กะว่าจะเขียนถึงอัลบั้มของ ปาโบ้ล คาซาล ที่บรรเลงโดยเชลโล่ของเบโธเฟนเสียหน่อย ก็บังเอิญเห็นงานชิ้นสำคัญที่ชื่อ The Best Both World ของวงดนตรีอย่าง Van Halen วงร็อกชื่อดังที่ถือเป็นแมวเก้าชีวิตอีกวงหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรีโลก
พลิกๆ ดู มันก็งานรวมฮิตนั่นแหล่ะครับ ซึ่ง แวน ฮาเลน ได้เคยทำมาแล้วครั้งหนึ่งแล้ว แต่ที่ต้องหยิบมาเขียนถึง เพราะ การเลือกเพลงการบรรจุเพลงลงในอัลบั้มคู่ชุดนี้ ทำได้เจ๋งกว่าชุดแรกที่ออกมา แฟน แวน ฮาเลน ไม่ควรจะพลาดอย่างยิ่ง
แฟนร็อกรุ่นใหม่ก็ไม่น่าจะพลาดด้วยประการทั้งปวง
แค่เริ่มต้นขึ้นมาด้วยเพลงบรรเลงอย่าง Eruption ที่เปิดโลกของการเล่นกีตาร์ไฟฟ้าให้กว้างออกไป ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นทุกคนลงความเห็นว่า เครื่องดนตรี 6 สายชิ้นนี้มันตันเสียแล้ว
แนวทางของการเล่นกีตาร์ไฟฟ้าที่เริ่มมาตั้งแต่เมื่อยุค 50 นั้น ตลอดเวลา 30 ปีก็ดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้า เทคนิคยังคงเดิมๆ ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไรนัก ยุคของดิสโก้ ยุคของนิวเวฟ ยุคของซินธ์ทำเอาร็อกแท้ๆ อารมณ์แบบเดิมๆ หวิดจะตาย จนครั้งหนึ่งบริษัท คาสิโอ กับ ยามาฮ่า ถึงกับสร้างกีตาร์ซินธ์ ซึ่งหน้าตาท่าทางดูเหมือนกีตาร์ไฟฟ้า แต่ให้เสียงอีกแบบเพื่อสร้างความแตกต่างขึ้นมา
แต่ดูเหมือนมันจะไม่เวิร์ก กีตาร์ซินธ์นั้นก็ไม่ได้แจ้งเกิดอะไรได้ดีนัก
ช่วงนั้นคนเล่นกีตาร์อาจจะปวดใจ เพราะมันกลายเป็นเครื่องดนตรีไดโนเสาร์ อีกทั้งช่วงนั้นเป็นช่วงที่เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด และ ซินธีไซเซอร์ กำลังมาแรง ใครที่มีเงินหน่อยตอนนี้ลองซื้ออัลบั้มรวมฮิตของเพลงยุค 80 ดูก็จะรู้ว่า ยุคแห่งการบ้าซินธ์มันเป็นยังไง
ร็อกในยุคนั้นจะต้องมีซินธ์ จะต้องมีจังหวะ หรือเสียง ตึดๆๆๆๆๆๆ อยู่ตลอดเวลา จนคนที่ฟังร็อกมานานต้องบอก ทนไม่ไหวแล้วโว้ย
แต่เพราะมีอัศวินม้าขาวชื่อ เอ็ดดี้ แวน ฮาเลน นี่แหล่ะครับที่ก้าวมา พร้อมกับเปิดแนวทางการเล่นกีตาร์ใหม่ ซึ่งเมื่อเครื่องดนตรีอันเป็นเครื่องนำของดนตรีร็อกมันเกิดใหม่แล้ว สีสันที่ขาดหาย อารมณ์แบบร็อกมันๆ ก็กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
เทคนิคที่ถือเป็นเทคนิคพ่อครูของ เอ็ดดี้ ก็คือ การเล่นจิ้มสองมือ มือกีตาร์หรือคนหัดเล่นก็น่าจะนึกถึงเทคนิคนี้ออก เป็นเทคนิคซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้ใหม่อะไร แต่ทว่าเอ็ดดี้พัฒนามันเสียสด อีกทั้งซาวด์กีตาร์ที่เขาปรับมันเข้ากับเพลงของวงนั้น ดุดัน แต่สดใส เท่ห์มาก ยิ่งเจอกับเสียงกลองทึบๆ ของอเล็กซ์ แวน ฮาเลน พี่ชายด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่
