เมื่อผมยังเป็นละอ่อน ผมหลงผิดคิดว่า รัฐบาลปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นด้านหลัก ในเวลานั้น ผมเชื่อว่า เป้าหมายสูงสุดของรัฐบาลอยู่ที่การอำนวยการให้ประชาชนได้รับสวัสดิการสูงสุด (Social Welfare Maximization)
เมื่อผมยังเป็นละอ่อน ผมหลงผิดคิดว่า คณะบุคคลที่รวมตัวกันเป็นรัฐบาล นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีจนถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการและผู้ช่วยรัฐมนตรี เป็นผู้สละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งรักชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ กล่าวคือ รักชาติทั้งยามตื่นและยามหลับ เรียกได้ว่า รักชาติปานจะกลืนจะกิน
เมื่อผมย่างสู่วัยที่ต้องเสียพรหมจรรย์ ผมเห็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายคนกลืนชาติ คนเหล่านี้มีฐานะดีขึ้นชนิดทันตาเห็น ทั้งนี้ด้วยการยึดคติที่ว่า สละผลประโยชน์ของชาติเพื่อผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล นายกรัฐมนตรีบางคนถึงกับออกอาการ "ข้าคือชาติ" หาก "ข้า" ไม่เสพสุข ชาติจะเสพสุขได้อย่างไร
เมื่อผมเสียพรหมจรรย์แล้ว ผมเพิ่งประจักษ์แก่ใจว่า ไม่มีรัฐบาลใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อชาติ มีแต่การปรับ ครม. เพื่อเสถียรภาพของรัฐบาล โดยที่เสถียรภาพของรัฐบาลมีความหมายแตกต่างจากเสถียรภาพของระบอบการเมืองการปกครอง
ผู้นำรัฐบาลล้วนต้องการอำนาจ ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใดไม่ต้องการอำนาจ อำนาจไม่เพียงแต่ช่วยเสริมส่งสถานะในสังคมเท่านั้น หากยังช่วยดูดซับทรัพย์ศฤงคาร และส่วนเกินทางเศรษฐกิจทั้งปวงอีกด้วย การปรับ ครม. ล้วนเป็นไปเพื่อเขม็งเกลียวบังเหียนแห่งอำนาจทั้งสิ้น
พรรคไทยรักไทยจัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 และมีการปรับ ครม. ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ในช่วงเวลากว่า 3 ปี 3 เดือนของรัฐบาลทักษิณ 8 ชุดแรก อายุรัฐบาลทักษิณถัวเฉลี่ยชุดละ 5 เดือน นับเป็นรัฐบาลอายุสั้นอย่างยิ่ง (ดูตารางที่ 2)

วงวิชาการสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐศาสตร์ สนใจศึกษาปัจจัยที่มีผลในการกำหนดอายุขัยของรัฐบาล หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Government Durability กล่าวโดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลผสมมักจะมีอายุสั้นมากกว่ารัฐบาลพรรคเดียว เพราะความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลมีผลในการชี้เป็นชี้ตายชะตาชีวิตของรัฐบาล ความขัดแย้งดังกล่าวนี้มีทั้งความขัดแย้งด้านนโยบายและความขัดแย้งส่วนบุคคล
การที่รัฐบาลมีอายุอันแสนสั้น ย่อมมีผลต่อการดำเนินนโยบายด้วยเหตุที่มิติด้านเวลาสั้น การดำเนินนโยบายการปฏิรูป ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทำได้ยาก เพราะมิทันที่นโยบายการปฏิรูปจะก่อตัวรัฐบาลก็สิ้นเวลาเสียแล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ต้องการยืดอายุขัยของรัฐบาล คำปรารภในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แถลงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า ต้องการ "...ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพยิ่งขึ้น..."
