ข้าราชการชอบ "เทปสีแดง" มาเป็นเวลาช้านาน ภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตย ขุนนางข้าราชการเรียนรู้วิธีการหากินกับการใช้ "เทปสีแดง" ภายใต้ระบอบยียาธิปไตย นักเลือกตั้งเผ่ายี้แย่งชิงส่วนแบ่งจากกลุ่มพลังอำมาตยาธิปไตย จนก่อเกิดความขัดแย้งอยู่เนืองๆ
การกำหนดกฎระเบียบและมาตรการการกำกับและควบคุมสังคมเศรษฐกิจ ที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Regulation ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ส่วนที่ให้ประโยชน์แก่สังคม (Social Benefit) ก็มี และส่วนที่สร้างต้นทุนแก่สังคม (Social Cost) ก็มีเฉกเช่นเดียวกัน การควบคุมและกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป วงวิชาการเศรษฐศาสตร์มีแนวความคิดว่าด้วยการควบคุมและกำกับระดับอุตมภาพ (Optimal Regulation) อันเป็นระดับการควบคุมและกำกับที่ให้สวัสดิภาพสูงสุดแก่สังคม (Social Welfare Maximization)
การควบคุมและกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากเกินไป (Overregulation) ย่อมก่อให้เกิด "เทปสีแดง" ซึ่งกระทบต่อผลปฏิบัติการของสังคมเศรษฐกิจ (Economic Performance) ทั้งในด้านการจัดสรรทรัพยากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรของชาติอาจมิได้เป็นไปในทางที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่สังคมเศรษฐกิจ เนื่องจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ติด "เทปสีแดง" มีน้อยเกินกว่าระดับอันเหมาะสม ทั้งๆ ที่อุตสาหกรรมดังกล่าวอาจให้ประโยชน์สุทธิแก่สังคมเศรษฐกิจ ในท้ายที่สุด "เทปสีแดง" กลายเป็นปัจจัยที่ถ่วงการเติบโตของสังคมเศรษฐกิจ
ธนาคารโลกสนใจศึกษา "เทปสีแดง" ในประเทศต่างๆ ในมนุษยพิภพ จนสามารถผลิตรายงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึง 2 ฉบับติดต่อกัน
Doing Business in 2004 : Understanding Regulation นับเป็นรายงานวิจัยฉบับแรกของโครงการวิจัยขนาดใหญ่เรื่องนี้ของธนาคารโลก โครงการวิจัยดังกล่าวพยายามสร้างดัชนีวัดการควบคุมและกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ รวม 145 ประเทศ โดยที่มีการจัดกลุ่มประเทศที่มี "เทปสีแดง" หนาแน่น และกลุ่มที่มี "เทปสีแดง" เบาบาง การจัดอันดับเช่นนี้ช่วยบ่งบอกบรรยากาศการลงทุนในแต่ละประเทศ ในด้านหนึ่งช่วยเตือนรัฐบาลประเทศต่างๆ ให้ผ่อนคลายการควบคุมผ่อนคลายการกำกับ (Deregulation) ในกรณีที่มีการควบคุมและการกำกับมากเกินไป ในอีกด้านหนึ่งเป็นการให้ข้อมูลแก่นักลงทุนว่า ประเทศใดมีบรรยากาศน่าลงทุน เนื่องเพราะมี "เทปสีแดง" น้อย
ในการชี้วัด "เทปสีแดง" ในประเทศต่างๆ โครงการวิจัยนี้เลือกพิจารณาตัวแปรสำคัญกลุ่ม อันได้แก่
กลุ่มที่หนึ่ง Starting a Business การเข้าไปประกอบธุรกิจในแต่ละประเทศยากง่ายแตกต่างกันอย่างไร การจดทะเบียนบริษัทต้องผ่านขั้นตอนมากน้อยเพียงใด ฯลฯ
กลุ่มที่สอง Hiring and Firing Workers กฎหมายแรงงานมีความเข้มงวด และมีระเบียบหยุมหยิมมากเพียงใด การจ้างคนงานมีเงื่อนไขเข้มงวดหรือไม่ และการให้คนงานออกจากงานต้องเสียต้นทุนสูงต่ำเพียงใด
