ผู้จัดการรายวัน-พบ 8 บริษัทประกันวินาศภัยเข้าขั้นโคม่า ขาดสภาพคล่องทางการเงินหนัก "พงษ์ศักดิ์"ฉุนสั่งให้ปรับเงินตามกฎหมายทันที ขู่ถ้าไม่จ่ายจะให้หยุดขายกรมธรรม์ชั่วคราว หลังบอกให้แก้ไขปัญหามาแล้วเป็นปี ขู่ถ้ายังไม่ทำอะไร หรือไม่ยอมควบรวมกัน อาจต้องใช้ไม้แข็งสั่งปิดกิจการ ส่วนใครเป็น 1 ใน 8 รายนั้น ยังเป็นความลับ แต่สังเกตได้ไม่ยาก โดยให้ดูที่กระแสเงินสดว่าคล่องหรือไม่
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตรวจสอบพบว่ามีบริษัทประกันวินาศภัย 8 แห่งไม่สามารถดำรงเงินกองทุนตามที่พ.ร.บ.ประกันวินาศภัยกำหนด จนส่งผลต่อสภาพคล่องและความมั่นคงของบริษัท จึงได้สั่งการให้กรมการประกันภัยดำเนินการลงโทษด้วยการปรับเงินทั้ง 8 บริษัท และหากไม่สามารถหาเงินมาให้ค่าปรับได้ จะสั่งให้หยุดขายกรมธรรม์ประกันวินาศภัยชั่วคราว เพื่อให้แก้ปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วง
"ผมได้สั่งการให้ทำแผนแก้ไขปัญหามาตั้งแต่รับตำแหน่งรมช.พาณิชย์ใหม่ๆ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามแผน และแก้ปัญหาได้ ซึ่งผมผ่อนผันมานานแล้ว และจะไม่ผ่อนผันอีก จึงสั่งให้กรมฯปรับเงินเป็นรายวัน หากไม่มีเงินมาเสียค่าปรับ ก็จะต้องสั่งให้หยุดขายกรมธรรม์ชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาอย่างเดียว และเท่ากับเป็นการบังคับให้บริษัทที่มีปัญหาควบรวมกิจการกันเองด้วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ" นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ตามกฎหมายประกันวินาศภัย กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำรงเงินกองทุนตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไม่น่อยกว่า 10% ของเบี้ยประกันภัยสุทธิ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท เพื่อให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ สำหรับบริษัทที่มีปัญหานั้น ส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้ในทางอื่น โดยเฉพาะนำเงินไปซื้อที่ดิน ซึ่งตามแผนแก้ปัญหาจะต้องขายที่ดิน เพื่อเอาเงินสดมาดำรงเงินกองทุนให้ได้ตามกฎหมาย แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถขายที่ดินได้ จึงต้องลงโทษ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่สั่งให้มีการหยุดขายกรมธรรม์ชั่วคราวนั้น ห้ามกรรมการ พนักงาน และลูกจ้างบริษัทสั่งจ่ายเงินของบริษัท หรือเคลื่อนย้าย หรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท เว้นแต่เป็นการให้เงินเดือน หรือค่าจ้างแก่พนักงาน และลูกจ้างเท่านั้น
นายพงษ์ศักดิ์ย้ำว่า กรมการประกันภัยได้ติดตามการดำเนินธุรกิจของธุรกิจประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และหากพบว่าบริษัทใดขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ตามที่กฎหมายกำหนด จะสั่งให้บริษัทจัดทำแผนแก้ปัญหา หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ นายทะเบียนจะมีอำนาจสั่งการลงโทษได้ ตั้งแต่ปรับเงิน หยุดขายชั่วคราว หรือสั่งปิดกิจการ
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาบริษัทประกันวินาศภัยขาดสภาพคล่อง กรมการประกันภัยมักจะใช้ไม้อ่อน โดยขอความร่วมมือให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งล่าสุดบริษัทประกันวินาศภัยทั้ง 8 แห่งนี้ กรมฯ ได้สั่งให้ดำเนินการแก้ไขมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ยอมแก้ไขปัญหา ซึ่งในครั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ได้สั่งการเองอีกครั้ง และหากยังไม่ปฏิบัติตาม ก็คงต้องใช้ไม้แข็ง โดยอาจสั่งให้ปิดกิจการก็ได้ หากเห็นว่าไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้
