ศูนย์ข่าวเชียงใหม่-ผู้ช่วยรัฐมนตรีท่องเที่ยวมั่นใจ เชียงใหม่พร้อมเป็นฮับการบิน แต่จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านต่างๆ ควบคู่กันไปอย่างเป็นระบบ ขณะที่กรมการขนส่งทางอากาศเผยกำลังเร่งกำหนดตัวชี้วัด พร้อมระบุในอนาคตจะต้องมีการสร้างท่าอากาศย่านเชียงใหม่แห่งใหม่แน่นอน เนื่องจากแห่งเดิมอยู่ในเขตเมือง มีอุปสรรคในการขยายเพื่อรองรับจำนวนเที่ยวบินที่สูงขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บัณฑิตศึกษาสถาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการสัมมนาในหัวข้อ "เปิดประตูสู่การท่องเที่ยวเชียงใหม่ด้วยศักยภาพศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ" โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจสายการบิน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ ประชาชนทั่วไป และนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 100 คน ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
นายเกริกไกร จีระแพทย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงนโยบายการผลักดันเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค (ฮับ)ว่า เชียงใหม่มีศักยภาพโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ในการที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ ดังจะเห็นได้จากการที่ไม่มีจังหวัดใดในพื้นที่ภาคเหนือ ที่มีความถี่ของการคมนาคมขนส่งสูงเท่าเชียงใหม่ ซึ่งตามยุทธศาสตร์แผนงานและนโยบายของรัฐบาลแล้ว เชียงใหม่จะต้องก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางดังกล่าวอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าจะเป็นเมื่อใดเท่านั้นเอง
“การผลักดันเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคจำเป็นต้องพัฒนาในด้านอื่นควบคู่ไปด้วย เพราะการผลักดันเรื่องนี้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างเข้ามาสนับสนุนทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศ การสร้างกิจกรรมใหม่ และการส่งเสริมการเชื่อมโยงการคมนาคมไปยังพื้นที่รอบข้างที่จะต้องมองภาพรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างสิ่งดึงดูดใจให้คนเดินทางมาเชียงใหม่ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วการเป็นศูนย์กลางการบินก็จะไม่มีประโยชน์” นายเกริกไกร กล่าว
นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ เปิดเผยว่า กำลังรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดตัวชี้วัดและจัดทำรายละเอียดการดำเนินการต่างๆ ที่ชัดเจนในการผลักดันเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วนี้ โดยจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะสามารถดำเนินโครงการต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของเชียงใหม่ได้ตามเป้าหมายเมื่อใดแน่ และเสร็จแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง
ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการหาพื้นที่เพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่นั้น เคยหารือกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเบื้องต้น เห็นว่าในอนาคตท่าอากาศยานเชียงใหม่จะต้องพัฒนาและขยายต่อไปเรื่อยๆ แต่มีข้อจำกัดเพราะมีที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและการขยับขยายจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและโครงสร้างอื่นที่มีอยู่แล้ว จึงเห็นว่าการมีท่าอากาศยานอยู่ในเขตเมืองไม่เหมาะสมแล้ว เพราะการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศจะมีจำนวนเที่ยวบินเพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อประชาชน
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือในอนาคตควรจะต้องมีการหาพื้นที่ ที่เหมาะสมเพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ โดยโครงการนี้เป็นความรับผิดชอบของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เพราะได้ถ่ายโอนการบริหารจัดการไปแล้ว โดยที่กรมการขนส่งทางอากาศสามารถทำได้แต่เพียงให้ข้อเสนอแนะตามความเหมาะสมเท่านั้น
นายราชันย์ วีระพันธุ์ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การผลักดันเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินที่ผ่านมามักจะมองภาพด้านเดียวเท่านั้นว่าจะสามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาได้เป็นจำนวนมากและสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล โดยที่ไม่เคยมองในด้านกลับกันเลยว่าจะเป็นสิ่งที่เสริมให้คนไทยออกไปเที่ยว และนำเงินไปใช้ต่างประเทศมากขึ้นด้วย ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ด้วยว่าจะได้หรือเสียมากกว่ากัน ทั้งนี้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นยังไม่นับรวมไปถึงความเสื่อมโทรมด้านต่างๆที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวซึ่งบางอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้ด้วย
