วานนี้ ( 16ส ก.ย.) นายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.อุบลราชธานี พรรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าดูงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยให้ความสนใจที่จะซักถามเกี่ยวกับการเสนอ แก้ไขกฎหมายและแนวปฏิบัติวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ที่จะไม่ให้ถูกใบเหลืองใบแดง เพื่อไปใช้เป็นแนวทางในการหาเสียงเลือกตั้งที่จะมาถึงในต้นปี 2548
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า เวลานี้ กกต.กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการรับรองผลเลือกตั้งล่าช้า ซึ่งกรรมาธิการฯเห็นว่าควรประกาศไปก่อนแล้วสอยที่หลัง โดยการเลือกตั้งส.ส.ไม่มีปัญหา เพราะว่ากฎหมายเขียนให้ต้องมีการเรียกประชุมสภาฯภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งส.ว.ไม่ได้เขียนเอาไว้ จึงควรมีการแก้ไขให้เหมือนส.ส. และการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่เกิน 60 วัน
“บางอย่างคนก็อาจจะมองว่าทำไมต้องมาถาม แต่เราในฐานะที่จะต้องเข้ามาสู่การเลือกตั้งกังวลเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 147 ( 2 ) ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า หากปรากฏหลักฐานว่าได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตให้ กกต.จัดการได้ อยากให้ กกต.ประกาศโดยเร็วว่าเราจะต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งในการประชุมพรรค ผู้บริหารพรรคก็ให้ถาม กกต.ด้วยว่าจะจัดระดมทุนในวันที่ 19 ต.ค. ทำได้หรือไม่ รวมทั้งปีใหม่จะทำปฏิทินแจกได้หรือไม่ การขึ้นป้ายตามศาลา สะพานที่ ส.ส.มีส่วนผลักดันงบประมาณมา เมื่อเลือกตั้งต้องเอาลงหรือไม่ หรือการแจกเสื้อที่มีชื่อส.ส. เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาต่างๆ การที่ส.ส.จะไปเป็นประธานจัดมวยชิงแชมป์โลก ทำได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จึงอยากให้กกต.มีความชัดเจน เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติเอาไว้ชัดเจนว่าทำเมื่อใดถือเป็นความผิด”
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ถ้า กกต.เห็นว่าทำก่อนมีกฤษฎีกาก็ถือเป็นความผิด ก็ให้ขีดเส้นออกมาว่า “ก่อน” นั้นหมายถึงแค่ไหน ผู้ที่ปฎิบัติก็จะไม่ได้สับสน
นายวิฑูรย์ กล่าวว่าสำหรับ กรรมาธิการเห็นว่า ควรจะเป็น 60 วัน ก่อนครบวาระเหมือนกับกฎหมายท้องถิ่น ไม่ว่า กกต.จะยึดหลักและแนวปฎิบัติอย่างไร คิดว่าคงไม่มีปัญหา เพียงประกาศออกมาให้ชัดเจน
นอกจากนี้อยากจะให้ กกต.พิจารณาแก้ไขกฎหมายในเรื่องสัดส่วนของตัวแทน พรรคการเมืองที่จะเข้าไปเป็นกรรมการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ ว่าควรจะยังคงมีหรือไม่ รวมทั้งคุณสมบัติผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือการคัดเลือก ผอ. กกต.เขต ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมาถึง เวลานี้พบว่ามีหลายคนที่มีความใกล้ชิดผูกพันกับนักการเมืองที่จะลงสมัคร
ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคไทยรักไทย ในฐานะรองประธานกรรมาธิการฯ กล่าวว่า กกต.ควรมีหน้าที่ในการดูแลความสุจริตและเที่ยงธรรม ก่อนประกาศรับรองผล หลังจากนั้นกระบวนการคัดค้านให้เป็นอำนาจศาลยุติธรรมตัดสิน และอยากให้ กกต.มีความชัดเจนในเรื่องมาตราฐานการวินิจฉัย เนื่องจาก ที่ผ่านมาผู้ที่มีชื่อเป็นประธานในใบฎีกาผ้าป่า กกต.ประกาศรับรองผล แต่คนที่เป็น กรรมการกลับโดนใบเหลือง ปัญหานี้อาจจะต่อเนื่องไปถึงการเลือกตั้ง ส.ส. ถ้า กกต. ไม่มีความชัดเจน
พล.ต.อ.วาสนา ได้ชี้แจงว่า กกต.ได้บรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้ในวาระการประชุมไม่ต่ำกว่า 8 เดือนแล้ว แต่ติดปัญหาการประกาศรับรองผล ทำให้ไม่ได้พิจารณา โดยในเรื่องวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ส.และการกำหนดระยะเวลาการกระทำความผิดได้มีการพิจารณาไป 2 ครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะ กกต.แต่ละคนก็มีความคิดเห็นต่างกัน
พล.ต.อ.วาสนา กล่าวว่า วิธีการหาเสียง เลือกตั้งตนและนายจรัล บูรณพันธ์ศรี กกต.เห็นตรงกันว่าแม้กฎหมายเลือกตั้งจะไม่บัญญัติให้อำนาจ กกต. ออกประกาศ ไว้เช่นเดียวกับกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น แต่น่าจะใช้อำนาจตามมาตรา 10 (2) ของ พ.ร.บ.กกต.ในการออกหลักเกณฑ์ และวิธีการหาเสียงได้ แต่ กกต.คนอื่นเห็นว่า เมื่อกฎหมายไม่ได้บัญญัติก็ไม่น่าจะทำได้
ส่วนเรื่องการนับระยะเวลาการกระทำความผิด ในข้อเสนอของ กกต. เห็นว่า ควรจะกำหนดห้าม 90 วันก่อนครบวาระ แต่ระดับกรรมการก็ยังเห็นไม่ตรงกัน โดยตนเห็นว่าถึงรัฐธรรมนูญมาตรา 147 (2) จะกำหนดว่าหากปรากฏหลักฐานว่า ได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริต กกต.สามารถเอาผิดได้ แต่ท้ายมาตราก็เขียนว่า ให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. ซึ่งก็จะอยู่ในมาตรา 40 และ 47 ที่เขียนว่า การนับระยะเวลาในการกระทำความผิดให้นับเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง จึงควรนับความผิดตั้งแต่มีกฤษฎีกา แต่นายจรัล ก็เห็นว่าถ้ายึดตามนี้จะขัดหลักปฎิรูปการเมือง เพราะถ้าผู้สมัครไปทุ่มแจกของก่อนมีกฤษฎีกา 3-5 วัน ก็จะทำอะไรไม่ได้เลย
“ปัญหาเหล่านี้ กกต.ไม่สามารถหาข้อยุติได้ก็เลยมีมติให้นำเรื่องเสนอ เข้าที่ประชุมคณะที่ปรึกษากฎหมาย กกต.ที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการจำนวนมาก ในวันจันทร์ที่ 20 ก.ย.นี้เพื่อหาข้อยุติ ซึ่งถ้าสามารถออกประกาศต่างๆ ได้ก็หมดปัญหา แต่ถ้าออกไม่ได้ กกต. 5 คนก็ต้องมาตกลงกัน ผมอยากทำความเข้าใจว่า การบริหารงาน กกต. ด้วยคน 5 คน ยิ่งกว่าเขมรอีกเพราะทุกคน เท่ากันหมด แล้วแต่ละคนก็เรียนรู้มาต่างกัน จึงทำให้กว่าจะออกมติใดๆ มา มีปัญหาพอสมควร”