สำหรับ 8 บริษัทที่อยู่ในข่ายขาดสภาพคล่องนั้น ขณะนี้ยังไม่เป็นที่เปิดเผย แต่สามารถสังเกตได้ว่าบริษัทประกันวินาศภัยใดมีปัญหาตามที่กล่าวข้างต้น โดยหากเป็นกรณีของอู่ซ่อมรถที่เป็นเครือข่ายของบริษัท หากตั้งเรื่องเบิกค่าซ่อมรถแล้ว ใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้เงินก็พอที่จะรู้ได้ว่าบริษัทนั้นๆ เริ่มมีปัญหาทางการเงิน
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า สำหรับ 8 บริษัทที่พบว่าไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ตามเกณฑ์กำหนดจะต้องเสนอแผนและวิการแก้ไขกับภาครัฐ ซึ่งโดยปกติแล้วภาครัฐจะมีการบังคับให้เพิ่มทุน หรือควบรวม ซึ่งถ้าทำไม่ได้ก็ต้องหยุดรับประกันภัย ส่วนปิดบริษัทถือเป็นขั้นสุดท้ายซึ่งเป็นการลงโทษที่รุนแรง
ส่วนสาเหตุที่ดำรงเงินกองทุนไม่ครบตามเกณฑ์นั้นอาจเป็นไปได้ว่าบริษัทดังกล่าวมีการขยายธุรกิจที่รวดเร็ว หรือรับงานประกันภัยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มที่รับประกันรถยนต์มาก ๆ และมีการตัดเบี้ยประกันภัย ซึ่งทำให้การดำเนินงานขาดทุนจนส่งผลให้เงินกองทุนหด ซึ่งทางแก้ไขคือการเพิ่มทุน เพราะฉะนั้นตรงส่วนนี้ถือเป็นหน้าที่ภาครัฐต้องเข้ามาดูแล เพื่อไม่ปล่อยให้เป็นโอกาสของบางบริษัทเข้ามาจับเสือมือเปล่า
“สำหรับ 8 บริษัท ยังไม่ทราบว่าเป็นใคร เพราะถ้าจะรู้ได้ต้องเข้าไปดูเป็นราย ๆ ส่วนถ้าจะมองให้ลึกว่าเป็นบริษัทเก่า หรือบริษัทใหม่ที่เพิ่งเปิดขึ้นมาในปี 2540 ก็คงไม่ได้ว่ากลุ่มไหนที่มีปัญหา แม้ทั้ง 2 กลุ่มจะมีเงินกองทุนแต่ต่างกัน โดยบริษัทเก่ากฎหมายให้ดำรงเงินกองทุน10%ของเบี้ยประกันแต่ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่เข้ามาใหม่กฎหมายให้ดำรงเงินกองทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งถ้าบริษัทแต่ละแห่งไม่ขยายธุรกิจจนเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ก็ไม่มีปัญหา”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า บริษัทที่มีปัญหาขาดเงินกองทุนและอยู่ระหว่างส่งแผนฟื้นฟูโดยการประกาศเพิ่มทุนจากการตรวจสอบพบว่ามีเพียงบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินงานเพิ่มทุนเรียบร้อยแล้ว
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตรวจสอบพบว่ามีบริษัทประกันวินาศภัย 8 แห่งไม่สามารถดำรงเงินกองทุนตามที่พ.ร.บ.ประกันวินาศภัยกำหนด จนส่งผลต่อสภาพคล่องและความมั่นคงของบริษัท จึงได้สั่งการให้กรมการประกันภัยดำเนินการลงโทษด้วยการปรับเงินทั้ง 8 บริษัท และหากไม่สามารถหาเงินมาให้ค่าปรับได้ จะสั่งให้หยุดขายกรมธรรม์ประกันวินาศภัยชั่วคราว เพื่อให้แก้ปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วง
"ผมได้สั่งการให้ทำแผนแก้ไขปัญหามาตั้งแต่รับตำแหน่งรมช.พาณิชย์ใหม่ๆ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามแผน และแก้ปัญหาได้ ซึ่งผมผ่อนผันมานานแล้ว และจะไม่ผ่อนผันอีก จึงสั่งให้กรมฯปรับเงินเป็นรายวัน หากไม่มีเงินมาเสียค่าปรับ ก็จะต้องสั่งให้หยุดขายกรมธรรม์ชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาอย่างเดียว และเท่ากับเป็นการบังคับให้บริษัทที่มีปัญหาควบรวมกิจการกันเองด้วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ" นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ตามกฎหมายประกันวินาศภัย กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำรงเงินกองทุนตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไม่น่อยกว่า 10% ของเบี้ยประกันภัยสุทธิ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท เพื่อให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ สำหรับบริษัทที่มีปัญหานั้น ส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้ในทางอื่น โดยเฉพาะนำเงินไปซื้อที่ดิน ซึ่งตามแผนแก้ปัญหาจะต้องขายที่ดิน เพื่อเอาเงินสดมาดำรงเงินกองทุนให้ได้ตามกฎหมาย แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถขายที่ดินได้ จึงต้องลงโทษ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่สั่งให้มีการหยุดขายกรมธรรม์ชั่วคราวนั้น ห้ามกรรมการ พนักงาน และลูกจ้างบริษัทสั่งจ่ายเงินของบริษัท หรือเคลื่อนย้าย หรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท เว้นแต่เป็นการให้เงินเดือน หรือค่าจ้างแก่พนักงาน และลูกจ้างเท่านั้น
