ทีดีอาร์ไอ ชำแหละกองทุนหมู่บ้าน ยันสังคมไม่ได้ประโยขน์ ระบุเป็นนโยบายบ่มเพาะมาเฟียท้องถิ่น ปล่อยเงินกู้หมุนเวียน ขณะที่ อดีต กก.กองทุนหมู่บ้าน เผยเหตุ กก.กองทุนร้าง เพราะ ผู้ที่เข้าไปเป็น กก.เริ่มหูตาสว่าง ต่างทยอยหนีหมด
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวระหว่างสัมมนาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ..... จัดโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่า ข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับนโยบายกองทุนหมู่บ้านมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งข้อดีคือ ทำให้ ฐานะทางการเงินของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น ทั้งยังมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งต้องดูว่า การบริโภคนั้นก่อให้เกิดการบริโภคแบบใด จาการวิจัยพบว่า มีการบริโภคสินค้า ฟุ่มเฟือยมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการลงทุนในภาคการเกษตร นั้นเพิ่มขึ้นเพียง 5 % ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมากคือการกู้เงินในกองทุน ไปจ่ายเงินกู้ นอกระบบแบบหมุนเวียนหนี้หรือแบบผลัดผ้าขาวม้า แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาส ทางการเงินได้จริงก็ไม่สามารถสรุปในระยะสั้นได้ เนื่องจากปัญหามีความซับซ้อน
นายสมชัยกล่าวว่า จากการวิจัยยังพบอีกว่า คนจนแบบหาเช้ากินค่ำไม่ได้เข้าถึง กองทุนนี้ เนื่องจาก ไม่รู้ว่าจะกู้เงินไปทำไมอีกทั้งหากต้องการกู้ คณะกรรมการกองทุน ก็ไม่ให้ยื่นกู้เพราะไม่รู้ว่าจะสามารถใช้คืนได้หรือไม่ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าการที่รัฐบาล จะสร้างความเท่าเทียมในชุนชนนั้น เป็นจริงหรือไม่และจะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้จริงหรือ เพราะสิ่งที่ทำในขณะนี้ไม่ได้เหลียวแลคนจนในระดับรากหญ้า และไม่มีคุณูปการทางสังคมมากนัก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับส่งเสริมให้เกิดนักลงทุน ที่ต้องการนำเงินมาปล่อยให้กู้จนกลายเป็นนักเลงมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นจำเป็นต้องเรียกร้องให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง และบรรจุใน ร่างพ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านฯ และจำเป็นต้องมีคณะกรรมการกองทุนที่สามารถ ไว้ใจได้ ทั้งในระดับหมู่บ้านและระดับชาติเพื่อให้กองทุนนี้มีความเป็นอิสระ รัฐบาล จำเป็นต้องให้ภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าที่เป็นอยู่
ด้านนายพลเดช ปิ่นประทีป ผู้ช่วย ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า ตนเคยร่วมเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในช่วงปี 2544 -2545 ช่วงแรกคิดว่าโครงการนี้ดี แต่ 2 ปีผ่านไปเริ่มไม่ดี ชาวบ้านจึงเริ่มทำตัวออกห่าง และถอนตัวออกมา และขณะนี้คณะกรรมการกองทุนก็ไม่มีใครเข้าร่วมประชุมอีก เท่ากับว่าการทำงานระดับชาติ ไม่มีการสานต่อมีเพียงโครงการเปล่าๆ
นายพลเดช กล่าวว่า หลังจากที่ออกมาจากกองทุนตนจึงได้เริ่มทำการวิจัยใน 172 อำเภอ 72 จังหวัดเพื่อทราบถึงปัญหากองทุนหมู่บ้านและพบว่าการทุ่มเงิน ลงไปอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาในการประสานงานของภาครัฐและประชาชน เนื่องจากติดขัดในเรื่องการเบิกจ่ายและการทำงานที่ล่าช้าของภาครัฐ ดังนั้น จึงเสนอให้กองทุนมีอิสระจากภาคการเมือง หากมีประธาน ไม่จำเป็นต้องสังกัดสำนักนายกฯหรืออยู่ภายใต้สังกัดของรัฐมนตรีคนใด แต่ควรมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ทำหน้าที่ดูแลกองทุน เพื่อต้องการให้เป็นเครื่องมือของสังคมจึงไม่จำเป็นต้องให้ คนอื่นมาประกบในการทำงาน
นายพลเดชกล่าวว่า จากที่ได้รับการสะท้อนจากชาวบ้าน มีหลายจังหวัดไม่ต้องการให้กลุ่มสหกรณ์ของตนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เนื่องจากมีความ ไม่พร้อม และไม่ต้องการถูกจัดระเบียบ แต่การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องคำนึงถึง ความสมัครใจของชาวบ้านไม่ใช่การบังคับดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความรู้ในการจัดการองค์กร และมีจังหวะก้าวเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมความพร้อม การจะบังคับใช้ กฎหมาย ต้องคำนึงว่าเป็นความต้องการของคนในหมู่บ้านหรือรัฐบาล หากต้องการ ให้มีการดำเนินงานต่อไปควรเป็นหน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่หน่วยราชการที่กำกับโดยกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวระหว่างสัมมนาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ..... จัดโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่า ข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับนโยบายกองทุนหมู่บ้านมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งข้อดีคือ ทำให้ ฐานะทางการเงินของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น ทั้งยังมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งต้องดูว่า การบริโภคนั้นก่อให้เกิดการบริโภคแบบใด จาการวิจัยพบว่า มีการบริโภคสินค้า ฟุ่มเฟือยมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการลงทุนในภาคการเกษตร นั้นเพิ่มขึ้นเพียง 5 % ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมากคือการกู้เงินในกองทุน ไปจ่ายเงินกู้ นอกระบบแบบหมุนเวียนหนี้หรือแบบผลัดผ้าขาวม้า แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาส ทางการเงินได้จริงก็ไม่สามารถสรุปในระยะสั้นได้ เนื่องจากปัญหามีความซับซ้อน
นายสมชัยกล่าวว่า จากการวิจัยยังพบอีกว่า คนจนแบบหาเช้ากินค่ำไม่ได้เข้าถึง กองทุนนี้ เนื่องจาก ไม่รู้ว่าจะกู้เงินไปทำไมอีกทั้งหากต้องการกู้ คณะกรรมการกองทุน ก็ไม่ให้ยื่นกู้เพราะไม่รู้ว่าจะสามารถใช้คืนได้หรือไม่ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าการที่รัฐบาล จะสร้างความเท่าเทียมในชุนชนนั้น เป็นจริงหรือไม่และจะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้จริงหรือ เพราะสิ่งที่ทำในขณะนี้ไม่ได้เหลียวแลคนจนในระดับรากหญ้า และไม่มีคุณูปการทางสังคมมากนัก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับส่งเสริมให้เกิดนักลงทุน ที่ต้องการนำเงินมาปล่อยให้กู้จนกลายเป็นนักเลงมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นจำเป็นต้องเรียกร้องให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง และบรรจุใน ร่างพ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านฯ และจำเป็นต้องมีคณะกรรมการกองทุนที่สามารถ ไว้ใจได้ ทั้งในระดับหมู่บ้านและระดับชาติเพื่อให้กองทุนนี้มีความเป็นอิสระ รัฐบาล จำเป็นต้องให้ภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าที่เป็นอยู่
ด้านนายพลเดช ปิ่นประทีป ผู้ช่วย ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า ตนเคยร่วมเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในช่วงปี 2544 -2545 ช่วงแรกคิดว่าโครงการนี้ดี แต่ 2 ปีผ่านไปเริ่มไม่ดี ชาวบ้านจึงเริ่มทำตัวออกห่าง และถอนตัวออกมา และขณะนี้คณะกรรมการกองทุนก็ไม่มีใครเข้าร่วมประชุมอีก เท่ากับว่าการทำงานระดับชาติ ไม่มีการสานต่อมีเพียงโครงการเปล่าๆ
นายพลเดช กล่าวว่า หลังจากที่ออกมาจากกองทุนตนจึงได้เริ่มทำการวิจัยใน 172 อำเภอ 72 จังหวัดเพื่อทราบถึงปัญหากองทุนหมู่บ้านและพบว่าการทุ่มเงิน ลงไปอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาในการประสานงานของภาครัฐและประชาชน เนื่องจากติดขัดในเรื่องการเบิกจ่ายและการทำงานที่ล่าช้าของภาครัฐ ดังนั้น จึงเสนอให้กองทุนมีอิสระจากภาคการเมือง หากมีประธาน ไม่จำเป็นต้องสังกัดสำนักนายกฯหรืออยู่ภายใต้สังกัดของรัฐมนตรีคนใด แต่ควรมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ทำหน้าที่ดูแลกองทุน เพื่อต้องการให้เป็นเครื่องมือของสังคมจึงไม่จำเป็นต้องให้ คนอื่นมาประกบในการทำงาน
นายพลเดชกล่าวว่า จากที่ได้รับการสะท้อนจากชาวบ้าน มีหลายจังหวัดไม่ต้องการให้กลุ่มสหกรณ์ของตนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เนื่องจากมีความ ไม่พร้อม และไม่ต้องการถูกจัดระเบียบ แต่การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องคำนึงถึง ความสมัครใจของชาวบ้านไม่ใช่การบังคับดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความรู้ในการจัดการองค์กร และมีจังหวะก้าวเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมความพร้อม การจะบังคับใช้ กฎหมาย ต้องคำนึงว่าเป็นความต้องการของคนในหมู่บ้านหรือรัฐบาล หากต้องการ ให้มีการดำเนินงานต่อไปควรเป็นหน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่หน่วยราชการที่กำกับโดยกระทรวงที่เกี่ยวข้อง