ผู้จัดการรายวัน-รถไฟเตรียมคลอดทีโออาร์รถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ Airport Rail Link Project มูลค่า 30,000 ล้านบาทเปิดประมูลต้นส.ค.นี้แน่นอน เผยแบบที่นำออกประมูลสมบูรณ์เกือบ 100% ไม่มีปัญหา Desing & Built ที่ทำให้ต้องบวกเพิ่มงบภายหลังแน่นอน “สุริยะ”ย้ำนโยบายเร่งรัดโครงข่ายระบบรางต้องใช้วิธีให้เอกชนลงทุนก่อนรัฐจ่ายคืนภายหลัง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (พญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) หรือ Airport Rail Link Project ระยะทาง 28 กม. มูลค่า 30,000 ล้านบาทนั้น จะสามารถเปิดประมูลหาผู้ก่อสร้างได้ภายในปี 2547 อย่างแน่นอน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รายงานความคืบหน้าการออกแบบโครงการว่าจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดขายเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ให้แก่ผู้สนใจได้ภายในเดือนก.ค. ซึ่งรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถือเป็นระบบรางโครงการแรกที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ ส่วนโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น อยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียดของแผนเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นายจิตต์สันติ ธนะโสภณ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทที่ปรึกษาเอเชี่ยน เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ (AEC) กำลังเร่งออกแบบก่อสร้างโครงการรถไฟเชื่อมไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อให้สามารถเปิดขายทีโออาร์ให้ผู้สนใจได้ตามกำหนดหรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือนส.ค.อย่างแน่นอน ทั้งนี้ เนื่องจากที่ปรึกษาจะออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด หรืออย่างน้อยประมาณ 98% ซึ่งจะทำให้ผู้รับเหมาสามารถนำแบบดังกล่าวไปคำนวนค่าก่อสร้างได้ใกล้เคียงที่สุด โดยจะให้เวลาในการจัดทำข้อเสนอประมาณ 60 วัน และพิจารณาคัดเลือกอีกประมาณ 60 วัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามกับผู้รับเหมาได้ภายในเดือนธ.ค.2547 และเริ่มลงมือก่อสร้างได้ต้นปี 2548 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีครึ่ง โดยโครงการจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2550
ทั้งนี้ ร่างทีโออาร์จะเปิดกว้างเพื่อให้เอกชนที่มีความชำชาญในงานแต่ละด้านรวมกลุ่มเข้ามาประมูล เพราะการก่อสร้างโครงการจะประกอบด้วยหลายส่วน เช่น งานโครงสร้าง (งานโยธา) ระบบราง ระบบไฟฟ้า โรงไฟฟ้า ระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการจองตั๋ว ระบบเช็คอินตั๋วเครื่องบินซึ่งจะต้องเชื่อมต่อกับสนามบินสุวรรณภูมิ
“พยายามเร่งที่ปรึกษาให้ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อไม่ให้มีปัญหากรณีแบบไม่สมบูรณ์หรือเข้าข่ายเป็นDesign & Built หรือออกแบบไปก่อสร้างไป เพราะหากแบบมีรายละเอียดไม่พอผู้รับเหมาจะไม่สามารถคำนวนค่าก่อสร้างได้ถูกต้องและจะทำให้มีการเพิ่มงานและค่าก่อสร้างกันภายหลังได้ ซึ่งท่านรมว.คมนาคมไม่ต้องการให้เกิดปัญหานี้ ซึ่งยืนยันว่าแบบที่รถไฟจะนำออกประมูลนั้นจะเป็นแบบที่สมบูรณ์และจะไม่มีการเพิ่มเติมกันภายหลังแน่นอนโดยก่อนเปิดขายแบบจะต้องให้สตง.ตรวจร่างทีโออาร์ก่อนด้วย”ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าว
สำหรับโครงการรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมินั้น แบ่งเป็นค่าก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟ 25,917.063 ล้านบาท ค่าก่อสร้างตัวสถานีและอุโมงค์ใต้ดินอาคารผู้โดยสาร 4,082.937 ล้านบาท ซึ่งรถไฟจะต้องจ่ายคืนให้บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ที่ว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างไปก่อนหน้านี้แล้ว มีระยะทาง 28 กม.จำนวน 8 สถานี ยกระดับตลอดสาย เริ่มจากพญาไท-ราชปรารภ-มักกะสัน-รามคำแหง-หัวหมาก-ทับช้าง-ลาดกระบัง-สุวรรณภูมิ มีรถไฟฟ้า 2 แบบคือ รถไฟฟ้าด่วนอากาศยาน (Airport Express) มักกะสัน-สุวรรณภูมิ ไม่จอดระหว่างทาง ค่าโดยสารประมาณ 150-200 บาทต่อวัน และรถไฟฟ้ามวลชนเชื่อมเขตเมือง (City Line) จอดทุกสถานี ค่าโดยสารอัตราใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดในการก่อสร้างโครงการเพื่อให้สามารถรองรับการเดินทางระหว่างเมืองถึงสนามบินได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงต้องให้เอกชนเป็นผู้จัดหาเงินลงทุนมาดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างและรัฐใช้คืนภายหลัง เนื่องจากรัฐยังไม่สามารถจัดตั้งขึ้นมาสำหรับระดมทุนก่อสร้างโครงการระบบรางทั้งหมดได้ในขณะนี้ ซึ่งรูปแบบการลงทุนเหมือนโครงการถนนวงแหวนด้านใต้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่ให้เอกชนลงทุนให้ก่อน ซึ่งนายสุริยะกล่าวว่า จะผู้ที่เสนอแผนการก่อสร้างและให้รัฐจ่ายน้อยที่สุดก็จะเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (พญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) หรือ Airport Rail Link Project ระยะทาง 28 กม. มูลค่า 30,000 ล้านบาทนั้น จะสามารถเปิดประมูลหาผู้ก่อสร้างได้ภายในปี 2547 อย่างแน่นอน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รายงานความคืบหน้าการออกแบบโครงการว่าจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดขายเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ให้แก่ผู้สนใจได้ภายในเดือนก.ค. ซึ่งรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถือเป็นระบบรางโครงการแรกที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ ส่วนโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น อยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียดของแผนเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นายจิตต์สันติ ธนะโสภณ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทที่ปรึกษาเอเชี่ยน เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ (AEC) กำลังเร่งออกแบบก่อสร้างโครงการรถไฟเชื่อมไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อให้สามารถเปิดขายทีโออาร์ให้ผู้สนใจได้ตามกำหนดหรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือนส.ค.อย่างแน่นอน ทั้งนี้ เนื่องจากที่ปรึกษาจะออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด หรืออย่างน้อยประมาณ 98% ซึ่งจะทำให้ผู้รับเหมาสามารถนำแบบดังกล่าวไปคำนวนค่าก่อสร้างได้ใกล้เคียงที่สุด โดยจะให้เวลาในการจัดทำข้อเสนอประมาณ 60 วัน และพิจารณาคัดเลือกอีกประมาณ 60 วัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามกับผู้รับเหมาได้ภายในเดือนธ.ค.2547 และเริ่มลงมือก่อสร้างได้ต้นปี 2548 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีครึ่ง โดยโครงการจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2550
ทั้งนี้ ร่างทีโออาร์จะเปิดกว้างเพื่อให้เอกชนที่มีความชำชาญในงานแต่ละด้านรวมกลุ่มเข้ามาประมูล เพราะการก่อสร้างโครงการจะประกอบด้วยหลายส่วน เช่น งานโครงสร้าง (งานโยธา) ระบบราง ระบบไฟฟ้า โรงไฟฟ้า ระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการจองตั๋ว ระบบเช็คอินตั๋วเครื่องบินซึ่งจะต้องเชื่อมต่อกับสนามบินสุวรรณภูมิ
“พยายามเร่งที่ปรึกษาให้ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อไม่ให้มีปัญหากรณีแบบไม่สมบูรณ์หรือเข้าข่ายเป็นDesign & Built หรือออกแบบไปก่อสร้างไป เพราะหากแบบมีรายละเอียดไม่พอผู้รับเหมาจะไม่สามารถคำนวนค่าก่อสร้างได้ถูกต้องและจะทำให้มีการเพิ่มงานและค่าก่อสร้างกันภายหลังได้ ซึ่งท่านรมว.คมนาคมไม่ต้องการให้เกิดปัญหานี้ ซึ่งยืนยันว่าแบบที่รถไฟจะนำออกประมูลนั้นจะเป็นแบบที่สมบูรณ์และจะไม่มีการเพิ่มเติมกันภายหลังแน่นอนโดยก่อนเปิดขายแบบจะต้องให้สตง.ตรวจร่างทีโออาร์ก่อนด้วย”ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าว
สำหรับโครงการรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมินั้น แบ่งเป็นค่าก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟ 25,917.063 ล้านบาท ค่าก่อสร้างตัวสถานีและอุโมงค์ใต้ดินอาคารผู้โดยสาร 4,082.937 ล้านบาท ซึ่งรถไฟจะต้องจ่ายคืนให้บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ที่ว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างไปก่อนหน้านี้แล้ว มีระยะทาง 28 กม.จำนวน 8 สถานี ยกระดับตลอดสาย เริ่มจากพญาไท-ราชปรารภ-มักกะสัน-รามคำแหง-หัวหมาก-ทับช้าง-ลาดกระบัง-สุวรรณภูมิ มีรถไฟฟ้า 2 แบบคือ รถไฟฟ้าด่วนอากาศยาน (Airport Express) มักกะสัน-สุวรรณภูมิ ไม่จอดระหว่างทาง ค่าโดยสารประมาณ 150-200 บาทต่อวัน และรถไฟฟ้ามวลชนเชื่อมเขตเมือง (City Line) จอดทุกสถานี ค่าโดยสารอัตราใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดในการก่อสร้างโครงการเพื่อให้สามารถรองรับการเดินทางระหว่างเมืองถึงสนามบินได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงต้องให้เอกชนเป็นผู้จัดหาเงินลงทุนมาดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างและรัฐใช้คืนภายหลัง เนื่องจากรัฐยังไม่สามารถจัดตั้งขึ้นมาสำหรับระดมทุนก่อสร้างโครงการระบบรางทั้งหมดได้ในขณะนี้ ซึ่งรูปแบบการลงทุนเหมือนโครงการถนนวงแหวนด้านใต้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่ให้เอกชนลงทุนให้ก่อน ซึ่งนายสุริยะกล่าวว่า จะผู้ที่เสนอแผนการก่อสร้างและให้รัฐจ่ายน้อยที่สุดก็จะเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก