"ทักษิณ" เชิญนายกรัฐมนตรีจีนฉลอง 30 ปีความสัมพันธ์ไทย -จีน ในประเทศไทย ย้ำขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศสูงขึ้นจากเดิมมาก คุยพรรคคอมมิวนิสต์จีน กับพรรคไทยรักไทย มีความเหมือนกันคือจะบริหารประเทศต่อไปยาวนาน ยันไม่ได้คิดเป็นผู้นำเอเชีย เพียงแต่อยากให้ให้เอเชียแข็งแกร่ง เผย 10 เดือนเอฟทีเอไทย-จีน มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 13,000 ล้านบาท โดยไทยได้ดุลกว่า 5,500 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ และร่วมประชุมนานาชาติของพรรคการเมืองในภูมิภาคเอเชีย (ICAPP) ครั้งที่ 3 ว่า ในช่วงบ่ายวันที่ 3 ก.ย.หลังเสร็จสิ้นการประชุมพรรคการเมืองเอเชียครั้งที่ 3 นายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนในประเทศจีนสัมภาษณ์ โดยสื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ความคิดเห็นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย -จีน โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความสัมพันธ์ไทย -จีน ขณะนี้เป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และจะยังสามารถพัฒนาความสูงไปได้อีกมาก
การที่ตนได้พบกับ นายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ของจีน ที่แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ของไทยและจีน เป็นไปด้วยดี โดยนายกรัฐมนตรีจีนสามารถจำสิ่งที่เคยพูดคุยกัน เมื่อครั้งที่ได้พูดคุยกันที่เมืองชิงเต่า นอกจากนี้ไทยและจีนยังมียุทธศาสตร์ร่วมกัน คือเรื่องกรอบความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) และเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)และเรายังจะพัฒนาตราสารเอเชีย รวมทั้งการที่จีนได้ส่งหมีแพนด้า ไปไว้ที่บ้านเกิดตน และที่จะลืมไม่ได้ คือการที่ประเทศไทยได้เหรียญทองการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งก็เป็นฝีมือโค้ชชาวจีน
นอกจากนี้ ในอนาคตไทย-จีน จะสร้างความสัมพันธ์ในเชิงลึกให้มากขึ้น โดยจะมีการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างกัน รวมทั้งจะเชิญนายกรัฐมนตรีจีน ไปเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ของความสัมพันธ์ ระหว่างทั้งสองประเทศ
ส่วนกรณีความสัมพันธ์ระหว่างพรรคไทยรักไทย กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่ตั้งใหม่ มีความใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่การตั้งพรรค ได้เข้าพบ นายจู หรง จี และผู้นำจีนอีกหลายคน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยน มีการพบกัน ระหว่างกรรมการพรรคมาโดยตลอด แม้ว่าพรรคไทยรักไทย กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน จะอยู่คนละมุม โดยจีนอยู่ในระบบสังคมนิยม และไทยรักไทย อยู่ในระบบทุนนิยม แต่เราทั้งสองต่างประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน สิ่งที่พรรคไทยรักไทยอยากเรียนรู้จากพรรคคอมมิวนิสต์จีน คือ การสร้างเครือข่ายระหว่างประชาชนกับพรรค เพื่อให้ได้รับรู้ความต้องการของประชาชน และอธิบายการทำงานให้ประชาชนได้รู้
“แม้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคเดียวที่บริหารประเทศยาวนาน เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยที่จะบริหารประเทศต่อไปยาวนานเหมือนกัน และเราต่างทำงานให้กับประชาชนอย่างมั่นคงต่อเนื่อง ซึ่งไทยและจีนไม่ได้คำนึงถึงเฉพาะตัวเอง แต่เรายังเป็นห่วงและต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศในภูมิภาคด้วย”นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองเศรษฐกิจของจีนอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เท่าที่ดูแนวทางการบริหารเศรษฐกิจ จีนประสบความสำเร็จในเรื่องการลงทุน
