ช่วงเวลาที่ กสช.ยังไม่เกิด ดูเหมือนว่าคนที่กำลังทำธุรกิจรายการวิทยุที่ ‘ไม่ใช่’ รายการเพลง กำลังจะตายกันทั้งหมด ชนิดศพขึ้นอืดกันทุกวัน
อดจะรู้สึกไม่ได้ว่า ปีหน้าคนฟังเพลงบ้านเราคงจะได้ฟังเพลงกันชนิดหัวเบลอแหงๆ
ผมเองอาศัยบริการของรายการวิทยุระหว่างอยู่ในรถ หลายคลื่นก็นั่งฟังกันเป็นนิสัยไปแล้วครับ มีคนพูดให้ความรู้เรื่องโน้นเรื่องนี้พอที่จะทำให้เราได้ข้อมูลหรือสติปัญญาบ้าง คือไม่ตั้งใจฟังถึงขนาดว่าจะรู้ทันท่านนายกหรือคนในรัฐบาล เพราะเจียมตัวว่าคงตามไม่ทันนะครับ แต่ก็อยากจะมีความรู้บ้าง
แต่ทว่าเกือบทุกรายการที่ฟังบรรดาผู้ดำเนินรายการ พูดจาเป็นนัยกันทั้งสิ้นว่า รายการที่พวกตนกำลังทำอยู่นั้น คงจะไม่โผล่มาให้เห็นอีกนาน...แสน...นาน
ในฐานะของแฟนรายการประเภทนี้...บอกตามตรงว่าเศร้าและคงจะเหงาน่าดูถ้าไม่ได้ยินเสียงของคนฮาๆอย่าง อ.วีระ ธีรภัทร หรือ ผู้หญิงเร้าใจแบบ อัญชลี ไพรีลักษณ์
ผมเองก็เห็นใจแล้วก็เชื่อเหมือนกันว่า ท่านเหล่านี้คงจะพักร้อนกันนาน...ที่ว่าอีกนานก็คงเพราะการเกิดของกสช.นั้นถึงจะมีขึ้นแน่ แต่จะไปถึงชาติหน้าหรือเปล่าผมเองก็ไม่แน่ใจ เพราะดูเหมือนยังเถียงกันไม่เสร็จเรื่องกรรมการสรรหาว่าจะเอาตัวเลือกเดิมๆ มาลงคะแนนกันใหม่ หรือ จะเปิดรับสมัครกันใหม่เลย
หรือบางทีต้องรอจนคนรุ่นผมตายไปแล้วองค์กรที่ว่านี้ถึงจะเกิด?
เพราะทางลมมันเป็นแบบนี้หรือไงก็ไม่ทราบนะครับ ทั้งข่าวทั้งจดหมายเพื่อจะเรียกคลื่นคืนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน พร้อมๆ ไปกับข่าวที่ว่าบรรดาผู้ประกอบการใหญ่ๆ ต่างก็ระดมทุนกันเพื่อเข้ามาทำมาหากินในคลื่นวิทยุในช่วงสุดท้ายก่อนที่กสช.จะเกิด
คือในยุคทุนนิยม หรือ โลกเสรีนิยมแบบเมืองไทยนี้ การจะทำมาหากินอะไรก็ตามทีนั้นเป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว แต่การทำมาหากินแบบปลาเล็กกินปลาใหญ่ เอาเงินทุ่มลงไป ทำเงินหล่นใส่คนโน้นคนนี้ที่ละ 20 ล้าน (เพราะหล่นแต่ละทีมันไม่มีใบเสร็จนี่หว่า) ปั่นราคาให้ผู้ประกอบการอื่นๆ แข่งขันไม่ได้นั้นดูจะเป็นเรื่องที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง
เขาว่าต้นทุนของเวลาวิทยุในปีหน้าจะกระโดดขึ้นไปจากราคาเดิมตั้ง 5 เท่า!!
จากที่เคยจ่ายอยู่เดือนละล้านก็กลายเป็น 5 ล้านอย่างน่าอนาถ คำถามก็คือว่าต้นทุนขนาดนี้ใครกันเล่าที่จะมีกำลังมากพอที่จะเข้ามา...คิด และ ลงทุนสู้!!?
มีครับมีแน่...แต่คงมีไม่มาก
เพราะ คนที่จะเข้ามาทำได้ต้องมีสายป่านยาวพอ ต้องมีกำลังมากพอ ต้องคำนวณต้นทุนค่าโน่นค่านี่ให้มีกำไร...ก็อย่างที่ว่าแหล่ะครับ ถ้าคิดแบบนายทุน ผลของการประกอบกิจการก็ต้องทำให้เกิดกำไรสูงสุด
ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ รายการ ‘เพลง’ นั้นเป็นรายการที่ต้นทุนต่ำที่สุดเมืองเทียบกับรายการวิทยุในฟอร์แม็ตอื่นๆ
นอกจากต้นทุนต่ำแล้วก็ต้องยอมรับอีกเหมือนกันว่า รายการเพลงเป็นรายการที่ได้กำไรสูงสุดเหมือนกัน
เมื่อทั้งต้นทุนต่ำสุด ทั้งกำไรสูงสุด แถมยังเป็นช่องทางที่จะนำผลงานเพลงในเครือข่ายของตัวเองมาโปรโมตเพื่อขายได้มากขึ้นๆ เป็นลูกโซ่กันได้อีก
ด้วยตรรกะของมันเป็นแบบนี้ ก็คงไม่ต้องสงสัยเลยว่าคนที่จะเข้ามาคิดและทำรายการวิทยุในปีหน้าจะต้องเป็นคนที่คิดทำรายการเพลงเป็นหลัก แล้วก็คงจะต้องหวังกำไรสูงสุดเหมือนกัน
แต่ประเด็นก็คือ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ถ้าคลื่นเกือบหมดมีแต่รายการเพลงที่เปิดเพลงมันทั้ง 60 นาที ไม่มีเสียงของดีเจ ไม่มีแม้กระทั่งการประกาศว่าเพลงที่เปิดกันอยู่นั้นเป็นของใคร ( อ้อ อีกรายการคือรายการนายกคุยกับประชาชนตอนเช้าๆ วันเสาร์ อิอิอิ) มันจะเกิดโภคผลอย่างไรกับประชาชนซึ่งเป็นคนฟัง?
ไม่ต้องพูดถึงทางเลือกอื่นๆ นะครับ เพราะ ดูเหมือนทางเลือกในการเสพสื่อบ้านเราจะน้อยลงๆ ทุกทีแล้ว !!
(ขอใช้ภาษาวัยรุ่นหน่อยว่า คือเสรีภาพในการเสพสื่อน่ะมี แต่กรูไม่ให้ทางเลือกกับมรึงเท่านั้นแหล่ะ55555)
ผมไม่ได้บอกว่ารายการเพลงไม่ดีนะครับ เพราะทุกวันนี้ก็ต้องเสพเพลงอยู่ แต่ประเด็นก็คือ ถ้าเครือข่ายวิทยุที่ทางรัฐมีอยู่นั้นมีจุดประสงค์เพื่อทำประโยชน์แก่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนโยบายของรัฐหรือแม้กระทั่งของรัฐธรรมนูญไทยฉบับล่าสุดที่ต้องการให้คลื่นความถี่เหล่านี้สร้าง ‘องค์ความรู้’ แก่คนฟัง...ผมก็อยากจะถามว่า รายการเพลงที่มีแนวโน้มจะเปิดวิทยุกันทั้ง 60 นาทีนั้น มันจะสร้างองค์ความรู้ให้กับคนฟังมากแค่ไหน
ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมเคยฟังเพลงที่ผมว่ามีประโยชน์ต่อความรู้อย่าง เพลงเที่ยวเขาดินที่เด็กชาย ขุนทอง ฉ่ำเย็นอุราร้อง หรือ เพลงอย่างยุโรปซาวนด์แทร็กประกอบหนังเรื่องวัยระเริงที่ว่าด้วยชื่อของประเทศในทวีปยุโรป..เพลงของกิ๋นบ้านเฮา ของคุณจรัญ มโนเพ็ชร เพลงเหล่านี้ฟังแล้วก็จะมีสติปัญญามากขึ้น เพราะ อย่างน้อยคนฟังก็ได้มีข้อมูลอะไรใหม่
แต่สำหรับเพลงที่มีอยู่ในตลาดที่ว่าด้วยเรื่องของความรักกันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น นอกจากได้ความงดงามในหัวใจแล้ว เซลล์สติปัญญาก็ยังดูจะเท่าเดิมอยู่
ความเป็นจริงก็คือ รัฐบาลอาจจะยึดประเทศหรือยึดครองใจของคนทั้งประเทศแบบเบ็ดเสร็จไม่ได้ ด้วยความชอบ รสนิยมของประชาชนยังแตกต่าง คือ เรื่องการเมืองมันก็แบบนี้แหล่ะครับ แต่ผมว่ารัฐซึ่งได้ฉันทามติจากประชาชนมาตั้งเยอะ น่าจะเป็น ‘หลัก’ ได้ในการ ‘ชี้นำ’ หรือ ‘ทำ’ ให้สังคมเราเป็น ‘สังคมแห่งองค์ความรู้’ อย่างแท้จริง ท่านนายกเองก็พูดอยู่บ่อยๆ หรือแม้กระทั่งแนะนำหนังสือดีๆ ให้คนในรัฐบาลอ่านบ่อยๆ ก็เพราะต้องการให้คนฉลาดไม่ใช่หรือ ?