ส่วนการประกาศรับรองผลล่าช้า เกิดจากการร้องเรียนมาก กกต.ประกาศรับรองก่อนแล้วสอยที่หลังไม่ได้ เพราะกฎหมายเขียนเอาไว้ ไม่ได้มีเจตนาหน่วยเหนี่ยว ให้มาวิ่งเคลียร์ และขณะนี้กำลังเสนอแก้ไขให้ร้องเรียนได้ ตั้งแต่เลือกตั้งจนถึงนับคะแนนเสร็จ หลังจากนั้นให้เป็นเรื่องร้องคัดต้านการเลือกตั้ง
สำหรับเรื่องจะเอาอำนาจใบเหลือใบแดงไปให้ศาลนั้นส่วนตัวไม่ขัดข้อเลย แต่อยากจะให้พิจารณา ว่าทำไมรัฐธรรมนูญจึงอยากจะให้มี กกต.เกิดขึ้น แล้วถ้าจะเอาไปเฉพาะกระบวนการวินิจฉัย โดยให้การรวบรวมพยานหลักฐานเป็นของ กกต. ไม่เท่ากับเป็นการยืดเวลาไปอีกขั้นตอนหนึ่งหรือ ตนขอฝากให้ ส.ส.ไปคิดเพราะถือว่าเป็นผู้มีอำนาจในการแก้ไขกฎหมาย
ด้านนายจรัล กล่าวว่าในเรื่อง วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ยืนยันว่า กกต.จะยึดหลักสายกลาง จะไม่พิจารณาอะไรที่ก่อให้เกิดปัญหากับบ้านเมือง ที่จะออกประกาศ วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับคนที่จะลงสมัคร ซึ่งอาจจะออกครอบคลุมไปถึงการห้ามข้าราชการประจำที่ต้องทำตามบัญชาของฝ่ายบริหาร ที่เป็นฝ่ายการเมืองด้วย เพื่อไม่ไห้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
ส่วนเรื่องการกำหนดระยะเวลาห้ามกระทำความผิดนั้น ตนเห็นว่าถ้าจะกำหนด 90 วนก่อนครบวาระในขณะนี้ก็อาจจะทำไม่ได้ แต่ถ้ากำหนดได้ก็จะเป็นเรื่องดีเพราะจะสอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ใจจริงแล้วเห็นว่าน่าที่จะมีการห้ามในระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะครบวาระด้วยซ้ำ
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า เวลานี้ กกต.กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการรับรองผลเลือกตั้งล่าช้า ซึ่งกรรมาธิการฯเห็นว่าควรประกาศไปก่อนแล้วสอยที่หลัง โดยการเลือกตั้งส.ส.ไม่มีปัญหา เพราะว่ากฎหมายเขียนให้ต้องมีการเรียกประชุมสภาฯภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งส.ว.ไม่ได้เขียนเอาไว้ จึงควรมีการแก้ไขให้เหมือนส.ส. และการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่เกิน 60 วัน
“บางอย่างคนก็อาจจะมองว่าทำไมต้องมาถาม แต่เราในฐานะที่จะต้องเข้ามาสู่การเลือกตั้งกังวลเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 147 ( 2 ) ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า หากปรากฏหลักฐานว่าได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตให้ กกต.จัดการได้ อยากให้ กกต.ประกาศโดยเร็วว่าเราจะต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งในการประชุมพรรค ผู้บริหารพรรคก็ให้ถาม กกต.ด้วยว่าจะจัดระดมทุนในวันที่ 19 ต.ค. ทำได้หรือไม่ รวมทั้งปีใหม่จะทำปฏิทินแจกได้หรือไม่ การขึ้นป้ายตามศาลา สะพานที่ ส.