กลุ่มที่สาม Enforcing Contracts การบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามสัญญามีความยากลำบากมากหรือไม่ การดำเนินคดีในศาลมีความยุติธรรมและมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
กลุ่มที่สี่ Getting Credit การแสวงหาสินเชื่อเป็นไปด้วยความยากลำบากมากเพียงใด กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายล้มละลายเกื้อกูลการกู้ยืมเงินในตลาดการเงินมากน้อยเพียงใด
กลุ่มที่ห้า Registering Property การจดทะเบียนทรัพย์สินมีกระบวนการที่ยุ่งยากมากน้อยเพียงใด การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต้องเสียเวลาและต้นทุนสูงหรือไม่
กลุ่มที่หก Protecting Investors ประเทศต่างๆ มีมาตรการในการปกป้องนักลงทุนแตกต่างกันอย่างไร นักลงทุนควรได้รับสารสนเทศที่สมบูรณ์ว่าด้วยความเป็นเจ้าของและฐานการเงินของกิจการที่ต้องการเข้าไปลงทุน
กลุ่มที่เจ็ด Closing a Business การเลิกกิจการทำได้ยากง่ายเพียงใด กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่ดีหรือไม่ การเลิกกิจการต้องสูญเสียต้นทุนมากน้อยเพียงใด
ในขณะที่ Doing Business in 2004 มีชื่อเรื่องรองว่า Understanding Regulation สะท้อนให้เห็นความต้องการที่จะทำความเข้าใจ "เทปสีแดง" ในประเทศต่างๆ Doing Business in 2005 ฟันธงว่า Removing obstacles to Growth แสดงจุดยืนของธนาคารโลกว่า "เทปสีแดง" เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขจัด "เทปสีแดง" จะช่วยให้สังคมเศรษฐกิจเติบโตในอัตราสูงขึ้น
ผลการศึกษาของ Doing Business in 2005 พบว่า ประเทศที่มีบรรยากาศน่าลงทุนมากที่สุด 20 ประเทศ เนื่องจากมี "เทปสีแดง" น้อย ได้แก่ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร แคนาดา สวีเดน ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ เบลเยียม ลิทัวเนีย สโลวาเกีย บอตสวานา และไทย
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ประเทศด้อยพัฒนาถูกผูกมัดด้วย "เทปสีแดง" หนาแน่นกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว อันทำให้ต้นทุนการประกอบธุรกิจสูงกว่าด้วย การขจัด "เทปสีแดง" ช่วยให้ผลการปฏิบัติการทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมาก การเลื่อนตำแหน่งจากกลุ่มประเทศที่มี "เทปสีแดง" หนาแน่นที่สุด 20 ประเทศ ไปสู่กลุ่มประเทศที่มี "เทปสีแดง" บางเบาที่สุด 20 ประเทศ จะช่วยให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ถึง 2.2%
ประเทศในยุโรปตะวันออกและอาณาจักรโซเวียตเดิม เมื่อเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปก็ดี หรือต้องปรับระบบเศรษฐกิจสู่ระบบตลาดก็ดี ต้องดำเนินการขจัด "เทปสีแดง" ด้วย มิฉะนั้นการลงทุนในระบบเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก
"เทปสีแดง" มีผลต่อธุรกิจขนาดเล็กมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายเพื่อให้ฟันฝ่า "เทปสีแดง" เข้าไปประกอบการได้ ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กไม่อยู่ในฐานะที่จะทำเช่นนั้นได้ ด้วยเหตุดังนี้ การขจัด "เทปสีแดง" จึงเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจขนาดเล็กชนิดที่มิอาจมองข้ามได้
หมายเหตุ Doing Business in 2004 และข้อมูลที่ปรับใน Doing Business in 2005 โปรดค้นจากhttp://rru.worldbank.org/DoingBusiness
การกำหนดกฎระเบียบและมาตรการการกำกับและควบคุมสังคมเศรษฐกิจ ที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Regulation ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ส่วนที่ให้ประโยชน์แก่สังคม (Social Benefit) ก็มี และส่วนที่สร้างต้นทุนแก่สังคม (Social Cost) ก็มีเฉกเช่นเดียวกัน การควบคุมและกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป วงวิชาการเศรษฐศาสตร์มีแนวความคิดว่าด้วยการควบคุมและกำกับระดับอุตมภาพ (Optimal Regulation) อันเป็นระดับการควบคุมและกำกับที่ให้สวัสดิภาพสูงสุดแก่สังคม (Social Welfare Maximization)
การควบคุมและกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากเกินไป (Overregulation) ย่อมก่อให้เกิด "เทปสีแดง" ซึ่งกระทบต่อผลปฏิบัติการของสังคมเศรษฐกิจ (Economic Performance) ทั้งในด้านการจัดสรรทรัพยากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรของชาติอาจมิได้เป็นไปในทางที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่สังคมเศรษฐกิจ เนื่องจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ติด "เทปสีแดง" มีน้อยเกินกว่าระดับอันเหมาะสม ทั้งๆ ที่อุตสาหกรรมดังกล่าวอาจให้ประโยชน์สุทธิแก่สังคมเศรษฐกิจ ในท้ายที่สุด "เทปสีแดง" กลายเป็นปัจจัยที่ถ่วงการเติบโตของสังคมเศรษฐกิจ
ธนาคารโลกสนใจศึกษา "เทปสีแดง" ในประเทศต่างๆ ในมนุษยพิภพ จนสามารถผลิตรายงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึง 2 ฉบับติดต่อกัน
Doing Business in 2004 : Understanding Regulation นับเป็นรายงานวิจัยฉบับแรกของโครงการวิจัยขนาดใหญ่เรื่องนี้ของธนาคารโลก โครงการวิจัยดังกล่าวพยายามสร้างดัชนีวัดการควบคุมและกำกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ รวม 145 ประเทศ โดยที่มีการจัดกลุ่มประเทศที่มี "เทปสีแดง" หนาแน่น และกลุ่มที่มี "เทปสีแดง" เบาบาง การจัดอันดับเช่นนี้ช่วยบ่งบอกบรรยากาศการลงทุนในแต่ละประเทศ ในด้านหนึ่งช่วยเตือนรัฐบาลประเทศต่างๆ ให้ผ่อนคลายการควบคุมผ่อนคลายการกำกับ (Deregulation) ในกรณีที่มีการควบคุมและการกำกับมากเกินไป ในอีกด้านหนึ่งเป็นการให้ข้อมูลแก่นักลงทุนว่า ประเทศใดมีบรรยากาศน่าลงทุน เนื่องเพราะมี "เทปสีแดง" น้อย
ในการชี้วัด "เทปสีแดง" ในประเทศต่างๆ โครงการวิจัยนี้เลือกพิจารณาตัวแปรสำคัญกลุ่ม อันได้แก่
กลุ่มที่หนึ่ง Starting a Business การเข้าไปประกอบธุรกิจในแต่ละประเทศยากง่ายแตกต่างกันอย่างไร การจดทะเบียนบริษัทต้องผ่านขั้นตอนมากน้อยเพียงใด ฯลฯ
กลุ่มที่สอง Hiring and Firing Workers กฎหมายแรงงานมีความเข้มงวด และมีระเบียบหยุมหยิมมากเพียงใด การจ้างคนงานมีเงื่อนไขเข้มงวดหรือไม่ และการให้คนงานออกจากงานต้องเสียต้นทุนสูงต่ำเพียงใด
กลุ่มที่สาม Enforcing Contracts การบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามสัญญามีความยากลำบากมากหรือไม่ การดำเนินคดีในศาลมีความยุติธรรมและมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