...คือไม่ต้องเบ็ดเสร็จชนิดต้องมีคลื่นความรู้กันทุกคลื่น แต่ขอให้มีทางเลือกที่จะหาสติปัญญาเข้ามาใส่ตัวบ้างก็เป็นบุญแล้ว
ผมไม่คิดว่ารัฐบาลและกลไกของท่านนายกจะใจร้ายจนต้องการให้คนไทยแข็งแรงเฉพาะในเรื่องหัวใจ ...อย่าลืมนะครับว่า เราก็กำลังปวดกบาลอยู่ทุกวันไม่ใช่หรือว่า สังคมเสื่อมกันเพราะวัยรุ่นหรือคนรุ่นหน้าไม่แข็งแรง เนื่องจากถูก ‘มายา’ มอมเมากันมาก ซึ่งส่งให้ประเทศไม่แข็งแรง ไม่สามารถไปแข่งขันกับใครได้อย่างเต็มที่
รัฐเองต้องลงมาดูแลและทำหน้าที่ตรงนี้ด้วย ไม่ใช่นึกแต่เรื่องกำไรสูงสุดสถานเดียวใช่หรือไม่
ที่พูดเนี่ยต้องยอมรับว่าซีเรียสครับ เพราะ ปัจจุบันถ้าเทียบจำนวนของคลื่นที่เปิดเพลงอย่างเดียวกับรายการที่มีฟอร์แม็ตอื่นๆ เราจะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่า สัดส่วนของรายการเพลงนั้นมีมากกว่าอย่างเทียบไม่ติด
สัดส่วนเท่าที่มีอยู่นี้ยังไม่เพียงพออีกหรือสำหรับคนทำมาหากิน และสำหรับคนฟังที่ต้องการทางเลือกอื่นๆ?
คือถ้ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่สามารถที่จะคุ้นชินกับอะไรก็ตามที่ถูกป้อนมามากๆ เช่นรายการเพลง ความเคยชินที่ว่าก็อาจจะสร้างลักษณะนิสัยให้เลือกเสพเฉพาะรายการเพลงก็เป็นได้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าประชาชนจะวนเวียนนึกถึงแต่เรื่องความรักอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายที่จะพัฒนาประชาชนให้แข็งแรงนั้นชาติหน้าจะไปได้หรือไม่
ผมว่าสื่อของรัฐต้องช่วยกันทำหน้าที่นี้ด้วยนะครับ
อย่างไรก็ตามไอ้เรื่องแบบนี้คงจะเป็นไปได้ยากเต็มที เพราะอุดมการณ์อะไรก็ตามนั้นมันจะถูกง้างหรือให้เปลี่ยนแนวคิดไปได้ง่ายมากถ้ามันมีกลิ่นของเงินมารออยู่ตรงหน้า...เพราะฉะนั้น ผมก็ยังมั่นใจอยู่ดีว่า ต่อให้มีเสียงเรียกร้องกันหนาหูให้สื่อรัฐทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น พวกเขาก็จะต้องทำหูทวนลม แล้วเปิดไฟเขียวให้มีการฟังเพลงกันแบบระห่ำในปีหน้าอยู่ดี
ก็อยากจะเสนอนะครับว่า ถ้าเผื่อคลื่นต่างๆ จะถูกรายการเพลงเข้ายึดกันแบบนั้น ผมขอเสนอว่า น่าจะมีซักคลื่นนึงที่ให้เอาเทปท่านนายกพูดมาเปิดวนทั้งคลื่นตลอดเวลาไปเลย เพราะถ้าเทียบกันระหว่างเพลงบ้าเลือดกับฟังนายกคุย...ผมว่าการฟังนายกฯ พูดยังจะมีสติปัญญามากกว่า
