ศูนย์ข่าวเชียงใหม่-ประธานกรรมการว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลก ประเมินภาพรวมโบราณสถานเมืองลำพูน ระบุชัดมีศักยภาพและความเป็นไปได้สูง ในการเป็นมรดกโลก เพราะมีองค์ประกอบเข้าเกณฑ์การพิจารณา โดยเฉพาะพระธาตุหริภุญชัย นับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกที่สมบูรณ์แบบ ที่แสดงออกถึงการสั่งสมอารยธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
ตามที่ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ที่จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน2547ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองลำพูนสู่มรดกโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองศูนย์กลางภาคเหนือตอนบน ในส่วนของจังหวัดลำพูนนั้น
นายสุรพันธุ์ จุ่นพิจารณ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน และหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนของจังหวัดลำพูน ที่ร่วมกันผลักดันโครงการพัฒนาเมืองลำพูนสู่มรดกโลก ได้เชิญ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการ ว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลก มาประเมินภาพรวมของโบราณสถานในเมืองลำพูน
ภายหลังจากการประเมิน ศ.ดร.อดุล ได้ชี้ว่า เมืองลำพูนมีศักยภาพสูง ในการที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นมรดกโลก เพราะมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในด้านอนุสรณ์สถาน
ทั้งนี้เนื่องจากลำพูนมีโบราณสถาน และผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอยู่มากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ที่ถือว่าเป็นมรดกชิ้นเอก ที่ปัจจุบันยังคงมีองค์ประกอบและสภาพสมบูรณ์แบบ ซึ่งในการผลักดันเมืองลำพูนเป็นมรดกโลก สามารถใช้วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารเป็นจุดศูนย์กลาง ในการที่จะเชื่อมโยงเข้ากับสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่เป็นผลงานในยุคสมัยเดียวกัน เพื่อทำให้เป็นเรื่องราวเดียวกันได้
ขณะเดียวกันยังเห็นว่า ลำพูน มีองค์ประกอบที่เข้าหลักเกณฑ์ ในการที่จะเป็นมรดกโลกมากกว่าสุโขทัยที่ปัจจุบันเป็นมรดกโลกแล้วด้วย โดยนอกเหนือจากการที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารจะเป็นมรดกที่เป็นผลงานชิ้นเอก ที่มีความสำคัญยิ่งแล้ว ยังเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการสร้างพระธาตุในภูมิภาคและพื้นที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ พระธาตุหริภุญชัย เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงอารยธรรม ที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้จากการที่มีการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และยังคงมีผู้คนมาเคารพกราบไหว้บูชาอยู่เสมอ
ความพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ การขับเคลื่อนเมืองลำพูนสู่มรดกโลก เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการเสนอของชุมชนประชาสังคมท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างจากที่อื่นๆ ที่จะมีที่มาจากการผลักดันของฝ่ายราชการ
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ เพิ่มเติมว่า ในส่วนของโครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองลำพูนสู่มรดกโลก ที่จะใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท จะเป็นการศึกษาเพื่อหาร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ให้เกิดความชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกันและได้รับการชำระให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยในท้ายที่สุดจะนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท ซึ่งเป็นการเตรียมการให้สมบูรณ์พร้อม ก่อนที่จะมีการเสนอให้ลำพูนเป็นมรดกโลกต่อไป
ตามที่ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ที่จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน2547ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองลำพูนสู่มรดกโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองศูนย์กลางภาคเหนือตอนบน ในส่วนของจังหวัดลำพูนนั้น
นายสุรพันธุ์ จุ่นพิจารณ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน และหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนของจังหวัดลำพูน ที่ร่วมกันผลักดันโครงการพัฒนาเมืองลำพูนสู่มรดกโลก ได้เชิญ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการ ว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลก มาประเมินภาพรวมของโบราณสถานในเมืองลำพูน
ภายหลังจากการประเมิน ศ.ดร.อดุล ได้ชี้ว่า เมืองลำพูนมีศักยภาพสูง ในการที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นมรดกโลก เพราะมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในด้านอนุสรณ์สถาน
ทั้งนี้เนื่องจากลำพูนมีโบราณสถาน และผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอยู่มากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ที่ถือว่าเป็นมรดกชิ้นเอก ที่ปัจจุบันยังคงมีองค์ประกอบและสภาพสมบูรณ์แบบ ซึ่งในการผลักดันเมืองลำพูนเป็นมรดกโลก สามารถใช้วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารเป็นจุดศูนย์กลาง ในการที่จะเชื่อมโยงเข้ากับสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่เป็นผลงานในยุคสมัยเดียวกัน เพื่อทำให้เป็นเรื่องราวเดียวกันได้
ขณะเดียวกันยังเห็นว่า ลำพูน มีองค์ประกอบที่เข้าหลักเกณฑ์ ในการที่จะเป็นมรดกโลกมากกว่าสุโขทัยที่ปัจจุบันเป็นมรดกโลกแล้วด้วย โดยนอกเหนือจากการที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารจะเป็นมรดกที่เป็นผลงานชิ้นเอก ที่มีความสำคัญยิ่งแล้ว ยังเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการสร้างพระธาตุในภูมิภาคและพื้นที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ พระธาตุหริภุญชัย เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงอารยธรรม ที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้จากการที่มีการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และยังคงมีผู้คนมาเคารพกราบไหว้บูชาอยู่เสมอ
ความพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ การขับเคลื่อนเมืองลำพูนสู่มรดกโลก เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการเสนอของชุมชนประชาสังคมท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างจากที่อื่นๆ ที่จะมีที่มาจากการผลักดันของฝ่ายราชการ
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ เพิ่มเติมว่า ในส่วนของโครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองลำพูนสู่มรดกโลก ที่จะใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท จะเป็นการศึกษาเพื่อหาร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ให้เกิดความชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกันและได้รับการชำระให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยในท้ายที่สุดจะนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท ซึ่งเป็นการเตรียมการให้สมบูรณ์พร้อม ก่อนที่จะมีการเสนอให้ลำพูนเป็นมรดกโลกต่อไป