กลุ่มที่สี่ Getting Credit การแสวงหาสินเชื่อเป็นไปด้วยความยากลำบากมากเพียงใด กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายล้มละลายเกื้อกูลการกู้ยืมเงินในตลาดการเงินมากน้อยเพียงใด
กลุ่มที่ห้า Registering Property การจดทะเบียนทรัพย์สินมีกระบวนการที่ยุ่งยากมากน้อยเพียงใด การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต้องเสียเวลาและต้นทุนสูงหรือไม่
กลุ่มที่หก Protecting Investors ประเทศต่างๆ มีมาตรการในการปกป้องนักลงทุนแตกต่างกันอย่างไร นักลงทุนควรได้รับสารสนเทศที่สมบูรณ์ว่าด้วยความเป็นเจ้าของและฐานการเงินของกิจการที่ต้องการเข้าไปลงทุน
กลุ่มที่เจ็ด Closing a Business การเลิกกิจการทำได้ยากง่ายเพียงใด กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่ดีหรือไม่ การเลิกกิจการต้องสูญเสียต้นทุนมากน้อยเพียงใด
ในขณะที่ Doing Business in 2004 มีชื่อเรื่องรองว่า Understanding Regulation สะท้อนให้เห็นความต้องการที่จะทำความเข้าใจ "เทปสีแดง" ในประเทศต่างๆ Doing Business in 2005 ฟันธงว่า Removing obstacles to Growth แสดงจุดยืนของธนาคารโลกว่า "เทปสีแดง" เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขจัด "เทปสีแดง" จะช่วยให้สังคมเศรษฐกิจเติบโตในอัตราสูงขึ้น
ผลการศึกษาของ Doing Business in 2005 พบว่า ประเทศที่มีบรรยากาศน่าลงทุนมากที่สุด 20 ประเทศ เนื่องจากมี "เทปสีแดง" น้อย ได้แก่ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร แคนาดา สวีเดน ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ เบลเยียม ลิทัวเนีย สโลวาเกีย บอตสวานา และไทย
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ประเทศด้อยพัฒนาถูกผูกมัดด้วย "เทปสีแดง" หนาแน่นกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว อันทำให้ต้นทุนการประกอบธุรกิจสูงกว่าด้วย การขจัด "เทปสีแดง" ช่วยให้ผลการปฏิบัติการทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมาก การเลื่อนตำแหน่งจากกลุ่มประเทศที่มี "เทปสีแดง" หนาแน่นที่สุด 20 ประเทศ ไปสู่กลุ่มประเทศที่มี "เทปสีแดง" บางเบาที่สุด 20 ประเทศ จะช่วยให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ถึง 2.2%
ประเทศในยุโรปตะวันออกและอาณาจักรโซเวียตเดิม เมื่อเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปก็ดี หรือต้องปรับระบบเศรษฐกิจสู่ระบบตลาดก็ดี ต้องดำเนินการขจัด "เทปสีแดง" ด้วย มิฉะนั้นการลงทุนในระบบเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก
"เทปสีแดง" มีผลต่อธุรกิจขนาดเล็กมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายเพื่อให้ฟันฝ่า "เทปสีแดง" เข้าไปประกอบการได้ ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กไม่อยู่ในฐานะที่จะทำเช่นนั้นได้ ด้วยเหตุดังนี้ การขจัด "เทปสีแดง" จึงเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจขนาดเล็กชนิดที่มิอาจมองข้ามได้
หมายเหตุ Doing Business in 2004 และข้อมูลที่ปรับใน Doing Business in 2005 โปรดค้นจากhttp://rru.worldbank.org/DoingBusiness