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงเรื่องการขุดคอคอดกระ ว่ารัฐบาลไทยยังไม่มีแผนขุดคอคอดกระ แต่กำลังศึกษา ถึงการทำแลนด์บริดจ์ เชื่อมฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ด้วยถนนและทางรถไฟฟ้า ซึ่งกำลังพิจารณาความคุ้มทุน ยังไม่ตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ
ในช่วงท้าย ผู้สื่อข่าวได้สอบถามกรณีที่นายกรัฐมนตรี ได้ลงหน้าปกหนังสือไทม์ส ว่ารู้สึกอย่างไร กับการที่ถูกมองว่ามีบทบาทในภูมิภาค นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ตนมีข่าวมากอยู่แล้ว และนิตยสารก็คงต้องออกเป็นประจำ และตนไม่ได้อ่านมากนัก และตนเป็นคนที่สื่อนานาชาติชอบวิจารณ์ ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้คิดเป็นผู้นำเอเชีย แต่เป็นหัวหน้ารัฐบาลประเทศหนึ่งในเอเชีย ขอแบ่งเวลาหลังจากแก้ปัญหาของประเทศไทยแล้วมาสร้างความสัมพันธ์และความแข็งแกร่งให้เอเชีย
พัฒนาพลังงานชีวภาพร่วมกัน
สำหรับการหารือระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ที่ทำการนายกรัฐมนตรีจีน เมื่อวันที่ 2 ก.ย.นั้น นายกรัฐมนตรีไทยขอบคุณนายกรัฐมนตรีจีนที่ทำหนังสือเชิญให้เข้าร่วมประชุมนานาชาติของพรรคการเมืองครั้งนี้ และเห็นว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ดีที่สุดของความสัมพันธ์ไทย-จีน ที่นอกจากจะเป็นความร่วมมือที่ดีในระดับทวิภาคีแล้ว ยังเป็นความร่วมมือในเวทีอาเซียนด้วย โดยเฉพาะการค้าที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีหยิบยกประเด็นยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานชีวภาพที่เคยหารือก่อนหน้านี้ที่เมืองชิงเต่า มายืนยันว่า ไทยจะผลักดันโครงการนี้อย่างจริงจัง และเล่าให้นายกรัฐมนตรีจีนฟังว่า จะเดินทางไปอิตาลี เพื่อพบบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เฟียต และโฟลค์สวาเก้น ที่มีการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน และจะสนับสนุนให้กัมพูชา พม่า และลาว ปลูกพืชน้ำมัน เพื่อส่งขายให้ไทยนำมาพัฒนาพลังงานชีวภาพ และขอให้จีนพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย เพราะอนาคตน้ำมันจะมีราคาสูงขึ้นมาก
10เดือนเอฟทีเอไทยได้ดุล 5,500 ล้าน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังเปิดเอฟทีเอไทย– จีนมาตั้งแต่เดือนต.ค.46 จนถึงเดือนส.ค.47 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกสำหรับสินค้าพิกัด 01–08ไปจีนจำนวน 12,396 ฉบับ ปริมาณสินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯการส่งออก 2,792,663 ตัน มูลค่า 12,611.67 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าผักและผลไม้ (พิกัด 07 – 08)ปริมาณ 2,785,905 ตัน มูลค่า 12,392.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณร้อยละ 99.76 และมูลค่าร้อยละ 98.26 ของการส่งออกทั้งหมด
ทั้งนี้ การส่งออกและนำเข้าสินค้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรตั้งแต่ต.ค.46- ก.ค.47 ไทยส่งออกสินค้าพิกัด 01- 08ภายใต้ข้อตกลงฯ ไปยังจีนจำนวน 2,330,085 ตัน คิดเป็นมูลค่า 10,439.80 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าผักและผลไม้ปริมาณ 2,267,920 ตัน คิดเป็นมูลค่า 9,024.87 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณร้อยละ 97และมูลค่าร้อยละ 86 ของการส่งออกทั้งหมด สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น ร้อยละ 60 รองลงมา คือ ลำไยอบแห้ง ร้อยละ 12 ลำไยสด ร้อยละ 7 กุ้งแช่แข็ง ร้อยละ 6และปลาแช่แข็ง ร้อยละ 5