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ปฏิรูปการเมืองด้วยการเปลี่ยนสังคมการเมืองไทยให้เป็นระบบทวิพรรค (Bi-Party System) และเสริมส่งให้มี Strong Executive และ Strong Prime Minister
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น Strong Prime Minister คนแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แม้เมื่อชนะการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยมิอาจจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ แต่ด้วยการควบและครอบ (M&A) รวมทั้งการกว้านซื้อพรรคและกลุ่มการเมืองต่างๆ พรรคไทยรักไทยในเวลาต่อมาอยู่ในฐานะที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ กระนั้นก็ตาม พรรคไทยรักไทยเลือกที่จะเดินแนวทางรัฐบาลผสม
ฐานการเมืองอันแน่นหนาน่าจะช่วยยืดอายุขัยของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ แต่อายุขัยอันแสนสั้นของรัฐบาลทักษิณชุดต่างๆ เป็นผลจากการเลือกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง
นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเด็ดขาดในการปรับคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 217 มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่า
"พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอาณาจักรในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ"
แม้นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจเด็ดขาดในการปรับคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่นายกรัฐมนตรีอาจไม่กล้าใช้อำนาจนี้ หากมิได้มีฐานการเมืองอันมั่นคง
นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจในการปรับคณะรัฐมนตรีด้วยความถี่สูงยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากมั่นใจในฐานการเมืองอันแน่นหนาของตนเอง ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ทำให้อายุเฉลี่ยของรัฐบาลทักษิณ 1-8 สั้นเพียง 5 เดือนเศษเท่านั้น (ดูตารางที่ 2)

เหตุใด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงปรับ ครม.บ่อยถึงปานนี้?
เหตุผลหลักอยู่ที่การเขม็งเกลียวบังเหียนแห่งอำนาจ ตัวอย่างที่ชัดเจนเห็นได้จากการชักเข้าชักออกของพรรคชาติพัฒนา (ดูตารางที่ 1)
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปรับ ครม.เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่?
คำตอบมิน่าจะใช่ เพราะการปรับ ครม.ด้วยความถี่สูงเช่นนี้ การบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวงต่างๆ ย่อมไม่ต่อเนื่อง และต้องสะดุดด้วยความถี่สูงตามไปด้วย ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องมีจำนวนน้อย และคนที่เป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดินมีแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็มิอาจกุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ทุกกระทรวง ความล้มเหลวในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีศึกษาธิการของ พ.ต.ท.ทักษิณ นับเป็นประจักษ์พยานของความข้อนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ มิได้ปรับ ครม.เยี่ยง CEO ปรับตำแหน่งผู้บริหารในบรรษัท หากแต่ใช้ลีลาเถ้าแก่ในการปรับ ครม. พ.ต.ท.ทักษิณ มิได้ต้องการ CEO และมิอาจหา CEO ในพรรคไทยรักไทยได้ เนื่องจากไม่มี CEO ในพรรคนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการหลงจู๊ผู้รับคำสั่งเถ้าแก่ไปปฏิบัติ ด้วยเหตุดังนี้ ประชาชนจึงได้เห็นรัฐมนตรีฝึกงานจำนวนมากในรัฐบาลทักษิณ 1-9 หลงจู๊ที่รับคำสั่งเถ้าแก่ไปปฏิบัติงานชนิดเข้าตา จะสามารถยึดเก้าอี้รัฐมนตรีได้นาน หากไม่เข้าตา ก็ต้องพ้นตำแหน่งในเร็ววัน มิพักต้องกล่าวว่า การจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีหลายต่อหลายกรณีเป็นการตอบแทนทางการเมือง บางกรณีเนื่องเพราะเป็นนายทุนพรรค
