ในการประชุมครม.วันนี้(31 ส.ค.)สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)
ได้นำร่าง กฎก.พ.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลให้ครม.พิจารณา
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า เรื่องนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่รัฐบาลได้มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนให้ดีขึ้น ปรับบทบาทภารกิจและขนาดกำลังคนให้มีความเหมาะสม
ยกระดับขีดความสามารถให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่าสากล ซึ่งที่ผ่านมา ก.พ.ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจากปีละครั้ง เป็นเลื่อนปีละ 2 ครั้งคือวันที่ 1 เม.ย.และ 1 ต.ค.
จึงทำให้หลักเกณฑ์ของกฎก.พ.ฉบับที่ 20(พ.ศ.2541)ที่ออกตามความในพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ทางก.พ.จึงได้เสนอหลักการและแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยมีหลักการว่า
ทรัพยากรบุคคลถือเป็นทุน ซึ่งต้องได้รับการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สุงสุดต่อประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลขององค์กร ซึ่งทางราชการต้องเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้รับการพัฒนาและปรับปรุงตนเองก่อนที่จะดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการ และการสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการตามกฎ ก.พ.นี้ไม่ถือเป็นเรื่องผิดวินัยหรือมีความผิด จึงได้รับค่าตอบแทนเป็นบำเหน็จ หรือบำนาญทดแทน
ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ข้าราชการที่อยู่ในข่ายจะต้องดำเนินการตามกฎ ก.พ.ให้อยู่ในระดับที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าควรได้รับการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง โดยมีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานด้วย กำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน หากครบกำหนดแล้วให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลตามคำรับรองอีกครั้ง
หากไม่ผ่านเกณฑ์ผู้มีอำนาจสามารถพิจารณาสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส ให้มีการกลั่นกรองอีกครั้งโดย อ.ก.พ.กรม หรืออ.ก.พ.กระทรวง หรือ แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการให้ความเห็น ทั้งนี้ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการจากเหตุผลดังกล่าว สามารถร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ได้ภายใน 30วัน
ได้นำร่าง กฎก.พ.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลให้ครม.พิจารณา
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า เรื่องนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่รัฐบาลได้มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนให้ดีขึ้น ปรับบทบาทภารกิจและขนาดกำลังคนให้มีความเหมาะสม
ยกระดับขีดความสามารถให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่าสากล ซึ่งที่ผ่านมา ก.พ.ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจากปีละครั้ง เป็นเลื่อนปีละ 2 ครั้งคือวันที่ 1 เม.ย.และ 1 ต.ค.
จึงทำให้หลักเกณฑ์ของกฎก.พ.ฉบับที่ 20(พ.ศ.2541)ที่ออกตามความในพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ทางก.พ.จึงได้เสนอหลักการและแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยมีหลักการว่า
ทรัพยากรบุคคลถือเป็นทุน ซึ่งต้องได้รับการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สุงสุดต่อประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลขององค์กร ซึ่งทางราชการต้องเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้รับการพัฒนาและปรับปรุงตนเองก่อนที่จะดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการ และการสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการตามกฎ ก.พ.นี้ไม่ถือเป็นเรื่องผิดวินัยหรือมีความผิด จึงได้รับค่าตอบแทนเป็นบำเหน็จ หรือบำนาญทดแทน
ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ข้าราชการที่อยู่ในข่ายจะต้องดำเนินการตามกฎ ก.พ.ให้อยู่ในระดับที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าควรได้รับการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง โดยมีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานด้วย กำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน หากครบกำหนดแล้วให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลตามคำรับรองอีกครั้ง
หากไม่ผ่านเกณฑ์ผู้มีอำนาจสามารถพิจารณาสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส ให้มีการกลั่นกรองอีกครั้งโดย อ.ก.พ.กรม หรืออ.ก.พ.กระทรวง หรือ แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการให้ความเห็น ทั้งนี้ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการจากเหตุผลดังกล่าว สามารถร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ได้ภายใน 30วัน