ในตอนที่ 2 ได้อธิบายถึงลักษณะของกฎธรรมชาติในแง่มุมต่างๆ ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง กล่าวโดยย่อในตอนที่ 2 การรู้แจ้งทำให้เห็นภาพรวมกระบวนการของวิวัฒนาการใน 2 ลักษณะคือ ค่อยเป็นค่อยไปและก้าวกระโดดของนามรูปสิ่งที่เล็กที่สุดจนถึงมนุษย์และก้าวกระโดดสู่บรมธรรมหรือพระนิพพาน จึงเห็นแจ้งทุกมิติจะเห็นเป็นลักษณะพระธรรมจักรหรืออุปมาได้ว่าเหมือนคนวิ่งถึงเส้นชัยแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็นตลอดสาย เห็นในทุกมิติจนมองเห็นภาพรวมเป็นพระธรรมจักร ในลักษณะพลวัตหรือ Dynamic จะแสดงด้วยรูปธรรมอันเป็นภาพรวมทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งเพื่อสะดวกแก่ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน
ภาพองค์รวมดังกล่าวนี้ อธิบายการวิวัฒนาการทางนามธรรมหรือวิญญาณธาตุหรือธาตุรู้ที่โยงใยเป็นเครือข่ายสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด นับแต่เล็กสุดจนถึงบรมธรรม จะให้ความรู้ปัญญารู้แจ้งสภาพความเป็นจริงในนัยต่างๆ มากมาย ต่อจากตอนที่ 2 เป็นลำดับไปดังนี้
15. ทำให้เรารู้ว่าวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป หมายความว่าวิญญาณ (ธาตุรู้) เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป, วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเป็นผล, วิญญาณเป็นด้านปฐมภูมิ นามรูปเป็นด้านทุติยภูมิสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกันคือ นามรูปก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ (มหาปทานสูตร 10/39) หรือพูดง่ายๆ ว่าจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
16. จึงทำเรารู้ว่า ธรรม หรือธรรมะ คือทั้งอสังขตธรรม และสังขตธรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตได้เกิดขึ้น เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลางดับไปในที่สุดวิวัฒนาการเป็นไป 2 ลักษณะที่กล่าวแล้ว เรื่อยไป จนกว่าจะเข้าถึงนิพพาน เราจึงได้เขียนเป็นภาพได้ว่า
ช่วงของการปรุงแต่งทางจิตใน 31 ภพภูมิ O สัญลักษณ์แทนจิตที่บริสุทธิ์ หรือนิพพานคือจิตเดิมแท้ จากพระสูตรความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง (20/52) ถ้าไม่มีอัตตาตัวตน ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตอิสระจากอารมณ์ทั้งปวงที่มากระทบสี่เหลี่ยมปฏิจจสมุปบาท ก็จะไม่เกิดขึ้น ทำความดีโดยไม่มีการยึดถือ ก็จะอยู่เหนือความดีและความชั่ว อยู่เหนือนรกและสวรรค์ คือนิพพาน อันเป็นทางสายกลางที่สมบูรณ์จริง
17. รูป 1 ทำให้เรารู้ว่าการเกิดขึ้นของสัตว์ที่เล็กที่สุดวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึงมนุษย์ และมนุษย์ได้ปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ 8 (ปัญญา ศีล สมาธิ) จนบรรลุพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี กระบวนการดังกล่าวตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นไปอย่างพลวัต (Dynamic)