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าพิกัด 01–08ภายใต้ข้อตกลงฯ จากจีนตั้งแต่ต.ค.46-ก.ค.47จำนวน 223,443 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4,925.32 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าผักและผลไม้ ปริมาณ 202,332 ตัน มูลค่า 3,754.15 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณร้อยละ 91 และมูลค่าร้อยละ 76 ของการนำเข้าทั้งหมด สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ แอปเปิ้ลสด ร้อยละ 34 รองลงมาคือ ปลาแช่แข็ง ร้อยละ 14 แพร์และควินส์สด ร้อยละ 13 เห็ดแห้ง ร้อยละ 6 และลูกนัตสด/แห้ง ร้อยละ 5 โดยตั้งแต่เดือนต.ค.46-ก.ค.47 ไทยยังคงเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับจีนจำนวน 5,514.48 ล้านบาท
บีโอไอรุกสานสัมพันธ์รองรับการลงทุน
ด้านนายสมพงษ์ วนาภา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวภายหลังเดินทางไปร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างบีโอไอ กับ China Council for Promotion of International Trade (CCPIT) ณ นครกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา โดยไทยต้องการให้จีนมาลงทุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาง ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับขอให้จีนเปิดการลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างแก่ไทย โดยเฉพาะการรองรับโครงการขนาดใหญ่ เช่น มหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่มหานครปักกิ่ง ในปี 2554 และ World Expo ที่นครเซียงไฮ้ ในปี 2553 ซึ่งในการลงนามในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดการลงทุน เนื่องจากประเทศจีนมีพื้นที่กว้างขวางมาก จึงต้องทำการเจาะตลาดแต่ละมณฑล โดยที่ผ่านมาบีโอไอ ได้ลงนามเอ็มโอยู กับหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนของจีนไปแล้ว 5แห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง ยูนนาน เซี่ยงไฮ้ เสฉวน และเจียงซู โดยมณฑลกวางตุ้งเป็นลำดับที่ 6 ซึ่งมีความสำคัญที่สุดในเชิงยุทธศาสตร์ทางการค้าของไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ และร่วมประชุมนานาชาติของพรรคการเมืองในภูมิภาคเอเชีย (ICAPP) ครั้งที่ 3 ว่า ในช่วงบ่ายวันที่ 3 ก.ย.หลังเสร็จสิ้นการประชุมพรรคการเมืองเอเชียครั้งที่ 3 นายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนในประเทศจีนสัมภาษณ์ โดยสื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ความคิดเห็นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย -จีน โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความสัมพันธ์ไทย -จีน ขณะนี้เป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และจะยังสามารถพัฒนาความสูงไปได้อีกมาก
การที่ตนได้พบกับ นายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ของจีน ที่แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ของไทยและจีน เป็นไปด้วยดี โดยนายกรัฐมนตรีจีนสามารถจำสิ่งที่เคยพูดคุยกัน เมื่อครั้งที่ได้พูดคุยกันที่เมืองชิงเต่า นอกจากนี้ไทยและจีนยังมียุทธศาสตร์ร่วมกัน คือเรื่องกรอบความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) และเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)และเรายังจะพัฒนาตราสารเอเชีย รวมทั้งการที่จีนได้ส่งหมีแพนด้า ไปไว้ที่บ้านเกิดตน และที่จะลืมไม่ได้ คือการที่ประเทศไทยได้เหรียญทองการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งก็เป็นฝีมือโค้ชชาวจีน