เมื่อเร็วๆนี้ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บัณฑิตศึกษาสถาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการสัมมนาในหัวข้อ "เปิดประตูสู่การท่องเที่ยวเชียงใหม่ด้วยศักยภาพศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ" โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจสายการบิน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ ประชาชนทั่วไป และนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 100 คน ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
นายเกริกไกร จีระแพทย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงนโยบายการผลักดันเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค (ฮับ)ว่า เชียงใหม่มีศักยภาพโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ในการที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ ดังจะเห็นได้จากการที่ไม่มีจังหวัดใดในพื้นที่ภาคเหนือ ที่มีความถี่ของการคมนาคมขนส่งสูงเท่าเชียงใหม่ ซึ่งตามยุทธศาสตร์แผนงานและนโยบายของรัฐบาลแล้ว เชียงใหม่จะต้องก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางดังกล่าวอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าจะเป็นเมื่อใดเท่านั้นเอง
“การผลักดันเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคจำเป็นต้องพัฒนาในด้านอื่นควบคู่ไปด้วย เพราะการผลักดันเรื่องนี้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างเข้ามาสนับสนุนทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศ การสร้างกิจกรรมใหม่ และการส่งเสริมการเชื่อมโยงการคมนาคมไปยังพื้นที่รอบข้างที่จะต้องมองภาพรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างสิ่งดึงดูดใจให้คนเดินทางมาเชียงใหม่ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วการเป็นศูนย์กลางการบินก็จะไม่มีประโยชน์” นายเกริกไกร กล่าว
นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ เปิดเผยว่า กำลังรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดตัวชี้วัดและจัดทำรายละเอียดการดำเนินการต่างๆ ที่ชัดเจนในการผลักดันเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วนี้ โดยจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะสามารถดำเนินโครงการต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของเชียงใหม่ได้ตามเป้าหมายเมื่อใดแน่ และเสร็จแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง
ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการหาพื้นที่เพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่นั้น เคยหารือกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเบื้องต้น เห็นว่าในอนาคตท่าอากาศยานเชียงใหม่จะต้องพัฒนาและขยายต่อไปเรื่อยๆ แต่มีข้อจำกัดเพราะมีที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและการขยับขยายจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและโครงสร้างอื่นที่มีอยู่แล้ว จึงเห็นว่าการมีท่าอากาศยานอยู่ในเขตเมืองไม่เหมาะสมแล้ว เพราะการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศจะมีจำนวนเที่ยวบินเพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อประชาชน
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือในอนาคตควรจะต้องมีการหาพื้นที่ ที่เหมาะสมเพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ โดยโครงการนี้เป็นความรับผิดชอบของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เพราะได้ถ่ายโอนการบริหารจัดการไปแล้ว โดยที่กรมการขนส่งทางอากาศสามารถทำได้แต่เพียงให้ข้อเสนอแนะตามความเหมาะสมเท่านั้น
นายราชันย์ วีระพันธุ์ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การผลักดันเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินที่ผ่านมามักจะมองภาพด้านเดียวเท่านั้นว่าจะสามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาได้เป็นจำนวนมากและสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล โดยที่ไม่เคยมองในด้านกลับกันเลยว่าจะเป็นสิ่งที่เสริมให้คนไทยออกไปเที่ยว และนำเงินไปใช้ต่างประเทศมากขึ้นด้วย ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ด้วยว่าจะได้หรือเสียมากกว่ากัน ทั้งนี้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นยังไม่นับรวมไปถึงความเสื่อมโทรมด้านต่างๆที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวซึ่งบางอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้ด้วย