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ทุกข์ คือความทุกข์ อนัตตา คือความไม่เป็นตัวตน มีลักษณะเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด หรือเรียกง่ายๆ ว่าตกอยู่ในกรอบของสังขตธรรม (สัง = ร่วม, ประชุม, พร้อม ขตหรือขย = สิ้นไป รวมความว่าธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง (มาประชุมกัน, มาผสมกัน) แล้วสิ้นไป (ธรรมที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด อาจกล่าวได้ว่า "สังขารทั้งปวง (รูปและนาม) นั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกขะ ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา แจ้งจริงจึงหน่ายในสังขาร (ทั้งปวง) ละอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ได้เสียสิ้น จิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉย (อุเบกขาญาณ) แจ้งจริงแท้แน่แล้วเอย ก็จะเปิดเผยปฏิจจสมุปบาท เข้าถึงอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย อมตธรรม ฯลฯ
19. อีกประการหนึ่งรูปสามเหลี่ยมทำให้เรารู้ว่า นับแต่สามเหลี่ยมแรก เอกโวการภพ จนถึงสามเหลี่ยมสุดท้ายคือมนุษยภพหรือมนุษยภูมิ ตัวสามเหลี่ยมโดยธรรมาธิษฐานนั้นไม่มี แต่เขียนขึ้นเป็นบุคลาธิษฐาน เพื่อบอกให้ทราบว่าในแต่ละภพนั้นภูมิต่ำมีมากอยู่ที่ฐาน ภูมิสูงมีน้อยอยู่ที่ยอดสามเหลี่ยม สัตว์โลกย่อมไปตามกรรมอย่างนี้ แต่ที่จะบอกว่าหลายคนรวมทั้งผู้เขียนก่อนโน้นยังไม่ได้ปฏิบัติพุทธวิปัสสนาอย่างจริงจัง ก็เคยเห็นพระปฐมเจดีย์, หน้าบัน, จั่ว ของปราสาท, โบสถ์, วิหาร, บ้านทรงไทย เป็นต้น นับแต่โบราณมาแล้ว ก็ไม่รู้ว่ามีความหมายอย่างไร? แท้จริงแล้วมีนัยทางปริศนาธรรม ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ทั้งหลายอย่าได้ประมาท ภูมิธรรมต่ำมีมาก ภูมิธรรมสูงมีน้อยให้ขวนขวายตั้งอยู่ในกุศลธรรม เพื่อพัฒนาจิตแห่งตนให้สูงขึ้นๆ สิ่งดังกล่าวล้วนสร้างขึ้นจากภูมิธรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น หรือมาจาก 31 ภูมิชั้นทางจิตของมนุษย์ อันเป็นสภาวะของการเวียนว่ายตายเกิดทางใจของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป "รักตัวกลัวตาย โลภอยากได้ไม่มีขอบเขต โตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วอารมณ์ทางเพศไม่จำกัดฤดู ขึ้นๆ ลงๆ ฟูๆ แฟบๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวมีกำลังใจ เดี๋ยวท้อใจ เดี๋ยวมีหวัง เดี๋ยวสิ้นหวัง บางครั้งหัวเราะ บางครั้งร้องไห้ บางครั้งขัดแค้นเคืองใจ อยากจะ..." อันนี้ได้พูดเป็นภาษาไทยตามลักษณะ 31 ภพภูมิ
ผู้อ่านที่รักทุกท่านก็ลองดูใจตนเองดูว่าเป็นจริงดังที่กล่าวนี้หรือไม่ ใครไม่เป็นไปตามที่ว่าดังกล่าว ผู้นั้นเป็นอริยชนหรือพระอริยะ