แต่ฝีมือของ แวน ฮาเลน ไม่ใช่แค่ขายกีตาร์ แต่เขายังมีนักร้องเสียงบลูส์อย่าง เดวิด ลี ร็อธ หรือ ไดมอนด์ เดฟ เข้ามาอีกคน พูดง่ายๆ นี่คือ ซูเปอร์กรุ๊ปที่มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดวงหนึ่ง เพราะในเมื่อเพลงดี เทคนิคดี เสียงคนร้องก็เยี่ยม ไปจนกระทั่งการแสดงสดที่มันสุดยอด
จะไม่ดังอย่างไรไหว
การเข้ามาของ แวน ฮาเลน นั้นฝรั่งในสาขาร็อกเขาถือว่าเป็นการปฏิวัติวงการเชียวนะครับ เพราะพอแวน ฮาเลน เข้ามาวงการนี้ ร็อกก็กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ดนตรีที่เคยเรียกว่าเป็นไดโนเสาร์ก็กลับมาตั้งตัวใหม่แล้วแข็งแกร่ง ก็เหมือนกรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดีนั่นแหล่ะ
ผมเองเริ่มมาฟังเพลงจริงๆ ตอนที่แวน ฮาเลน เปิดอัลบั้ม Van Halen 2 ฟังครั้งแรกคิดว่าวงนี้โคตรตลกเลย ทั้งกีตาร์ ทั้งเสียงร้อง เผลอแพล็บเดียวก็ออก Woman And Children First หลังจากนั้นก็กลายเป็นแฟนของวงนี้อย่างเหนียวหนับ โดยเฉพาะหลังจากหมดยุคของ เดวิด ลีร็อธ นักร้องนำอีกคนอย่าง แซมมี่ ฮาร์กา ก็ก้าวเข้ามาพร้อมกับทำให้วงนี้ป็อปมากกว่าเดิม
เพลงไพเราะ เพลงหวาน ก็ฝีมือของแซมมี่นะครับ...แต่ตัวผมชอบ โหด มัน ฮา ของ ไดมอนด์ เดฟ มากกว่า
ผมชอบงานชุดนี้ เพราะ การเรียงเพลงนะครับ เพราะมันไม่ใช่แค่ เอาเพลงดังๆ ของวงมารวมไว้ แต่มันยังจัดจังหวะ และนับแต่ละก้าวสำคัญในการเดินทางของวงได้เป็นอย่างดี เรียกว่าฟังแล้วเพลินชะมัดยาด ขออนุญาตไม่บอกประวัติของวง เพราะในปกอัลบั้มอธิบายไว้แล้ว
แต่จะขอบอกถึงความคุ้มค่าว่า อัลบั้มประกอบไปด้วยแผ่นสองแผ่น 36 เพลง เก็บเพลงดังๆ ของวงเรียบตั้งแต่งานที่ออกเมื่อปี 1978 จนกระทั่งปี 1995 ที่น่ารักกว่านั้นก็คือ มีงานใหม่ที่ยังไม่เคยอยู่ในอัลบั้มไหนอีก 3 เพลง ซึ่งก็ทำได้สมมาตรฐานของแวน ฮาเลน
เหมาะมากๆ ครับสำหรับคนที่กำลังหลงเสน่ห์ของร็อกรุ่นใหม่อย่างเต็มเปา แต่ยังหาวงที่ถูกใจไม่ได้ เพราะ ที่แวน ฮาเลน เคยทำนั้น ก็เป็นสิ่งที่วงดนตรีร็อกยุคนี้ทำกันอยู่นั่นเอง ผมเองไม่ได้เข้าข้างวงที่คนฟังเพลงรุ่นผมเติบโตขึ้นมาว่ายอดเยี่ยมนะครับ แต่หลักฐานที่แสดงออกใน 36 เพลงของอัลบั้มนี้เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า...ร็อกรุ่นนี้ไม่ได้ทำอะไรใหม่ซักเท่าไหร่
ซื้อได้เลยไม่ต้องเสียดายครับ!!