นอกจากนี้ ในอนาคตไทย-จีน จะสร้างความสัมพันธ์ในเชิงลึกให้มากขึ้น โดยจะมีการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างกัน รวมทั้งจะเชิญนายกรัฐมนตรีจีน ไปเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ของความสัมพันธ์ ระหว่างทั้งสองประเทศ
ส่วนกรณีความสัมพันธ์ระหว่างพรรคไทยรักไทย กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่ตั้งใหม่ มีความใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่การตั้งพรรค ได้เข้าพบ นายจู หรง จี และผู้นำจีนอีกหลายคน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยน มีการพบกัน ระหว่างกรรมการพรรคมาโดยตลอด แม้ว่าพรรคไทยรักไทย กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน จะอยู่คนละมุม โดยจีนอยู่ในระบบสังคมนิยม และไทยรักไทย อยู่ในระบบทุนนิยม แต่เราทั้งสองต่างประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน สิ่งที่พรรคไทยรักไทยอยากเรียนรู้จากพรรคคอมมิวนิสต์จีน คือ การสร้างเครือข่ายระหว่างประชาชนกับพรรค เพื่อให้ได้รับรู้ความต้องการของประชาชน และอธิบายการทำงานให้ประชาชนได้รู้
“แม้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคเดียวที่บริหารประเทศยาวนาน เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยที่จะบริหารประเทศต่อไปยาวนานเหมือนกัน และเราต่างทำงานให้กับประชาชนอย่างมั่นคงต่อเนื่อง ซึ่งไทยและจีนไม่ได้คำนึงถึงเฉพาะตัวเอง แต่เรายังเป็นห่วงและต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศในภูมิภาคด้วย”นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองเศรษฐกิจของจีนอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เท่าที่ดูแนวทางการบริหารเศรษฐกิจ จีนประสบความสำเร็จในเรื่องการลงทุน
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงเรื่องการขุดคอคอดกระ ว่ารัฐบาลไทยยังไม่มีแผนขุดคอคอดกระ แต่กำลังศึกษา ถึงการทำแลนด์บริดจ์ เชื่อมฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ด้วยถนนและทางรถไฟฟ้า ซึ่งกำลังพิจารณาความคุ้มทุน ยังไม่ตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ
ในช่วงท้าย ผู้สื่อข่าวได้สอบถามกรณีที่นายกรัฐมนตรี ได้ลงหน้าปกหนังสือไทม์ส ว่ารู้สึกอย่างไร กับการที่ถูกมองว่ามีบทบาทในภูมิภาค นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ตนมีข่าวมากอยู่แล้ว และนิตยสารก็คงต้องออกเป็นประจำ และตนไม่ได้อ่านมากนัก และตนเป็นคนที่สื่อนานาชาติชอบวิจารณ์ ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้คิดเป็นผู้นำเอเชีย แต่เป็นหัวหน้ารัฐบาลประเทศหนึ่งในเอเชีย ขอแบ่งเวลาหลังจากแก้ปัญหาของประเทศไทยแล้วมาสร้างความสัมพันธ์และความแข็งแกร่งให้เอเชีย
พัฒนาพลังงานชีวภาพร่วมกัน
สำหรับการหารือระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ที่ทำการนายกรัฐมนตรีจีน เมื่อวันที่ 2 ก.ย.นั้น นายกรัฐมนตรีไทยขอบคุณนายกรัฐมนตรีจีนที่ทำหนังสือเชิญให้เข้าร่วมประชุมนานาชาติของพรรคการเมืองครั้งนี้ และเห็นว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ดีที่สุดของความสัมพันธ์ไทย-จีน ที่นอกจากจะเป็นความร่วมมือที่ดีในระดับทวิภาคีแล้ว ยังเป็นความร่วมมือในเวทีอาเซียนด้วย โดยเฉพาะการค้าที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีหยิบยกประเด็นยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานชีวภาพที่เคยหารือก่อนหน้านี้ที่เมืองชิงเต่า มายืนยันว่า ไทยจะผลักดันโครงการนี้อย่างจริงจัง และเล่าให้นายกรัฐมนตรีจีนฟังว่า จะเดินทางไปอิตาลี เพื่อพบบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เฟียต และโฟลค์สวาเก้น ที่มีการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน และจะสนับสนุนให้กัมพูชา พม่า และลาว ปลูกพืชน้ำมัน เพื่อส่งขายให้ไทยนำมาพัฒนาพลังงานชีวภาพ และขอให้จีนพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย เพราะอนาคตน้ำมันจะมีราคาสูงขึ้นมาก
