‘มีชัย ฤชุพันธ์’ ระบุปฎิรูป กม.ตามแนวคิด ‘ทักษิณ’ เป็นเรื่องยาก เนื่องจากต้องเปลี่ยนทัศนคติคนไทยที่ชอบใช้อารมย์เป็นหลัก เผยมี กม.ที่ส่อขัดรัฐธรรมนูญมากถึง 40 ฉบับ ส่วนแนวทางการปฎิรูปควรต้องเริ่มจากการจำกัดที่ กม.อย่ายกร่างฟุ่มเฟือย
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ในฐานะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่า ด้วยการพัฒนากฎหมาย กล่าวถึงกรณีท นายกรัฐมนตรี มีนโยบายปฏิรูปกฎหมาย ของประเทศไทยว่า เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาหลายเรื่องติดขัดอยู่ที่กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่มีอยู่ขณะนี้จะยกร่างขึ้นภายใต้ทฤษฎีที่ว่า รัฐเป็นองค์กร ที่พร้อมหรือดีที่สุดหรือรัฐสามารถคิดอะไรได้คนเดียวเท่านั้น ดังนั้น เวลายกร่าง กฎหมายขึ้นมาจึงออกมาในแนวทางนี้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเราเริ่มรู้แล้วว่า บางครั้งรัฐเองกลับเป็นตัวอุปสรรค เพราะวิธีคิดของรัฐกับวิธีคิดของชาวบ้านจะไม่เหมือนกัน นายกฯจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า ควรจะมีการยกเครื่องกฎหมายต่างๆ ใหม่ โดยตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายขึ้นมา มีอนุกรรมการ 8 ชุด เพื่อดูกฎหมายตามสาขา โดยคณะกรรมการได้ประชุมนัดแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยนายกฯ ให้จัดทำรายงานเสนอทุก 3 เดือน
อย่างไรก็ตามคงไม่สามารถจำกัดเวลาเสร็จที่แน่นอนได้ แต่ได้ใช้โอกาสครบ รอบ 200 ปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้มี การชำระสะสางกฎหมายเก่าและจัดทำขึ้นเป็นกฎหมายตราสามดวงใหม่ มาเป็นจุด เริ่มต้นการปฏิรูปกฎหมายครั้งนี้ ซึ่งความจริงนายกฯก็ใจร้อน อยากให้มีการ ปฏิรูปกฎหมายเร็ว ๆ แต่เวลาทำจริง ๆ จะทำได้เร็วหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
“ที่ว่ายากเพราะการไปเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยที่มักใช้อารมณ์เป็นหลัก เป็นเรื่องยาก คนในสังคมไทยส่วนใหญ่ยังใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัย ไม่ได้ใช้กฎกติกาเป็นเครื่องวินิจฉัยปัญหา เห็นได้จากปัญหาการดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า วิธีการสรรหาไม่ถูกต้อง แต่คนยังใช้ความรู้สึกตัดสินคุณหญิงจารุวรรณ ควรดำรงตำแหน่งต่อไป เพราะเห็นเป็นคนดี แต่ผมอยากถามว่า แล้วจะเอากติกา ไปไว้ที่ไหน ขณะเดียวกัน การปฏิรูปกฎหมายยังยากในการไปเปลี่ยนทัศนคติเจ้าหน้าที่ ของรัฐอีก เพราะหากต้องระบุในกฎหมายว่า ใครไม่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในเวลาที่กำหนดจะถูกลงโทษ เจ้าหน้าที่คงร้องโอดครวญออกมา”
นายมีชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมี พ.ร.บ.ประมาณ 400-500 ฉบับ ซึ่งยังไม่เคยไปนับตัวเลขที่แน่นอน และที่ผ่านมาคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ที่มีตนเป็นประธาน ได้เสนอให้ทยอยยกเลิกกฎหมายที่ล้าหลังไปจำนวนหนึ่ง และปัจจุบันคณะกรรมการฯชัดนี้ก็ได้ยกเลิกไปแล้ว เพราะหาคนทำงานที่มองภาพรวมชัดเจนได้ยาก ส่วนคนที่รู้เรื่องก็ไม่ค่อยมีเวลา อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของเราพบว่า มีกฎหมายที่น่าขัดรัฐธรรมนูญประมาณ 40 ฉบับทั้งใหม่และเก่า ซึ่งจะเสนอแนะรัฐบาลให้ดำเนินการแก้ไขต่อไป
“ผมอยากให้มีการเปลี่ยนทัศนคติในการออกกฎหมายใหม่ คือ จากเดิมมักจะสร้างขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ให้กับประชาชน ต้องเปลี่ยนใหม่มาเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน หากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็อย่าไปออกกฎหมายใหม่ หรือหากจำเป็น ต้องออกก็ออกพอให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ลดช่องทางที่เจ้าหน้าที่รัฐจะทุจริตลง ซึ่งการจะลดช่องทางทุจริตของเจ้าหน้าที่คือ ทำให้มันง่าย มีกติกาชัดเจนแน่นอน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่”
ส่วนการปฏิรูปกฎหมายครั้งนี้จะมีส่วนช่วยคนจนตามที่นายกฯคาดหวังได้มากน้อยเพียงใด นายมีชัย กล่าวว่า คนจนจะเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค จึงต้องไปดูว่ากฎหมายเหล่านี้ เป็นอุปสรรคต่อการ ดำเนินชีวิตในการแสวงหาปัจจัย 4 ของประชาชนอย่างไร อย่างปัจจัยในเรื่องที่อยู่อาศัย จะทำอย่างไรให้คนจนมีสิทธิในที่ดินทำกินได้ หรือไม่ให้ไปอยู่ในมือคนรวยทั้งหมด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายคงไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะช่วยคนจน คงต้องมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย
“หากถามว่า เมื่อปฏิรูปกฎหมายแล้ว สังคมจะดีขึ้นหรือไม่ ผมคิดว่ายังไม่แน่
หรอกว่าจะดีขึ้น เพราะเรื่องนี้มันอยู่ที่คน หรือทัศนคติของคนทั่ว ๆ ไป ที่มีต่อกติกามันต้องเปลี่ยนด้วย โดยต้องรู้จักทั้งสิทธิและหน้าที่ควบคู่กันไป ไม่ใช่ออกกฎอะไรมา คนก็ไม่ทำตาม แต่ยอมรับว่าตัวกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไม่รู้กฎหมาย เพราะศึกษาเข้าใจได้ยาก”
นายมีชัย กล่าวว่า แนวทางปฎิรูปกฎหมายของตนเห็นว่าควรต้องเริ่มจำกัดที่ตัวกฎหมาย อย่ายกร่างออกมาฟุ่มเฟือย ยกเว้นจำเป็นจริง ๆ เพราะกฎหมายจะไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และกระบวนการที่ระบุไว้ในกฎหมายต้องชัดเจน ไม่ยุ่งยากหรือผิดธรรมชาติมากเกินไป เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้ได้โดยจิตสำนึก เช่น เราไม่เคยรู้ว่าประมวลกฎหมายอาญาเขียนไว้อย่างไรบ้าง แต่เรารู้ว่าตีหัวคนไม่ได้ เพราะเป็นจิตสำนึกของคน ดังนั้น เราต้องร่างกฎหมายในลักษณะนี้ให้ได้
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ในฐานะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่า ด้วยการพัฒนากฎหมาย กล่าวถึงกรณีท นายกรัฐมนตรี มีนโยบายปฏิรูปกฎหมาย ของประเทศไทยว่า เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาหลายเรื่องติดขัดอยู่ที่กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่มีอยู่ขณะนี้จะยกร่างขึ้นภายใต้ทฤษฎีที่ว่า รัฐเป็นองค์กร ที่พร้อมหรือดีที่สุดหรือรัฐสามารถคิดอะไรได้คนเดียวเท่านั้น ดังนั้น เวลายกร่าง กฎหมายขึ้นมาจึงออกมาในแนวทางนี้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเราเริ่มรู้แล้วว่า บางครั้งรัฐเองกลับเป็นตัวอุปสรรค เพราะวิธีคิดของรัฐกับวิธีคิดของชาวบ้านจะไม่เหมือนกัน นายกฯจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า ควรจะมีการยกเครื่องกฎหมายต่างๆ ใหม่ โดยตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายขึ้นมา มีอนุกรรมการ 8 ชุด เพื่อดูกฎหมายตามสาขา โดยคณะกรรมการได้ประชุมนัดแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยนายกฯ ให้จัดทำรายงานเสนอทุก 3 เดือน
อย่างไรก็ตามคงไม่สามารถจำกัดเวลาเสร็จที่แน่นอนได้ แต่ได้ใช้โอกาสครบ รอบ 200 ปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้มี การชำระสะสางกฎหมายเก่าและจัดทำขึ้นเป็นกฎหมายตราสามดวงใหม่ มาเป็นจุด เริ่มต้นการปฏิรูปกฎหมายครั้งนี้ ซึ่งความจริงนายกฯก็ใจร้อน อยากให้มีการ ปฏิรูปกฎหมายเร็ว ๆ แต่เวลาทำจริง ๆ จะทำได้เร็วหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