ถึงตอนนั้นคงจะต้องเขียนบทความอีกสักชิ้นเรียกร้องให้ท่านนายกมาออกวิทยุกันทุกวันนะครับ
อดจะรู้สึกไม่ได้ว่า ปีหน้าคนฟังเพลงบ้านเราคงจะได้ฟังเพลงกันชนิดหัวเบลอแหงๆ
ผมเองอาศัยบริการของรายการวิทยุระหว่างอยู่ในรถ หลายคลื่นก็นั่งฟังกันเป็นนิสัยไปแล้วครับ มีคนพูดให้ความรู้เรื่องโน้นเรื่องนี้พอที่จะทำให้เราได้ข้อมูลหรือสติปัญญาบ้าง คือไม่ตั้งใจฟังถึงขนาดว่าจะรู้ทันท่านนายกหรือคนในรัฐบาล เพราะเจียมตัวว่าคงตามไม่ทันนะครับ แต่ก็อยากจะมีความรู้บ้าง
แต่ทว่าเกือบทุกรายการที่ฟังบรรดาผู้ดำเนินรายการ พูดจาเป็นนัยกันทั้งสิ้นว่า รายการที่พวกตนกำลังทำอยู่นั้น คงจะไม่โผล่มาให้เห็นอีกนาน...แสน...นาน
ในฐานะของแฟนรายการประเภทนี้...บอกตามตรงว่าเศร้าและคงจะเหงาน่าดูถ้าไม่ได้ยินเสียงของคนฮาๆอย่าง อ.วีระ ธีรภัทร หรือ ผู้หญิงเร้าใจแบบ อัญชลี ไพรีลักษณ์
ผมเองก็เห็นใจแล้วก็เชื่อเหมือนกันว่า ท่านเหล่านี้คงจะพักร้อนกันนาน...ที่ว่าอีกนานก็คงเพราะการเกิดของกสช.นั้นถึงจะมีขึ้นแน่ แต่จะไปถึงชาติหน้าหรือเปล่าผมเองก็ไม่แน่ใจ เพราะดูเหมือนยังเถียงกันไม่เสร็จเรื่องกรรมการสรรหาว่าจะเอาตัวเลือกเดิมๆ มาลงคะแนนกันใหม่ หรือ จะเปิดรับสมัครกันใหม่เลย
หรือบางทีต้องรอจนคนรุ่นผมตายไปแล้วองค์กรที่ว่านี้ถึงจะเกิด?
เพราะทางลมมันเป็นแบบนี้หรือไงก็ไม่ทราบนะครับ ทั้งข่าวทั้งจดหมายเพื่อจะเรียกคลื่นคืนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน พร้อมๆ ไปกับข่าวที่ว่าบรรดาผู้ประกอบการใหญ่ๆ ต่างก็ระดมทุนกันเพื่อเข้ามาทำมาหากินในคลื่นวิทยุในช่วงสุดท้ายก่อนที่กสช.จะเกิด
คือในยุคทุนนิยม หรือ โลกเสรีนิยมแบบเมืองไทยนี้ การจะทำมาหากินอะไรก็ตามทีนั้นเป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว แต่การทำมาหากินแบบปลาเล็กกินปลาใหญ่ เอาเงินทุ่มลงไป ทำเงินหล่นใส่คนโน้นคนนี้ที่ละ 20 ล้าน (เพราะหล่นแต่ละทีมันไม่มีใบเสร็จนี่หว่า) ปั่นราคาให้ผู้ประกอบการอื่นๆ แข่งขันไม่ได้นั้นดูจะเป็นเรื่องที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง
เขาว่าต้นทุนของเวลาวิทยุในปีหน้าจะกระโดดขึ้นไปจากราคาเดิมตั้ง 5 เท่า!!
จากที่เคยจ่ายอยู่เดือนละล้านก็กลายเป็น 5 ล้านอย่างน่าอนาถ คำถามก็คือว่าต้นทุนขนาดนี้ใครกันเล่าที่จะมีกำลังมากพอที่จะเข้ามา...คิด และ ลงทุนสู้!!?