10เดือนเอฟทีเอไทยได้ดุล 5,500 ล้าน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังเปิดเอฟทีเอไทย– จีนมาตั้งแต่เดือนต.ค.46 จนถึงเดือนส.ค.47 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกสำหรับสินค้าพิกัด 01–08ไปจีนจำนวน 12,396 ฉบับ ปริมาณสินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯการส่งออก 2,792,663 ตัน มูลค่า 12,611.67 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าผักและผลไม้ (พิกัด 07 – 08)ปริมาณ 2,785,905 ตัน มูลค่า 12,392.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณร้อยละ 99.76 และมูลค่าร้อยละ 98.26 ของการส่งออกทั้งหมด
ทั้งนี้ การส่งออกและนำเข้าสินค้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรตั้งแต่ต.ค.46- ก.ค.47 ไทยส่งออกสินค้าพิกัด 01- 08ภายใต้ข้อตกลงฯ ไปยังจีนจำนวน 2,330,085 ตัน คิดเป็นมูลค่า 10,439.80 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าผักและผลไม้ปริมาณ 2,267,920 ตัน คิดเป็นมูลค่า 9,024.87 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณร้อยละ 97และมูลค่าร้อยละ 86 ของการส่งออกทั้งหมด สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น ร้อยละ 60 รองลงมา คือ ลำไยอบแห้ง ร้อยละ 12 ลำไยสด ร้อยละ 7 กุ้งแช่แข็ง ร้อยละ 6และปลาแช่แข็ง ร้อยละ 5
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าพิกัด 01–08ภายใต้ข้อตกลงฯ จากจีนตั้งแต่ต.ค.46-ก.ค.47จำนวน 223,443 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4,925.32 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าผักและผลไม้ ปริมาณ 202,332 ตัน มูลค่า 3,754.15 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณร้อยละ 91 และมูลค่าร้อยละ 76 ของการนำเข้าทั้งหมด สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ แอปเปิ้ลสด ร้อยละ 34 รองลงมาคือ ปลาแช่แข็ง ร้อยละ 14 แพร์และควินส์สด ร้อยละ 13 เห็ดแห้ง ร้อยละ 6 และลูกนัตสด/แห้ง ร้อยละ 5 โดยตั้งแต่เดือนต.ค.46-ก.ค.47 ไทยยังคงเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับจีนจำนวน 5,514.48 ล้านบาท
บีโอไอรุกสานสัมพันธ์รองรับการลงทุน
ด้านนายสมพงษ์ วนาภา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวภายหลังเดินทางไปร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างบีโอไอ กับ China Council for Promotion of International Trade (CCPIT) ณ นครกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา โดยไทยต้องการให้จีนมาลงทุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาง ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับขอให้จีนเปิดการลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างแก่ไทย โดยเฉพาะการรองรับโครงการขนาดใหญ่ เช่น มหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่มหานครปักกิ่ง ในปี 2554 และ World Expo ที่นครเซียงไฮ้ ในปี 2553 ซึ่งในการลงนามในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดการลงทุน เนื่องจากประเทศจีนมีพื้นที่กว้างขวางมาก จึงต้องทำการเจาะตลาดแต่ละมณฑล โดยที่ผ่านมาบีโอไอ ได้ลงนามเอ็มโอยู กับหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนของจีนไปแล้ว 5แห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง ยูนนาน เซี่ยงไฮ้ เสฉวน และเจียงซู โดยมณฑลกวางตุ้งเป็นลำดับที่ 6 ซึ่งมีความสำคัญที่สุดในเชิงยุทธศาสตร์ทางการค้าของไทย