พลิกๆ ดู มันก็งานรวมฮิตนั่นแหล่ะครับ ซึ่ง แวน ฮาเลน ได้เคยทำมาแล้วครั้งหนึ่งแล้ว แต่ที่ต้องหยิบมาเขียนถึง เพราะ การเลือกเพลงการบรรจุเพลงลงในอัลบั้มคู่ชุดนี้ ทำได้เจ๋งกว่าชุดแรกที่ออกมา แฟน แวน ฮาเลน ไม่ควรจะพลาดอย่างยิ่ง
แฟนร็อกรุ่นใหม่ก็ไม่น่าจะพลาดด้วยประการทั้งปวง
แค่เริ่มต้นขึ้นมาด้วยเพลงบรรเลงอย่าง Eruption ที่เปิดโลกของการเล่นกีตาร์ไฟฟ้าให้กว้างออกไป ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นทุกคนลงความเห็นว่า เครื่องดนตรี 6 สายชิ้นนี้มันตันเสียแล้ว
แนวทางของการเล่นกีตาร์ไฟฟ้าที่เริ่มมาตั้งแต่เมื่อยุค 50 นั้น ตลอดเวลา 30 ปีก็ดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้า เทคนิคยังคงเดิมๆ ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไรนัก ยุคของดิสโก้ ยุคของนิวเวฟ ยุคของซินธ์ทำเอาร็อกแท้ๆ อารมณ์แบบเดิมๆ หวิดจะตาย จนครั้งหนึ่งบริษัท คาสิโอ กับ ยามาฮ่า ถึงกับสร้างกีตาร์ซินธ์ ซึ่งหน้าตาท่าทางดูเหมือนกีตาร์ไฟฟ้า แต่ให้เสียงอีกแบบเพื่อสร้างความแตกต่างขึ้นมา
แต่ดูเหมือนมันจะไม่เวิร์ก กีตาร์ซินธ์นั้นก็ไม่ได้แจ้งเกิดอะไรได้ดีนัก
ช่วงนั้นคนเล่นกีตาร์อาจจะปวดใจ เพราะมันกลายเป็นเครื่องดนตรีไดโนเสาร์ อีกทั้งช่วงนั้นเป็นช่วงที่เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด และ ซินธีไซเซอร์ กำลังมาแรง ใครที่มีเงินหน่อยตอนนี้ลองซื้ออัลบั้มรวมฮิตของเพลงยุค 80 ดูก็จะรู้ว่า ยุคแห่งการบ้าซินธ์มันเป็นยังไง
ร็อกในยุคนั้นจะต้องมีซินธ์ จะต้องมีจังหวะ หรือเสียง ตึดๆๆๆๆๆๆ อยู่ตลอดเวลา จนคนที่ฟังร็อกมานานต้องบอก ทนไม่ไหวแล้วโว้ย
แต่เพราะมีอัศวินม้าขาวชื่อ เอ็ดดี้ แวน ฮาเลน นี่แหล่ะครับที่ก้าวมา พร้อมกับเปิดแนวทางการเล่นกีตาร์ใหม่ ซึ่งเมื่อเครื่องดนตรีอันเป็นเครื่องนำของดนตรีร็อกมันเกิดใหม่แล้ว สีสันที่ขาดหาย อารมณ์แบบร็อกมันๆ ก็กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
เทคนิคที่ถือเป็นเทคนิคพ่อครูของ เอ็ดดี้ ก็คือ การเล่นจิ้มสองมือ มือกีตาร์หรือคนหัดเล่นก็น่าจะนึกถึงเทคนิคนี้ออก เป็นเทคนิคซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้ใหม่อะไร แต่ทว่าเอ็ดดี้พัฒนามันเสียสด อีกทั้งซาวด์กีตาร์ที่เขาปรับมันเข้ากับเพลงของวงนั้น ดุดัน แต่สดใส เท่ห์มาก ยิ่งเจอกับเสียงกลองทึบๆ ของอเล็กซ์ แวน ฮาเลน พี่ชายด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่
