "อิกโนเบล" (Ig Nobel) ก็จัดงานประกาศผลรางวัลประจำปีครั้งที่ 14 ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยมีผู้เข้าร่วมพิธีมากมาย และเจ้าของรางวัลโนเบลตัวจริงเป็นผู้มอบรางวัลให้
"อิกโนเบล" ไม่ใช่รางวัลสำหรับนักวิชาการผู้ทรงเกียรติ แต่เป็นรางวัลที่แสดงความยกย่อง จากการคิดค้นสิ่งที่ "ไม่อาจหรือไม่ควรลอกเลียนแบบได้" ซึ่งโดยปกติมักเป็นเรื่องสร้างสรรค์ที่ชาวบ้านเขาไม่คิดกัน และจะทำให้คนหัวเราะขันทันทีที่ได้ฟังครั้งแรก แต่หลังจากนั้นก็จะกระตุ้นให้ใครที่ได้ยิน หันมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และเทคโนโลยี
ยกตัวอย่างผู้ที่ได้รับรางวัลอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ 2 คน ที่ค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างเพลงแนวคันทรี่กับการฆ่าตัวตาย, คุณหมอที่หาคำตอบได้ว่าทำไมห่วงฮูลาฮูปถึงแกว่งติดเอวคนอยู่ได้, อดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คิดค้นวิธีหวีผมปิดหัวล้าน, รวมถึงเด็กสาววัย 17 ปี ที่ทำการทดสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์แนวคิด "เชื้อโรคยังไม่เห็น" เป็นคนแรกด้วย
ลองมาดูกันดีกว่าว่าแนวคิดเพี้ยนๆ แต่น่าชื่นชมอะไรบ้าง ที่ได้รับยกย่องในปีนี้
เพลงคันทรี่กับการฆ่าตัวตาย
เจมส์ กันด์แลช นักสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออเบิร์น ในรัฐแอละแบมา กับสตีเวน สแต็ค จากเวยน์สเตท ยูนิเวอร์ซิตี ในดีทรอยต์ เตือนว่า ใครที่มีอารมณ์หดหู่ควรจะหลีกเลี่ยงไม่ฟังเพลงแนวคันทรี่ เพราะเพลงแนวนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตายได้ ซึ่งคณะกรรมการอิกโนเบลก็เห็นคุณค่าของงานวิจัยของทั้งคู่ และมอบรางวัลสาขาการแพทย์ให้
แนวคิดการวิจัยเริ่มมาจากการที่กันด์แลชและนักศึกษาของเขาสังเกตเห็นว่า อัตราการฆ่าตัวตายในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซีนั้นสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับการปลิดชีวิตตัวเอง อาทิ การหย่าร้าง อัตราการว่างงาน และสัดส่วนของคนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอยู่มาก และทุกคนในชั้นเรียนก็สงสัยว่า เพลงคันทรี่ที่คนเมืองนี้ชอบฟังอาจเป็นสาเหตุที่อยู่เบื้องหลัง
การวิจัยต่อมายืนยันแนวคิดดังกล่าว จากการวิเคราะห์เนื้อเพลงคันทรี่พบว่า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องรักคุด การดื่มเหล้าเป็นทางออกของปัญหา และความสิ้นหวังเกี่ยวกับการงานและการเงิน ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวพันกับการฆ่าตัวตายทั้งสิ้น นอกจากนี้แฟนเพลงคันทรี่ส่วนใหญ่ยังมีปืนในครอบครองด้วย