ถ้าเอาแบบภาษาบาลีเมื่อมองจิตของตนอย่างตั้งใจแล้วก็จะเห็นว่า บางครั้งเป็นพรหม (จิตใจดีมีเมตตาเพื่อส่วนรวมด้วยวัตถุทานและธรรมทาน) บางอารมณ์เป็นอสุรกาย (กลัวมากจะทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นด้วยอาวุธนับแต่ของแหลมมีคม จนถึงอาวุธนิวเคลียร์) บางครั้งกลายเป็นเปรต (จิตที่คิดโลภอยากได้ของเขาด้วยอาการแห่งขโมยหรือคอร์รัปชัน, ธุรกิจการเมืองเพื่อครอบครัวและพวกพ้อง) บางเหตุเป็นสัตว์นรก (โกรธ เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการ หรือเขาจับได้ไล่ทัน) คิดไม่ตก เป็นสัตว์เดรัจฉาน (หลง ข่มขืนลูกตนเอง, ห้ามนักบวชพูดเรื่องการเมืองหรืออบายมุขที่เติบโตเหมือนดอกเห็ดเต็มบ้านเต็มเมือง) เมื่อพระสงฆ์องคเจ้าพูดเทศน์สภาพความเป็นจริงที่เป็นไปของสังคมที่นักการเมืองเห็นแก่ตัว เพื่อฉุดรั้งสังคมเสื่อมที่สุดแล้ว แต่สภาวะสัตว์เดรัจฉานคือผู้หลงจะร้อนตัวและแว้งกัด ใครทำกรรมดี ทำกรรมชั่วอะไรไว้เมื่อตายกายแตกดับ จิตก็จะนำไปเกิด ไปรับกรรมนั้นๆ ของตนๆ จึงเรียกว่า มนุษย์มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม, ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมนำไปสู่ทุคติ (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ, อบายภูมิ 4 ขุ. อิติ 25/237)
ถ้าสภาวะจิตเป็นมนุษย์ก็จะมีศีล 5 หรือกุศลกรรมบถ 10 ครองใจอยู่เป็นนิจ (ไม่เบียดเบียน, เอาเปรียบและฆ่าเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย, ไม่โลภอยากได้ของเขาด้วยอาการแห่งขโมย, ไม่ประพฤติผิดทางเพศ, ไม่พูดโกหก, ไม่เสพเครื่องมึนเมาสุรายาเสพติดทุกชนิด (สภาวะมนุษย์ 1)
ถ้าสภาวะจิตเป็นเทวดาอย่างน้อยก็ธรรมะ หรือเทวธรรมครองใจเพิ่มขึ้นอีกคือ หิริ ความละอายที่จะทำความชั่วทั้งปวง โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปอกุศล (เทวดา 6, 5/244)
ถ้าสภาวะจิตเป็นพรหม จิตที่ประกอบด้วยความเมตตา (พรหมวิหาร 4) มหาเมตตา (อัปปมัญญา 4) อย่างพระโพธิสัตว์ เป็นต้น (รูปพรหม 16, อรูปพรหม 4) รวม 31 ภูมิ
จะเห็นว่ามนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ท่องเที่ยวไปในภพภูมิต่างๆ มากที่สุด เพราะความยึดมั่น ถือมั่นนี่เอง จึงต้องไปเวียนว่ายตายเกิดไปในภูมิต่างๆ มากกว่าสัตว์อื่นใดทั้งหมด วันหนึ่งๆ ท่องเที่ยวไป ไปเกิด ไปตาย ไปสร้างสมทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว
31 ภูมิ ที่กล่าวนี้เป็นสภาวะทางใจ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งเป็นผลจากกฎปฏิจจสมุปบาท คือกฎของการอาศัยกันเกิดขึ้น อันเป็นกระบวนการไร้แก่นสาร ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ จะเห็นว่าไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่น ไม่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ผู้รู้แจ้งแล้วก็จะพ้นจาก 31 สภาวะดังกล่าวเข้าถึงพระนิพพาน, บรมธรรม, ธรรมาธิปไตย, อมตธรรม อันเป็นธรรมที่ไม่ตายเป็นโลกุตรภพ เป็นอสังขธรรม ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จึงกล่าวได้ว่า "ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตย ไม่สลายจากใจคน"
พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ลัทธิความเชื่อ เป็นสัจนิยม เป็นศาสนาอันแท้จริงของมนุษยชาติผู้มีปัญญา ไม่บังคับให้เชื่อ และไม่ต้องเชื่อเพราะรู้แจ้งตามความเป็นจริงได้
ส่วนลัทธินั้นบังคับให้เชื่อ ต้องศรัทธา จึงก่อให้เกิดความงมงายและการยึดถืออย่างแรงกล้า เป็นอัตตาตัวตนอย่างสูง จึงก่อให้ความรุนแรงเบียดเบียนตนและผู้อื่น พวกเขาจึงต้องตกนรก ไม่ใช่ขึ้นสวรรค์ตามความเชื่อ เขาถูกหลอแล้ว เขาตกอยู่ในความหลง
(ติดตามตอนต่อไป) สงสัยโทร. 0-9443-7520
ภาพองค์รวมดังกล่าวนี้ อธิบายการวิวัฒนาการทางนามธรรมหรือวิญญาณธาตุหรือธาตุรู้ที่โยงใยเป็นเครือข่ายสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด นับแต่เล็กสุดจนถึงบรมธรรม จะให้ความรู้ปัญญารู้แจ้งสภาพความเป็นจริงในนัยต่างๆ มากมาย ต่อจากตอนที่ 2 เป็นลำดับไปดังนี้
15. ทำให้เรารู้ว่าวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป หมายความว่าวิญญาณ (ธาตุรู้) เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป, วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเป็นผล, วิญญาณเป็นด้านปฐมภูมิ นามรูปเป็นด้านทุติยภูมิสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกันคือ นามรูปก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ (มหาปทานสูตร 10/39) หรือพูดง่ายๆ ว่าจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
16. จึงทำเรารู้ว่า ธรรม หรือธรรมะ คือทั้งอสังขตธรรม และสังขตธรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตได้เกิดขึ้น เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลางดับไปในที่สุดวิวัฒนาการเป็นไป 2 ลักษณะที่กล่าวแล้ว เรื่อยไป จนกว่าจะเข้าถึงนิพพาน เราจึงได้เขียนเป็นภาพได้ว่า
ช่วงของการปรุงแต่งทางจิตใน 31 ภพภูมิ O สัญลักษณ์แทนจิตที่บริสุทธิ์ หรือนิพพานคือจิตเดิมแท้ จากพระสูตรความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง (20/52) ถ้าไม่มีอัตตาตัวตน ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตอิสระจากอารมณ์ทั้งปวงที่มากระทบสี่เหลี่ยมปฏิจจสมุปบาท ก็จะไม่เกิดขึ้น ทำความดีโดยไม่มีการยึดถือ ก็จะอยู่เหนือความดีและความชั่ว อยู่เหนือนรกและสวรรค์ คือนิพพาน อันเป็นทางสายกลางที่สมบูรณ์จริง
17. รูป 1 ทำให้เรารู้ว่าการเกิดขึ้นของสัตว์ที่เล็กที่สุดวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึงมนุษย์ และมนุษย์ได้ปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ 8 (ปัญญา ศีล สมาธิ) จนบรรลุพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี กระบวนการดังกล่าวตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นไปอย่างพลวัต (Dynamic)