นายพงษ์ศักดิ์ย้ำว่า กรมการประกันภัยได้ติดตามการดำเนินธุรกิจของธุรกิจประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และหากพบว่าบริษัทใดขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ตามที่กฎหมายกำหนด จะสั่งให้บริษัทจัดทำแผนแก้ปัญหา หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ นายทะเบียนจะมีอำนาจสั่งการลงโทษได้ ตั้งแต่ปรับเงิน หยุดขายชั่วคราว หรือสั่งปิดกิจการ
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาบริษัทประกันวินาศภัยขาดสภาพคล่อง กรมการประกันภัยมักจะใช้ไม้อ่อน โดยขอความร่วมมือให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งล่าสุดบริษัทประกันวินาศภัยทั้ง 8 แห่งนี้ กรมฯ ได้สั่งให้ดำเนินการแก้ไขมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ยอมแก้ไขปัญหา ซึ่งในครั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ได้สั่งการเองอีกครั้ง และหากยังไม่ปฏิบัติตาม ก็คงต้องใช้ไม้แข็ง โดยอาจสั่งให้ปิดกิจการก็ได้ หากเห็นว่าไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้
สำหรับ 8 บริษัทที่อยู่ในข่ายขาดสภาพคล่องนั้น ขณะนี้ยังไม่เป็นที่เปิดเผย แต่สามารถสังเกตได้ว่าบริษัทประกันวินาศภัยใดมีปัญหาตามที่กล่าวข้างต้น โดยหากเป็นกรณีของอู่ซ่อมรถที่เป็นเครือข่ายของบริษัท หากตั้งเรื่องเบิกค่าซ่อมรถแล้ว ใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้เงินก็พอที่จะรู้ได้ว่าบริษัทนั้นๆ เริ่มมีปัญหาทางการเงิน
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า สำหรับ 8 บริษัทที่พบว่าไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ตามเกณฑ์กำหนดจะต้องเสนอแผนและวิการแก้ไขกับภาครัฐ ซึ่งโดยปกติแล้วภาครัฐจะมีการบังคับให้เพิ่มทุน หรือควบรวม ซึ่งถ้าทำไม่ได้ก็ต้องหยุดรับประกันภัย ส่วนปิดบริษัทถือเป็นขั้นสุดท้ายซึ่งเป็นการลงโทษที่รุนแรง
ส่วนสาเหตุที่ดำรงเงินกองทุนไม่ครบตามเกณฑ์นั้นอาจเป็นไปได้ว่าบริษัทดังกล่าวมีการขยายธุรกิจที่รวดเร็ว หรือรับงานประกันภัยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มที่รับประกันรถยนต์มาก ๆ และมีการตัดเบี้ยประกันภัย ซึ่งทำให้การดำเนินงานขาดทุนจนส่งผลให้เงินกองทุนหด ซึ่งทางแก้ไขคือการเพิ่มทุน เพราะฉะนั้นตรงส่วนนี้ถือเป็นหน้าที่ภาครัฐต้องเข้ามาดูแล เพื่อไม่ปล่อยให้เป็นโอกาสของบางบริษัทเข้ามาจับเสือมือเปล่า
“สำหรับ 8 บริษัท ยังไม่ทราบว่าเป็นใคร เพราะถ้าจะรู้ได้ต้องเข้าไปดูเป็นราย ๆ ส่วนถ้าจะมองให้ลึกว่าเป็นบริษัทเก่า หรือบริษัทใหม่ที่เพิ่งเปิดขึ้นมาในปี 2540 ก็คงไม่ได้ว่ากลุ่มไหนที่มีปัญหา แม้ทั้ง 2 กลุ่มจะมีเงินกองทุนแต่ต่างกัน โดยบริษัทเก่ากฎหมายให้ดำรงเงินกองทุน10%ของเบี้ยประกันแต่ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่เข้ามาใหม่กฎหมายให้ดำรงเงินกองทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งถ้าบริษัทแต่ละแห่งไม่ขยายธุรกิจจนเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ก็ไม่มีปัญหา”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า บริษัทที่มีปัญหาขาดเงินกองทุนและอยู่ระหว่างส่งแผนฟื้นฟูโดยการประกาศเพิ่มทุนจากการตรวจสอบพบว่ามีเพียงบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินงานเพิ่มทุนเรียบร้อยแล้ว