และเมื่อศึกษาอัตราการฆ่าตัวตายในเขตเมืองใหญ่ 49 แห่ง กันด์แลชกับสแต็คพบว่า อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนตามจำนวนคลื่นวิทยุที่เปิดแต่เพลงคันทรี่
ทรงผมปิดหัวล้าน
รางวัลอิกโนเบลสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เป็นของแฟรงค์ และโดนัลด์ สมิธ สองพ่อลูกที่คิดค้นวิธีหวีผมปิดหัวล้าน และทำการจดลิขสิทธิ์วิธีหวีผมแบบ "comb-over" เอาไว้เมื่อปี 1975
วิธีการหวีผมปิดหัวล้านให้ได้ดี คือ ต้องแบ่งผมที่มีอยู่น้อยนิดเป็น 3 ส่วน แล้วค่อยๆ หวีจากด้านที่เลี้ยงผมไว้ยาวซ้อนทับมายังด้านที่ผมบางที่สุด ฮีตเธอร์ สมิธ อดัมส์ หลานปู่ของโดนัลด์ สมิธ เล่าว่า สมัยเด็กๆ เธอไม่เคยรู้เลยว่าปู่ของเธอนั้นหัวล้าน เพราะท่านใช้วิธีหวีผมแบบนี้และทำได้เนียนมาก สมควรจะให้ยกย่องจริงๆ
คาราโอเกะกับสันติภาพ
คณะกรรมการตัดสินรางวัลอิกโนเบล ยกรางวัลสาขาสันติภาพให้กับไดสุเกะ อิโนะอุเอะ จากญี่ปุ่น เจ้าของผลงานการคิดค้นคาราโอเกะ โดยให้เหตุผลว่า เครื่องเล่นคาราโอเกะนั้นทำให้คนเรียนรู้วิธีใหม่ ที่จะมีน้ำอดน้ำทนกับคนอื่นๆ
เชื้อโรคยังไม่เห็น!
จูเลียน คลาร์ก เป็นผู้โชคดีอีกคนที่ได้รับรางวัลอิกโนเบลในปีนี้ โดยรายงานเรื่อง "กฎ 5 วินาที" ที่เธอทำการศึกษาในโครงการภาคฤดูร้อนสำหรับเด็กอัจฉริยะ ทำให้สาวน้อยวัย 17 รับรางวัลสาขาสาธารณสุขไปครอง
"กฎ" ที่คลาร์กทำการศึกษา คือความเชื่อที่ว่าแม้อาหารจะตกพื้นไปแล้ว แต่ถ้าเราหยิบกลับขึ้นมาได้ภายใน 5 วินาที เราก็ยังกินอาหารพวกนั้นได้อย่างปลอดภัย เทียบกับบ้านเราแล้วก็น่าจะเป็นแนวคิดเดียวกับที่คนไทยบอกว่า "เชื้อโรคยังไม่เห็น" หรือ "เชื้อโรคยังไม่ตื่น" นั่นเอง
คลาร์กพบว่า 70% ของผู้หญิง และ 56% ของผู้ชายต่างคุ้นเคยกับกฎนี้ และไม่ลังเลที่จะหยิบอาหารจากพื้นขึ้นมากินถ้ามันตกลงไปไม่นาน นอกจากนี้ยังพบว่าขนมหวานมักจะถูกหยิบขึ้นมากินมากกว่าผัก และเมื่อศึกษากันจริงๆ แล้ว พวกคุกกี้และลูกอมก็มีจุลชีพในระดับที่น้อยกว่าในผักสด เนื้อ หรือชีส
อาจารย์ของโครงการที่ช่วยเธอก้มๆ เงยๆ ทำการศึกษาตามพื้นมหาวิทยาลัยยังบอกว่า ผลการทดลองที่ได้นั้นน่าทึ่ง เนื่องจากพื้นอาคารในมหาวิทยาลัยนั้นสะอาดปราศจากเชื้อโรคอย่างไม่น่าเชื่อ จึงอาจกล่าวได้ว่าจูเลียนเป็นคนแรกที่ช่วยพิสูจน์ว่าอาหารที่ตกพื้นแล้วอาจไม่สกปรกมากอย่างที่เราคิด
แต่น่าเสียดายที่วงการวิทยาศาสตร์อาจไม่ได้ดาวเด่นไว้ประดับอีกดวง เพราะสาวน้อยคนนี้ตัดสินใจแล้วว่าเธอจะเรียนต่อในสาขาการเงิน
สร้างสรรค์อย่างไม่น่าเชื่อ