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดขนาดคณะรัฐมนตรีมิให้เกิน 36 คน (รวมนายกรัฐมนตรี) ดังความปรากฏในมาตรา 201 รัฐบาลทักษิณ 1-9 มีจำนวนเก้าอี้รัฐมนตรี 315 ตำแหน่ง (35x9) แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจเลือกขาประจำเพียง 20 คน ตำแหน่งนอกนั้นเป็นขาจร ในบรรดารัฐมนตรีขาประจำอาจจำแนกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ
รัฐมนตรีขาประจำชั้นหนึ่งมีเพียง 4 คน ได้แก่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (รองนายกรัฐมนตรี) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (รมว.ต่างประเทศ) นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (รมว.สาธารณสุข) และนายวราเทพ รัตนากร (รมช.การคลัง) ทั้งสี่คนสามารถยึดเก้าอี้เดิมนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นมา
รัฐมนตรีขาประจำชั้นสองมี 16 คน กลุ่มนี้ร่วมรัฐบาลทักษิณมาตั้งแต่ต้น เพียงแต่มิได้อยู่ประจำที่ หากแต่ถูกโยกย้ายไปประจำกระทรวงต่างๆ ตามที่เถ้าแก่เห็นสมควร
การใช้อำนาจเด็ดขาดในการปรับคณะรัฐมนตรี มีผลต่อประพฤติกรรมของรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล หลงจู๊ต้องประจบเถ้าแก่ เพราะถ้าเถ้าแก่ไม่พอใจ จนถึงกับปรับออกจากตำแหน่ง หลงจู๊ย่อมต้องตกงานมิอาจกลับไปดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ด้วยเหตุดังนี้ หลงจู๊นอกจากจะต้องทำงานให้เข้าตาเถ้าแก่แล้ว ยังต้องรู้จักสงบปากสงบคำอีกด้วย ภายใต้กฎกติกาเช่นนี้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายต่างๆ จึงมิอาจเป็นไปได้อย่างเต็มที่ การขัดคอและทัดทานนายกรัฐมนตรียากที่จะเป็นไปได้ ทั้งหมดนี้มีผลในการเสริมอัตตาของนายกรัฐมนตรีเอง
การปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 อาจเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย แต่อนิจลักษณะของการเมืองไทยอาจช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หาความสุขจากการปรับ ครม.ได้อีกครั้ง
สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นมา ความสุขอื่นที่เหนือกว่าความสุขจากการปรับคณะรัฐมนตรีนั้นไม่มี
เมื่อผมยังเป็นละอ่อน ผมหลงผิดคิดว่า คณะบุคคลที่รวมตัวกันเป็นรัฐบาล นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีจนถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการและผู้ช่วยรัฐมนตรี เป็นผู้สละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งรักชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ กล่าวคือ รักชาติทั้งยามตื่นและยามหลับ เรียกได้ว่า รักชาติปานจะกลืนจะกิน
เมื่อผมย่างสู่วัยที่ต้องเสียพรหมจรรย์ ผมเห็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายคนกลืนชาติ คนเหล่านี้มีฐานะดีขึ้นชนิดทันตาเห็น ทั้งนี้ด้วยการยึดคติที่ว่า สละผลประโยชน์ของชาติเพื่อผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล นายกรัฐมนตรีบางคนถึงกับออกอาการ "ข้าคือชาติ" หาก "ข้า" ไม่เสพสุข ชาติจะเสพสุขได้อย่างไร
เมื่อผมเสียพรหมจรรย์แล้ว ผมเพิ่งประจักษ์แก่ใจว่า ไม่มีรัฐบาลใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อชาติ มีแต่การปรับ ครม. เพื่อเสถียรภาพของรัฐบาล โดยที่เสถียรภาพของรัฐบาลมีความหมายแตกต่างจากเสถียรภาพของระบอบการเมืองการปกครอง
ผู้นำรัฐบาลล้วนต้องการอำนาจ ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใดไม่ต้องการอำนาจ อำนาจไม่เพียงแต่ช่วยเสริมส่งสถานะในสังคมเท่านั้น หากยังช่วยดูดซับทรัพย์ศฤงคาร และส่วนเกินทางเศรษฐกิจทั้งปวงอีกด้วย การปรับ ครม. ล้วนเป็นไปเพื่อเขม็งเกลียวบังเหียนแห่งอำนาจทั้งสิ้น
พรรคไทยรักไทยจัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 และมีการปรับ ครม. ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ในช่วงเวลากว่า 3 ปี 3 เดือนของรัฐบาลทักษิณ 8 ชุดแรก อายุรัฐบาลทักษิณถัวเฉลี่ยชุดละ 5 เดือน นับเป็นรัฐบาลอายุสั้นอย่างยิ่ง (ดูตารางที่ 2)
วงวิชาการสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐศาสตร์ สนใจศึกษาปัจจัยที่มีผลในการกำหนดอายุขัยของรัฐบาล หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Government Durability กล่าวโดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลผสมมักจะมีอายุสั้นมากกว่ารัฐบาลพรรคเดียว เพราะความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลมีผลในการชี้เป็นชี้ตายชะตาชีวิตของรัฐบาล ความขัดแย้งดังกล่าวนี้มีทั้งความขัดแย้งด้านนโยบายและความขัดแย้งส่วนบุคคล
การที่รัฐบาลมีอายุอันแสนสั้น ย่อมมีผลต่อการดำเนินนโยบายด้วยเหตุที่มิติด้านเวลาสั้น การดำเนินนโยบายการปฏิรูป ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทำได้ยาก เพราะมิทันที่นโยบายการปฏิรูปจะก่อตัวรัฐบาลก็สิ้นเวลาเสียแล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ต้องการยืดอายุขัยของรัฐบาล คำปรารภในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แถลงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า ต้องการ "...ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพยิ่งขึ้น..."
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ปฏิรูปการเมืองด้วยการเปลี่ยนสังคมการเมืองไทยให้เป็นระบบทวิพรรค (Bi-Party System) และเสริมส่งให้มี Strong Executive และ Strong Prime Minister
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น Strong Prime Minister คนแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แม้เมื่อชนะการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยมิอาจจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ แต่ด้วยการควบและครอบ (M&A) รวมทั้งการกว้านซื้อพรรคและกลุ่มการเมืองต่างๆ พรรคไทยรักไทยในเวลาต่อมาอยู่ในฐานะที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ กระนั้นก็ตาม พรรคไทยรักไทยเลือกที่จะเดินแนวทางรัฐบาลผสม
ฐานการเมืองอันแน่นหนาน่าจะช่วยยืดอายุขัยของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ แต่อายุขัยอันแสนสั้นของรัฐบาลทักษิณชุดต่างๆ เป็นผลจากการเลือกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอง
นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเด็ดขาดในการปรับคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 217 มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่า
"พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอาณาจักรในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ"
แม้นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจเด็ดขาดในการปรับคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่นายกรัฐมนตรีอาจไม่กล้าใช้อำนาจนี้ หากมิได้มีฐานการเมืองอันมั่นคง
นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจในการปรับคณะรัฐมนตรีด้วยความถี่สูงยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากมั่นใจในฐานการเมืองอันแน่นหนาของตนเอง ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ทำให้อายุเฉลี่ยของรัฐบาลทักษิณ 1-8 สั้นเพียง 5 เดือนเศษเท่านั้น (ดูตารางที่ 2)
เหตุใด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงปรับ ครม.บ่อยถึงปานนี้?
เหตุผลหลักอยู่ที่การเขม็งเกลียวบังเหียนแห่งอำนาจ ตัวอย่างที่ชัดเจนเห็นได้จากการชักเข้าชักออกของพรรคชาติพัฒนา (ดูตารางที่ 1)
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปรับ ครม.เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่?
คำตอบมิน่าจะใช่ เพราะการปรับ ครม.ด้วยความถี่สูงเช่นนี้ การบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวงต่างๆ ย่อมไม่ต่อเนื่อง และต้องสะดุดด้วยความถี่สูงตามไปด้วย ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องมีจำนวนน้อย และคนที่เป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดินมีแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็มิอาจกุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ทุกกระทรวง ความล้มเหลวในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีศึกษาธิการของ พ.ต.ท.ทักษิณ นับเป็นประจักษ์พยานของความข้อนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ มิได้ปรับ ครม.เยี่ยง CEO ปรับตำแหน่งผู้บริหารในบรรษัท หากแต่ใช้ลีลาเถ้าแก่ในการปรับ ครม. พ.ต.ท.ทักษิณ มิได้ต้องการ CEO และมิอาจหา CEO ในพรรคไทยรักไทยได้ เนื่องจากไม่มี CEO ในพรรคนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการหลงจู๊ผู้รับคำสั่งเถ้าแก่ไปปฏิบัติ ด้วยเหตุดังนี้ ประชาชนจึงได้เห็นรัฐมนตรีฝึกงานจำนวนมากในรัฐบาลทักษิณ 1-9 หลงจู๊ที่รับคำสั่งเถ้าแก่ไปปฏิบัติงานชนิดเข้าตา จะสามารถยึดเก้าอี้รัฐมนตรีได้นาน หากไม่เข้าตา ก็ต้องพ้นตำแหน่งในเร็ววัน มิพักต้องกล่าวว่า การจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีหลายต่อหลายกรณีเป็นการตอบแทนทางการเมือง บางกรณีเนื่องเพราะเป็นนายทุนพรรค
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดขนาดคณะรัฐมนตรีมิให้เกิน 36 คน (รวมนายกรัฐมนตรี) ดังความปรากฏในมาตรา 201 รัฐบาลทักษิณ 1-9 มีจำนวนเก้าอี้รัฐมนตรี 315 ตำแหน่ง (35x9) แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจเลือกขาประจำเพียง 20 คน ตำแหน่งนอกนั้นเป็นขาจร ในบรรดารัฐมนตรีขาประจำอาจจำแนกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ
รัฐมนตรีขาประจำชั้นหนึ่งมีเพียง 4 คน ได้แก่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (รองนายกรัฐมนตรี) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (รมว.ต่างประเทศ) นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (รมว.สาธารณสุข) และนายวราเทพ รัตนากร (รมช.การคลัง) ทั้งสี่คนสามารถยึดเก้าอี้เดิมนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นมา
รัฐมนตรีขาประจำชั้นสองมี 16 คน กลุ่มนี้ร่วมรัฐบาลทักษิณมาตั้งแต่ต้น เพียงแต่มิได้อยู่ประจำที่ หากแต่ถูกโยกย้ายไปประจำกระทรวงต่างๆ ตามที่เถ้าแก่เห็นสมควร
การใช้อำนาจเด็ดขาดในการปรับคณะรัฐมนตรี มีผลต่อประพฤติกรรมของรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล หลงจู๊ต้องประจบเถ้าแก่ เพราะถ้าเถ้าแก่ไม่พอใจ จนถึงกับปรับออกจากตำแหน่ง หลงจู๊ย่อมต้องตกงานมิอาจกลับไปดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ด้วยเหตุดังนี้ หลงจู๊นอกจากจะต้องทำงานให้เข้าตาเถ้าแก่แล้ว ยังต้องรู้จักสงบปากสงบคำอีกด้วย ภายใต้กฎกติกาเช่นนี้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายต่างๆ จึงมิอาจเป็นไปได้อย่างเต็มที่ การขัดคอและทัดทานนายกรัฐมนตรียากที่จะเป็นไปได้ ทั้งหมดนี้มีผลในการเสริมอัตตาของนายกรัฐมนตรีเอง
การปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 อาจเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย แต่อนิจลักษณะของการเมืองไทยอาจช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หาความสุขจากการปรับ ครม.ได้อีกครั้ง
สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นมา ความสุขอื่นที่เหนือกว่าความสุขจากการปรับคณะรัฐมนตรีนั้นไม่มี