ส.มีส่วนผลักดันงบประมาณมา เมื่อเลือกตั้งต้องเอาลงหรือไม่ หรือการแจกเสื้อที่มีชื่อส.ส. เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาต่างๆ การที่ส.ส.จะไปเป็นประธานจัดมวยชิงแชมป์โลก ทำได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จึงอยากให้กกต.มีความชัดเจน เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติเอาไว้ชัดเจนว่าทำเมื่อใดถือเป็นความผิด”
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ถ้า กกต.เห็นว่าทำก่อนมีกฤษฎีกาก็ถือเป็นความผิด ก็ให้ขีดเส้นออกมาว่า “ก่อน” นั้นหมายถึงแค่ไหน ผู้ที่ปฎิบัติก็จะไม่ได้สับสน
นายวิฑูรย์ กล่าวว่าสำหรับ กรรมาธิการเห็นว่า ควรจะเป็น 60 วัน ก่อนครบวาระเหมือนกับกฎหมายท้องถิ่น ไม่ว่า กกต.จะยึดหลักและแนวปฎิบัติอย่างไร คิดว่าคงไม่มีปัญหา เพียงประกาศออกมาให้ชัดเจน
นอกจากนี้อยากจะให้ กกต.พิจารณาแก้ไขกฎหมายในเรื่องสัดส่วนของตัวแทน พรรคการเมืองที่จะเข้าไปเป็นกรรมการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ ว่าควรจะยังคงมีหรือไม่ รวมทั้งคุณสมบัติผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือการคัดเลือก ผอ. กกต.เขต ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมาถึง เวลานี้พบว่ามีหลายคนที่มีความใกล้ชิดผูกพันกับนักการเมืองที่จะลงสมัคร
ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคไทยรักไทย ในฐานะรองประธานกรรมาธิการฯ กล่าวว่า กกต.ควรมีหน้าที่ในการดูแลความสุจริตและเที่ยงธรรม ก่อนประกาศรับรองผล หลังจากนั้นกระบวนการคัดค้านให้เป็นอำนาจศาลยุติธรรมตัดสิน และอยากให้ กกต.มีความชัดเจนในเรื่องมาตราฐานการวินิจฉัย เนื่องจาก ที่ผ่านมาผู้ที่มีชื่อเป็นประธานในใบฎีกาผ้าป่า กกต.ประกาศรับรองผล แต่คนที่เป็น กรรมการกลับโดนใบเหลือง ปัญหานี้อาจจะต่อเนื่องไปถึงการเลือกตั้ง ส.ส. ถ้า กกต. ไม่มีความชัดเจน
พล.ต.อ.วาสนา ได้ชี้แจงว่า กกต.ได้บรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้ในวาระการประชุมไม่ต่ำกว่า 8 เดือนแล้ว แต่ติดปัญหาการประกาศรับรองผล ทำให้ไม่ได้พิจารณา โดยในเรื่องวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ส.และการกำหนดระยะเวลาการกระทำความผิดได้มีการพิจารณาไป 2 ครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะ กกต.แต่ละคนก็มีความคิดเห็นต่างกัน
พล.ต.อ.วาสนา กล่าวว่า วิธีการหาเสียง เลือกตั้งตนและนายจรัล บูรณพันธ์ศรี กกต.เห็นตรงกันว่าแม้กฎหมายเลือกตั้งจะไม่บัญญัติให้อำนาจ กกต. ออกประกาศ ไว้เช่นเดียวกับกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น แต่น่าจะใช้อำนาจตามมาตรา 10 (2) ของ พ.ร.บ.กกต.ในการออกหลักเกณฑ์ และวิธีการหาเสียงได้ แต่ กกต.คนอื่นเห็นว่า เมื่อกฎหมายไม่ได้บัญญัติก็ไม่น่าจะทำได้