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ทุกข์ คือความทุกข์ อนัตตา คือความไม่เป็นตัวตน มีลักษณะเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด หรือเรียกง่ายๆ ว่าตกอยู่ในกรอบของสังขตธรรม (สัง = ร่วม, ประชุม, พร้อม ขตหรือขย = สิ้นไป รวมความว่าธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง (มาประชุมกัน, มาผสมกัน) แล้วสิ้นไป (ธรรมที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด อาจกล่าวได้ว่า "สังขารทั้งปวง (รูปและนาม) นั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกขะ ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา แจ้งจริงจึงหน่ายในสังขาร (ทั้งปวง) ละอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ได้เสียสิ้น จิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉย (อุเบกขาญาณ) แจ้งจริงแท้แน่แล้วเอย ก็จะเปิดเผยปฏิจจสมุปบาท เข้าถึงอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย อมตธรรม ฯลฯ
19. อีกประการหนึ่งรูปสามเหลี่ยมทำให้เรารู้ว่า นับแต่สามเหลี่ยมแรก เอกโวการภพ จนถึงสามเหลี่ยมสุดท้ายคือมนุษยภพหรือมนุษยภูมิ ตัวสามเหลี่ยมโดยธรรมาธิษฐานนั้นไม่มี แต่เขียนขึ้นเป็นบุคลาธิษฐาน เพื่อบอกให้ทราบว่าในแต่ละภพนั้นภูมิต่ำมีมากอยู่ที่ฐาน ภูมิสูงมีน้อยอยู่ที่ยอดสามเหลี่ยม สัตว์โลกย่อมไปตามกรรมอย่างนี้ แต่ที่จะบอกว่าหลายคนรวมทั้งผู้เขียนก่อนโน้นยังไม่ได้ปฏิบัติพุทธวิปัสสนาอย่างจริงจัง ก็เคยเห็นพระปฐมเจดีย์, หน้าบัน, จั่ว ของปราสาท, โบสถ์, วิหาร, บ้านทรงไทย เป็นต้น นับแต่โบราณมาแล้ว ก็ไม่รู้ว่ามีความหมายอย่างไร? แท้จริงแล้วมีนัยทางปริศนาธรรม ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ทั้งหลายอย่าได้ประมาท ภูมิธรรมต่ำมีมาก ภูมิธรรมสูงมีน้อยให้ขวนขวายตั้งอยู่ในกุศลธรรม เพื่อพัฒนาจิตแห่งตนให้สูงขึ้นๆ สิ่งดังกล่าวล้วนสร้างขึ้นจากภูมิธรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น หรือมาจาก 31 ภูมิชั้นทางจิตของมนุษย์ อันเป็นสภาวะของการเวียนว่ายตายเกิดทางใจของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป "รักตัวกลัวตาย โลภอยากได้ไม่มีขอบเขต โตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วอารมณ์ทางเพศไม่จำกัดฤดู ขึ้นๆ ลงๆ ฟูๆ แฟบๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวมีกำลังใจ เดี๋ยวท้อใจ เดี๋ยวมีหวัง เดี๋ยวสิ้นหวัง บางครั้งหัวเราะ บางครั้งร้องไห้ บางครั้งขัดแค้นเคืองใจ อยากจะ..." อันนี้ได้พูดเป็นภาษาไทยตามลักษณะ 31 ภพภูมิ
ผู้อ่านที่รักทุกท่านก็ลองดูใจตนเองดูว่าเป็นจริงดังที่กล่าวนี้หรือไม่ ใครไม่เป็นไปตามที่ว่าดังกล่าว ผู้นั้นเป็นอริยชนหรือพระอริยะ
ถ้าเอาแบบภาษาบาลีเมื่อมองจิตของตนอย่างตั้งใจแล้วก็จะเห็นว่า บางครั้งเป็นพรหม (จิตใจดีมีเมตตาเพื่อส่วนรวมด้วยวัตถุทานและธรรมทาน) บางอารมณ์เป็นอสุรกาย (กลัวมากจะทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นด้วยอาวุธนับแต่ของแหลมมีคม จนถึงอาวุธนิวเคลียร์) บางครั้งกลายเป็นเปรต (จิตที่คิดโลภอยากได้ของเขาด้วยอาการแห่งขโมยหรือคอร์รัปชัน, ธุรกิจการเมืองเพื่อครอบครัวและพวกพ้อง) บางเหตุเป็นสัตว์นรก (โกรธ เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการ หรือเขาจับได้ไล่ทัน) คิดไม่ตก เป็นสัตว์เดรัจฉาน (หลง