มีครับมีแน่...แต่คงมีไม่มาก
เพราะ คนที่จะเข้ามาทำได้ต้องมีสายป่านยาวพอ ต้องมีกำลังมากพอ ต้องคำนวณต้นทุนค่าโน่นค่านี่ให้มีกำไร...ก็อย่างที่ว่าแหล่ะครับ ถ้าคิดแบบนายทุน ผลของการประกอบกิจการก็ต้องทำให้เกิดกำไรสูงสุด
ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ รายการ ‘เพลง’ นั้นเป็นรายการที่ต้นทุนต่ำที่สุดเมืองเทียบกับรายการวิทยุในฟอร์แม็ตอื่นๆ
นอกจากต้นทุนต่ำแล้วก็ต้องยอมรับอีกเหมือนกันว่า รายการเพลงเป็นรายการที่ได้กำไรสูงสุดเหมือนกัน
เมื่อทั้งต้นทุนต่ำสุด ทั้งกำไรสูงสุด แถมยังเป็นช่องทางที่จะนำผลงานเพลงในเครือข่ายของตัวเองมาโปรโมตเพื่อขายได้มากขึ้นๆ เป็นลูกโซ่กันได้อีก
ด้วยตรรกะของมันเป็นแบบนี้ ก็คงไม่ต้องสงสัยเลยว่าคนที่จะเข้ามาคิดและทำรายการวิทยุในปีหน้าจะต้องเป็นคนที่คิดทำรายการเพลงเป็นหลัก แล้วก็คงจะต้องหวังกำไรสูงสุดเหมือนกัน
แต่ประเด็นก็คือ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ถ้าคลื่นเกือบหมดมีแต่รายการเพลงที่เปิดเพลงมันทั้ง 60 นาที ไม่มีเสียงของดีเจ ไม่มีแม้กระทั่งการประกาศว่าเพลงที่เปิดกันอยู่นั้นเป็นของใคร ( อ้อ อีกรายการคือรายการนายกคุยกับประชาชนตอนเช้าๆ วันเสาร์ อิอิอิ) มันจะเกิดโภคผลอย่างไรกับประชาชนซึ่งเป็นคนฟัง?
ไม่ต้องพูดถึงทางเลือกอื่นๆ นะครับ เพราะ ดูเหมือนทางเลือกในการเสพสื่อบ้านเราจะน้อยลงๆ ทุกทีแล้ว !!
(ขอใช้ภาษาวัยรุ่นหน่อยว่า คือเสรีภาพในการเสพสื่อน่ะมี แต่กรูไม่ให้ทางเลือกกับมรึงเท่านั้นแหล่ะ55555)
ผมไม่ได้บอกว่ารายการเพลงไม่ดีนะครับ เพราะทุกวันนี้ก็ต้องเสพเพลงอยู่ แต่ประเด็นก็คือ ถ้าเครือข่ายวิทยุที่ทางรัฐมีอยู่นั้นมีจุดประสงค์เพื่อทำประโยชน์แก่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนโยบายของรัฐหรือแม้กระทั่งของรัฐธรรมนูญไทยฉบับล่าสุดที่ต้องการให้คลื่นความถี่เหล่านี้สร้าง ‘องค์ความรู้’ แก่คนฟัง...ผมก็อยากจะถามว่า รายการเพลงที่มีแนวโน้มจะเปิดวิทยุกันทั้ง 60 นาทีนั้น มันจะสร้างองค์ความรู้ให้กับคนฟังมากแค่ไหน
ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมเคยฟังเพลงที่ผมว่ามีประโยชน์ต่อความรู้อย่าง เพลงเที่ยวเขาดินที่เด็กชาย ขุนทอง ฉ่ำเย็นอุราร้อง หรือ เพลงอย่างยุโรปซาวนด์แทร็กประกอบหนังเรื่องวัยระเริงที่ว่าด้วยชื่อของประเทศในทวีปยุโรป..เพลงของกิ๋นบ้านเฮา ของคุณจรัญ มโนเพ็ชร เพลงเหล่านี้ฟังแล้วก็จะมีสติปัญญามากขึ้น เพราะ อย่างน้อยคนฟังก็ได้มีข้อมูลอะไรใหม่
แต่สำหรับเพลงที่มีอยู่ในตลาดที่ว่าด้วยเรื่องของความรักกันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น นอกจากได้ความงดงามในหัวใจแล้ว เซลล์สติปัญญาก็ยังดูจะเท่าเดิมอยู่
ความเป็นจริงก็คือ รัฐบาลอาจจะยึดประเทศหรือยึดครองใจของคนทั้งประเทศแบบเบ็ดเสร็จไม่ได้ ด้วยความชอบ รสนิยมของประชาชนยังแตกต่าง คือ เรื่องการเมืองมันก็แบบนี้แหล่ะครับ แต่ผมว่ารัฐซึ่งได้ฉันทามติจากประชาชนมาตั้งเยอะ น่าจะเป็น ‘หลัก’ ได้ในการ ‘ชี้นำ’ หรือ ‘ทำ’ ให้สังคมเราเป็น ‘สังคมแห่งองค์ความรู้’ อย่างแท้จริง ท่านนายกเองก็พูดอยู่บ่อยๆ หรือแม้กระทั่งแนะนำหนังสือดีๆ ให้คนในรัฐบาลอ่านบ่อยๆ ก็เพราะต้องการให้คนฉลาดไม่ใช่หรือ ?