แต่ฝีมือของ แวน ฮาเลน ไม่ใช่แค่ขายกีตาร์ แต่เขายังมีนักร้องเสียงบลูส์อย่าง เดวิด ลี ร็อธ หรือ ไดมอนด์ เดฟ เข้ามาอีกคน พูดง่ายๆ นี่คือ ซูเปอร์กรุ๊ปที่มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดวงหนึ่ง เพราะในเมื่อเพลงดี เทคนิคดี เสียงคนร้องก็เยี่ยม ไปจนกระทั่งการแสดงสดที่มันสุดยอด
จะไม่ดังอย่างไรไหว
การเข้ามาของ แวน ฮาเลน นั้นฝรั่งในสาขาร็อกเขาถือว่าเป็นการปฏิวัติวงการเชียวนะครับ เพราะพอแวน ฮาเลน เข้ามาวงการนี้ ร็อกก็กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ดนตรีที่เคยเรียกว่าเป็นไดโนเสาร์ก็กลับมาตั้งตัวใหม่แล้วแข็งแกร่ง ก็เหมือนกรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดีนั่นแหล่ะ
ผมเองเริ่มมาฟังเพลงจริงๆ ตอนที่แวน ฮาเลน เปิดอัลบั้ม Van Halen 2 ฟังครั้งแรกคิดว่าวงนี้โคตรตลกเลย ทั้งกีตาร์ ทั้งเสียงร้อง เผลอแพล็บเดียวก็ออก Woman And Children First หลังจากนั้นก็กลายเป็นแฟนของวงนี้อย่างเหนียวหนับ โดยเฉพาะหลังจากหมดยุคของ เดวิด ลีร็อธ นักร้องนำอีกคนอย่าง แซมมี่ ฮาร์กา ก็ก้าวเข้ามาพร้อมกับทำให้วงนี้ป็อปมากกว่าเดิม
เพลงไพเราะ เพลงหวาน ก็ฝีมือของแซมมี่นะครับ...แต่ตัวผมชอบ โหด มัน ฮา ของ ไดมอนด์ เดฟ มากกว่า
ผมชอบงานชุดนี้ เพราะ การเรียงเพลงนะครับ เพราะมันไม่ใช่แค่ เอาเพลงดังๆ ของวงมารวมไว้ แต่มันยังจัดจังหวะ และนับแต่ละก้าวสำคัญในการเดินทางของวงได้เป็นอย่างดี เรียกว่าฟังแล้วเพลินชะมัดยาด ขออนุญาตไม่บอกประวัติของวง เพราะในปกอัลบั้มอธิบายไว้แล้ว
แต่จะขอบอกถึงความคุ้มค่าว่า อัลบั้มประกอบไปด้วยแผ่นสองแผ่น 36 เพลง เก็บเพลงดังๆ ของวงเรียบตั้งแต่งานที่ออกเมื่อปี 1978 จนกระทั่งปี 1995 ที่น่ารักกว่านั้นก็คือ มีงานใหม่ที่ยังไม่เคยอยู่ในอัลบั้มไหนอีก 3 เพลง ซึ่งก็ทำได้สมมาตรฐานของแวน ฮาเลน
เหมาะมากๆ ครับสำหรับคนที่กำลังหลงเสน่ห์ของร็อกรุ่นใหม่อย่างเต็มเปา แต่ยังหาวงที่ถูกใจไม่ได้ เพราะ ที่แวน ฮาเลน เคยทำนั้น ก็เป็นสิ่งที่วงดนตรีร็อกยุคนี้ทำกันอยู่นั่นเอง ผมเองไม่ได้เข้าข้างวงที่คนฟังเพลงรุ่นผมเติบโตขึ้นมาว่ายอดเยี่ยมนะครับ แต่หลักฐานที่แสดงออกใน 36 เพลงของอัลบั้มนี้เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า...ร็อกรุ่นนี้ไม่ได้ทำอะไรใหม่ซักเท่าไหร่
ซื้อได้เลยไม่ต้องเสียดายครับ!!