ข่มขืนลูกตนเอง, ห้ามนักบวชพูดเรื่องการเมืองหรืออบายมุขที่เติบโตเหมือนดอกเห็ดเต็มบ้านเต็มเมือง) เมื่อพระสงฆ์องคเจ้าพูดเทศน์สภาพความเป็นจริงที่เป็นไปของสังคมที่นักการเมืองเห็นแก่ตัว เพื่อฉุดรั้งสังคมเสื่อมที่สุดแล้ว แต่สภาวะสัตว์เดรัจฉานคือผู้หลงจะร้อนตัวและแว้งกัด ใครทำกรรมดี ทำกรรมชั่วอะไรไว้เมื่อตายกายแตกดับ จิตก็จะนำไปเกิด ไปรับกรรมนั้นๆ ของตนๆ จึงเรียกว่า มนุษย์มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม, ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมนำไปสู่ทุคติ (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ, อบายภูมิ 4 ขุ. อิติ 25/237)
ถ้าสภาวะจิตเป็นมนุษย์ก็จะมีศีล 5 หรือกุศลกรรมบถ 10 ครองใจอยู่เป็นนิจ (ไม่เบียดเบียน, เอาเปรียบและฆ่าเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย, ไม่โลภอยากได้ของเขาด้วยอาการแห่งขโมย, ไม่ประพฤติผิดทางเพศ, ไม่พูดโกหก, ไม่เสพเครื่องมึนเมาสุรายาเสพติดทุกชนิด (สภาวะมนุษย์ 1)
ถ้าสภาวะจิตเป็นเทวดาอย่างน้อยก็ธรรมะ หรือเทวธรรมครองใจเพิ่มขึ้นอีกคือ หิริ ความละอายที่จะทำความชั่วทั้งปวง โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปอกุศล (เทวดา 6, 5/244)
ถ้าสภาวะจิตเป็นพรหม จิตที่ประกอบด้วยความเมตตา (พรหมวิหาร 4) มหาเมตตา (อัปปมัญญา 4) อย่างพระโพธิสัตว์ เป็นต้น (รูปพรหม 16, อรูปพรหม 4) รวม 31 ภูมิ
จะเห็นว่ามนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ท่องเที่ยวไปในภพภูมิต่างๆ มากที่สุด เพราะความยึดมั่น ถือมั่นนี่เอง จึงต้องไปเวียนว่ายตายเกิดไปในภูมิต่างๆ มากกว่าสัตว์อื่นใดทั้งหมด วันหนึ่งๆ ท่องเที่ยวไป ไปเกิด ไปตาย ไปสร้างสมทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว
31 ภูมิ ที่กล่าวนี้เป็นสภาวะทางใจ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งเป็นผลจากกฎปฏิจจสมุปบาท คือกฎของการอาศัยกันเกิดขึ้น อันเป็นกระบวนการไร้แก่นสาร ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ จะเห็นว่าไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่น ไม่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ผู้รู้แจ้งแล้วก็จะพ้นจาก 31 สภาวะดังกล่าวเข้าถึงพระนิพพาน, บรมธรรม, ธรรมาธิปไตย, อมตธรรม อันเป็นธรรมที่ไม่ตายเป็นโลกุตรภพ เป็นอสังขธรรม ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จึงกล่าวได้ว่า "ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตย ไม่สลายจากใจคน"
พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ลัทธิความเชื่อ เป็นสัจนิยม เป็นศาสนาอันแท้จริงของมนุษยชาติผู้มีปัญญา ไม่บังคับให้เชื่อ และไม่ต้องเชื่อเพราะรู้แจ้งตามความเป็นจริงได้
ส่วนลัทธินั้นบังคับให้เชื่อ ต้องศรัทธา จึงก่อให้เกิดความงมงายและการยึดถืออย่างแรงกล้า เป็นอัตตาตัวตนอย่างสูง จึงก่อให้ความรุนแรงเบียดเบียนตนและผู้อื่น พวกเขาจึงต้องตกนรก ไม่ใช่ขึ้นสวรรค์ตามความเชื่อ เขาถูกหลอแล้ว เขาตกอยู่ในความหลง
(ติดตามตอนต่อไป) สงสัยโทร. 0-9443-7520