รางวัลอื่นๆ ที่น่าสนใจในปีนี้ ได้แก่ อิกโนเบลสาขาฟิสิกส์ ที่ตกเป็นของ ราเมช ปาลาสุปรามาเนียม และไมเคิล เทอร์วีย์ สองนักฟิสิกส์ที่ใช้ระบบติดตามการเคลื่อนไหวแม่เหล็กไฟฟ้า หาคำตอบว่าเหตุใดห่วงฮูลาฮูปถึงแกว่งติดเอวของคนอยู่ได้
รางวัลสาขาเคมีนั้นยกให้บริษัทโคคา-โคลาประเทศอังกฤษ ผู้ผลิตน้ำดื่ม Dasini ที่ถูกจับได้ว่าใช้น้ำจากแม่น้ำมาผลิตเป็นน้ำแร่ แต่บริษัทชี้แจงว่า น้ำดื่มนี้ผ่านกรรมวิธีสร้างความบริสุทธิ์อันสลับซับซ้อนก่อนบรรจุขวด และเจ้ากรรมวิธีที่อ้างว่าเป็นแบบเดียวกับที่องค์การนาซาใช้ในการทำน้ำให้บริสุทธิ์นี่แหละ เป็นเหตุผลให้คณะกรรมการยกรางวัลให้แบบประชดเล็กๆ
อิกโนเบลสาขาวรรณกรรม เป็นของห้องสมุดเพื่อการวิจัยการเปลือยแห่งสหรัฐฯ สำหรับการปกป้องประวัติศาสตร์นู้ดเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดู
เบน วิลสัน, ลอว์เรนซ์ ดิล, โรเบิร์ต แบ็ตตี, แม็กนัส วอลเบิร์ก, และฮากัน เวสเตอร์เบิร์ก คว้ารางวัลอิกโนเบลสาขาชีววิทยาไปครอง จากการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ปลาเฮอร์ริงสื่อสารกันด้วยการผายลม!
เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่แล้ว ก่อนที่คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบล จะทยอยประกาศชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับรางวัลโนเบลประจำปี 2004 เมื่อวันจันทร์ (4) กลุ่มคณะกรรมการสติเฟื่องผู้ตัดสินรางวัล "อิกโนเบล" (Ig Nobel) ก็จัดงานประกาศผลรางวัลประจำปีครั้งที่ 14 ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยมีผู้เข้าร่วมพิธีมากมาย และเจ้าของรางวัลโนเบลตัวจริงเป็นผู้มอบรางวัลให้
"อิกโนเบล" ไม่ใช่รางวัลสำหรับนักวิชาการผู้ทรงเกียรติ แต่เป็นรางวัลที่แสดงความยกย่อง จากการคิดค้นสิ่งที่ "ไม่อาจหรือไม่ควรลอกเลียนแบบได้" ซึ่งโดยปกติมักเป็นเรื่องสร้างสรรค์ที่ชาวบ้านเขาไม่คิดกัน และจะทำให้คนหัวเราะขันทันทีที่ได้ฟังครั้งแรก แต่หลังจากนั้นก็จะกระตุ้นให้ใครที่ได้ยิน หันมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และเทคโนโลยี
ยกตัวอย่างผู้ที่ได้รับรางวัลอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ 2 คน ที่ค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างเพลงแนวคันทรี่กับการฆ่าตัวตาย, คุณหมอที่หาคำตอบได้ว่าทำไมห่วงฮูลาฮูปถึงแกว่งติดเอวคนอยู่ได้, อดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คิดค้นวิธีหวีผมปิดหัวล้าน, รวมถึงเด็กสาววัย 17 ปี ที่ทำการทดสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์แนวคิด "เชื้อโรคยังไม่เห็น" เป็นคนแรกด้วย