ส่วนเรื่องการนับระยะเวลาการกระทำความผิด ในข้อเสนอของ กกต. เห็นว่า ควรจะกำหนดห้าม 90 วันก่อนครบวาระ แต่ระดับกรรมการก็ยังเห็นไม่ตรงกัน โดยตนเห็นว่าถึงรัฐธรรมนูญมาตรา 147 (2) จะกำหนดว่าหากปรากฏหลักฐานว่า ได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริต กกต.สามารถเอาผิดได้ แต่ท้ายมาตราก็เขียนว่า ให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. ซึ่งก็จะอยู่ในมาตรา 40 และ 47 ที่เขียนว่า การนับระยะเวลาในการกระทำความผิดให้นับเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง จึงควรนับความผิดตั้งแต่มีกฤษฎีกา แต่นายจรัล ก็เห็นว่าถ้ายึดตามนี้จะขัดหลักปฎิรูปการเมือง เพราะถ้าผู้สมัครไปทุ่มแจกของก่อนมีกฤษฎีกา 3-5 วัน ก็จะทำอะไรไม่ได้เลย
“ปัญหาเหล่านี้ กกต.ไม่สามารถหาข้อยุติได้ก็เลยมีมติให้นำเรื่องเสนอ เข้าที่ประชุมคณะที่ปรึกษากฎหมาย กกต.ที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการจำนวนมาก ในวันจันทร์ที่ 20 ก.ย.นี้เพื่อหาข้อยุติ ซึ่งถ้าสามารถออกประกาศต่างๆ ได้ก็หมดปัญหา แต่ถ้าออกไม่ได้ กกต. 5 คนก็ต้องมาตกลงกัน ผมอยากทำความเข้าใจว่า การบริหารงาน กกต. ด้วยคน 5 คน ยิ่งกว่าเขมรอีกเพราะทุกคน เท่ากันหมด แล้วแต่ละคนก็เรียนรู้มาต่างกัน จึงทำให้กว่าจะออกมติใดๆ มา มีปัญหาพอสมควร”
ส่วนการประกาศรับรองผลล่าช้า เกิดจากการร้องเรียนมาก กกต.ประกาศรับรองก่อนแล้วสอยที่หลังไม่ได้ เพราะกฎหมายเขียนเอาไว้ ไม่ได้มีเจตนาหน่วยเหนี่ยว ให้มาวิ่งเคลียร์ และขณะนี้กำลังเสนอแก้ไขให้ร้องเรียนได้ ตั้งแต่เลือกตั้งจนถึงนับคะแนนเสร็จ หลังจากนั้นให้เป็นเรื่องร้องคัดต้านการเลือกตั้ง
สำหรับเรื่องจะเอาอำนาจใบเหลือใบแดงไปให้ศาลนั้นส่วนตัวไม่ขัดข้อเลย แต่อยากจะให้พิจารณา ว่าทำไมรัฐธรรมนูญจึงอยากจะให้มี กกต.เกิดขึ้น แล้วถ้าจะเอาไปเฉพาะกระบวนการวินิจฉัย โดยให้การรวบรวมพยานหลักฐานเป็นของ กกต. ไม่เท่ากับเป็นการยืดเวลาไปอีกขั้นตอนหนึ่งหรือ ตนขอฝากให้ ส.ส.ไปคิดเพราะถือว่าเป็นผู้มีอำนาจในการแก้ไขกฎหมาย
ด้านนายจรัล กล่าวว่าในเรื่อง วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ยืนยันว่า กกต.จะยึดหลักสายกลาง จะไม่พิจารณาอะไรที่ก่อให้เกิดปัญหากับบ้านเมือง ที่จะออกประกาศ วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับคนที่จะลงสมัคร ซึ่งอาจจะออกครอบคลุมไปถึงการห้ามข้าราชการประจำที่ต้องทำตามบัญชาของฝ่ายบริหาร ที่เป็นฝ่ายการเมืองด้วย เพื่อไม่ไห้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
ส่วนเรื่องการกำหนดระยะเวลาห้ามกระทำความผิดนั้น ตนเห็นว่าถ้าจะกำหนด 90 วนก่อนครบวาระในขณะนี้ก็อาจจะทำไม่ได้ แต่ถ้ากำหนดได้ก็จะเป็นเรื่องดีเพราะจะสอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ใจจริงแล้วเห็นว่าน่าที่จะมีการห้ามในระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะครบวาระด้วยซ้ำ