...คือไม่ต้องเบ็ดเสร็จชนิดต้องมีคลื่นความรู้กันทุกคลื่น แต่ขอให้มีทางเลือกที่จะหาสติปัญญาเข้ามาใส่ตัวบ้างก็เป็นบุญแล้ว
ผมไม่คิดว่ารัฐบาลและกลไกของท่านนายกจะใจร้ายจนต้องการให้คนไทยแข็งแรงเฉพาะในเรื่องหัวใจ ...อย่าลืมนะครับว่า เราก็กำลังปวดกบาลอยู่ทุกวันไม่ใช่หรือว่า สังคมเสื่อมกันเพราะวัยรุ่นหรือคนรุ่นหน้าไม่แข็งแรง เนื่องจากถูก ‘มายา’ มอมเมากันมาก ซึ่งส่งให้ประเทศไม่แข็งแรง ไม่สามารถไปแข่งขันกับใครได้อย่างเต็มที่
รัฐเองต้องลงมาดูแลและทำหน้าที่ตรงนี้ด้วย ไม่ใช่นึกแต่เรื่องกำไรสูงสุดสถานเดียวใช่หรือไม่
ที่พูดเนี่ยต้องยอมรับว่าซีเรียสครับ เพราะ ปัจจุบันถ้าเทียบจำนวนของคลื่นที่เปิดเพลงอย่างเดียวกับรายการที่มีฟอร์แม็ตอื่นๆ เราจะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่า สัดส่วนของรายการเพลงนั้นมีมากกว่าอย่างเทียบไม่ติด
สัดส่วนเท่าที่มีอยู่นี้ยังไม่เพียงพออีกหรือสำหรับคนทำมาหากิน และสำหรับคนฟังที่ต้องการทางเลือกอื่นๆ?
คือถ้ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่สามารถที่จะคุ้นชินกับอะไรก็ตามที่ถูกป้อนมามากๆ เช่นรายการเพลง ความเคยชินที่ว่าก็อาจจะสร้างลักษณะนิสัยให้เลือกเสพเฉพาะรายการเพลงก็เป็นได้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าประชาชนจะวนเวียนนึกถึงแต่เรื่องความรักอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายที่จะพัฒนาประชาชนให้แข็งแรงนั้นชาติหน้าจะไปได้หรือไม่
ผมว่าสื่อของรัฐต้องช่วยกันทำหน้าที่นี้ด้วยนะครับ
อย่างไรก็ตามไอ้เรื่องแบบนี้คงจะเป็นไปได้ยากเต็มที เพราะอุดมการณ์อะไรก็ตามนั้นมันจะถูกง้างหรือให้เปลี่ยนแนวคิดไปได้ง่ายมากถ้ามันมีกลิ่นของเงินมารออยู่ตรงหน้า...เพราะฉะนั้น ผมก็ยังมั่นใจอยู่ดีว่า ต่อให้มีเสียงเรียกร้องกันหนาหูให้สื่อรัฐทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น พวกเขาก็จะต้องทำหูทวนลม แล้วเปิดไฟเขียวให้มีการฟังเพลงกันแบบระห่ำในปีหน้าอยู่ดี
ก็อยากจะเสนอนะครับว่า ถ้าเผื่อคลื่นต่างๆ จะถูกรายการเพลงเข้ายึดกันแบบนั้น ผมขอเสนอว่า น่าจะมีซักคลื่นนึงที่ให้เอาเทปท่านนายกพูดมาเปิดวนทั้งคลื่นตลอดเวลาไปเลย เพราะถ้าเทียบกันระหว่างเพลงบ้าเลือดกับฟังนายกคุย...ผมว่าการฟังนายกฯ พูดยังจะมีสติปัญญามากกว่า
ถึงตอนนั้นคงจะต้องเขียนบทความอีกสักชิ้นเรียกร้องให้ท่านนายกมาออกวิทยุกันทุกวันนะครับ