ลองมาดูกันดีกว่าว่าแนวคิดเพี้ยนๆ แต่น่าชื่นชมอะไรบ้าง ที่ได้รับยกย่องในปีนี้
เพลงคันทรี่กับการฆ่าตัวตาย
เจมส์ กันด์แลช นักสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออเบิร์น ในรัฐแอละแบมา กับสตีเวน สแต็ค จากเวยน์สเตท ยูนิเวอร์ซิตี ในดีทรอยต์ เตือนว่า ใครที่มีอารมณ์หดหู่ควรจะหลีกเลี่ยงไม่ฟังเพลงแนวคันทรี่ เพราะเพลงแนวนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตายได้ ซึ่งคณะกรรมการอิกโนเบลก็เห็นคุณค่าของงานวิจัยของทั้งคู่ และมอบรางวัลสาขาการแพทย์ให้
แนวคิดการวิจัยเริ่มมาจากการที่กันด์แลชและนักศึกษาของเขาสังเกตเห็นว่า อัตราการฆ่าตัวตายในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซีนั้นสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับการปลิดชีวิตตัวเอง อาทิ การหย่าร้าง อัตราการว่างงาน และสัดส่วนของคนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอยู่มาก และทุกคนในชั้นเรียนก็สงสัยว่า เพลงคันทรี่ที่คนเมืองนี้ชอบฟังอาจเป็นสาเหตุที่อยู่เบื้องหลัง
การวิจัยต่อมายืนยันแนวคิดดังกล่าว จากการวิเคราะห์เนื้อเพลงคันทรี่พบว่า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องรักคุด การดื่มเหล้าเป็นทางออกของปัญหา และความสิ้นหวังเกี่ยวกับการงานและการเงิน ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวพันกับการฆ่าตัวตายทั้งสิ้น นอกจากนี้แฟนเพลงคันทรี่ส่วนใหญ่ยังมีปืนในครอบครองด้วย
และเมื่อศึกษาอัตราการฆ่าตัวตายในเขตเมืองใหญ่ 49 แห่ง กันด์แลชกับสแต็คพบว่า อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนตามจำนวนคลื่นวิทยุที่เปิดแต่เพลงคันทรี่
ทรงผมปิดหัวล้าน
รางวัลอิกโนเบลสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เป็นของแฟรงค์ และโดนัลด์ สมิธ สองพ่อลูกที่คิดค้นวิธีหวีผมปิดหัวล้าน และทำการจดลิขสิทธิ์วิธีหวีผมแบบ "comb-over" เอาไว้เมื่อปี 1975
วิธีการหวีผมปิดหัวล้านให้ได้ดี คือ ต้องแบ่งผมที่มีอยู่น้อยนิดเป็น 3 ส่วน แล้วค่อยๆ หวีจากด้านที่เลี้ยงผมไว้ยาวซ้อนทับมายังด้านที่ผมบางที่สุด ฮีตเธอร์ สมิธ อดัมส์ หลานปู่ของโดนัลด์ สมิธ เล่าว่า สมัยเด็กๆ เธอไม่เคยรู้เลยว่าปู่ของเธอนั้นหัวล้าน เพราะท่านใช้วิธีหวีผมแบบนี้และทำได้เนียนมาก สมควรจะให้ยกย่องจริงๆ
คาราโอเกะกับสันติภาพ
คณะกรรมการตัดสินรางวัลอิกโนเบล ยกรางวัลสาขาสันติภาพให้กับไดสุเกะ อิโนะอุเอะ จากญี่ปุ่น เจ้าของผลงานการคิดค้นคาราโอเกะ โดยให้เหตุผลว่า เครื่องเล่นคาราโอเกะนั้นทำให้คนเรียนรู้วิธีใหม่ ที่จะมีน้ำอดน้ำทนกับคนอื่นๆ
เชื้อโรคยังไม่เห็น!