“ที่ว่ายากเพราะการไปเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยที่มักใช้อารมณ์เป็นหลัก เป็นเรื่องยาก คนในสังคมไทยส่วนใหญ่ยังใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัย ไม่ได้ใช้กฎกติกาเป็นเครื่องวินิจฉัยปัญหา เห็นได้จากปัญหาการดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า วิธีการสรรหาไม่ถูกต้อง แต่คนยังใช้ความรู้สึกตัดสินคุณหญิงจารุวรรณ ควรดำรงตำแหน่งต่อไป เพราะเห็นเป็นคนดี แต่ผมอยากถามว่า แล้วจะเอากติกา ไปไว้ที่ไหน ขณะเดียวกัน การปฏิรูปกฎหมายยังยากในการไปเปลี่ยนทัศนคติเจ้าหน้าที่ ของรัฐอีก เพราะหากต้องระบุในกฎหมายว่า ใครไม่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในเวลาที่กำหนดจะถูกลงโทษ เจ้าหน้าที่คงร้องโอดครวญออกมา”
นายมีชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมี พ.ร.บ.ประมาณ 400-500 ฉบับ ซึ่งยังไม่เคยไปนับตัวเลขที่แน่นอน และที่ผ่านมาคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ที่มีตนเป็นประธาน ได้เสนอให้ทยอยยกเลิกกฎหมายที่ล้าหลังไปจำนวนหนึ่ง และปัจจุบันคณะกรรมการฯชัดนี้ก็ได้ยกเลิกไปแล้ว เพราะหาคนทำงานที่มองภาพรวมชัดเจนได้ยาก ส่วนคนที่รู้เรื่องก็ไม่ค่อยมีเวลา อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของเราพบว่า มีกฎหมายที่น่าขัดรัฐธรรมนูญประมาณ 40 ฉบับทั้งใหม่และเก่า ซึ่งจะเสนอแนะรัฐบาลให้ดำเนินการแก้ไขต่อไป
“ผมอยากให้มีการเปลี่ยนทัศนคติในการออกกฎหมายใหม่ คือ จากเดิมมักจะสร้างขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ให้กับประชาชน ต้องเปลี่ยนใหม่มาเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน หากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็อย่าไปออกกฎหมายใหม่ หรือหากจำเป็น ต้องออกก็ออกพอให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ลดช่องทางที่เจ้าหน้าที่รัฐจะทุจริตลง ซึ่งการจะลดช่องทางทุจริตของเจ้าหน้าที่คือ ทำให้มันง่าย มีกติกาชัดเจนแน่นอน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่”
ส่วนการปฏิรูปกฎหมายครั้งนี้จะมีส่วนช่วยคนจนตามที่นายกฯคาดหวังได้มากน้อยเพียงใด นายมีชัย กล่าวว่า คนจนจะเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค จึงต้องไปดูว่ากฎหมายเหล่านี้ เป็นอุปสรรคต่อการ ดำเนินชีวิตในการแสวงหาปัจจัย 4 ของประชาชนอย่างไร อย่างปัจจัยในเรื่องที่อยู่อาศัย จะทำอย่างไรให้คนจนมีสิทธิในที่ดินทำกินได้ หรือไม่ให้ไปอยู่ในมือคนรวยทั้งหมด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายคงไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะช่วยคนจน คงต้องมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย
“หากถามว่า เมื่อปฏิรูปกฎหมายแล้ว สังคมจะดีขึ้นหรือไม่ ผมคิดว่ายังไม่แน่
หรอกว่าจะดีขึ้น เพราะเรื่องนี้มันอยู่ที่คน หรือทัศนคติของคนทั่ว ๆ ไป ที่มีต่อกติกามันต้องเปลี่ยนด้วย โดยต้องรู้จักทั้งสิทธิและหน้าที่ควบคู่กันไป ไม่ใช่ออกกฎอะไรมา คนก็ไม่ทำตาม แต่ยอมรับว่าตัวกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไม่รู้กฎหมาย เพราะศึกษาเข้าใจได้ยาก”
นายมีชัย กล่าวว่า แนวทางปฎิรูปกฎหมายของตนเห็นว่าควรต้องเริ่มจำกัดที่ตัวกฎหมาย อย่ายกร่างออกมาฟุ่มเฟือย ยกเว้นจำเป็นจริง ๆ เพราะกฎหมายจะไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และกระบวนการที่ระบุไว้ในกฎหมายต้องชัดเจน ไม่ยุ่งยากหรือผิดธรรมชาติมากเกินไป เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้ได้โดยจิตสำนึก เช่น เราไม่เคยรู้ว่าประมวลกฎหมายอาญาเขียนไว้อย่างไรบ้าง แต่เรารู้ว่าตีหัวคนไม่ได้ เพราะเป็นจิตสำนึกของคน ดังนั้น เราต้องร่างกฎหมายในลักษณะนี้ให้ได้