จูเลียน คลาร์ก เป็นผู้โชคดีอีกคนที่ได้รับรางวัลอิกโนเบลในปีนี้ โดยรายงานเรื่อง "กฎ 5 วินาที" ที่เธอทำการศึกษาในโครงการภาคฤดูร้อนสำหรับเด็กอัจฉริยะ ทำให้สาวน้อยวัย 17 รับรางวัลสาขาสาธารณสุขไปครอง
"กฎ" ที่คลาร์กทำการศึกษา คือความเชื่อที่ว่าแม้อาหารจะตกพื้นไปแล้ว แต่ถ้าเราหยิบกลับขึ้นมาได้ภายใน 5 วินาที เราก็ยังกินอาหารพวกนั้นได้อย่างปลอดภัย เทียบกับบ้านเราแล้วก็น่าจะเป็นแนวคิดเดียวกับที่คนไทยบอกว่า "เชื้อโรคยังไม่เห็น" หรือ "เชื้อโรคยังไม่ตื่น" นั่นเอง
คลาร์กพบว่า 70% ของผู้หญิง และ 56% ของผู้ชายต่างคุ้นเคยกับกฎนี้ และไม่ลังเลที่จะหยิบอาหารจากพื้นขึ้นมากินถ้ามันตกลงไปไม่นาน นอกจากนี้ยังพบว่าขนมหวานมักจะถูกหยิบขึ้นมากินมากกว่าผัก และเมื่อศึกษากันจริงๆ แล้ว พวกคุกกี้และลูกอมก็มีจุลชีพในระดับที่น้อยกว่าในผักสด เนื้อ หรือชีส
อาจารย์ของโครงการที่ช่วยเธอก้มๆ เงยๆ ทำการศึกษาตามพื้นมหาวิทยาลัยยังบอกว่า ผลการทดลองที่ได้นั้นน่าทึ่ง เนื่องจากพื้นอาคารในมหาวิทยาลัยนั้นสะอาดปราศจากเชื้อโรคอย่างไม่น่าเชื่อ จึงอาจกล่าวได้ว่าจูเลียนเป็นคนแรกที่ช่วยพิสูจน์ว่าอาหารที่ตกพื้นแล้วอาจไม่สกปรกมากอย่างที่เราคิด
แต่น่าเสียดายที่วงการวิทยาศาสตร์อาจไม่ได้ดาวเด่นไว้ประดับอีกดวง เพราะสาวน้อยคนนี้ตัดสินใจแล้วว่าเธอจะเรียนต่อในสาขาการเงิน
สร้างสรรค์อย่างไม่น่าเชื่อ
รางวัลอื่นๆ ที่น่าสนใจในปีนี้ ได้แก่ อิกโนเบลสาขาฟิสิกส์ ที่ตกเป็นของ ราเมช ปาลาสุปรามาเนียม และไมเคิล เทอร์วีย์ สองนักฟิสิกส์ที่ใช้ระบบติดตามการเคลื่อนไหวแม่เหล็กไฟฟ้า หาคำตอบว่าเหตุใดห่วงฮูลาฮูปถึงแกว่งติดเอวของคนอยู่ได้
รางวัลสาขาเคมีนั้นยกให้บริษัทโคคา-โคลาประเทศอังกฤษ ผู้ผลิตน้ำดื่ม Dasini ที่ถูกจับได้ว่าใช้น้ำจากแม่น้ำมาผลิตเป็นน้ำแร่ แต่บริษัทชี้แจงว่า น้ำดื่มนี้ผ่านกรรมวิธีสร้างความบริสุทธิ์อันสลับซับซ้อนก่อนบรรจุขวด และเจ้ากรรมวิธีที่อ้างว่าเป็นแบบเดียวกับที่องค์การนาซาใช้ในการทำน้ำให้บริสุทธิ์นี่แหละ เป็นเหตุผลให้คณะกรรมการยกรางวัลให้แบบประชดเล็กๆ
อิกโนเบลสาขาวรรณกรรม เป็นของห้องสมุดเพื่อการวิจัยการเปลือยแห่งสหรัฐฯ สำหรับการปกป้องประวัติศาสตร์นู้ดเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดู
เบน วิลสัน, ลอว์เรนซ์ ดิล, โรเบิร์ต แบ็ตตี, แม็กนัส วอลเบิร์ก, และฮากัน เวสเตอร์เบิร์ก คว้ารางวัลอิกโนเบลสาขาชีววิทยาไปครอง จากการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ปลาเฮอร์ริงสื่อสารกันด้วยการผายลม!